เปิดมุมมองจาก CEO ธุรกิจโรงแรมและที่พัก ‘Hyatt – Airbnb’ อยากรอดจากพิษ COVID-19 ต้องปรับตัวครั้งใหญ่ เน้นโมเดลธุรกิจ ‘Hybrid’

  • 734
  •  
  •  
  •  
  •  

Credit: tanuha2001 / Shutterstock.com, Kaesler Media / Shutterstock.com

 

มีหลายๆ ครั้งที่ผู้เชี่ยวชาญ หรือนักวิเคราะห์ทางการตลาดหยิบยกเรื่องผลกระทบจากการระบาด COVID-19 มาพูดถึง ซึ่งอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและที่เกี่ยวข้อง มักจะเป็น Top Industries ที่ได้รับผลกระทบ และมีแนวโน้มว่าจะฟื้นตัวยากที่สุด ใช้เวลานานที่สุด ขณะที่กูรูส่วนใหญ่มองไประยะยาวต่างก็ชี้เป็นทางเดียวกันว่า ต้องหลังปี 2565 ถึงจะเห็นว่าธุรกิจดังกล่าวเริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวบ้าง

ทั้งนี้ มีมุมมองที่น่าสนใจจากระดับผู้บริหารในแวดวงธุรกิจโรงแรม และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ที่มองคล้ายๆ กันว่า ยังมีโอกาสที่ธุรกิจท่องเที่ยวจะยังฟื้นตัวจาก COVID-19 แต่ก็จะนำมาซึ่ง Big Change – Big Challenge สำหรับธุรกิจนี้ด้วยเช่นกัน

 

Hyatt Hotels

‘Mark Hoplamazian’ CEO, Hyatt Hotels Corporation ซึ่งดำเนินธุรกิจโรงแรมและรีสอร์ทมากกว่า 900 แห่งทั่วโลก ได้พูดว่า “ขณะนี้เรามาถึงจุดที่โรงแรมและที่พักของเราเปิดให้บริการเกือบหมดทุกแห่งในประเทศจีนแล้ว แต่ก่อนที่จะมีการระบาดอีกครั้งในปักกิ่งเมื่อเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา เราได้เห็น strong demand เกิน 50% ซึ่งเป็นจำนวนลูกค้าที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของโรงแรม รวมไปถึงแพลตฟอร์ม booking อื่นด้วย”

สำหรับทางรอดและการปรับตัวของ Hyatt, CEO พูดว่า หากต้องการให้ธุรกิจรอดก็ต้องปรับตัว และเป็นการปรับตัวที่ค่อนข้างใหญ่ทีเดียว ซึ่งขณะนี้เรากำลังมองหาประสบการณ์แบบ ‘Hybrid’ เป็นการผสมผสานประสบการณ์จริงที่ลูกค้าสัมผัสโดยตรง กับอีกรูปแบบหนึ่งก็คือ ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย

Hoplamazian ได้ยกตัวอย่างเช่น พิธีแต่งงานไฮบริด(Hybrid Wedding) ที่ภายในโรงแรมอาจจะมีแค่คู่บ่าวสาวกับบาทหลวง ส่วนแขกที่มาร่วมงานเราจะใช้วิธี สตรีมมิ่งแทนก็เป็นรูปแบบที่กำลังพิจารณาอยู่ในตอนนี้ “ผมมองว่านอกจากจะช่วยเรื่อง social distancing ได้ ยังตอบรับได้ดีกับยุคที่เศรษฐกิจฝืดเคืองเพราะ Coronavirus แช่แข็งธุรกิจ”

“ผมยังมองว่า โรงแรมและที่พักระดับกลางจนถึงล่าง ไม่ใช่ Top luxury จะมีแนวโน้มเป็นที่นิยมมากกว่า 4-5 ดาวเหมือนเมื่อก่อนที่จะมีการระบาด เพราะทุกคนแม้จะอยากเที่ยวก็อยากจะเซฟเงินไปด้วย”

นอกจากนี้ CEO ยังมองไปถึงโมเดลธุรกิจเกี่ยวกับ ‘ห้องอาหารในโรงแรม’ ที่อาหารประเภทบุฟเฟ่ต์ได้รับความนิยมมากที่สุด ทั้งนี้ อาจปรับเปลี่ยนบริการเล็กน้อย ‘ยกเลิกตักอาหารด้วยตัวเอง’ เป็นเลือกเมนูที่อยากลองกินผ่านแอพพลิเคชั่นของโรงแรม เหมือนเวลาเราช้อปปิ้งออนไลน์ (เลือกสิ่งที่อยากได้ลงตระกร้า) จากนั้นพนักงานจะมาเสิร์ฟให้ถึงโต๊ะอาหาร เป็นต้น

 

 

 

Airbnb

Joe Gebbia, cofounder และประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิตภัณฑ์ ที่เล่าไอเดียและความพยายามจะปรับตัวของ Airbnb ว่าขณะนี้พยายาม predict ความต้องการของกลุ่มนักเดินทางให้แม่นยำขึ้นด้วยเทคโนโลยี เพื่อที่จะโปรโมตได้เจาะจงกลุ่มมากขึ้น โดยเขามองว่า ‘การท่องเที่ยวในประเทศ’ จะบูมมากที่สุดในช่วง 2 ปีนี้ “ผมไม่คิดว่าผู้คนจะขึ้นเครื่องเพื่อเดินทางไปต่างประเทศ”

ขณะเดียวกัน นักท่องเที่ยวจะใส่ใจกับ ‘ราคาประหยัด – ความสะอาด – โลเคชั่น’ เป็น Top 3 priorities

 

 

สำหรับไอเดียการปรับตัว Gebbia พูดว่า นอกจากพาร์ทการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มหลักสำหรับการ booking ที่พัก Airbnb เห็นกระแสในช่วงที่มีการระบาดซึ่งเปิดโลกให้คนสามารถเข้าถึงแพลตฟอร์มได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นคอร์สสอนทำไวน์ Sangria สไตล์โปรตุเกสทางออนไลน์ ซึ่งมียอดจองทล่มทลายมูลค่ากว่า 100,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วง 2 เดือนแรกที่เปิดคอร์สนี้

หรือแม้แต่หลักสูตรทำสมาธิจากพระภิกษุในญี่ปุ่นก็เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น ซึ่ง Airbnb มองว่าหลักสูตรนี้จะได้รับความนิยมในสหรัฐฯ ด้วย ขณะที่คนลูกค้าที่ชอบทางนี้ในซานฟรานซิสโกเริ่มเยี่ยมชมแพลตฟอร์ม และซื้อคอร์สในราคา 30 ดอลลาร์สหรัฐฯ

ทั้งนี้ ยังมีผู้บริหารระดับสูง อย่าง ‘Sonia Cheng’ CEO, Rosewood Hotels & Resorts ในฮ่องกง ซึ่งดำเนินธุรกิจกว่า 28 แห่งใน 16 ประเทศทั่วโลก ก็มองว่า ธุรกิจการท่องเที่ยวและโรงแรมจะค่อยๆ ฟื้นตัว แต่ภาคธุรกิจต้องปรับตัว อย่างน้อยๆ ควรเพิ่มโมเดล ‘remote work’ เพื่อสลับพนักงานในโรงแรมและทำงานจากที่บ้าน

ขณะที่ธุรกิจของเขาได้เปิดหลักสูตรทำค็อกเทล ไปจนถึง ทำอาหารตามฉบับโรงแรม และโยคะคลาส เพื่อเพิ่มความหลากหลายและเพิ่มโอกาสในช่วงที่ COVID-19 ยังคงระบาดอยู่

“คิดว่าโมเดลนี้เราจะทำต่อไป แม้ว่าวันหนึ่งจะมีวัคซีนและสถานการณ์กลับคืนสู่ปกติ เพราะมองว่าคนยังให้ความสนใจในโปรดักซ์ที่เป็น luxury แต่จับต้องได้และเรียนรู้จากที่ไหนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเข้ามาเรียนในห้องเรียนจริงๆ” Sonia Cheng กล่าวทิ้งท้าย

 

 

 

ที่มา : fastcompany

 


  • 734
  •  
  •  
  •  
  •  
prakai
'ชีวิต' ต้องมีสีสันหลากหลาย เหมือนกับความรู้ที่มีหลายมิติ ทั้งไลฟ์สไตล์, การตลาด, ดิจิทัล, ประเพณี-วัฒนธรรม