รู้จัก “Nutraceutical” หรือ “โภชนบำบัด” เวชศาสตร์ชะลอวัย ที่กำลังเป็นเทรนด์ที่ได้ความสนใจ กับ ดร.ตฤณวรรธน์ ธนิตนิธิพันธ์ แห่ง Inter Pharma

  • 92
  •  
  •  
  •  
  •  

กระแสสุขภาพที่มาแรง คงหนีไม่พ้น “Nutraceutical” ซึ่งในแวดวงเวชศาสตร์ชะลอวัยและการแพทย์ในต่างประเทศ กระแสความนิยมเกี่ยวกับ “Nutraceutical” หรือ “โภชนบำบัด” หรือ “โภชนเภสัช” กำลังเป็นเทรนด์ที่ได้รับความสนใจอย่างมาก โดยเฉพาะกลุ่มผู้บริหารที่ใช้ร่างกายจากการทำงานหนัก และสำหรับกลุ่มที่ใส่ใจสุขภาพ

Nutraceutical หรือโภชนบำบัด คือ สารอาหาร ที่มีหลักฐานการวิจัยว่ามีประสิทธิภาพในการป้องกันและรักษาโรค แต่ไม่ใช่ยาหรือเวชภัณฑ์ ซึ่งข้อดีคือมีความปลอดภัยคล้ายอาหาร แต่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและรักษาเช่นเดียวกับยา

“Nutraceutical” เป็นการผสม ระหว่างคำว่า “Nutrients” ซึ่งหมายถึง สารอาหาร และ “Pharmaceutics” ซึ่งหมายถึงยา แต่สำหรับคนไทยคำนี้อาจดูไม่คุ้นเคยมากนัก และส่วนใหญ่ยังเข้าใจว่า ผลิตภัณฑ์โภชนบำบัด = อาหารเสริม

“หากเป็นกลุ่มอาหารเสริมโรงพยาบาลจะไม่ค่อยนำไปใช้ เพราะแค่ ช่วยเสริมอาหาร แต่ไม่มีผลในด้านการป้องกันและรักษาโรค แต่โภชนบำบัดต้องมีหลักฐานการวิจัย และมีการทดลองใช้จริงด้วย” ดร.ตฤณวรรธน์ อธิบายต่อ

ซึ่งนอกจากจะใช้เพื่อการรักษาผู้ป่วยบางโรคแล้ว ปัจจุบันกระแสของ Nutraceutical ยังเป็นที่สนใจของกลุ่มผู้ที่ใส่ใจสุขภาพ ในฝั่งเวชศาสตร์ชะลอวัย ที่แม้ไม่มีโรคภัย แต่ก็อยากป้องกันโรค อายุยืนและแข็งแรงมีสุขภาพดี

“วิธีดูง่ายๆ กลุ่มที่เป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ทางโรงพยาบาลจะไม่ให้ใช้ แต่สำหรับโภชนบำบัดจะได้รับการยอมรับทางการแพทย์ว่าสามารถใช้ประกอบการรักษา หรือบำบัดผู้ป่วยได้” ดร.ตฤณวรรธน์ ธนิตนิธิพันธ์ ผู้ก่อตั้ง และ CEO บริษัท อินเตอร์ ฟาร์มา จำกัด (มหาชน) ผู้นำการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและชะลอวัย และนวัตกรรมความงาม กล่าวแนะนำ

ซึ่งในบ้านเรา หากนึกถึงผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์กลุ่ม “Nutraceutical” หรือโภชนบำบัด อันดับ 1 ย่อมต้องมี อินเตอร์ ฟาร์มา เป็นเบอร์ต้นๆ เนื่องจากเปิดตัวในตลาดมานานและมีสินค้าหลากหลายที่ รองรับกลุ่มลูกค้าที่สนใจสุขภาพในสายเวชศาสตร์ชะลอวัยระดับลักชัวรี่ รวมถึงโรงพยาบาลชั้นนำ

กว่าจะมาเป็นผลิตภัณฑ์ของ “อินเตอร์ ฟาร์มา”

อินเตอร์ ฟาร์มา เริ่มต้นธุรกิจจากการ Launch ผลิตภัณฑ์ Nutraceutical ในกลุ่ม โปรไบโอติกแบคทีเรีย

ปัจจุบัน อินเตอร์ ฟาร์มา มีธุรกิจหลักอยู่ 4 กลุ่มด้วยกัน กลุ่มธุรกิจแรก คือโภชนบำบัด ซึ่งใช้ในเรื่องการป้องกันและรักษาโรค รวมถึงการชะลอวัย

กลุ่มธุรกิจที่สองก็เป็นกลุ่มเวชสำอาง ซึ่งทางบริษัทเน้นผลิตภัณฑ์ที่มีนวัตกรรมเป็นหลัก ส่วนกลุ่มที่สามคือผลิตภัณฑ์สุขภาพของสัตว์เลี้ยง ที่มองว่าอนาคตคนไทยจะเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น และกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ทำให้เกิดแนวโน้มที่จะเลี้ยงสัตว์เป็นเพื่อนมากขึ้น ส่วนกลุ่มที่สี่ คือสารที่แทนยาปฏิชีวนะในการเลี้ยงสัตว์เพื่อบริโภค เนื่องจากเทรนด์ของโลกคือ Food Safety

เรียกได้ว่า สินค้าทุกกลุ่มเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่มี “อนาคต” เพราะมีอัตราการเติบโตทั่วโลกเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 15%  ทุก Business Unit

“แนวคิดของเราคือพัฒนาผลิตภัณฑ์อะไรก็ได้ที่ทำให้คนเรามีสุขภาพที่ดี”

“ซึ่งผลิตภัณฑ์ทุกตัวที่เราพัฒนาจะต้องมี Clinical Paper และหากเปเปอร์ (เอกสารงานวิจัยทางวิชาการ) อะไรที่ไม่น่าเชื่อถือเราก็ไม่กล้าปล่อยออกมา”

ดร.ตฤณวรรธน์ กล่าวถึง “ความต่าง” ที่กลายเป็น “จุดแข็ง” ของแบรนด์

อะไรก็ได้ที่ทำให้คนเรามีสุขภาพที่ดี

“เพราะเราต้องการพิสูจน์ให้รู้ก่อนว่า ผู้บริโภคเขายอมเสียเงินแล้ว เขาได้อะไรกลับไป” คำพูดที่แฝงความท้าทายดังกล่าว ได้กลายเป็นความลำบากที่ทำให้บริษัทต้องใช้เวลากว่าจะได้ผลิตภัณฑ์แต่ละตัววางจำหน่าย

เขาเล่าว่าขั้นตอนการพัฒนานั้นกว่าจะสรุปมาเป็นผลิตภัณฑ์ กว่าจะพัฒนาสูตรจนลงตัว ต้องทำสัญญาในการผลิต ต้องผ่านกระบวนการ อย. เฉลี่ยแล้วไม่ต่ำกว่าสองปี ขณะที่ในกระบวนการทำตลาดก็ไม่ง่ายเช่นกัน

เพราะทางแบรนด์เลือกทำตลาดผ่านช่องทางโรงพยาบาลชั้นนำแต่ละแห่ง ซึ่งต้องผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการของโรงพยาบาลไม่แตกต่างจากการคัดสรรยา ที่ต้องเสียเวลานานกว่าและยุ่งยากกว่า แต่ทางแบรนด์ก็ยังยืนที่จะเดินตามแนวทางนี้

“ตอนเราเริ่มต้นธุรกิจใหม่ๆ เราตั้งใจอยู่แล้วว่า ด้วยความที่เราอยากพิสูจน์ตัวเอง ดังนั้น ทุกครั้งที่วางจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของเราก็จะเริ่มเข้าช่องทางในโรงพยาบาลชั้นนำหลักๆก่อน เรายอมที่จะรอกระบวนการทั้งหมดนี้ เพราะฉะนั้น จึงทำให้ยอดขายหลักตอนนี้ 80% ยังเป็นในโรงพยาบาล แต่เราเพิ่งเริ่มมานำผลิตภัณฑ์สู่ผู้บริโภคเมื่อสองปีที่ผ่านมา”

แต่ผู้บริหาร อินเตอร์ ฟาร์มา ให้ข้อมูลว่า เวลาเสนอในแต่ละโรงพยาบาล จะเริ่มต้นจากการนำเสนอต่อแพทย์ในแผนกต่างๆ ถ้าแพทย์ส่วนใหญ่สนใจที่จะทดลองใช้ ก็จะต้องมีช่วงการทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ ซึ่งระยะเวลาอาจ 3 หรือ 6 เดือน ต้องมีเคสตัวอย่างกว่า 15-30 ราย ถ้าผลในการรักษาโรคเป็นที่น่าพอใจ แพทย์ทั้งแผนกต้องเซ็นเสนอ โดยมีแพทย์หัวหน้าแผนกเป็นผู้ที่จะนำไปเสนอต่อคณะกรรมการยาและการบำบัดของโรงพยาบาล ซึ่งถ้ามีกรรมการท่านใดไม่เห็นด้วยหรือขอข้อมูลเพิ่ม ก็จะต้องทำให้ล่าช้าออกไป

ต้องยอมรับว่า การทำตลาดแนวทางดังกล่าวนั้นสร้างกระแสบวก เพราะทำให้สินค้าของบริษัทฯ สามารถเข้าถึงผู้บริโภคและทำตลาดง่าย เพราะเสมือนเป็นการได้รับการการันตีจากสถาบันที่น่าเชื่อถือแล้ว

“สินค้าตัวไหนเป็น Red Ocean เราจะไม่ขาย”

ด้วยแนวโน้มอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์ในเครือทั้ง 4 กลุ่ม ปัจจุบันเฉลี่ยแล้วไม่ต่ำกว่า 15% ทั้งมีการเติบโตเป็นสองหลัก (Double Digit) มาโดยตลอด ซึ่งทำให้เขามั่นใจกล้าที่จะวางเป้าหมายว่าสินค้าแต่ละตัวจะต้องโตถึง 30% ใน 5 ปีข้างหน้า

“แต่ถ้าพูดถึงในเมืองไทย ตลาดเราน่าจะโตกว่านั้น ที่ผ่านมาของบริษัทเติบโตไม่ต่ำกว่าสองหลักมาตลอด และบางตัวโตเกือบถึง 30% ซึ่งเรามองว่าส่วนหนึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ยังใหม่กับตลาดเมืองไทย ซึ่งในระยะยาวยังมีโอกาสขยายการเติบโตอีกมากในอนาคต”

“แต่เราวางเป้าหมายการเติบโตเฉลี่ย 30% ต่อปี ซึ่งมองว่ามีความเป็นไปได้ เพราะที่จริง ตลาดนี้ไม่ได้เล็ก แต่ว่าคนไทยยังไม่คุ้นเคยรู้จัก”

เหตุผลส่วนหนึ่งเกิดจากการมองเห็นกระแสผู้บริโภคมาสนใจเรื่องสุขภาพมากขึ้น  ขณะที่อีกส่วนเป็นความเชื่อว่า ความสำเร็จต้องมาจากการเลือกทำตลาดผลิตภัณฑ์ที่เขามั่นใจในการนำเสนอ

“เราคิดว่าผลิตภัณฑ์ของเราไม่ใช่ Red Ocean” ดร.ตฤณวรรธน์ เผยมุมมอง

“เราไม่วางจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในตลาดแล้ว ถ้าดูไม่แตกต่าง เพราะเราไม่ต้องการทำอะไรซ้ำ แต่ถ้าเราจะออกก็ต้องเป็นนวัตกรรมที่ดีกว่า ที่สำคัญเราไม่แข่งราคา เพราะไม่ใช่วิสัยทัศน์ของเรา ซึ่งหากนับในแง่ SKU ถือว่า อินเตอร์ ฟามาร์ ยังมีผลิตภัณฑ์น้อยมาก ถ้าเทียบกับแบรนด์อาหารเสริมแบรนด์ดังทั่วไป”

“แต่เราเลือกที่จะทำโปรดักส์ที่แตกต่าง อีกส่วนคือตัวเราเองกินไหม? ผมกับคนในครอบครัว เพื่อนสนิททุกคนต้องใช้ได้ ยอมรับว่าที่พัฒนาผลิตภัณฑ์พวกนี้ขึ้นมา ส่วนหนึ่งเพราะเราเองก็กลัวแก่” เขากล่าวพร้อมเสียงหัวเราะ

ปักหมุด สร้างกระแส Educate ผู้บริโภค

แม้จะรู้ดีว่าการทำตลาดกับผู้บริโภคอาจไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะผู้บริโภคไทยเอง ปัจจุบันยังมีความเข้าใจว่า Nutraceuticals เป็นผลิตภัณฑ์กลุ่มเดียวกับอาหารเสริม แต่หน้าที่ของบริษัท คือทำให้ผู้บริโภครู้จักว่าผลิตภัณฑ์เหล่านี้ทำอะไรได้บ้าง

“แต่เราคิดว่าวันหนึ่งผู้บริโภคต้องการของจริง” เขาบอกกล่าวถึงความตั้งใจ

“เราพยายาม Educate ให้ผู้บริโภคเริ่มเข้าใจ อย่างเช่น การให้ความรู้ว่าสิ่งที่คนเราต้องการในการดูแลกระดูกที่สุด ไม่ใช่แค่แคลเซียม แต่คือโปรตีนและวิตามินดี 3 ด้วย ซึ่งการบริโภคแคลเซียมเกินไปก็เสี่ยงเป็นนิ่วด้วย เป็นต้น แต่มันอาจต้องใช้เวลา ซึ่งก็มองว่าถ้าอยากจะไปให้เร็ว รู้จักมากขึ้นก็ต้องใช้การสื่อสารทางการตลาดมากขึ้น ซึ่งมองว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค เพราะเขาจะมีทางเลือกในการดูแลสุขภาพมากขึ้น”

ขณะเดียวกัน ทางบริษัทฯยังมีแผนที่จะวางทุกช่องทาง โรงพยาบาล คลินิก ร้านขายยา โมเดิร์นเทรด รวมถึง เซเว่นเอ็กส์ตร้า คอนวีเนียนสโตร์ที่มีร้านขายยาของเซเว่นอีเลฟเว่น ซึ่งมีกว่าพันสาขาทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังมีช่องทางออนไลน์ ซึ่งทางบริษัทเพิ่งเปิดตัวไปเมื่อปีที่ผ่านมา แต่ปัจจุบันสามารถสร้างยอดขายเฉพาะช่องทางนี้เฉลี่ยเดือนละ 6 ล้านบาท

“ลูกค้าจะเป็นกลุ่มที่ค่อนข้างรู้จักอยู่แล้วจากโรงพยาบาล หรือเขาเห็นคอนเทนท์ที่ให้ข้อมูลของเราในออนไลน์ ถือเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่เน้นความน่าเชื่อถือ ซึ่งผลิตภัณฑ์ของเราแทบไม่ได้ใช้ดาราหรือคนดัง

เพราะเรามีแพทย์พูดอยู่แล้ว เรามีวารสารที่เป็นแพทย์ให้ข้อมูล คือเรายังเชื่อว่าผลิตภัณฑ์สุขภาพควรให้แพทย์เป็นผู้ที่ Endorse”

หลังจากที่ในปีนี้ ทางบริษัทฯ เดินหน้าบุกตลาดผู้บริโภคอย่างเต็มตัว โดยได้วางจำหน่ายผลิตภัณฑ์ไปแล้วถึง 16 ตัว ดังนั้นแผนการทำตลาดปีหน้า เขาจึงมองว่า จะเป็นที่หันมาทุ่มทำตลาดผลิตภัณฑ์แต่ละตัวเหล่านั้นตลอดปี 2564

สยายปีกเจาะตลาดเอเชีย

ขณะเดียวกันทางบริษัทยังมีแผนบุกตลาดต่างประเทศ ทั้งในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน และในโซนเอเชีย ซึ่งเขามองว่าเป็นภูมิภาคที่เติบโตที่สุดในชั่วโมงนี้ สำหรับการทำตลาดต่างประเทศ ทางบริษัทฯเลือกที่จะนำผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงเข้าไปเปิดตลาดเป็นลำดับแรกก่อน

“เราเลือกผลิตภัณฑ์สัตว์เจาะง่ายกว่า ทั้งในเวียดนาม ในเกาหลีที่ตอนนี้มียอดออร์เดอร์แล้ว นอกจากนี้ยังมีอินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลี จีน ซึ่งถ้าเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับคน บางประเทศจะมีกฎหมายช่วยเหลือหรือคุ้มครองสิทธิ์ผู้ผลิตในประเทศ นอกจากนี้ต้องผ่าน อย. ทำให้การเข้าตลาดยากกว่า ส่วนกัมพูชา ลาว เมียนมาร์เป็นลูกค้าที่เขาข้ามมารับบริการในไทยอยู่แล้ว”

“ที่เลือกเอเชียเพราะเรามองว่าพฤติกรรมผู้บริโภคเอเชียไม่หนีกันมาก ที่สำคัญคนเอเชียยอมรับสินค้ากันเองได้ง่ายกว่า โดยเฉพาะสินค้าไทย” ดร.ตฤณวรรธน์ บอกเล่า

“แน่นอนว่าเราต้องตามเทรนด์อยู่ตลอดเวลา เพราะวิทยาการทางการแพทย์เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ผมต้องไปซิลิคอนวัลเลย์ปีละครั้ง มีงานประชุมวิชาการทางการแพทย์โลกประจำปี Annual Health Conference ซึ่งป็นงานสำคัญที่บริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการยา บริษัทเล็กๆ นักวิทยาศาสตร์ คนในวงการแพทย์และวิชาการจะไปเพื่ออัพเดทตัวเอง และหาเทคโนโลยีทางการแพทย์ใหม่ๆ”

“ถ้าฟังจากที่บิล เกตส์ วิเคราะห์ จะเห็นว่าสิ่งที่จะทำให้คนตายคือการติดเชื้อจากเชื้อไวรัส ซึ่งเราก็มองว่าสิ่งสำคัญที่สุด คือ ภูมิคุ้มกันร่างกาย ที่ต้องเกิดจากการที่ร่างกายได้บริโภคสิ่งที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย พักผ่อนอย่างเพียงพอ เพื่อสู้กับเชื้อโรคเหล่านี้ แต่ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายทำงานด้วยตัวเองไม่ได้ ก็ต้องมีแบคทีเรียที่ดีมาทำงานร่วมเสริม ซึ่งในทางวิชาการระดับโลกแล้ว WHO ได้ให้การรับรองแล้วว่า แบคทีเรียที่ดี ถือเป็นจุลชีพที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ”

เริ่มด้วย “แบคทีเรียที่ดี”

“ช่วงแรกที่เรานำผลิตภัณฑ์โปรไบโอติกมาวาง ในฝั่งโรงพยาบาล นำมาใช้รักษาได้หลายโรค ที่เกี่ยวเนื่องหรือเกิดจากขาดแบคทีเรียที่ดี เช่น โรคลำไส้แปรปรวน กรดไหลย้อน โรคท้องผูก ท้องเสียเรื้อรัง โรคตับ แต่โดยปกติแบคทีเรียที่ดีในธรรมชาติชอบผัก ชอบไฟเบอร์ แต่ด้วยไลฟ์สไตล์คนเมืองไม่สามารถที่จะมีพฤติกรรมเช่นนั้นได้”

ดร.ตฤณวรรธน์ อธิบายเสริมถึง แบคทีเรียสองกลุ่ม คือมีแบคทีเรียที่ดี และแบคทีเรียที่ไม่ดีว่า ปกติร่างกายคนเรามีเซลล์หลายล้านเซลล์ แต่แบคทีเรียที่ดีในร่างกายเรามีมากกว่านั้น

“เขาจะอยู่ในทุกเซลล์ของเรา ในทุกจุดของร่างกาย เช่นอยู่ที่ผิวหน้าก็จะคอยดูควบคุมกันไม่ให้ติดเชื้อ แต่ถ้าแบคทีเรียที่ดีของร่างกายอ่อนแอ จนเชื้อโรคชนะก็จะเป็นสิวหรือภูมิแพ้ ผื่นแดง อย่างในช่องปาก หากเชื้อโรคสเตปโตคอคคัสชนะ ก็ทำให้เรามีกลิ่นปาก หากเชื้อโรคสเตปโตคอคคัสชนะ ก็ทำให้เรามีกลิ่นปาก ที่ลำไส้ใหญ่เชื้อโรคชนะก็จะมีอาการท้องเสีย ลำไส้แปรปรวน เพราะขาดสมดุล

การที่คนเราเป็นโรคกระเพาะ หรือลำไส้อักเสบเนื่องจากขาดแบคทีเรียที่ดี ถ้าเราไปรักษาแค่ปวดท้องเป็นการรักษาที่ปลายเหตุ แต่ถ้าเราให้แบคทีเรียที่ดีเข้าไป ก็จะเป็นการรักษาที่ต้นเหตุ หรือเด็กหลายคนมีอาการภูมิแพ้ ส่วนหนึ่งเพราะผ่าคลอดหรือไม่ได้รับนมแม่ ทำให้เขาไม่ได้รับการส่งผ่านแบคทีเรียที่ดี ซึ่งจะเป็นช่องทางนำพาเชื้อนี้ไปทางท่อน้ำนม หรือช่องคลอด รวมถึงสารที่สร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อจากไวรัสหรือเชื้อโรคต่าง ๆ และเป็นสารที่เด็กยังเล็กสร้างเองไม่ได้”

แนวคิดใหม่เสริมกระดูกต้องมี CBP ตามแนวคิดเวชศาสตร์ชะลอวัย นอกจากการมีสมดุลที่ดีระหว่างเซลล์กับแบคทีเรียที่ดีจะทำให้อายุยืน ซึ่งสิ่งที่จำเป็นคือแบคทีเรียดีที่สมดุลแล้ว ยังให้ความสำคัญต่อการมีกระดูกที่แข็งแรง ซึ่งนำมาสู่การเปิดตัวผลิตภัณฑ์ล่าสุดของบริษัท คือ พรีโบ เพื่อบำรุงกระดูกซึ่งนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น มีโปรตีนโมเลกุลต่ำเข้มข้น เทียบเท่าการดื่มนมถึง 53 ลิตรต่อเม็ด แถมด้วยสารอาหารสำคัญสำหรับกระดูก ได้แก่ กระดูกอ่อนปลาฉลาม, วิตามินซี และวิตามินดี ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน รับประทานวันละ 1 เม็ด ช่วยเสริมการเติบโตของกระดูก

“ในการจะกระตุ้นกระบวนการสร้างกระดูก จำเป็นต้องมีสาระสำคัญ 3 อย่าง คือโปรตีน แคลเซียม และวิตามินดี 3  แต่จริงๆ แล้วร่างกายเราต้องการโปรตีนมากที่สุดในการนำไปซ่อมแชมส่วนที่สึกหรอ   ปัจจุบันเหตุผลที่คนญี่ปุ่น เกาหลียุคใหม่ สูงขึ้น เพราะเขาได้โปรตีนมากขึ้นจากอาหาร ซึ่ง มีการวิจัยชี้แล้วว่า โปรตีนโมเลกุลต่ำ หรือ  CBP (Concentrated Bioactive Protein) สามารถช่วยเสริมความแข็งแรงของมวลกระดูก”

ดร.ตฤณวรรธน์ ยังเอ่ยต่อว่า ในแง่การเวชศาสตร์การแพทย์ สินค้าตัวนี้มีสองกลุ่มหลักที่ให้ความสนใจคือ กลุ่มหมอเด็กที่จะนำไปใช้ประกอบการรักษาด้านเพิ่มมวลกระดูกหรือส่วนสูง หรือเด็กที่มีภาวะขาด Growth Hormone ร่วมกับการดูแลปัจจัยอื่น ๆ เช่น การบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ที่สำคัญ    งดน้ำตาล งดนอนดึก ดื่มน้ำเยอะๆ และไม่เครียด สำหรับในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยเฉพาะเพศหญิงในวัยหมดประจำเดือน ด้วยฮอร์โมนที่หายไปจะเกิดภาวะกระดูกพรุน ผลิตภัณฑ์จึงตอบโจทย์กลุ่มนี้

“ในญี่ปุ่น กลุ่มที่นิยมผลิตภัณฑ์ประเภทนี้มาก คือผู้สูงอายุที่เริ่มมีภาวะกระดูกพรุนมากที่สุด”

#PreBO #พรีโบ #Interpharma #อินเตอร์ฟาร์มา #อาหารเสริมเพื่อกระดูกที่แข็งแรง #ตัวช่วยเรื่องความสูง #อาหารเสริมเพิ่มความสูง

ข้อมูลเพิ่มเติม สอบถามเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญ โทร. 094-9569536, WebsiteShopee, Line ID : @interpharma, Facebook: Interpharma Thailand และ IG : @interpharmaofficial


  • 92
  •  
  •  
  •  
  •