[How to] เขียน “เรซูเม่” อย่างไรให้ประทับใจและเรียกความสนใจจากผู้คัดสรร

  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

หากคุณกำลังค้นหางานในฝันอยู่ “เรซูเม่” ของคุณคือก้าวแรกก่อนจะผ่านเข้าไปยังด่านการสัมภาษณ์งาน และก่อนที่คุณจะส่ง “เรซูเม่” ของคุณไปยังบริษัทที่สนใจจะผ่านทางอีเมล์ หรือทางไปรษณีย์ก็ดี คุณจะต้องให้แน่ใจเสียก่อนว่าได้ใส่ข้อมูลที่ถูกต้องและดีที่สุดของคุณไปหรือยัง

ดังนั้น เรซูเม่ของคุณจะต้องการความสมบูรณ์แบบ แต่จะต้องทำอย่างไรบ้างให้มันเตะตากับผู้ทำการคัดสรร ลองมาฟังเทคนิคเหล่านี้กันเพื่อทำให้ เรซูเม่ของคุณน่าสนใจมากขึ้น

resume1

1.Start with a summary

รีบคว้าความสนใจจากผู้ทำการคัดสรรให้ได้ด้วยบทสรุปย่อเกี่ยวกับตัวคุณอย่างสั้นๆ ด้วยการไฮไลท์ไปที่ทักษะความสามารถที่ดีที่สุดของคุณ ถ้าผู้ทำการคัดสรรอ่านแล้วชอบตั้งแต่แรกเห็นเพียงแค่ 2-3 ประโยคแรก พวกเขาก็จะเริ่มอ่านต่อๆ ไปเรื่อยๆ

2.Show off your skills

คุณจำเป็นต้องโชว์ให้เห็นถึงข้อมูลด้านการศึกษาและประสบการณ์อันโดดเด่นของคุณ นำไปสู่ทักษะด้านใดของคุณบ้าง ซึ่งจะส่งให้คุณเหมาะสมกับงานที่สมัครมานี้ รวมทั้งการเพิ่มพูนทักษะด้านต่างๆ ที่ผ่านๆ มาของคุณ โดยทำมันในรูปแบบของลิสต์ตามลำดับเวลาแบบย้อนกลับจากอดีตไปสู่ปัจจุบัน

3.Address the key selection criteria

คุณควรที่จะตบแต่งหน้าปกและด้านในเรซูเม่ของคุณให้ดูดี เหมาะสม เช่นการลิสต์รายชื่องานที่ผ่านมา พร้อมกับแนบลิงก์ด้วยเพื่อดูว่างานหรือโปรเจ็คต์ที่คุณเคยทำหรือมีส่วนร่วมมีลักษณะแบบไหนอย่างไร

4.Leave the personal stuff out

แม้ว่าข้อมูลเกี่ยวกับความสนใจหรือกิจกรรมยามว่างของคุณจะแสดงให้เห็นถึงความเป็นตัวคุณในภาพรวม แต่อย่าพยายามยัดเหยียดความสามารถอะไรที่จะโยงไปสู่การทำงานอย่างจงใจมากนัก ใส่เพียงแค่ข้อมูลส่วนตัวปกติทั่วไปเช่น วันเดือนปีเกิด เพศ สถานภาพ เท่านี้ก็เพียงพอ

5.Watch the length

ผู้ทำการคัดสรรจะไม่อ่านหน้ากระดาษเยอะแยะในเรซูเม่ อันที่จริงแล้วเขาอ่านเพียงแค่สิ่งที่สำคัญหรือเตะตาเท่านั้น เพราะฉะนั้นควรที่จะทำให้เรซูเม่ของคุณสั้นๆ ได้ใจความ มีเพียงแค่ 2-3 หน้าก็เพียงพอ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประวัติการทำงานของคุณที่ผ่านๆ มาด้วย อย่าลืมว่าคุณสามารถเติมรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ได้ในการสัมภาษณ์

6.Don’t be a cliché

ลบคำซ้ำคำซ้อน น่าเบื่อต่างๆ ออกไปให้หมด เช่น ‘อันประกอบไปด้วย’ หรือ ‘บรรเจิดเลิศเลอ’ (ทำนองนี้) อย่าลืมว่าผู้คัดสรรไม่มีเวลามากมายในการมาใช้เวลาอ่านคำพูดพรรณาหรือสำนวนโวหารมากมายของคุณ แทนที่ด้วยคำง่ายๆ ตรงๆ สั้นๆ ได้ใจความก็พอ

7.Proof read

เป็นข้อสำคัญมาก และอย่าได้ใช้หรือวางใจในระบบสะกดคำอัตโนมัติเพื่อเช็คคำผิดพลาด เสียเวลาสักนิดในการปรู๊ฟคำและตัวสะกดให้ดีอีกครั้ง เพราะเพียงแค่คำผิดแค่คำเดียวก็สามารถทำลายความน่าเชื่อถือทั้งหมดที่คุณมีไปเลย

8.Presentation

อย่างไรก็ตาม คุณอาจจะคิดอะไรที่แตกต่าง หรือนำเสนอรูปแบบที่แปลกตาเพื่อเรียกความสนใจสามารถทำได้ แต่อาจจะกลายเป็นเหตุผลที่ผิดพลาดได้ สิ่งที่คุณต้องการในเรซูเม่ก็คือรูปแบบที่เรียบง่าย เพื่อให้สะดวกต่อการอ่านของผู้ทำการคัดสรร

9.Cover letter

มีเพียงกฎข้อเดียวเท่านั้นสำหรับ Cover letter หรือจดหมายแนะนำตัว ก็คือนำเข้าสู่ประเด็นทันที ไม่ต้องยืดยาวมาก อาจจะใส่คีย์เวิร์ดที่สำคัญลงไป ซึ่งได้มาจากคำโฆษณาหางานที่เราไปสมัครก็ได้

10.Be contactable

หากคุณสร้างความประทับใจให้ผู้คัดสรรได้แล้วทั้งจากเรซูเม่และจดหมายแนะนำตัวของคุณ ต่อจากนี้คือเขาต้องการที่จะโทรหาคุณ ซึ่งคุณต้องแน่ใจว่าได้ทำให้มันพบเห็นได้ง่าย ใส่รายละเอียดในการติดต่อคุณให้ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นหมายเลขโทรศัพท์ทั้งบ้านและมือถือ อีเมล์ เป็นต้น แนะนำเพิ่มเติมว่าอีเมล์ที่ติดต่อคุณได้ควรจะเป็นอีเมล์ที่แสดงความเป็นมืออาชีพซึ่งอาจจะเป็นชื่อของคุณเอง

แหล่งที่มา 


  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
pigabyte
การเรียนรู้ไม่มีวันจบสิ้น มาเรียนรู้และสนุกไปกับบทความ จาก MarketingOops! กันนะคะ แล้วเราจะได้ค้นพบว่าโลกของ Marketing นั้น So Sexy and Cool!