เปิดอินไซต์บริการคนรับหิ้ว! จาก ‘ชอบช้อป’ ผู้นำโซเชียลคอมเมิร์ซกับประสบการณ์ช้อปแบบไร้รอยต่อ ที่ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ทั่วประเทศ!

  • 7.3K
  •  
  •  
  •  
  •  

มีใครบ้างที่เคยไปงาน Big Sale ไม่ทัน มีใครบ้างที่ปลีกตัวจากเวลางานไม่ได้ และกว่าจะไปถึง outlet สินค้าที่อยากได้ก็หมดไปเสียก่อน มีใครบ้างที่อยากได้ของบางอย่างมากๆ แต่ว่ามีวางจำหน่ายแค่ในจังหวัดใหญ่ๆ รู้หรือไม่ว่า pain point เหล่านี้มีโซลูชั่นสำหรับนักช้อปทั้งหลาย!

วันนี้อยากจะมาเล่าถึงแพลตฟอร์มหนึ่งที่ค่อนข้างน่าสนใจ ชื่อว่า ‘ชอบช้อป’ (ShobShop) หลายคนอาจจะเคยเห็นตามสื่อโซเชียลต่างๆ ทั้ง Facebook หรือ Instagram กันมาพักใหญ่ ซึ่งปัจจุบันยอดติดตามอย่างใน Facebook แตะ 4.6 ล้านคนแล้ว ส่วนคอนเทนต์ส่วนใหญ่จะเป็นแนวการอัพเดทสินค้าน่าซื้อจากแบรนด์ต่างๆ โปรโมชั่น ณ เวลานั้น หรือจะเป็นการชี้เป้าสินค้าราคาคุ้มค่าจากทั่วประเทศ

แต่จริงๆ แล้ว ชอบช้อป เป็นมากกว่านั้น พูดได้ว่าเป็นผู้นำโซเชียลคอมเมิร์ซเจ้าแรกๆ ในไทยก็ว่าได้ เพราะสามารถแปลงจากการ inform คอนเทนต์สินค้าแบรนด์ ให้เกิดเป็น transaction การทำธุรกรรม (ซื้อขาย) บนแพลตฟอร์มของชอบช้อปได้

 

จุดเริ่มต้นโมเดล ‘โซเชียลคอมเมิร์ซ’ มาจากดีมานด์นักช้อปต่างจังหวัด

 

คุณปรีดิ์ หวังเจริญ CEO และผู้ก่อตั้งแห่ง ShobShop ได้เล่าให้ฟังถึงจุดเริ่มต้นของโมเดลโซเชียลคอมเมิร์ซ ว่าเริ่มมาจากความสนใจของ ‘คนต่างจังหวัด’ ที่ต้องการซื้อสินค้าในกรุงเทพฯ จากงาน Sale ต่างๆ และได้ส่งข้อความมาที่ Facebook ชอบช้อป (วันละประมาณ 2-3 พันข้อความ) ด้วยคำถามซ้ำๆ ‘รับหิ้วสินค้ามั้ย?’ เพราะกลุ่มนักช้อปเหล่านี้มีข้อจำกัดเรื่องการเดินทาง และค่าใช้จ่ายอยู่

คล้ายๆ กันกับเคสที่เกิดขึ้นจากผู้ซื้อในประเทศเพื่อนบ้านที่เห็นคอนเทนต์ในเพจชอบช้อป และเกิดความอยากซื้อขึ้นมา ปัจจัยเริ่มต้นนี้ทำให้อยากทดลองพัฒนาต่อยอดจากดีมานด์ตรงนี้ และเชื่อว่ามีโอกาสทางธุรกิจสูงเพราะดีมานด์และกลุ่มเป้าหมายค่อนข้างชัดเจน ดังนั้น ในระยะเวลาแค่ครึ่งปี ชอบช้อป ได้ศึกษาตลาดและพฤติกรรมคนอย่างละเอียด ก่อนจะสร้างแพลตฟอร์มโซเชียลคอมเมิร์ซ ‘รับฝากหิ้วสินค้า’ เป็นโมเดลธุรกิจแรกของชอบช้อปขึ้นมา

ความน่าสนใจของโมเดลนี้ ก็คือ ถึงแม้ว่าจุดเริ่มต้นจะเกิดจากดีมานด์ของคนต่างจังหวัด และกลุ่มผู้ใช้บริการรับหิ้วสินค้าส่วนใหญ่ถึง 90% มาจากต่างจังหวัด แต่จากข้อมูลอินไซต์ของชอบช้อปพบว่า ในปัจจุบันไลฟ์สไตล์ของคนกรุงเทพฯ ก็มี pain point ในเรื่องนี้มากขึ้น ไม่ว่าจะมาจากวิถีชีวิตที่เร่งรีบ หน้าที่การงานที่ค่อนข้างยุ่ง ทำให้ไม่มีเวลาว่างสำหรับการช้อปปิ้งในห้างสรรพสินค้า โดยเฉพาะในงาน Sale หรือโปรโมชั่นที่จัดขึ้นในเวลาจำกัด เพราะบางทีหลายๆ แบรนด์จะจัดโปรโมชั่นแค่ ‘วันเดียว หรือ สัปดาห์เดียว’ ทำให้ ‘คนเมือง’ ก็เป็นอีกหนึ่งกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญของชอบช้อป

ยิ่งการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ยิ่งไปกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมการช้อปบนโซเชียลคอมเมิร์ซมากขึ้น ทั้งคนต่างจังหวัดและคนกรุงเทพฯ ดูจากข้อมูลอินไซต์จากหลายๆ ที่ หนึ่งในนั้นคือ ‘ไพรซ์ซ่า’ ที่บอกว่าในปี 2020 ตลาดโซเชียลคอมเมิร์ซในไทยร้อนแรงขึ้นจากการระบาดที่เกิดขึ้น กว่า 40% ของคนไทยซื้อของผ่านโซเชียลคอมเมิร์ซ (เป็นค่าเฉลี่ยที่สูงที่สุดในโลก) ขณะที่ Facebook เป็นช่องทางที่นักช้อปใช้ช้อปปิ้งออนไลน์มากที่สุด 42% ผ่านทาง LINE 24% ผ่านทาง Instagram 19% และทาง Twitter 5%

 

เข้าใจอินไซต์ – สร้างแพลตฟอร์ม ‘ไร้รอยต่อ’ (Seamless Experience)

 

ในเมื่อมีข้อมูลการันตีสารพัดว่า ตลาดโซเชียลคอมเมิร์ซกำลังฮอตมากขึ้น แล้วแพลตฟอร์มชอบช้อป มีจุดเด่นอะไร ทำไมถึงน่าสนใจ? ท่ามกลางกลยุทธ์ O2O และ DTC (Direct to Consumer) จากหลายแบรนด์ รวมถึงกลุ่มคนรับหิ้วรายย่อยที่เกิดขึ้นมากมาย

เราลองมาศึกษาแนวคิดของแพลตฟอร์มและการทำงานของชอบช้อป แบบง่ายๆ จากความตั้งใจแรกของชอบช้อปที่ยึดมั่นว่า ‘ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ก็ไม่พลาดซื้อของแบรนด์ราคาสุดคุ้ม’ ดังนั้น ‘ความเร็ว – แม่นยำ – คุ้มค่า – ไว้ใจได้’ เรียกว่าเป็นโจทย์และคีย์สำคัญของแพลตฟอร์มชอบช้อป

และจาก pain point ที่อาจเคยเห็นกันมาบ้าง ไม่ว่าจะเป็น ‘แม่ค้าที่รับหิ้วถูกโกงบ้าง ลูกค้าที่ใช้บริการถูกโกงบ้าง สินค้าไม่ตรงปกบ้าง ย้อมแมวว่าเป็นสินค้าแบรนด์จริงบ้าง’ ปัญหาเหล่านี้ทำให้แพลตฟอร์มชอบช้อปค่อนข้างตอบโจทย์ จากการอัพเกรดแพลตฟอร์มให้เป็นแบบประสบการณ์ไร้รอยต่อ (Seamless Experience) โฟกัสที่กลุ่มเป้าหมายจริง เข้าใจความต้องการจริงๆ ผ่านรูปแบบของคอนเทนต์ ซึ่งมีขั้นตอนการทำงานง่ายๆ คือ

  • อัพเดตสินค้าแบรนด์ คอลเลคชั่นใหม่ล่าสุด (บนโซเชียลมีเดีย)
  • อัพเดทโปรโมชั่นที่ไม่ควรพลาด
  • นักช้อปสามารถคลิกเพื่อฝากหิ้วสินค้าที่ถูกใจได้ทันที
  • แพลตฟอร์มนี้สามารถแชทกับคนรับหิ้วที่อยู่ที่หน้าร้านได้โดยตรง (*ทีมคนรับหิ้วผ่านการตรวจสอบประวัติและยืนยันตัวตนแล้ว)
  • ดีไซน์ระบบความปลอดภัยในการชำระเงิน ให้ทั้งผู้ซื้อและผู้รับหิ้ว (*ลูกค้าจ่ายเงินที่ชอบช้อปก่อน เมื่อลูกค้ายืนยันว่าได้รับสินค้าแล้ว เงินนั้นจะถูกโอนไปยังผู้รับหิ้ว)

ในเคสด้านความปลอดภัยสำหรับ ‘ผู้รับหิ้ว’ คุณปรีดิ์ พูดให้ฟังว่า เราจะมีฟีเจอร์และขั้นตอนระหว่างซื้อทั้ง 2 ฝ่ายที่สามารถช่วยคอนเฟิร์มได้ เช่น ให้ผู้รับหิ้วต้องถ่ายรูปยืนยันสินค้าจากหน้าร้านให้ดูก่อนซื้อ (เพื่อตรวจสอบว่าตรงปกมั้ยและเป็นของแบรนด์จริง) รวมถึงป้องกันไม่ให้ลูกค้าปฏิเสธสินค้าทีหลัง หลังจากที่คนรับหิ้วซื้อเรียบร้อยแล้ว เป็นต้น

ฟังๆ ดูอารมณ์เหมือนเราฝากเพื่อนซื้อของ ชอบช้อปเข้าใจพฤติกรรมนี้ของนักช้อป และค่อนข้างให้ความสำคัญกับ Customer Journey เหมือนว่าเรากำลังเดินดูของในห้างฯ ด้วยตัวเอง ที่สำคัญประสบการณ์ไร้รอยต่อนี้ สามารถทำได้ครบและจบในแอปพลิเคชั่นเดียวของชอบช้อปด้วย

 

จุดแข็งและแตกต่างของ ‘ชอบช้อป’ จากแพลตฟอร์มอื่น

 

นอกจากกระบวนการซื้อขายกับผู้รับฝากหิ้ว และฟีเจอร์ต่างๆ ในแพลตฟอร์มชอบช้อปแล้ว เรามองว่ายังมีอีกจุดไฮไลท์ที่น่าสนใจ และเป็นจุดแข็งของชอบช้อปด้วย นั่นก็คือ ‘ดีลพิเศษ’ เฉพาะที่ชอบช้อปเท่านั้น ซึ่งได้ทำร่วมกับหลายๆ แบรนด์ รวมถึงในช่วงที่ห้างฯ ต้องหยุดให้บริการเพราะมาตรการล็อกดาวน์ที่ผ่านมาด้วย

ส่วนดีลอื่นๆ ที่อยู่บนแพลตฟอร์มชอบช้อป จะเป็นดีลและโปรโมชั่นที่เราสามารถเจอได้เมื่อเดินช้อปปิ้งในห้างฯ เอาต์เล็ต หรือแหล่งสินค้าอื่นที่ดีลโดยตรงกับแบรนด์ ซึ่งจะต่างจากหลายแพลตฟอร์ม นอกจากนี้ยังมี ‘โปรโมชั่น top-up’ เฉพาะบนชอบช้อปเท่านั้น อย่างโปรฯ ‘หิ้วฟรี – เหมาค่าหิ้ว’ ที่ได้รับความสนใจจากนักช้อปมาตลอด ซึ่งข้อดีก็คือ ยอดออเดอร์เพิ่มขึ้นในช่วงที่มีแคมเปญ ทีมรับหิ้วมีรายได้เพิ่มขึ้น นักช้อปใช้บริการรับฝากหิ้วของชอบช้อปมากขึ้น เป็นที่รู้จักกันมากขึ้น ฯลฯ

ที่สำคัญ ชอบช้อป ถือว่าเป็นอีกหนึ่งช่องทางออนไลน์ที่แบรนด์สามารถเข้ามาเป็นพาร์ทเนอร์ธุรกิจได้ สำหรับแบรนด์ที่ต้องการเจาะตลาดต่างจังหวัดมากขึ้น หรือแม้แต่ในกรุงเทพฯ เองก็ตาม เพราะถ้าพูดในแง่ของฐานลูกค้าเรียกว่า strong มากจริงๆ สำหรับชอบช้อป ถ้าดูจากยอดดาวน์โหลดแอปฯ กว่า 1.5 ล้านครั้ง ยอดเข้าถึงผู้ใช้งานโซเชียลที่มากกว่า 25 ล้านคนต่อเดือน และยอดออเดอร์ในปี 2563 ที่เติบโตขึ้นจากปี 2562 ถึง 168.4%

ส่วนจุดแข็งเรื่อง ‘คอนเทนต์’ ยังคงต้องยกนิ้วให้ทีมคอนเทนต์ของชอบช้อปเพราะนอกจากจะเร็ว! ยังตรงเป้าหมายด้วย เพราะแต่ละคอนเทนต์ มาจากการเรียนรู้พฤติกรรมของผู้ใช้งานและผู้ซื้อจริงว่าชอบสินค้าแบบไหน แล้วสินค้าแต่ละประเภทต้องพรีเซนต์หรือเล่าเรื่องอย่างไรให้ดูน่าสนใจ และกระตุ้นต่อมอยากได้อยากมี

โดยตลอดที่เปิดตัวแพลตฟอร์มชอบช้อปขึ้นมา ได้มีการเก็บข้อมูลอินไซต์ของนักช้อปตลอดเพื่อนำไปต่อยอด อย่างเช่น แบรนด์ยอดนิยมบนแพลตฟอร์ม เช่น Adidas, Body Glove, CC Double O, Charles & Keith และ Eveandboy เป็นต้น

ส่วนสินค้าที่มียอดฝากหิ้วสูงสุด ก็คือ เสื้อยืด รองเท้าแตะ รองเท้าสนีกเกอร์ กระเป๋าสำหรับผู้หญิง เครื่องสำอาง ซึ่งอินไซต์เหล่านี้ทำให้พาร์ทเนอร์ และชอบช้อปเองสามารถพัฒนาเพื่อหาดีลพิเศษ หรือแคมเปญในได้ เพราะไม่ใช่แค่ของใช้ แต่ของกินก็ยังมีดีมานด์อยากให้ชอบช้อปรับหิ้วเหมือนกัน

คุณปรีดิ์ ยังพูดถึงแพลนที่จะยกระดับโซเชียลคอมเมิร์ซของชอบช้อป เพิ่มความสะดวกสบายให้กับนักช้อปมากขึ้น ทั้งแพลนการขยายทีมรับหิ้วในอนาคต จากปัจจุบันที่มีกว่า 180 คน แต่ส่วนใหญ่ยังโฟกัสอยู่แค่ในกรุงเทพฯ ดังนั้น คนรับหิ้วรุ่นต่อๆ ไปจะเพิ่มขอบเขตโลเคชั่นให้กว้างขึ้น เพราะเชื่อว่าสินค้าแบรนด์ราคาคุ้มค่าไม่ได้มีแค่ในกรุงเทพฯ แต่มีอยู่ทั่วทั้งประเทศ

ส่วนฟีเจอร์ที่เพิ่งเพิ่มเข้ามาสดๆ ร้อนๆ เพื่อมอบประสบการณ์แบบไม่สะดุดให้กับผู้ใช้ ก็คือ บริการรับฝากหิ้วสินค้าผ่าน Facebook Messenger ที่จะทำให้ชีวิตง่ายขึ้นไปอีก เมื่อเห็นโปรโมชั่นที่อยากซื้อปุ๊ป ก็ทักมาให้ฝากหิ้วสินค้าได้ปั๊ป!

อ่านมาถึงตรงนี้หลายคนอาจสงสัยว่า แล้วแพลตฟอร์ม E-market อื่นที่เป็นความท้าทายของชอบช้อปจะเขย่าแพลตฟอร์มนี้ได้มากแค่ไหน ลองคิดภาพตามดูว่า ในยุคที่ใครๆ ก็เข้าถึงโซเชียลคอมเมิร์ซ แต่คนที่แข็งแกร่งกว่าคือมีโซเชียลมีเดียเป็นแบ็คอัพที่ดี ดังนั้น การที่ชอบช้อปเข้าถึงกลุ่มคนดูคอนเทนต์ได้เป็นจำนวนมากในเวลาเพียงไม่กี่นาที หรือหลักชั่วโมง เท่ากับเป็นการเพิ่มโอกาสให้กับแบรนด์ต่างๆ มากขึ้นด้วย แม้ว่าจะอยู่ใน wallet size เดียวกันแต่รูปแบบคอนเทนต์ที่ดึงดูดต่างกัน จึงไม่น่าแปลกใจที่โมเดลนี้ของชอบช้อปจะ success มากๆ


  • 7.3K
  •  
  •  
  •  
  •