เราใช้”จิตวิทยา”ยั่วลูกค้าให้สนใจแบรนด์บน”ดิจิทัล”กันอย่างไร?

  • 1.3K
  •  
  •  
  •  
  •  

การจัดการกับความคาดหวังและเปลี่ยนความเข้าใจของลูกค้าที่มีต่อแบรนด์เป็นเป้าหมายอย่างหนึ่งของนักการตลาดและทุกธุรกิจ อย่างน้อยก็ต้องทำให้ลูกค้าได้รับรู้แบรนด์หรือได้ยินได้เห็นข้อความที่แบรนด์ต้องการสื่อบ้าง

ปัญหาคือไม่ใช่ “ทุกแบรนด์” ที่ลูกค้าต้องรับรู้ สมองของเราไม่สามารถรับรู้รายละเอียดได้ทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาได้

แล้วจะทำอย่างไรที่จะทำให้ “แบรนด์ของเรา” เข้าไปอยู่ในสมองของลูกค้าให้ได้ทั้งบนโลกดิจิทัลและบนโลกออฟไลน์?

facebook-product-design

ทุกคนเลือกที่จะรับรู้เรื่องราวที่ตัวเองสนใจอยู่เท่านั้น

ในปี 1998 นักจิตวิทยาอย่าง Arien Mack และ Irvin Rock ได้ค้นพบความจริงข้อนี้แล้วเรียกแนวคิดนี้ว่าเป็น “Inattentional Blindness” หรือ “Selective Attention” หลักๆมันหมายความว่าเราทุกคนเลือกที่จะรับรู้เรื่องราวที่ตัวเองสนใจอยู่เท่านั้นก็จริง แต่เจ้าแนวคิดที่ว่ามันไม่ได้มีความหมายอย่างเดียวหรอก

ลองดูคลิปข้างล่างนี้ จับตาดูคนใส่เสื้อสีขาวให้ดี แล้วลองนับว่าคนใส่เสื้อสีขาวส่งลูกบาสเกตบอลไปแล้วกี่ครั้ง?

httpv://youtu.be/vJG698U2Mvo

ไม่รู้ว่านับได้กี่ครั้ง แต่เราอาจไม่สังเกตเห็นกอริลล่าเดินผ่านมาตอนทุกคนรับส่งลูกบาสเกตบอลหรอก เพราะกอริลล่าไม่ใช่สิ่งที่เราสนใจ เราสนใจคนใส่เสื้อสีขาวกับลูกบาสเกตบอลเท่านั้น

เพราะสมองของเรา “ไม่เสียเวลาคิด” ในทุกๆเรื่องหรอก กว่า 85% ที่เราทำก็ตัดสินใจทำโดยไม่ต้องคิด

 

สำหรับคนทำธุรกิจหรือทำการตลาด สังเกตเห็นปัญหาแล้วหรือยัง?

เพราะเมื่อไหร่ที่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายกำลังสนใจค้นหาดูในสิ่งที่โฟกัสอยู่ โฆษณา ข่าว แบนเนอร์ หรือข้อเสนอพิเศษที่เราวางไว้ไม่ว่าจะบนบิลบอร์ด เว็บไซต์หรือกระทู้ ผู้บริโภคไม่เห็นหรอก ถ้าสิ่งที่ว่ามานี้ไม่ใช่เรื่องที่ผู้บริโภคกำลังจดจ่ออยู่ ต่อให้โฆษณามีประสิทธิภาพแค่ไหน ถ้าวางโฆษณาผิดที่ผิดเวลา ก็เจอปัญหานี้แน่ๆ

 

แล้วจะทำอย่างไร? มาดู 4 วิธียั่วลูกค้าให้สนใจแบรนด์ของเราทั้งบนสื่อดิจิทัลและสื่อออฟไลน์กัน

1. รู้จักดึงความสนใจในช่วงที่ลูกค้าไม่ได้จดจ่อกับสิ่งต่างๆมากนัก

ในช่วงที่ผู้คนหยิบสมาร์ทโฟนมาเล่นอินเตอร์เน็ตแล้วกำลังหาอะไรบางอย่างที่อยากรู้เป็นช่วงที่ไม่เหมาะที่จะดึงความสนใจเลย นั่นเป็นสาเหตุที่โฆษณาบน Youtube ต้องเล่นก่อนเริ่มดูสิ่งที่เราสนใจ เพราะคนมีแนวโน้มที่จะสนใจแบรนด์มากกว่าในช่วงที่คนยังไม่ได้ดูสิ่งที่ค้นหาอยู่

 

2. ทำให้เนื้อหาของโฆษณา “เกี่ยวข้อง” กับสิ่งที่ลูกค้าค้นหาจดจ่ออยู่

อย่าลืมว่าทุกคนเลือกที่จะรับรู้เรื่องราวที่ตัวเองสนใจอยู่เท่านั้น ถ้าแบรนด์หรือข้อความของแบรนด์หรือโฆษณาอยู่ในความสนใจของลูกค้า ลูกค้าก็ต้องเห็น ยกตัวอย่างง่ายๆเช่น ถ้าเราทำธุรกิจขายกีต้าร์อยู่ ก็ต้องเอาโฆษณาไปไว้ที่เว็บไซต์หรือ Facebook Fanpage ที่สอนเล่นกีต้าร์ ดนตรีหรือรับซื้อกีต้าร์อยู่ โฆษณาหรือข้อความของแบรนด์ก็จะมีคุณค่าต่อลูกค้าทันที

 

3. ใช้สีและรูปร่างที่ตัดและตรงกันข้าม

ใช้สีโทนสว่าง แนวเจ็บๆ หรือวีดีโอ พวกนี้จะจับสายตาคนได้ดี เพราะจะทำให้คอนเทนต์เด่นขึ้นมาจากคอนเทนต์เรียบๆพื้นๆบนเว็บเพจ แต่อย่าให้ถึงขนาดทำให้คนดูรำคาญก็พอ

 

4. ทำการตลาดหลายๆช่องทาง

ไม่ว่าจะเป็นอีเมลหรือสื่อสังคมออนไลน์ เหตุผลง่ายๆคือ เราต้องทำให้กลุ่มเป้าหมายเห็นโฆษณาของเรา หากเราลงช่องทางเดียว โอกาสที่กลุ่มเป้าหมายจะเห็น ก็น้อยลงตามไปด้วย แต่ก็ต้องศึกษาตัวกลุ่มเป้าหมายด้วยว่าปรกติใช้ช่องทางไหนหรือเครื่องมืออะไรในการเสพย์คอนเทนต์ด้วย

Man using his Mobile Phone in the street, bokeh

 

ไม่แปลกที่แนวคิดอย่าง Native Advertising จะมีบทบาทในการทำโฆษณาและการทำการตลาดในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา เพราะรูปแบบของโฆษณาก็มีผลต่อการเข้าถึงความสนใจของผู้บริโภค หากมีรูปแบบหรือลักษณะที่แตกต่างจากรูปแบบของสิ่งที่ค้นหาอยู่ ก็จะอยู่นอกสายตาไปทันที เราจะสังเกตได้จากผลการค้นหาของ Google ที่มีคำว่า Ad เล็กๆวางข้างหน้า url หรือ Facebook Post ที่มีคำว่า sponsor สีเทาๆอยู๋ ก็เพื่อต้องการให้กลมกลืนกับสิ่งที่ผู้บริโภคค้นหาด้วย

 

แหล่งที่มา

http://brandmarketingpsychology.com/marketingmagic/


  • 1.3K
  •  
  •  
  •  
  •  
Sarunjade
แชร์มุมมองเกี่ยวกับ Digital Marketing, Digital Business และ Technology เท่าที่รู้ สามารถติชมหรืออยากให้เจาะลึกเรื่องไหนเป็นพิเศษ ส่งเมลมาเลยที่ contact@oopsnetwork.co.th