ขยันจัด!? ผลสำรวจชี้ คนไทยไม่ชอบลาหยุดพักร้อน

  • 322
  •  
  •  
  •  
  •  

 

เรื่องของวันหยุด มนุษย์เงินเดือนที่ไหนๆ ก็น่าจะชอบ แต่เมื่อเว็บไซต์บริการด้านการท่องเที่ยวออนไลน์ “เอ็กซ์พีเดีย” ทำการสำรวจเกี่ยวกับพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่ถูกลิดรอนวันหยุดและสาเหตุที่ไม่ได้พักผ่อนอย่างแท้จริงระหว่างการเดินทาง (8th annual Vacation Deprivation® study) ใน 19 ประเทศทั่วโลก กลับพบว่า  คนทั่วโลกที่ไม่ยอมหยุดลาพักร้อนกำลังมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น

 

ที่สำคัญ คือ ผลสำรวจชุดนี้ยังพบอีกว่า ในปี 2561 คนไทยติดอันดับหนึ่งที่ใช้วันลาพักร้อนน้อยที่สุดในโลก ตามมาด้วยญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา

สำหรับระดับของกลุ่มแรงงานไทยที่ “ไม่ใช้วันลาพักร้อนมากที่สุด” แตกต่างกันไปตามกลุ่มอุตสาหกรรม  อันดับหนึ่ง เป็นแรงงานด้านการเกษตรอยู่ที่ 71% อันดับสอง เป็นด้านการตลาด และสื่อ 67% ส่วนอันดับสาม เป็นแรงงานด้านอาหารและเครื่องดื่มคิดเป็น 64%

จากการรวบรวมข้อมูลเชิงลึกของพนักงานประจำในประเทศไทยจำนวน 300 คน ผลการสำรวจพบว่าแรงงานไทย 80% เห็นด้วยว่า พวกเขาสมควรได้รับวันลาพักร้อนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งถือว่ามากเป็นอันดับ 3 ตามหลังฮ่องกง (86%) อินเดีย (82%) ส่วนญี่ปุ่นตามมาเป็นอันดับที่ 4 (54%)

ทั้งนี้ ได้มีการสอบถามถึงเหตุผลของที่คนไทยไม่ใช้วันลาพักร้อน อันดับหนึ่ง 27% ตอบว่า “ไม่รู้จะไปที่ไหน” อันดับสอง 25% ตอบว่า “ต้องการเก็บวันลาในสำหรับช่วงวันหยุดยาว” ส่วนอันดับสาม 24% ให้เหตุผลว่า “ไม่สามารถลาหยุดงานได้”

 

เมื่อถามถึงวัตถุประสงค์ของการลาพักร้อน จำนวน 35% ของผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทยตอบว่า “เพื่อสุขภาพจิตที่ดี” โดยรู้สึกว่าการพักร้อนเป็นโอกาสที่จะกดปุ่มรีเซ็ต คลายความเครียดและความวิตกกังวล

อย่างไรก็ตาม ขณะที่แนวโน้มของการลาพักร้อนจะเป็นไปเพื่อดูแลสุขภาพจิตเพิ่มมากขึ้น แต่ในจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทย จำนวน 85% ยังมีการใช้สิทธิลาพักร้อนไปเพื่อทำธุระอื่นๆ โดยมากเป็นอันดับสอง เท่ากันกับแรงงานประเทศอินเดีย ตามมาด้วยแรงงานจากประเทศบราซิล 84%

เกี่ยวกับช่วงเวลาของปีที่แรงงานนิยมไปพักร้อนนั้น 24% ของคนไทย บอกว่า ไม่ได้ลาหยุดพักร้อนหลังจากทำงานไปแล้ว 6 เดือนหรือนานกว่านั้น โดยมากถึง 42% บอกว่า เลือกใช้วันหยุดในช่วง 3 – 6 เดือนก่อนที่จะหมดเวลาพักร้อนประจำปี

 

นอกจากนี้ ยังมีอินไซต์อื่นๆ เกี่ยวกับการลาพักร้อนของมนุษย์เงินเดือนในปัจจุบันที่น่าสนใจ เช่น

  • ลางาน แต่ไม่กล้าปิดเครื่อง

ทั้งๆ ที่ลาพักร้อน แต่คนไทยจำนวนเกือบ 1 ใน 4 หรือ 24% ก็ยังคงเช็คอีเมลที่ทำงาน หรือฟังข้อความเสียงอย่างน้อยวันละครั้งระหว่างที่ลาพักร้อน โดย 31% ของกลุ่มคนทำงานวัย 50 ปีขึ้นไป มีแนวโน้มเข้าเช็คอินมากกว่าคนหนุ่มสาวในช่วงอายุระหว่าง 18-34 ปี ซึ่งมีอยู่ราว 19%

ที่น่าสนใจ คือ ส่วนใหญ่ที่ยังเข้าเช็คอีเมลหรืออัพเดทงาน ไม่ได้เกิดจากการถูกกดดันโดยหัวหน้างาน

  • พักร้อน ช่วยให้รู้สึกดีกับตัวเอง

ไม่ว่าจะเป็นวันลาพักร้อนระยะยาว (สัปดาห์หรือมากกว่า) หรือช่วงเวลาสั้น ๆ แค่ 2-3 วัน หลังจากเดินทางท่องเที่ยวผู้คนส่วนใหญ่รักตัวเองมากขึ้น รู้สึกมั่นใจมากขึ้น มีความสามารถในการแก้ปัญหาต่างๆ รู้สึกมีความหวังมากขึ้นและชอบออกสังคมมากขึ้น

การลาพักร้อนท่องเที่ยวระยะยาวดูเหมือนจะให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าเล็กน้อยและเป็นผลลัพธ์ในเชิงบวก โดยแต่ละครั้งจะเห็นว่าเพิ่มขึ้นประมาณ 10% เมื่อเปรียบเทียบกับการท่องเที่ยวระยะสั้น 2-3 วัน

  • พักร้อนสไตล์ไทย ไปไม่นาน แต่ไปบ่อย

คนไทยมีความเข้าใจกับวิธีทางลัดนี้เป็นอย่างดี โดย 42% กล่าวว่าพวกเขาใช้วิธีเดินทางท่องเที่ยวระยะสั้นเพื่อต่อสู้กับการไม่ได้ลาหยุดในช่วงวันหยุดยาว เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการเดินทางที่รวดเร็ว ลองเลือกท่องเที่ยวโดยใช้เวลาในการเดินทางไม่เกิน 4 ชั่วโมงและเลือกที่พักใกล้กับสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญๆ

“ในช่วงหลายปีมานี้เราเริ่มเห็นว่ามีจำนวนคนทำงานใช้วันลาพักร้อนในช่วงเวลาสั้นเพิ่มมากขึ้นและมากขึ้น นี่อาจเป็นเพราะมีช่วงวันหยุดนักขัตฤกษ์เป็นวันหยุดยาวติดกับวันหยุดสุดสัปดาห์ ประเทศไทยคือตัวอย่างที่ดีที่สุดในเรื่องนี้: เมื่อการเดินทางมากขึ้นนั้นเป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยม การพักผ่อนในช่วงสั้นๆ ก็สามารถช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตได้อย่างมาก” ลาวิเนีย ราชราม หัวหน้าฝ่ายสื่อสารองค์กร แบรนด์เอ็กซ์พีเดีย ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าว

 


  • 322
  •  
  •  
  •  
  •