รู้จัก “จงรักดี” ให้มากกว่า ‘โกโกวายักษ์’ เอเจนซี่ผู้สร้างตำนานงานช้างเขย่าโลก ผ่านแนวคิด Make it happen บนเป้าหมายปักหมุดสร้างผลงานไทยสู่ Global Campaign

  • 3
  •  
  •  
  •  
  •  

วงการครีเอทีฟไทย คือหนึ่งในความภาคภูมิใจของอุตสาากรรมธุรกิจไทย หลายๆ แคมเปญของคนไทย ได้รับการกล่าวขวัญว่าเป็นงานที่ยอดเยี่ยมระดับโลก การันตีด้วยการกวาดรางวัลจากเวทีการประกวดแคมเปญโฆษณาและการตลาดระดับนานาชาติมากมาย และหนึ่งในงานที่ขอใช้คำว่าสร้างงานช้าง งานบิ๊กเขย่าโลก ก็คือแคมเปญการโปรโมท ซีรีส์ Squid Game ทั้ง Season 2 และ 3 ไม่ว่าจะเป็นการพาน้องโกโกวายักษ์ ล่องแม่น้ำเข้าพระยา หรือการเซ็ตน้องโกโกวา 2 ตัวแกว่งเชือกได้จริงที่เสาชิงช้า ทำออกมาได้สั่นสะเทือนโลกไปเลย โดยผู้อยู่เบื้องหลังแคมเปญนี้ได้แก่ เอเจนซี่ไทย โดยคนไทย ได้แก่ “จงรักดี”

แม้ว่าตอนนี้แทบจะปักชื่อลงไปแล้วว่า เป็นผู้สร้างสรรค์งานให้กับ Netflix ดังเปรี้ยงปร้างระดับโลกหลายแคมเปญ แต่มากไปกว่านั้น จริงๆ แล้ว “จงรักดี” ทำแคมเปญการตลาดปังๆ ออกมามากมายให้กับลูกค้าหลายแบรนด์จนประสบความสำเร็จมากมาย ทีมนี้เขามีวิธีคิดอย่างไร มีวิธีในการแคร็กไอเดีย สร้างสรรค์งานอย่างไร เราได้มาคุยกับแม่ทัพตัวจริง คุณเอย” – ภัทศา อัตตนนท์  Managing Director “จงรักดี” ที่วันนี้พร้อมเปิดทุกมุมมองให้กับเราครบทุกมิติเลย

รู้จัก “เอย จงรักดี” ประสบการณ์ในวงการเอเจนซี่มายาวนาน

เอย หรือ คุณเอย – ภัทศา อัตตนนท์ รัตติกร Managing Director ของเอเจนซี่โฆษณา “จงรักดี” มีประสบการณ์ในวงการโฆษณามาอย่างยาวนาน โดยเริ่มต้นอาชีพตั้งแต่ปี 2005 ที่ McCann Worldgroup (Thailand) ในตำแหน่ง AE ดูแลบัญชี Nestle เป็นเวลา 5 ปี ก่อนจะย้ายมาที่ Ogilvy Thailand

ที่ Ogilvy นี่เองที่เธอได้ร่วมงานกับ คุณกิ๊ฟ – เขตนภินท์ โสภิญนนท์ ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่ง Founder และ Chief Creative Office (CCO) ของ จงรักดี โดยทั้งคู่เคยร่วมงานกันตั้งแต่ที่ McCann ในแผนก Digital Department และเมื่อคุณกิ๊ฟออกมาเปิดเอเจนซี่ “จงรักดี” เมื่อ 13-14 ปีก่อน คุณเอยก็ได้ตัดสินใจตามมาร่วมงานด้วยในอีก 2 ปีถัดมา แม้จะกำลังสนุกกับงานที่ Ogilvy ในช่วงนั้นก็ตาม

“ตอนที่พี่กิ๊ฟเค้าออกมาทำเนี่ย เค้าเริ่มต้นเล็กๆ ของเค้าเอง ไม่ได้มีทีม AE ซัพพอร์ตอะไร เค้าก็รู้ของเค้าเองแล้วพอเราเป็นบริษัทที่เล็กๆ เราก็อาจจะไม่ได้มีทีมโปรดักชั่นที่สเกลใหญ่โตที่จะมาซัพพอร์ต” คุณเอยกล่าวถึงจุดเริ่มต้นของ จงรักดี ที่วางตำแหน่งตัวเองให้เป็นทั้ง Production House และ Creative Agency ครบวงจร ซึ่งถือเป็นแนวคิดที่ล้ำหน้าในยุคนั้น

จุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้คุณเอยตัดสินใจมาร่วมงานกับ คุณกิ๊ฟ คือความเชื่อมั่นในความคิดสร้างสรรค์ของ คุณกิ๊ฟที่ “ไอเดียเค้าไม่เคยหมดเลย ทุกครั้งที่เค้าเล่าให้เราฟังอ่ะ เรารู้สึกว่า เฮ้..มันน่าตื่นเต้น มันมันน่าทำจังเลย” คุณเอยกล่าว

ไอเดียที่ Make it Happen ได้จริง” หัวใจสำคัญและจุดแข็งของ “จงรักดี”

คุณเอยเผยว่าจุดแข็งของ “จงรักดี” คือ “ไอเดีย” ที่สามารถทำให้เกิดขึ้นจริงได้ (Make it happen) โดยทางเอเจนซี่จะทำความใจและทำความรู้จักกับลูกค้าใหม่เป็นอย่าง โดยเฉพาะการจุดประกายให้ไอเดีย ทำให้ลูกค้ารู้สึกตาลุกวาว ตั้งแต่วันแรกที่เรานเสนอไอเดีย จนไปถึงในวันที่มัน Make it happen ตอนที่มันเริ่มปล่อยของแล้ว

“สิ่งหนึ่งที่เป็นนโยบายของเราเลยคือ “จงรักดี” เราไม่รับ Pitching เลย แต่จะเน้นการทำงานกับลูกค้าที่มีเคมีตรงกันและเติบโตไปด้วยกัน” คุณเอยเล่าว่าตลอด 10 กว่าปีที่ผ่านมา “จงรักดี” ไม่เคย Pitching งานเลยแม้แต่ครั้งเดียว แต่ใช้วิธีการสร้างผลงานที่มีคุณภาพให้เป็นตัวเปิดโอกาสให้ลูกค้าใหม่เข้ามาเอง หรือขยายงานจากแบรนด์เดิมในเครือของลูกค้า ซึ่งวิธีนี้ได้ผลลัพธ์ที่ดีเพราะลูกค้าส่วนใหญ่ที่ทำงานกับ “จงรักดี” จะมีความเชื่อใจและอยู่ด้วยกันนานเกิน 5 ปี โดยกุญแจสำคัญคือ “ความเชื่อใจ” ที่ลูกค้ามีให้ตั้งแต่ Day 1 ทำให้พวกเขากล้าที่จะเสี่ยงไปกับไอเดียใหม่ๆ ที่ “จงรักดี” นำเสนอ

 

โปร่งใส ซื่อตรง และเข้าใจลูกค้า หัวใจในการสร้างความเชื่อใจ

“จงรักดี” ให้ความสำคัญกับการสร้างความเชื่อใจกับลูกค้าเป็นอย่างมาก สำหรับลูกค้าที่ไม่เคยร่วมงานกันมาก่อน การพูดคุยเปิดอกอย่างตรงไปตรงมาคือสิ่งสำคัญ คุณเอยจะใช้เวลาในการพูดคุยนานพอสมควรเพื่อทำความเข้าใจสิ่งที่ลูกค้ามองหา Pain Point ที่เคยเจอ รวมถึงเหตุผลที่พวกเขากำลังมองหาเอเจนซี่ใหม่

คุณเอยจะบอกอย่างซื่อสัตย์ถึงสิ่งที่ “จงรักดี” ทำได้และทำไม่ได้ รวมถึงแนะนำพาร์ทเนอร์ในกรณีที่งานนั้นไม่ใช่ความเชี่ยวชาญของเอเจนซี่ “เราจะไม่ใช่ Agency ที่พยายามจะโฮลด์ทุกอย่างไว้กับตัว ไอ้นี่ก็ทำได้ ทำได้…เราไม่ทำแบบนั้น” คุณเอยยืนยันถึงจริงใจแลซื่อสัตย์ที่มีให้กับลูกค้า

นอกจากนี้ ยังรวมถึงเรื่องของต้นทุนและงบประมาณที่ “จงรักดี” จะโปร่งใสมากที่สุด โดยจะแจกแจงรายละเอียดให้ลูกค้าเห็นภาพรวมทั้งหมดว่าใครจะรับผิดชอบส่วนไหนบ้าง และหากลูกค้าสามารถจ่ายตรงให้พาร์ทเนอร์ได้ ก็จะแนะนำให้ทำเช่นนั้น ความโปร่งใสนี้เองที่ทำให้ลูกค้าส่วนใหญ่ของ “จงรักดี” อยู่ด้วยกันนานเกิน 5 ปี เพราะเมื่อเกิดปัญหา ลูกค้าสามารถโทรหา “จงรักดี” และได้รับโซลูชันทันที หรือแม้แต่ในการคิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมเล็กๆ น้อยๆ เราก็จะไม่ทำ “มันหมดยุคของการมาพูดกันบน Additional cost เป็นอะไรที่แบบคิดเล็กคิดน้อย เราไม่มีเชื่อในเรื่องนั้นเลยเพราะว่าสุดท้ายทั้งหมดการทำงานออกมาให้ดี มันทำให้แคมเปญเรามันปังเอง” คุณเอยกล่าว

แคร็กโจทย์ลูกค้า และสร้างงานที่ “ว้าว” บนข้อจำกัดด้านงบประมาณ

ในการแคร็กโจทย์จากลูกค้าและสร้างสรรค์ไอเดียให้ “ว้าว” “จงรักดี” จะขยี้บรีฟของลูกค้าให้ละเอียดที่สุดตั้งแต่แรก และถึงแม้ลูกค้าจะไม่มีบรีฟที่ดีเสมอไป หน้าที่ของเอเจนซี่คือต้อง “พาตัวเองเข้าไปอยู่ในบริบทของลูกค้า เข้าไปอยู่ใน Client shoes” เพื่อทำความเข้าใจลูกค้าอย่างลึกซึ้งว่าพวกเขากลัวอะไร และอะไรที่จะทำให้พวกเขาก้าวไปได้ไกลกว่าที่คิด

เราเชื่อว่าหน้าที่เอเจนซี่ที่ดีควรจะไปได้ไกลมากกว่าบรีฟเสมอ มันต้องถูกบรีฟ แต่มันต้อง Beyond มากกว่าที่ที่เค้าบรีฟมาค่ะ” คุณเอยเน้นย้ำ และในการนำเสนอไอเดียครั้งแรก “จงรักดี” จะนำเสนอหลากหลายทิศทาง เพื่อให้ลูกค้ามีทางเลือกในการตัดสินใจ

สำหรับการสร้างสรรค์งานบนงบประมาณที่จำกัด “จงรักดี” เข้าใจดีว่าไม่ว่าเศรษฐกิจจะรุ่งเรืองแค่ไหน ก็ไม่มีลูกค้าคนไหนที่มีงบประมาณไม่จำกัด ดังนั้นพวกเขาจึงเคารพงบประมาณของลูกค้า และจะไม่ใช้เงินจนหมดไปกับค่าโปรดักชั่นหรือครีเอทีฟจนไม่มีงบฯ สำหรับมีเดีย

คุณเอยยกตัวอย่างผลงานที่สร้างความ “ว้าว” บนงบประมาณที่ไม่มากอย่างที่คิดคืองานโปรโมทซีรีส์ Mad Unicorn – สงคราม ส่งด่วน” ซึ่งเป็นการผลิตเทปปิดกล่องพัสดุที่เขียนว่า “ส่งจาก Thunder Express” แล้วไปดีลกับร้านค้าออนไลน์ให้ใช้เทปนี้แทน

 

คุณเอยเล่าว่า “ตอนที่เอยขายไอเดียเนี้ย เอยบอกเค้าเลยว่าเราจะทำ เราจะอินเวสต์แค่การผลิตเทปอันเนี้ยออกมาแล้วที่เหลือเราจะใช้วิธีการร่วมมือกับร้านค้าออนไลน์เซลเลอร์ทั้งหมด”

“จงรักดี” ทำหน้าที่ในการมองหาสิ่งที่สามารถนำไปแลกเปลี่ยน (Trade) และได้ประโยชน์กลับคืนมาให้ลูกค้า โดยที่ลูกค้าไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ เพิ่มเติม ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการคิดรอบด้านและมองการณ์ไกลเพื่อสร้างสรรค์ผลงานที่ทรงพลังภายใต้ข้อจำกัด

 

เบื้องหลังความสำเร็จแคมเปญ Squid Game SS. 2-3

“จงรักดี” บริษัท Production House เบื้องหลังความสำเร็จของแคมเปญโปรโมทซีรีส์ดังระดับโลกอย่าง Squid Game Season 2 และ 3 เผยถึงแนวคิดสุดท้าทายที่ทำให้แคมเปญของไทยโดดเด่นและสร้างปรากฏการณ์ไปทั่วโลก ด้วยการผสมผสานความคิดสร้างสรรค์เข้ากับความเชี่ยวชาญด้าน Production อย่างแท้จริง

สำหรับโจทย์ใหญ่ของแคมเปญ Squid Game Season 2 คือการสร้าง Global Campaign ที่มีความเป็น “โอลิมปิก” แต่ในขณะเดียวกันก็ ต้องสะท้อนความเป็น “ไทยแลนด์” ออกมาให้ชัดเจนและเป็นที่จดจำตั้งแต่แรกเห็น

“ด้วยความที่ซีรีส์นี้เป็น ซีรีส์ระดับโลก หลายประเทศก็จะทำแคมเปญที่ออกจากโปรดักส์เหมือนๆ กันหมด แต่ทำยังไงให้ภาพแรกที่ออกไป ไม่ต้องพูดอะไรเยอะเลย ออกไปปุ๊บ คนรู้เลยว่าอันนี้คือไทยแลนด์! นี่คือสิ่งที่ทีมของจงรักดีวางไว้ตั้งแต่ต้น

อีกหนึ่งความท้าทายคือเรื่องของขนาด (Scale) เนื่องจากทุกประเทศถูกบรีฟให้ใช้ “ยองฮีดอล” หรือตุ๊กตาชุดสีส้มเป็นสัญลักษณ์ร่วมกัน แต่ “จงรักดี” มองว่าหากทุกประเทศใช้เหมือนกัน ก็ต้องทำให้ของไทย ใหญ่ที่สุด

Noted: “ยองฮีดอล” หรือน้องตุ๊กตาชุดสีส้ม ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำคัญของซีรีส์นั้น ไทยเป็นประเทศเดียวในโลก ที่ Netflix อนุญาตให้ใช้คำว่า “โกโกวา” ได้!! ซึ่งโดยปกติเรื่องการเรียกชื่อแบรนด์จะให้ความสำคัญมากที่สุด และจะไม่ยอมให้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อแต่อย่างใด

 

ยองฮีลอยน้ำ” งานเขย่าโลก ไอเดียสุดสร้างสรรค์ที่มาพร้อมการแก้ปัญหา และสร้างงานแบบมี “ที่เดียวในโลก”!

พวกเราเป็นคนที่ชอบทำภาพให้คนมันแบบใจสั่น” นี่คือแนวคิดหลักที่ขับเคลื่อนทีม “จงรักดี” พวกเขาต้องการสร้างแคมเปญที่ไปไกลกว่าที่ใครจะคาดคิดได้ และเมื่อความต้องการคือการสร้างตุ๊กตายองฮีให้มีขนาดใหญ่ที่สุด การหาพื้นที่ติดตั้งจึงกลายเป็นปัญหาใหญ่ เพราะตุ๊กตามีขนาดใหญ่และหนักมาก “การหาที่ที่จะไปตั้งไว้มันยากมากๆ เพราะว่ามันหนัก มันใหญ่มากจริงๆ นับเป็นความยากและท้าทายของแคมเปญนี้”

ทางออกที่คิดขึ้นมาคือ การนำตุ๊กตายองฮีลงเรือลอยน้ำบนแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งตอบโจทย์ความต้องการของทีมครีเอทีฟ ที่อยากได้ภาพฉากหลังที่เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ซึ่งแตกต่างจากประเทศอื่นที่อาจเลือกวางตุ๊กตาไว้กับแลนด์มาร์คเด่นๆ เพียงจุดเดียว เช่น หอไอเฟลของฝรั่งเศส หรือบางที่อาจจะเป็นโอเปร่าเฮาส์ (ยกตัวอย่างแลนด์มาร์กเฉยๆ อาจไม่ใช่ความเป็นจริง)

 

นอกจากนี้ ยังมีการเพิ่มลูกเล่นให้กับตุ๊กตายองฮีให้ “มีชีวิต” มากขึ้น นั่นคือ การหมุนคอได้ และมีไฟที่ตา ซึ่งการหมุนคอนั้นประเทศอื่นก็ทำได้ แต่การมีไฟที่ตาและสามารถนอนราบได้นั้น มีเพียงประเทศไทยเท่านั้นที่ทำได้

การที่ตุ๊กตาสามารถนอนราบลงได้นี้เองที่กลายเป็นจุดขายสำคัญ เพราะช่วยให้ตุ๊กตาสามารถลอดใต้สะพานต่างๆ บนแม่น้ำเจ้าพระยาได้ ซึ่งเป็นการคิดล่วงหน้ามาตั้งแต่แรกที่รู้ว่าความสูงของตุ๊กตาจะชนสะพานได้ “อันนี้แหละจะเป็นตัวที่แสดงอภินิหารในการนอนลง” ทำให้เกิดเป็นภาพที่น่าตื่นตาตื่นใจและสร้างเสียงฮือฮาบนโซเชียลมีเดียทั่วโลก

ส่วนสาเหตุที่เลือกแม่น้ำเจ้าพระยา ไม่ใช่แค่เรื่องของความต้องการให้ฉากหลังเปลี่ยนไปเรื่อยๆ เท่านั้น แต่ยังเป็นเรื่องของ ข้อจำกัดด้านพื้นที่ การตั้งตุ๊กตาขนาดใหญ่เท่าตึก 4 ชั้นบนพื้นดินนั้นต้องใช้งบประมาณมหาศาลในการก่อสร้างฐานรากเพื่อความแข็งแรงทางวิศวกรรม อีกทั้งยังต้องคำนึงถึงฉากหลังที่สะท้อนความเป็นไทยด้วย “การเอาลงน้ำคือการอยู่ในแม่น้ำ มันจะมีการซัพพอร์ตของตัวแม่น้ำอยู่แล้ว” และข้อดีของการลอยน้ำคือ ผู้คนสามารถเข้าถึงและมีส่วนร่วมกับแคมเปญได้ในหลายจุดตลอดเส้นทาง 17 กิโลเมตร

ความท้าทายครั้งใหม่: Squid Game Season 3 กับ “เกมกระโดดเชือก” ที่ทำได้ที่เดียวในโลก (again)

หลังจากความสำเร็จอย่างล้นหลามของ Season 2 แรงกดดันในการสร้างสรรค์แคมเปญ Season 3 ยิ่งสูงขึ้นไปอีก แต่ “จงรักดี” ก็ยังคงสร้างปรากฏการณ์ได้อีกครั้งกับแคมเปญ “กระโดดเชือกพิพากษา”

ความไม่คาดคิด “จงรักดี” ตัดสินใจ เก็บตุ๊กตายองฮีตัวเดิมไว้ ตั้งแต่ตอนจบ Season 2 โดยไม่รู้ว่าจะได้ใช้หรือไม่ คุณอยเล่าว่า “ใจมีเซนส์บางอย่างว่าเฮ้ย มันต้องได้ใช้แน่เลย ทั้งที่ยังไม่รู้เลยว่าจะได้ทำรึเปล่า” และในที่สุดก็ได้นำโครงเดิมของตุ๊กตามาใช้ในการสร้างตุ๊กตายองฮีชุดสีชมพู ทำให้ประหยัดงบประมาณมหาศาล และยังคงความใหญ่โตในระดับ Larger than Life” ด้วยการนำตุ๊กตาทั้งสองตัว โดยอีกตัวได้แก่ “ชอลซู” มาจัดแสดงคู่กัน

สำหรับการเลือกสถานที่จัดงาน ทีมงานต้องการ เสาชิงช้า” ที่ลานคนเมือง เป็นโลเคชั่นหลัก แม้จะมีห้างสรรพสินค้าหลายแห่งติดต่อมาอยากให้ไปจัดกิจกรรมก็ตาม “เรามีภาพในใจว่าเราอยากได้ที่เสาชิงช้า ที่ลานคนเมือง” เหตุผลคือ Squid Game ต้องการขยายกลุ่มเป้าหมายไปสู่ Mass Target และลานคนเมืองเป็น Public Space ที่แท้จริง ที่ใครๆ ก็สามารถเข้าถึงได้ ไม่ต้องแต่งตัวสวย ไม่ต้องมีเงินในกระเป๋า ก็สามารถมาร่วมกิจกรรมและสัมผัสพลังของซีรีส์ได้

กิจกรรม “กระโดดเชือก” ถูกออกแบบมาให้ท้าทาย ไม่ใช่แค่กระโดดผ่านไปง่ายๆ แต่เป็นความตั้งใจของทีมที่อยากให้มันรู้สึกค่อนข้างยาก ท้าทยใจเต้นขึ้นมาหน่อย “ถ้ามันกระโดดผ่านแบบหน่อมแน้ม กระโดดไปเรื่อยๆ คนมันจะไม่อยากเล่น”

อย่างไรก็ตาม ทางทีมงานก็มีระบบความปลอดภัยที่เข้มงวด เช่น เบาะรองรับขนาด 6 นิ้วที่หนากว่าปกติ และเชือกที่ทำจากโฟมนุ่ม เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้สัมผัสถึงความตื่นเต้นและความรู้สึก “ใจเต้น” เหมือนในซีรีส์จริง โดยไม่เป็นอันตราย

นอกจากนี้ สิ่งที่เป็นความท้าทายหลักของแคมเปญ Season 3 คือการ จัดกิจกรรมในพื้นที่สาธารณะ (Outdoor Public Space) ในช่วงหน้าฝน ซึ่งมีความเสี่ยงสูงด้านความปลอดภัยและการดูแลระบบปฏิบัติการที่แน่นหนา “มันคือการที่เราเอาคนเข้ามาอยู่ในกิจกรรมที่มีความเสี่ยงมหาศาล หลายอย่างที่เกิดขึ้นมันเป็นช่วงหน้าฝน มันเป็นเอาท์ดอร์ มันเป็นพับลิคสเปซที่เราต้องมีระบบโอเปอเรชั่นที่แน่นหนามากๆ”

อย่างไรก็ตาม การจัดกิจกรรมนี้ทำให้ Netflix กลายเป็น Beloved Brand ที่ทุกคนรู้สึกว่า “ใส่ใจกับการสร้างประสบการณ์ที่ให้เกียรติคนดู” ผู้คนแต่งตัวมาอย่างตั้งใจ บางคนรอกว่า 2 ชั่วโมงเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมแค่ 40 วินาที แม้การเดินทางจะยากลำบากก็ตาม สิ่งนี้เป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความสำเร็จของแคมเปญที่สร้างประสบการณ์ร่วมและกระตุ้นให้เกิด User-Generated Content (UGC) อย่างมหาศาล

นอกจากนี้ “จงรักดี” ยังภูมิใจที่ประเทศไทยเป็น ที่เดียวในโลก! ที่สามารถสร้างเครื่องกระโดดเชือกที่หมุนได้จริง เหมือนในซีรีส์เลย

Mindset แบบ Production House ความกลมกล่อมระหว่างไอเดียและการลงมือทำจริง

จุดเด่นสำคัญที่ทำให้ “จงรักดี” ประสบความสำเร็จคือการมี Mindset ของคน Production ควบคู่ไปกับความคิดสร้างสรรค์ “เราจะอยู่บนการแก้ปัญหาแบบที่มันเรียลลิสติกมากๆ” พวกเขาไม่ได้แค่คิดไอเดียที่ “ฟุ้ง” ไปเรื่อยๆ แต่ทุกครั้งที่คิดไอเดีย จะมีการพูดคุยกันตั้งแต่แรกว่า จะทำให้เกิดขึ้นจริงได้อย่างไร (Make it Happen)

ความเชี่ยวชาญด้าน Production ของทีม “จงรักดี” ครอบคลุมในทุกแขนง ทั้งงาน Mechanic, งาน Logistics และงาน Production วิดีโอ “ทีมโปรดักชั่นไทยจะเป็นทีมเวิร์คที่เขาพร้อมจะพุ่งไปแก้ปัญหาแล้วมันไม่มี Never Say No” นี่คือความแข็งแกร่งของทีมงานไทย ที่ไม่เคยปฏิเสธว่าทำไม่ได้ แต่จะหาวิธีการว่า “How” ทำอย่างไรให้ได้เสมอ

 

การปรับตัวในยุค Social Media มุ่งเน้น Consumer-Centric และ UGC

ในยุคที่ต้องต่อสู้กับ Algorithm ของ Social Media “จงรักดี” มีแนวคิดการทำงานที่เน้น Consumer-Centric ทุกไอเดีย เราจะพยายามใส่การที่ให้ Consumer เป็นเซนเตอร์ของการเล่าเรื่องหมดเลย และเชื่อในการสร้าง User-Generated Content (UGC) คือการทำอย่างไรให้ผู้บริโภคนำไอเดียของแคมเปญไปต่อยอดใน Social Media สร้าง Conversation และรู้สึกเชื่อมโยงกับแบรนด์ได้ง่ายที่สุด

“จงรักดี” มองว่า Social Media ไม่ใช่อุปสรรค แต่เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เข้าใจผู้บริโภคได้ง่ายขึ้นมาก “เมื่อก่อนถ้าเราอยากจะรู้เข้าใจทาร์เก็ตสมมุติว่า อยากรู้ความคิดของกลุ่มแม่และเด็ก เราอาจต้องไปทำรีเสิร์ชใช่มั้ย หรือทำโฟกกรุ๊ป แต่วันนี้แค่เราเข้าเอาตัวเองเข้าไปอยู่ใน Social media group ที่เป็นแม่และเด็ก อ่านคอมเมนต์ว่าเค้ามองหาอะไร มันมีคอมมูนิตี้ทำให้เราเข้าใจคอนซูเมอร์ได้ง่ายขึ้นมาก”

วิสัยทัศน์ในอนาคต: โฆษณาที่ไร้ขีดจำกัดและเป็น National Agenda

คุณเอย บอกถึงวิสัยทัศน์ ที่อยากให้ “จงรักดี” กล่าวไปในเป้าหมายนั้น ได้แก่  การสร้งไอเดียงานโฆษณาให้มันเป้น National Agenda ให้ได้ งานโฆษณาไม่ได้จำกัดอยู่แค่การทำหนังโฆษณาหรือ Key Visual ที่สวยงามอีกต่อไป แต่คือการทำความเข้าใจผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปทุกวัน และปรับตัวเข้าสู่ New Media รูปแบบต่างๆ

เราต้องไม่ Underestimate Consumer นี่แหละคือความท้าทายสำคัญของยุคนี้ เราต้องปรับตัวเองแล้วมองให้ออกว่า คอนเทนต์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัว คือโฆษณาทั้งนั้นเลย” พวกเราเชื่อว่าทุกคนสามารถเป็น Creative ได้ และคนไทยก็เป็นผู้สร้างสรรค์คอนเทนต์ที่เก่งเกินคาด ไอเดียสำคัญที่สุด ไม่ว่าจะเป็นงานสเกลเล็ก สเกลใหญ่ และในทุกๆ ฟอร์แมตด้วย”

การสร้างงานแบบ Make it Happen บนความสุขของทีม

คำถามในตอนท้ายที่เราถามคุณเอยว่า อะไรคือความภูมิใจกับการสร้าง “จงรักดี” คุณเอย บอกว่า ความภูมิใจที่เกิดไม่ได้จำกัดอยู่แค่ความสำเร็จของแคมเปญ แต่เป็นเรื่องของ การยกระดับทีมงาน และที่สำคัญคือการให้ความสำคัญกับทีม Production ที่มักจะเป็น Invisible Heroes คนตัวเล็ก ที่เป็นแบบอันซังฮีโร่ที่ไม่มีใครรู้จักชื่อเขาด้วยซ้ำ ไม่มีใครให้เครดิตเขาด้วยซ้ำ แต่วันนี้เราทำให้เขาได้มีแสงส่องลงไปแล้ว”

งานอย่าง Squid Game ทำให้ทีมงานเหล่านี้รู้สึกภูมิใจในอาชีพของตนเอง พ่อแม่ที่บ้านรับรู้ว่าพวกเขากำลังทำอะไร “นี่แหละคืองานเค้า อันเนี้ยคงจะเป็นความภูมิใจแค่นี้ของเอยที่รู้สึกอิ่มเอมจริงๆ”

“จงรักดี” คือเอเจนซี่ไทยที่โดดเด่นด้วยการผสานความคิดสร้างสรรค์ Creativity เข้ากับความเชี่ยวชาญด้าน Production อย่างลึกซึ้ง ทำให้พวกเขาสามารถเปลี่ยนไอเดียสุดท้าทายให้กลายเป็นแคมเปญระดับโลก ที่สร้างปรากฏการณ์จริงได้สำเร็จ อย่างที่เราเห็นจากแคมเปญโปรโมท Squid Game Season 2 และ 3 ที่ไม่ใช่แค่คิดใหญ่ แต่ยังลงมือทำได้จริงและแตกต่าง ดึงดูดผู้คนจำนวนมาก ด้วย mindset แบบ “Never Say No” และความสามารถในการเปลี่ยนข้อจำกัดให้เป็นโอกาส “จงรักดี” จึงไม่เพียงสร้างสรรค์ผลงานที่น่าทึ่ง แต่ยังให้ความสำคัญกับทีมงานและเข้าใจแก่นแท้ของการทำการตลาดในยุคโซเชียลมีเดียได้อย่างแท้จริง ทำให้แคมเปญของพวกเขาสามารถสร้างการมีส่วนร่วมและกลายเป็น Talk of the Town ที่สั่นสะเทือนโลกได้.


  • 3
  •  
  •  
  •  
  •  
pigabyte
การเรียนรู้ไม่มีวันจบสิ้น มาเรียนรู้และสนุกไปกับบทความ จาก MarketingOops! กันนะคะ แล้วเราจะได้ค้นพบว่าโลกของ Marketing นั้น So Sexy and Cool!