ไข 7 เคล็ดลับสร้างแบรนด์ให้สำเร็จ สไตล์ ‘โหน่ง วงศ์ทนง’ ต้องรู้จัก ‘Resilience’ แล้วปรับใช้ให้เป็น

  • 763
  •  
  •  
  •  
  •  

 

การสร้าง branding ในยุคดิจิทัล ซึ่งเป็นยุคที่เอื้อให้ใครก็ตามสามารถแสดงไอเดีย หรือแจ้งเกิดได้ง่ายขึ้นกว่าเมื่อก่อนมาก แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นเรื่องยากเช่นเดียวกันที่จะทำให้ branding ของเราติดตลาด หรือเป็นที่รู้จัก และปังกว่าคู่แข่งแบรนด์อื่นๆ ซึ่งในงาน iCreator Conference 2020 โดย คุณวงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ หรือที่หลายคนเรียกกันว่า ‘โหน่ง A Day’ ได้พูดถึงประเด็นที่น่าสนใจอย่าง ‘How to Make Brand 2.0’ หรือ วิธีการสร้างแบรนด์ให้ประสบความสำเร็จในยุคดิจิทัล

คุณโหน่งได้หยิบยกคำหนึ่งขึ้นมาเพื่อให้ขยายความคลุมทั้งหมด นั่นก็คือ ‘Resilience’ หรือ ความสามารถในการฟื้นคืนชีพ (reborn) พร้อมแนวทางที่ยึดเหนี่ยวมาตลอดง่ายๆ เลย แค่ 3 คำ อึด – ฮึด – สู้’ เพราะกว่าเราจะเดินทางมาสู่เส้นทางของความสำเร็จได้ เราต้องล้มลุกคลุกคลานกันมาบ้าง

จุดเริ่มต้นของการ Make Brand ต้องมีเป้าหมายชัดเจน แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องยืดหยุ่นเป้าหมายให้เป็นด้วย อย่างที่คุณโหน่งได้ย้อนเวลาไปในช่วงที่เรียนมหาวิทยาลัย

“ผมเคยตั้งเป้าที่จะคว้าเกียรตินิยมแต่ก็พลาด แต่บทเรียนในครั้งนั้นทำให้ผมเข้าใจการเรียนรู้ด้วยตัวเอง การใช้ชีวิต และความต้องการจริงๆ ของตัวเอง ซึ่งความล้มเหลวในแต่ละครั้งหล่อหลอมให้ประสบความสำเร็จ ก่อตั้งนิตยสาร A Day ในที่สุด”

 

วันเวลาเปลี่ยนไปกับการแตกไลน์ธุรกิจมาเรื่อยๆ ทั้ง A Book, Hamburger, Knock-Knock, The Momentum, a day BULLETIN จนล่าสุด THE STANDARD ภูมิทัศน์สื่อต่างๆ เหล่านี้ ถูกปรับแต่ง หล่อหลอมจนทำให้คุณโหน่งตกผลึกกลั่นมาเป็นเคล็ดลับ 7 ข้อที่ช่วยให้การสร้างแบรนด์ของภาคธุรกิจดีขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งได้แนะนำด้วยว่า “มองเรื่องใกล้ตัวก่อน เราชอบอะไร เป็นแฟนตัวยงแบรนด์ไหน นั่นแหละคือตัวคุณ และสะท้อนตัวตนของคุณได้ดีที่สุด”

อย่างที่คุณโหน่งเป็นคนที่ชอบติดตามข่าวสารการเมือง สังคม เศรษฐกิจ มานานมากทำให้เคล็ดลับที่จะมาแนะนำในวันนี้ ถอดรากความสำเร็จมาจาก THE STANDARD 7 เคล็ดลับด้วยกัน ได้แก่

  • Creativity – ความคิดสร้างสรรค์ เป็นสิ่งแรกที่เราต้องตกผลึกไอเดียออกมาให้ได้ แล้วมันต้องสร้างสรรค์เกิดประโยชน์
  • Design – การดีไซน์ การออกแบบโปรดักต์หรือคอนเท็นต์ที่ดี จะทำให้คนเห็นคุณค่าของมัน ดังนั้นตำแหน่ง Art director จึงค่อนข้างสำคัญในความคิดผม การดีไซน์ต้องดึงดูดคนได้
  • Self-Improving Contents – คอนเทนต์ที่ดีต้องช่วยพัฒนาคนอ่าน พัฒนาสังคม ให้ประโยชน์แก่ผู้อ่าน
  • Audience Centricity – ผู้อ่าน/ผู้รับสารเป็นศูนย์กลาง คอนเทนต์ต้องมีเป้าหมายชัดเจนว่าผู้อ่านจะได้อะไร ช่วยเติมเต็มในชีวิตพวกเขาได้อย่างไร
  • Innovation – นวัตกรรม โลกที่เดินหน้าด้วยเทคโนโลยีอย่างน้อยๆ ต้องมีเครื่องมือหรือกระบวนการต่างๆ ที่ทันสมัยด้วย
  • Maintenance – การบำรุงรักษา ในแต่ละธุรกิจรวมทั้งคอนเทนต์ต่างต้องมีระยะกำหนดในการตรวจสอบ และปรับภาพลักษณ์ในถูกเวลาสอดคล้องกับสถานการณ์
  • Trust – ความเชื่อถือ สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับธุรกิจสื่อก็คือต้องมีความน่าเชื่อถือ และนำเสนอความจริง

 

 

 

ที่สำคัญต้องมี ‘Team Spirit’ ซึ่งต้องมีส่วนประกอบ 4 ข้อด้วยกัน ความใส่ใจซึ่งกันละกัน (Empathy) – ความคล่องตัว (Agile) – ปลุกพลังในตัวเองให้ได้ (Passion) – ภารกิจที่ต้องทำให้ดีที่สุด (Mission)

 

 

คุณโหน่ง ได้พูดทิ้งท้ายถึงการสร้าง branding ในยุคดิจิทัลด้วยว่า “ลองพาตัวเองมาอยู่ในจุดที่ล้มเหลวดูบ้าง หากคุณไม่เรียนรู้อะไรเลย ก็จะไม่มีวันสำเร็จ”

ที่จริงแล้วความสำเร็จไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ branding หรือกระบวนการอื่น อาจไม่ได้มีสูตรสำเร็จตายตัว เพียงแต่ว่าเราต้องนำไกด์ไลน์จากกูรูมาปรับใช้ให้เป็น แล้วใช้ประสบการณ์ทั้งล้มเหลวและความสำเร็จเล็กๆ น้อยๆ ที่ผ่านมาเข้ามาช่วยอีกแรง


  • 763
  •  
  •  
  •  
  •  
prakai
'ชีวิต' ต้องมีสีสันหลากหลาย เหมือนกับความรู้ที่มีหลายมิติ ทั้งไลฟ์สไตล์, การตลาด, ดิจิทัล, ประเพณี-วัฒนธรรม