ทำไมการผูกขาด “Data” ของบริษัทเทคฯไม่กี่ราย ถึงเป็นเรื่องใหญ่?

  • 1K
  •  
  •  
  •  
  •  

เรื่องข้อมูลส่วนตัวที่ไม่ได้รับการปกป้องอย่างมีประสิทธิภาพ ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ โอกาสในการสร้างนวัตกรรมที่หายไป และอคติในการรับข้อมูลข่าวสาร เรื่องพวกนี้ เราเริ่มเห็นกันมากขึ้นเรื่อยๆและเป็นเรื่องใหญ่จนส่งผลต่อการใช้ชีวิตของเรา ส่วนหนึ่งเกิดจากการที่มีบริษัทฯเพียงไม่กี่รายที่ใช้เทคโนโลยีและให้บริการจากข้อมูลลูกค้าที่เก็บได้ วันนี้จะมาอธิบายรายละเอียดกันว่าเรื่องใหญ่ที่เกิดจากการผูกขาดข้อมูลผู้บริโภคมีอะไรบ้าง

 

1. แอปฯ ฟังก์ชั่น บริการ สินค้าต่างๆมีคุณภาพด้อย แถมไม่ใส่ใจสิทธิ์ในข้อมูลส่วนตัว

เพราะถ้ามีบริษัทฯเทคอยู่หลายรายแข่งกันในตลาด เรื่องของ “คุณภาพ” ของบริการ ของสินค้า และ “ประสิทธิภาพ” ของระบบรักษาข้อมูลส่วนตัวของผู้บริโภคจะกลายเป็นจุดขายที่ทุกธุรกิจชูเป็นจุดขายแข่งกัน ในที่สุดคนที่ได้ประโยชน์เต็มๆก็คือผู้บริโภค

แต่ถ้ามีบริษัทฯเทคโนโลยีอยู่ไม่กี่เจ้า แรงจูงใจที่จะพัฒนาคุณภาพของแอปฯ ของบริการ และประสิทธิภาพในการรักษาข้อมูลส่วนตัวของผู้บริกโภคก็จะน้อยตาม แน่นอนเพราะว่าไม่มีคู่แข่งเจ้าอื่นมาคอยให้บริการแข่งนั่นเอง คนที่เสียประโยชน์ก็คือผู้บริโภคที่ไม่มีอำนาจต่อรองอะไรกับบริษัทฯพวกนี้ที่กำข้อมูลผู้บริโภคหลายราย แต่ขาดแรงจูงใจที่จะเปิดเผยว่าเก็บข้อมูลผู้บริโภคอะไรไปบ้าง? แล้วเก็บข้อมูลอย่างไร?

 

2. มาตรการการดูแลข้อมูลส่วนตัวมีความเสี่ยง

ความเสี่ยงที่ชัดเจนคือเรื่องของ Cybersecurity ที่เป็นแรงจูงใจให้เหล่ามิจฉาชีพเจาะระบบเข้าไปดึงข้อมูลของผู้บริโภค ซึ่งถ้าข้อมูลผู้บริโภคตกอยู่ในระบบฯของบริษัทฯเพียงไม่กี่ราย ก็จะยิ่งเสี่ยง เทียบกับข้อมูลที่ตกอยู่กับบริษัทฯหลายๆราย ส่วนรัฐบาลที่ไม่ได้มีข้อมูลผู้บริโภคเยอะเท่าบริษัทฯเทครายใหญ่ก็อาจจะร่วมมือกันอย่างลับๆและเปลี่ยนข้อมูลส่วนตัวของผู้บริโภคโดยที่ไม่ได้รับอนุญาต

 

3. รายได้ของเศรษฐกิจอเมริกากระจุกตัวอยู่กับเพียงไม่กี่บริษัทฯ

ข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าที่ให้กับบริษัทต่างๆไม่ว่าจะเป็น Facebook, Google, Apple และ Amazon นั้นไม่มีความยุติธรรมสำหรับผู้บริโภคเลย ลองคิดตามว่าลูกค้าเป็นคนกรอกข้อมูลส่วนตัวเองเพื่อแลกกับการใช้สินค้าหรือบริการฟรี และบริษัทที่ว่าก็ไม่ได้ลงทุนอะไรมากที่จะได้ข้อมูลส่วนตัวที่ว่าเมื่อเทียบกับรายได้ที่บริษัทพวกนี้จะทำได้จากข้อมูลส่วนตัวของลูกค้า ผู้บริโภคไม่รู้หรอกว่าตัวเองให้ข้อมูลส่วนตัวมากน้อยแค่ไหน? เอาไปใช้อย่างไร? และบริษัทเอาไปใช้ทำกำไรอยู่เท่าไหร่?

เช่น Facebook อาจจะเอาข้อมูลส่วนตัวของเราไปให้ธุรกิจหรือแบรนด์ใช้เป็นเกณฑ์ในการยิงโฆษณา แล้วต้นทุนในการยิงโฆษณานั้นก็จะถูกรวมอยู่กับสินค้าและบริการของแบรนด์ แล้วถ้าเราซึ่งเป็นคนเห็นโฆษณาและซื้อสินค้าจากโฆษณานั้น เรานั่นแหละที่สุดท้ายเป็นคนจ่ายต้นทุนค่าโฆษณาให้ Facebook ที่คำนวนแล้วอยู่ในราคาสินค้าที่ซื้อไป โดยที่เราที่โดนเก็บข้อมูลส่วนตัวนั้น ไม่รู้ว่าค่าโฆษณาที่เราจ่ายให้สินค้าที่ซื้อนั้นอยู่ที่เท่าไหร่ด้วย

 

4. ความไว้เนื้อเชื่อใจที่หายไป

ในเมื่อบริษัทฯที่กุมข้อมูลส่วนตัวผู้บริโภคเดิมไม่มีแรงจูงใจหรือแรงกดดันจากตลาดให้มาตรการรักษาข้อมูลส่วนตัวของผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพมากนัก (ถ้ามีกฎหมายหรือมาตรการของรัฐมารองรับ) ท้ายที่สุดลูกค้าอาจจะเลือกที่จะไม่ยินยอมให้ข้อมูลส่วนตัวกับธุรกิจรายไหนเลย คนที่เสียประโยชน์ก็คือทั้งฝ่ายลูกค้าที่ที่จะพลาดสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ (จากการที่ธุรกิจเอาข้อมูลส่วนตัวไปพัฒนาคุณภาพสินค้าบริการ) และธุรกิจที่จะได้รายได้เพียงน้อยนิดจากสินค้าและบริการที่ไม่ตอบโจทย์ลูกค้า (เพราะไม่มีข้อมูลส่วนตัวของลูกค้า)

 

5. นักพัฒนาแอปฯหรือซอฟท์แวร์รายย่อยไม่ได้รับการสนับสนุน

เหตุการณ์ที่ Google เคยตัดการให้บริการแอปฯของ Disconnect ออกจาก Android App Store เป็นตัวอย่างชัดเจนที่บริษัทฯเทครายใหญ่พยายามกีดกันไม่ให้คู่แข่งหรือนักพัฒนาแอปฯหน้าใหม่เข้ามาทำรายได้ บริษัทฯไหนที่เป็นเจ้าของแพลตฟอร์มแอปมีอำนาจต่อรอง สามารถปรับลดรีวิว ลด traffic ของแอปฯจากนักพัฒนาอิสระที่อาศัยแพลตฟอร์มบริษัทฯรายใหญ่แบบไม่มีอำนาจต่อรอง

 

6. นวัตกรรมใหม่ๆจะไม่ค่อยมีให้เห็น

นั่นก็เพราะว่าบริษัทฯเทครายใหญ่ที่กำข้อมูลของลูกค้าจะเป็นเจ้าแรกๆที่เห็นการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมของลูกค้าผ่านการใช้สินค้าและบริการของบริษัทฯที่ว่า ความได้เปรียบตรงนี่ทำให้บริษัทฯเห็นว่าสินค้าหรือบริการอะไรที่จะมาแรงในอนาคต

และถ้ามีธุรกิจไหนที่มีไอเดียหรือกำลังขายสินค้าหรือบริการที่ว่า บริษัทฯนั้นก็จะเข้าซื้อธุรกิจนั้นและเอาไปทำต่อยอดให้เข้ากับสินค้าหรือบริการของบริษัทฯเสียเอง ทำให้ธุรกิจที่มีไอเดียใหม่ๆจะไมค่อได้แจ้งเกิด นวัตกรรมใหม่ๆที่เกิดจากธุรกิจพวกนี้จะไม่มีให้เห็น เรียกได้ว่านวัตกรรมถูกผูกขาดมากขึ้นทุกที

การผูกขาดข้อมูลของบริษัทฯเทคโนโลยีไม่กี่รายส่งผลต่อข้อมูลข่าวสารที่เรารับรู้ด้วย เห็นได้ชัดคือเรื่องของการเมือง ที่เรามักจะได้ข้อมูลหรือคอนเทนต์ที่มีความเห็นตรงกับเรา การที่เรากดติดตาม กดไลค์ แชร์คอนเทนต์ที่ตรงกับความคิดเราไปเรื่อยๆ อัลกอริธึ่มก็จะส่งคอนเทนต์ที่คล้ายๆกันไปเรื่อยๆจนทำให้เรามีโอกาสที่จะเห็นคอนเทนต์ที่มีความคิดที่แตกต่างจากเรา และมีบริษัทฯเพียงไม่กี่เจ้าที่คุมอัลกอริธึ่มที่ว่าและอาจสร้างอคติให้กับผู้บริโภคทางอ้อมได้เช่นกัน

 

 

แหล่งข้อมูลส่วนหนึ่งมาจาก Why it is the bad idea to let a few tech companies monopolize our data? โดย Maurice E. Stucke จาก Monopolies +  Tech Giant: Harvard Business Review


  • 1K
  •  
  •  
  •  
  •  
Sarunjade
แชร์มุมมองเกี่ยวกับ Digital Marketing, Digital Business และ Technology เท่าที่รู้ สามารถติชมหรืออยากให้เจาะลึกเรื่องไหนเป็นพิเศษ ส่งเมลมาเลยที่ contact@oopsnetwork.co.th