5 ปีแล้วที่ “สตีฟ จ๊อปส์” ได้จากโลกนี้ไปอย่างสงบเมื่อ 6 ตุลาคม 2011 พร้อมกับผลงานนวัตกรรมสมาร์ทโฟนและแทบเล็ตเพื่อสาวก เราจำภาพของชายสูงวัยใส่แว่นใส่เสื้อดำกางเกงยีนส์มาพูดบนเวทีนำเสนอที่เรียบง่ายแต่ตราตรึงคนจนถึงทุกวันนี้
เพื่อรำลึกศาสดา เรามาดู12 บทเรียนที่สตีฟ จ๊อปส์ต้องการบอกคนทั้งโลกผ่านการทำงานของเขาทั้งชีวิตกันเลยดีกว่า
httpv://www.youtube.com/watch?v=9hUIxyE2Ns8
1. อย่าไปฟังความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ
ไม่ว่าจะเป็นนักวิเคราะห์ หรือพวกกูรูทั้งหลาย ความเห็นของพวกเขาเป็นร้อยก็ช่วยคุณเป็นผู้ประกอบการไม่ได้หรอก มันก้เป็นเพียงแค่ “ความเห็น” เท่านั้นแหละ สตีฟ จ๊อบส์ไม่ฟังคนพวกนี้หรอก แต่คนพวกนี้ฟังเขามากกว่าอีก
“ถ้าคุณเป็นผู้ประกอบการตัวจริง หาทางเอาเองสิ อย่ามัวแต่พึ่งคนอื่น”
2. ลูกค้าบอกไม่ได้หรอกว่าเขาต้องการอะไร
สตีฟ จ็อฟส์บอกเสมอว่า “หลายๆครั้ง คนก็บอกไม่ได้ว่าเขาต้องการอะไรจนกว่าคุณเอาสิ่งที่พวกเขาอยากได้ไปให้เขาเห็น”
แน่ล่ะ จ๊อบส์มีความสามารถพอที่จะยึดปรัชญาแบบที่เขาพูดไว้เอง ซึ่งพวกเราทำไม่ได้หรอก แต่แนวคิดที่เยี่ยมที่สุดคือการหาปัญหาของผู้คนให้เจอแล้วแก้ปัญหาให้เขาก่อนที่คนอื่นจะทำ
3. ยิ่งท้าทาย งานยิ่งออกมาดี
คิดถึงลูกค้าที่ดื้อด้านจุกจิกที่สุดเข้าไว้สิ ไม่มีใครคุยกับพวกเขาแล้วสบายใจหรอก แต่อย่างไรก็ตามคุณก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าคุณจะดีขึ้น ถ้าคุณแก้ปัญหาให้พวกเขาได้ คนรู้จักจ็อบส์ดีในเรื่องการใส่ใจในรายละเอียดได้ดี ทำให้การทำงานกับจ๊อบส์นั้นเป็นเรื่องท้าทายมากทีเดียว แต่ก็ทำให้คนที่ทำงานด้วยได้งัดศักยภาพออกมาได้มากเช่นกัน
ฉะนั้นบทเรียนที่สำคัญก็คือ ท้าทายทีมเข้าไว้ อย่าหันหลังให้มัน แล้วคุณจะตกใจว่าจริงๆแล้วคุณทำอะไรได้บ้าง
4. ดีไซน์เป็นเรื่องจำเป็น
ในโลกที่คนพูดแต่เรื่องราคา การออกแบบก็เป็นเรื่องสำคัญ สำหรับหลายๆคนแล้ว ดีไซน์เป็นสินค้าอย่างหนึ่งด้วย
และคำพูดนี้ก็เป็นเรื่องจริง อย่างที่ลูกค้าที่เยอรมันที่ต้องการสร้างเอกลักษณ์ของแบรนด์ พวกเขามีรายชื่อบริษัท และเขียนสามคำแรกที่เข้ามาในหัวเมื่อเห็นชื่อของบริษัทในรายการ พอทึกคนเห็นชื่อบริษัท Apple ทุกคนจะนึกถึงคำว่า “ดีไซน์” ออกมาทันที
5. กราฟฟิคต้องใหญ่ ฟ้อนท์ต้องใหญ่
มันเป็นหัวใจของการนำเสนอทุกอย่าง ทำตามเถอะ แล้วการนำเสนอของคุณจะเหนือชั้นกว่าพวกคนธรรมดาใช้ Powerpoint อีก 90% ที่ใช้สไลด์ไม่ได้เรื่อง ไม่มีใครอยากอ่านสไลด์นำเสนอหรอก แต่เราก็เห็นคนพวกนี้อ่านทุกที
จำไว้ “ทำให้ง่ายและกระชับเข้าไว้”
และนั่นทำให้ทุกคนก็รู้จักศาสดาดีผ่านตัวอักษรใหญ่และกราฟฟิคใหญ่ๆ ถ้าคุณทำตามกฎนี้ คุณจะกระชับใจความได้มากขึ้น อธิบายเรื่องยากให้ง่ายขึ้นและชัดเจนขึ้น คนฟังก็อยากมีส่วนร่วม
6. จงทำให้ดีขึ้น 10 เท่า ไม่ใช่ 10 %
ลองเทียบไอพอดกับวอร์คแมน ไอโฟนเทียบกับแบล็กเบอรี่สิ แล้วไอแพตล่ะเทียบกับอะไรล่ะ (หมายถึง 5 ปีทีแล้วนะ) เราใช้อะไรก่อนหน้าไอแพตล่ะ? ฉะนั้นนวัตกรรมที่ยิ่งใหญ่จะเกิดขึ้นถ้าผู้ประกอบการทำสินค้าและบริการให้ดีขึ้น 10 เท่า!
7. ยืดหยุ่นในความคิดอยู่เสมอ
เมื่อไร่ที่คุณเปลี่ยนใจ เมื่อนั้นคุณจะฉลาดขึ้น
ตอนที่ไอโฟนรุ่นแรกออกมา จะไม่อนญาตให้มีแอบพลิเคชั่นของฝ่ายที่สามในเครื่อง ความปลอดภัยและประสบการณ์ของการใช้งานเป็นเรื่องสำคัญ Apple กำลังจะพยายามบอกพวกเราว่า “เราทำแบบนี้เพื่อตัวคุณเองนะ”
6 เดือนต่อมา Apple เปลี่ยนจุดยืนแบบพลิกฝ่ามือ ไอโฟนได้เปิดโอกาสให้สำหรับนักพัฒนา เกิดอะไรขึ้นกับ Apple ในตอนนั้นล่ะ?Apple คิดอะไรอยู่?
ฉะนั้นจงยืดหยุ่นในความคิดอยู่เสมอ
8. เมื่อ “มูลค่า”ไม่เท่ากับ “ราคา”
ของบางอย่างมีต้นทุนสูง แต่มูลค่ามันล่ะสูงตามต้นทุนหรือเปล่า? ของนั้นใช้ง่ายหรือไม่ ทำให้คุณทำงานได้เพิ่มขึ้นดีขึ้นหรือเปล่า? แล้วต้นทุนที่ช่วยให้ของใช้งานได้ดีอยู่ล่ะ? มีพรีเมี่ยมสำหรับลูกค้าหรือไม่? บริษัทอย่าง Apple, McKinsey และ Mercedes ก็รักษาสัญญากับลุกค้าโดยตลอดว่า ถ้าคุณต้องจ่ายแพง คุณก็จะได้ของคุณภาพที่สูงขึ้นด้วย
ฉะนั้นจงถามตัวเองว่าคุณค่าของสินค้าและบริการของเราในความคิดของผู้บริโภคนั้นคืออะไร?
9. เก่งจริงต้องจ้างคนเก่ง
ปรกติถ้าเป็นบริษัทเล็ก บริษัทก็จะจ้างแต่คนเก่งๆ แต่เมื่อบริษัทเติบโตขึ้น ความกลัวและการเมืองภายในบริษัทก็เริ่มเข้ามา ผู้นำในองค์กรกลัวว่าพนักงานใหม่จะเก่งกว่าในบางเรื่อง กลัวว่าจะแย่งงานเขาไป บริษัทเลยจ้างพนักงานเกรด B พนักงานที่เก่งน้อยกว่าตน แล้วพนักงานพวกนี้ก็กลัวว่าพนักงานที่เข้ามาใหม่จะเก่งกว่าตน ก็จ้างพนักงานเกรด C ที่เก่งน้อยกว่า แล้วสักวันหนึ่งบริษัทนั้นก็จะมีแต่คนไม่ได้เรื่อง
ฉะนั้นจงจ้างคนที่ดีที่สุด คนที่เก่งกว่าตัวเอง
10. สาธิตให้ดูก่อน
คุณเคยนั่งฟังการนำเสนอที่มีหัวหน้าบริษัทหรือหัวหน้าโครงการมาบอกคุณว่า “โอเค ผมขอเชิญหัวหน้าฝ่ายออกแบบมาสาธิตสินค้าให้ดูนะครับ?”ถึงตอนนั้นคุณคงคิดว่า “ทำไม? คุณสาธิดเองไม่ได้หรอ? มันยากนักหรือไง? ”
ฉะนั้นทุกคนรู้จักสตีฟ จ็อบส์ดีในเรื่องการสาธิตแสดงสินค้าให้คนดู มันอาจจะไม่เพอร์เฟ็ค แต่เขาอยากรับผิดชอบในการสาธิตให้ดู และคุณก็ควรที่จะทำแบบนั้นเหมือนกัน
11. ลงมือทำเสียทีเถอะ
เวลาคุณจะทำนวัตกรรมเจ๋งๆขึ้นมา ของเวอร์ชั่นแรกมันอาจจะไม่ได้ดีอย่างที่คิด มันอาจจะเปลี่ยนโลกได้ แต่มันก็ยังบกพร่องอยู่ ลองคิดถึงไอโฟนรุ่นแรก โมเดลในอนาคตของไอแพต และไอแพต แอร์ดูสิ
ฉะนั้นอย่าให้ของรุ่นแรกมันรั้งคุณไว้ ไม่งั้นคุณก็ต้องรอให้ของรุ่นแรกเข้าตลาดก่อน ถึงตอนนั้นจะพัฒนาของที่ใหม่กว่าดีกว่าก็สายไปแล้ว แต่มันก็ไม่ได้หมายความว่าให้ส่งของคุณภาพแย่ๆเข้าตลาด คุณต้องส่งของที่ผ่านนวัตกรรมเต็มที่แต่มีจุดบกพร่องต่างหาก และมันก็ไม่เหมือนกันด้วย
12. เชื่อก่อนที่จะเห็น
หลายคนเห็นก่อนเชื่อ แต่ไม่ใช่กับผู้ประกอบการตัวจริงหรอก คุนต้องเชื่อในสินค้าและบริการของคุณก่อนที่จะเห็นมัน เมื่อถึงเวลานั้นคุณก็จะเห็นผลลัพธ์ของมันเอง
ถ้าคุณไม่เชื่อ มันก็ไม่มีวันเกิด ถ้าคุณมัวแต่รอการพิสูจน์ มันก็ไม่มีวันเกิด ถ้าคุณรอให้ลูกค้ามารับรอง มันก็ไม่มีวันเกิด เหตุผลที่คอมพิวเตอร์ Macintosh ประสบความสำเร็จอยู่ตรงนี้แหละ สตีฟ จ็อบส์และคนทำงานร่วมอีกนับร้อยเชื่อใน Macintosh เละเพราะพวกเขาเชื่อ พวกเขาจึงทำให้มันประสบความสำเร็จได้ในที่สุด
httpv://www.youtube.com/watch?v=DR_wX0EwOMM
บทเรียนพวกนี้เอาไปใช้กับการทำงานของคุณได้หรือไม่ ลองเอาไปใช้ดู ไม่แน่ว่าคุณอาจเป็นศาสดาทิ้งนวัตกรรมและดีไซน์เจ๋งๆให้คนรุ่นหลังได้จดจำคนต่อไปก็ได้
แหล่งที่มา
http://www.inc.com/justin-bariso/12-pivotal-business-lessons-steve-jobs-taught-guy-kawasaki.html