คอนเทนต์แบบไหน ทำไปแล้วคุ้มค่า ไม่เสียเวลาคนดู?

  • 51
  •  
  •  
  •  
  •  

เป็นครั้งแรกที่ Facebook ในอเมริกาและแคนาดา มีคนเล่นน้อยลงจาก 185 ล้านคนเป็น 184 ล้านคน แต่ในไทย Facebook และ Youtube กลับเป็นสื่อที่มีการอัดงบโฆษณาสูงที่สุด ความนิยมของบรรดาธุรกิจและสื่อสิ่งพิมพ์รวมไปถึงพวก Influencer ต่างๆก็หันมาทำคอนเทนต์ลง Facebook จนทำให้ทุกวันนี้คอนเทนต์ที่มีอยู่มีมากกว่าความสนใจของคนเสพย์คอนเทนต์ เมื่อสองปีที่แล้วมีรายงานว่ามีคอนเทนต์แค่ 10% เท่านั้นที่คนในสนใจจากคอนเทนต์ทั้งหมดบน News Feed ของ Facebook

คอนเทนต์ที่ได้ผลจึงต้องเป็นคอนเทนต์ที่จับความสนใจของคนเสพย์คอนเทนต์จริงๆ จึงเป็นหนึ่งในเหตุผลที่วันนี้อยากชวนคุยเรื่องของ Micro-Moment กัน

4

Micro-Moment คืออะไร?

Micro Moment ว่ากันจริงๆเป็นศัพท์ที่ Google เป็นคนยกมาพูด หมายถึงช่วงเวลาที่คนสนใจที่จะรู้ จะซื้อ จะทำ หรือจะไปมากที่สุด เลยขออธิบายแยกออกมาเป็น 4 ช่วงจังหวะสำคัญๆตามนี้

1. I-want-to-know moments (อยากรู้เดี๋ยวนี้)

เวลาที่ลูกค้าเป้าหมายกำลังหาข้อมูลบางอย่างอยู่ (แต่ยังไม่จำเป็นว่าอยู่ในช่วงของการติดสินใจซื้อนะ) เช่นเกิดลูกค้าอยากรู้ขึ้นมาว่า จริงๆแล้วออกกำลังกายแบบไหนถึงจะลดพุงได้ ซึ่งเวลาแบบนี้ลูกค้าไม่ได้อยากซื้อของจากใครหรือแบรนด์ไหนหรอก แต่ถ้าแบรนด์ของเราเป็นคนที่เขียนบทความหรือทำวีดีโอคลิปนั้นขึ้นมา ก็จะได้แต้มจากลูกค้า ลูกค้าก็จะเริ่มคุ้นกับแบรนด์ของเรามากขึ้น

 

2. I-want-to-go moments (อยากไปเดี๋ยวนี้)

คือเวลาที่คนกำลังมองหาธุรกิจแถวๆนั้น หรือกำลังคิดว่าจะซื้อของแถวๆนั้น เช่นอยากหาร้านอาหารกินอร่อยๆแถวนั้น ช่วงนี้แบรนด์ของเราควรเข้าไปเสนอให้หน้าหนึ่ง Google ให้เห็นว่ามีร้านไหนที่น่าไปกินบ้าง (รวมถึงร้านของแบรนด์เราด้วย) ซึ่งหนึ่งในคอนเทนต์แบบนี้ก็คงหนีไม่พ้นคอนเทนต์แบบ Advertorial ที่แบรนด์จ้างสื่อช่วยเขียนเป็นบุคคลที่สาม หรือจะเป็นคอนเทนต์ที่แบรนด์เป็นคนทำขึ้นก็ได้

 

3. I-want-to-do moments (อยากทำได้เดี๋ยวนี้)

คือเวลาที่ลูกค้าเป้าหมายอยากทำอะไรสักอย่างแต่ทำไม่เป็น หรือทำแล้วยุ่งยากและอยากทำให้เป็น ทำให้ง่าย คอนเทนต์ที่เห็นในช่วงเวลานี้หนีไม่พ้นคอนเทนต์แบบ How-to ยกตัวอย่างเช่นมี Beauty Vlogger สอนตกแต่งหน้าสำหรับไปงานแต่งงาน เลือกเสื้อผ้าสวยๆไปงานเทศกาลต่างๆ ลูกค้าก็จะจดจำแบรนด์ในฐานะแบรนด์ที่สอนฮาวทู เป็นการสร้างแบรนด์อีกทาง

 

4. I-want-to-buy moment (อยากซื้อเดี๋ยวนี้)

ช่วงเวาลานี้เป็นช่วงที่คนพร้อมที่จะควังเงินจ่ายละ แต่ยังอยากอยากได้ตัวช่วยให้ตัดสินใจว่าควรซื้ออะไรดี หรือจะจ่ายเงินซื้ออะไรดี อย่างคนที่อยากซื้อโน๊ตบุ๊คสักเครื่องไว้ทำงาน ก็เริ่มจะหาคอนเทนต์ดีๆที่เปรียบเทียบสเป็คกันให้เห็นชัดเจนกันไปเลยว่ายี่ห้อไหนดีกว่าในเรื่องไหน พร้อมบอกเสร็จสรรพว่า ถ้าให้ความสำคัญกับความอึดของแบตเตอร์รี่ ก็ควรซื้อยี่ห้อนี้ แต่ถ้าเน้นความพกพาง่าย ก็แนะนำให้ซื้ออีกยี่ห้อ ซึ่งแพลตฟอร์มที่ช่วยเปรียบเทียบคุณสมบัติของสินค้าก็จะได้เปรียบในฐานะแหล่งรวมคอนเทนต์แบบ I-want-to-buy moment ได้ไม่ยาก เช่น Priceza หรือ Agoda

1

หลายคนสงสัยว่าคอนเทนต์แบบนี้ก็มีให้เห็นตาม Facebook อยู่แล้วไม่ใช่หรือ? คำตอบคือใช่ แต่อย่าลืมว่าคอนเทนต์ที่เจาะ Micro Moment เป็นคอนเทนต์ที่ลูกค้าเป้าหมายอยากรู้มากที่สุด ณ ตอนนั้นเลย การสื่อสารบน Facebook เป็นแบบ Push Strategy ที่ดันคอนเทนต์ให้เป้าหมายเห็น ไม่สนว่าลูกค้าตอนนั้นอยากรู้หรือไม่ (ประมาณว่าคอนเทนต์ที่มีบน Facebook โพสต์ไว้ให้เห็น เผื่ออยากรู้) แต่การสื่อสารบน Google เป็นแบบ Pull Strategy ที่คนมีความอยากรู้มาก่อนอยู่แล้ว ถึงจะค้นหา

ทำไมต้องทำคอนเทนต์เจาะ Micro-Moment ให้ได้?

นอกจากเหตุผลที่ความสนใจของคนเสพย์ตอนเทนต์เดี๋ยวนี้น้อยกว่าจำนวนคอนเทนต์ที่มีอยู่ทุกแพลตฟอร์ม เหตุผลที่เราควรทำการตลาดและทำคอนเทนต์เจาะ Micro-Moment มีอยู่อีก 2 ข้อ

  1. ความคาดหวังของผู้บริโภคต่อตัวแบรนด์ที่นับวันจะมากขึ้นทุกที: ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเทคโนโลยีอย่างสมาร์ทโฟนที่เดี๋ยวนี้ราคาถูกลง หาซื้อง่าย ทำให้ใครๆก็สามารถหยิบสมาร์โฟนเพิ่มตอบโจทย์สิ่งที่ตัวเองอยากรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา Micro-Moment เป็นช่วงที่ลูกค้าเป้าหมายไม่มานั้งรอให้ใครมาบอกสิ่งที่ตัวเองอยากรู้ทั้งสิ้น เสียเวลา
  2. ความไม่รู้ถึงคุณค่าของ Micro-Moment ของคู่แข่ง: ยกตัวอย่างๆง่ายๆเช่นถ้าลูกค้าเป้าหมายรถเสียกลางทาง อยากหาอู่ซ่อมรถแถวนั้น ลูกค้าอาจจะ Google หาแล้วเจอแต่คอนเทนต์แต่ของอู่ซ่อมรถของแบรนด์เจ้าอื่น แบบนี้เหมือนเราไปเอาเงินไปให้คู่แข่งฟรีๆ กลับกันถ้าลูกค้าเจอแต่คอนเทนต์แต่ของอู่ซ่อมรถของเรา โดยที่อู่ซ่อมรถเจ้าอื่นไม่ได้สนใจที่จะทำคอนเทนต์ดักความสนใจของลุกค้า ณ ตอนนั้น รายได้ก็คงไม่หนีไปไหน

82% ของคนใช้สมาร์ทโฟรใช้มือถือเพื่อตัดสินใจซื้อของในร้าน 62% มีแนวโน้มแก้ปัญหาที่ไม่คาดคิด ณ ตอนนั้นได้เลยเพราะมีสมาร์ทโฟน 91% ใช้มือถือค้นหาไอเดียใหม่ๆเพื่อทำงานให้เสร็จ 90% ใช้มือถือจัดการงานเล็กๆน้อยๆ แบบนี้ทำให้คอนเทนต์เจาะ Micro Moment ในยุคสมาร์ทโฟนเป็นเรื่องที่สำคัญจริงๆ

7FDF43E2-9561-4B3E-B145-2C53A2D0C00D

แล้วจะเริ่มทำคอนเทนต์เจาะ Micro Moment อย่างไรดี?

ใครที่อยากจะทำคอนเทนต์และอยากเอาให้ชัวร์เลยว่าบทความทุกชิ้น ภาพทุกอย่างวีดีโอทุกคลิปที่ทำไปจะได้ใจผู้บริโภคคหรือเปล่า ลองคิดถึงการทำคอนเทนต์ตามหลัก Micro-Moment ดู ถึงยอดวิว ยอด Engagement จะไม่ได้สูงไม่ได้ปังทุกชิ้น แต่รับรองว่าคนที่เปิดดูนั้นเป็นคนที่ต้องการเสพย์คอนเทนต์ของเรามากที่สุด ณ ตอนนั้น ไม่มีเปิดแล้วปิดหนีทันทีแน่นอน ถ้าเราหันมาเน้นการทำ Search Engine Optimisation ให้มากขึ้น รู้จักการทำ Keyword Research และทบทวนว่าคอนเทนต์ของเรานั้นมีเพียงพอที่ตอบสนองแต่ละ Moment แล้วหรือยัง? เพื่อจะได้เอาคอนเทนต์ของเราไปอยู่ต่อหน้าลูกค้าตอนที่ลูกค้าอยากรู้อยากเห็นและเป็นประโยชน์มากที่สุด  

เพราะถ้ายังไม่เริ่มทำ นอกจากเสียโอกาสที่ผู้บริโภคจะได้เห็นแบรนด์ของเราในช่วงที่ผู้บริโภคคาดหวังมากที่สุด คอนเทนต์ของแบรนด์คู่แข่งอาจจะจะไปโผล่ให้ลูกค้าของเราเห็นแทน

5


  • 51
  •  
  •  
  •  
  •  
Sarunjade
แชร์มุมมองเกี่ยวกับ Digital Marketing, Digital Business และ Technology เท่าที่รู้ สามารถติชมหรืออยากให้เจาะลึกเรื่องไหนเป็นพิเศษ ส่งเมลมาเลยที่ contact@oopsnetwork.co.th