แม้ว่าสินค้าในกลุ่ม FMCG (Fast-moving consumer goods) ที่เป็นของใช้ในชีวิตประจำวันจะดูห่างไกลจากเทคโนโลยี แต่ในยุคดิจิทัลที่พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป การนำเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาใช้จับหัวใจและความต้องการของผู้บริโภคก็เป็นเรื่องสำคัญที่หนีไม่พ้น เพื่อสร้างให้ธุรกิจเกิดความยั่งยืน (Business Sustainability)
หนึ่งในองค์กรที่ใช้เทคโนโลยีในการขับเคลื่อนเพื่อสร้างความยั่งยืน เชื่อว่าหลายคนคุ้นเคยและรู้จักผ่านแบรนด์ดังเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็น “โอวัลติน” และ “ชาทไวนิงส์” ดำเนินธุรกิจภายใต้การดูแลของ บริษัท เอบี ฟู้ด แอนด์ เบฟเวอร์เรจส์ (ประเทศไทย) จำกัด (AB Food & Beverages (Thailand) Ltd.) ซึ่งเบื้องหลังขององค์กรนี้มีการนำเทคโนโลยีและระบบดิจิทัลมาใช้งานเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการวางแผนงานและแผนธุรกิจต่างๆ จนสามารถเอาชนะ Digital Disruption มาได้ จนยืนอยู่แถวหน้าในกลุ่ม FMCG มาได้จนถึงปัจจุบัน ดังนั้น เพื่อเป็นการศึกษาเรื่องการนำเทคโนโลยีมาใช้งานอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ เราได้รับโอกาสสำคัญจาก คุณธนารัตน์ สมผล Head of BizTech – Thailand and South East Asia, AB Food & Beverages (Thailand) Ltd. ที่จะมาเล่าถึงเบื้องหลังความสำเร็จของ เอบี ฟู้ด มาให้เราได้เรียนรู้ร่วมกัน
คุณธนารัตน์ เริ่มต้นด้วยการเล่าถึงภาพรวมของ เอบี ฟู้ด ว่า เป็นบริษัทภายใต้เครือ ของ Associated British Foods Plc (ABF) ที่อังกฤษ ซึ่งตัวบริษัทแม่นั้นก็ทำธุรกิจมากมาย ไม่ว่าจะเป็น อาหาร ส่งออกวัตถุดิบ หรือแม้กระทั่งห้างสรรพสินค้า ทั้งในอังกฤษและยุโรป สำหรับ เอบี ฟู้ด ประเทศไทย ก่อตั้งมานานแล้วเช่นกัน โดยเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ช็อกโกแล็ต มอลต์ “โอวัลติน” (Ovaltine) และ “ชาทไวนิงส์” (Twinings) โดย “โอวัลติน” นั้น เป็นผู้นำ Market Share มากกว่า 50% ของประเทศไทยมาตลอด มีผลิตภัณฑ์โอวัลตินในหลายๆ รูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ในกล่อง UHT หรือแบบพาวเดอร์ 3 in 1 หรือนมสำหรับคนรักสุขภาพหวานน้อย หรือแม้แต่เซ็กเมนต์ตลาดเด็กอย่างแบรนด์ Smart ที่มีโลโก้เป็น “โลมา” ซึ่งเชื่อว่าหลายคนคงคุ้นเคยและรู้จักเป็นอย่างดี
สำหรับในแง่ของการนำเทคโนโลยีมาใช้งานนั้น คุณเปี๊ยก ย้ำว่าเรื่องของการนำเทคโนโลยีมาใช้ขับเคลื่อนธุรกิจมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่งทาง เอบี ฟู้ด เองก็ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ โดยมีการใช้ทั้งสองรูปแบบการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น Inside out และ Outside In โดยที่ Inside out ก็คือการดูว่าเรามีความต้องการอะไรและเราอยากจะพัฒนาเทคโนโลยีไปในทิศทางไหน บวกกับดูว่า Trend ใน Market เทคโนโลยีไปในทางไหน โดยเฉพาะธุรกิจที่เป็น FMCG ซึ่งต้องมูฟให้เร็ว ทั้งนี้ โรดแมปในการใช้งานเทคโนโลยีของ เอบี ฟู้ด มีหลายด้านด้วยกัน
ด้านที่ 1 คือการพัฒนาเพื่อให้เข้าถึงลูกค้าและผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด ทำอย่างไรที่จะมีเทคโนโลยีที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าและผู้บริโภคให้ได้ โดยเฉพาะในแง่ของดิจิทัล ซึ่งจะเห็นได้ว่าเรามีการสื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์หลายทางด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น LINE เว็บไซต์ และโซเชียลมีเดียต่างๆ
ด้านที่ 2 เมื่อเราเข้าใจลูกค้าและผู้บริโภคแล้ว ขั้นต่อไปคือเราจะทำอย่างไรที่จะสามารถนำไปใช้กับลูกค้าและผู้บริโภคได้ ก็จำเป็นต้องใช้เรื่องของ Data เข้ามาเป็นคำตอบ วันนี้ปฏิเสธไม่ได้ว่ามันเป็นโลกของ Data ซึ่ง เอบี ฟู้ด ให้ความสำคัญกับ Data Analytics มาก ซึ่งเราไม่ได้ใช้ Data เฉพาะในแง่ของ Operating Data อย่างเดียว แต่เรากำลังแปรเปลี่ยน Data ไปสู่ Insights ทำอย่างไรที่เราจะสร้างเป็นข้อได้เปรียบทางการแข่งขันในธุรกิจ (Competitive Advantage) ให้กับบริษัท เพราะฉะนั้นเราจึงมีการนำเอาข้อมูลเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อที่จะช่วยให้ทีมงานและพนักงานของเราให้เข้าถึงข้อมูลแล้วก็เอาข้อมูลไปใช้ในการวิเคราะห์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ด้านที่ 3 เป็นเรื่องของ Automation Efficiency แน่นอนวันนี้เรามาถึงในยุคของดิจิทัล ทำอย่างไรที่เราจะใช้เทคโนโลยีในการลด Manual Work ของบริษัทและของพนักงาน แล้วไปเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงานเพื่อนำเวลาไปทำงานที่มี Value Added มากกว่า เพราะฉะนั้นการนำเทคโนโลยีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Robot หรือ Tools ต่างๆ เพื่อให้กระบวนการทำงานเป็นระบบอัตโนมัติมากยิ่งขึ้นก็จะช่วยประหยัดเวลาการทำงาน
“เพราะฉะนั้นในแง่ของโรดแมปเรามีทั้ง Short term และ Long term และแน่นอนเราเองก็ไม่หยุดนิ่งกับการใช้เทคโนโลยี เพื่อผลักดันให้บริษัทเราไปถึงเป้าหมายที่วางเอาไว้”
ทั้งนี้ ปัจจุบันเทคโนโลยีที่องค์กรเรานำมาใช้สร้างประสิทธิภาพในการทำงานก็คือ IBM Planning Analytics with Watson เพราะช่วยให้เราสามารถลดการทำงานแบบ Manual work ของคน คือแทนที่จะให้พนักงานไปใช้เวลากับเรื่องการเตรียมการเรื่อง Data ก็ให้เทคโนโลยีทำหน้าที่นี้แทน แล้วก็เอาเวลาดังกล่าวไปทำในส่วนของการ Analyze Data ซึ่งค่อนข้างสำคัญ โดย IBM Planning Analytics เข้ามาตอบโจทย์ในเรื่องนี้ทำให้เกิดการทำงานแบบออโตเมท ซึ่งทำให้ลดปัญหา Human Error ของคนลงได้ด้วย รวมไปถึงเมื่อข้อมูลทุกอย่างรวมศูนย์อยู่ในจุดเดียวกัน ก็ทำให้เกิดการ Collaboration ในองค์กรได้ ไม่ว่าจะเป็นคนในฝั่งคอมเมอเชียล หรือคนในฝั่งไฟแนนซ์ ก็จะสามารถทำงานบนระบบฐานข้อมูลเดียวกันได้ไม่ต้องเสียเวลาทำเอง ช่วยให้ทุกอย่างง่ายขึ้น
อีกเรื่องที่นับเป็นข้อดีที่สำคัญของเทคโนโลยีตัวนี้ก็คือในแง่ของ Speed to Service พูดให้เข้าใจง่ายก็คือว่า เมื่อมี Data แล้ว แทนที่เราจะทำทุกอย่างเป็น Manual work ปรากฏว่ากระบวนการปิดบัญชีของเราเร็วขึ้นมากอย่างเห็นได้ชัด และสุดท้ายก็คือเรื่องของ Reporting ด้วย Dashboard Analytics ต่างๆ ก็จะให้มุมมองข้อมูลกับพนักงานของเรา แทนที่เราจะไปทำ Manual หรือว่าต้องมาดึงหลายๆ รอบก็ไม่จำเป็นอีกต่อไป เพราะทุกอย่างจะรวมศูนย์อยู่ใน IBM Planning Analytics ที่เดียวเลย
ตอนที่ทำโปรเจ็กต์น้ี เราก็พิจารณาหลายพาร์ทเนอร์มากที่จะมาร่วมงานกัน ซึ่งในที่สุดเราก็เลือก Amind Group (บริษัท เอมายด์ กรุ๊ป) ซึ่งถือเป็นบริษัทที่มีประสบการณ์และความสามารถ สามารถแชร์ Best Practice ให้เราได้ นอกจากส่วนตัวจะประทับใจแล้ว ทีมงานน้องๆ ในทีมก็ประทับใจการร่วมงานด้วยเช่นกัน
ท้ายที่สุด สิ่งที่ คุณธนารัตน์ ฝากให้กับบริษัทและองค์กรต่างๆ ที่ต้องการเอาชนะ Digital Disruption ได้ ให้มองว่าทุกอย่างสามารถเปลี่ยนแปลงได้อยู่ตลอดเวลา แม้กระทั่งพนักงานเองก็มีทั้งเข้าและออก ดังนั้น สำหรับองค์กรที่มีเป้าหมายคือ Sustainable Growth ถ้าเราต้องการหลุดพ้น การที่เรามี Data และนำเทคโนโลยีมาใช้งานให้เกิดประโยชน์ได้นั้น มันจะทำให้ธุรกิจเกิดความยั่งยืนขึ้นได้ ไม่ว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรก็ตาม เพราะฉะนั้นแล้วการโอบรับเทคโนโลยีนำมาใช้เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด นอกนั้นก็คือเรื่องของการเปลี่ยนแปลงตัวเอง ปรับตัวเองให้ทัน รวมไปถึงการปรับ Mindset ขององค์กร ให้ขับเคลื่อนไปพร้อมกับเทคโนโลยีที่เอามาใช้
“ผมเชื่อว่าหลายๆ บริษัททุกวันนี้ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีอย่างมาก โดยเฉพาะปัจจุบันที่โลกเปลี่ยนไปทุกคนจะต้องตามให้ทัน ซึ่งเราอาจจะได้ยินคำว่า Digital Disruption กันแล้ว ดังนั้น บริษัทที่อยู่ใน FMCG ซึ่งเป็นธุรกิจที่มูฟเร็วมากๆ จึงจะต้องให้ความสำคัญกับเรื่องของเทคโนโลยี ซึ่งมันไม่ใช่แค่สำคัญอย่างเดียว แต่มันคือการที่เราเอาเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับบริษัท เราต้องปรับตัวเองให้เข้ากับเทคโนโลยี และเมคชัวร์ว่าเทคโนโลยีที่เราใช้ เกิดประโยชน์สูงสุดกับบริษัทด้วย”