ครั้งแรกกับ Thailand Martech Report 2023 รายงาน Martech เล่มแรกของประเทศไทย ซึ่งจะเปิดเผยถึงอินไซต์และเทรนด์สำคัญของ Martech โฟกัสเฉพาะประเทศไทย ซึ่งจะทำให้แบรนด์ และนักการตลาดไทยเข้าใจและเห็นภาพมากขึ้นถึง ภาพรวมและแนวโน้มของ Martech ในประเทศไทย ไม่ต้องอ้างอิงต่างประเทศและไม่ต้องตีความเอง ทั้งหมดนี้ เราได้หยิบนำมาสรุปสิ่งสำคัญให้ในบทความนี้
สำหรับรีพอร์ตนี้ เริ่มเก็บข้อมูลตั้งแต่ 13 ตุลาคม 2022 – 21 พฤศิจกายน 2022 โดยเก็บข้อมูลทั้ง “เชิงลึกแบบตัวต่อต่อ” โดยผู้ทำสำรวจเป็นผู้ที่มีส่วนหลักในการตัดสินใจเลือกและมีประสบการณ์ในการใช้ Marketing Technology จำนวน 6 ตัวอย่าง และ “เชิงปริมาณทางออนไลน์” โดยผู้ทำสำรวจเป็นตัวแทนของผู้ใช้ Marketing Technology ในตลาดประเทศไทยจากหลากหลายระดับของพื้นฐานความรู้ด้น Marketing Technology หน่วยงาน, ขนาดธุรกิจ, ประเภทธุรกิจ และงบประมาณ 534 ตัวอย่าง
ปัญหาสำคัญของการใช้งานขององค์กรใหญ่
พบปัญหา 3 ด้านสำคัญ ดังนี้
- ยังไม่สามารถใช้งาน MarTech Tools ให้ได้เกิดประโยชน์สูงสุด
- ผู้ใช้งานขาดประสบการณ์ หรือความเชี่ยวชาญในการใช้งาน MarTechTools
- ขาดความรู้ด้าน MarTech Tools ที่เพียงพอในการใช้งาน
ทั้งนี้ จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างพบว่า ความพึงพอใจโดยรวมนั้น ปัจจุบัน การใช้งาน MarTech ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น ครึ่งหนึ่งขององค์กรที่ใช้ MarTech ยังไม่มีประสบการณ์การใช้งานไม่เกิน 1 ปี และยังไม่พึงพอใจกับการใช้งานมากนัก และพบว่า องค์กรจะมีความพึงพอใจกับการใช้งานและความคุ้นชินได้มากขึ้น หลังจากมีประสบการณ์ในการใช้งานมากกว่า 3 ปีแล้ว สรุปได้ว่า ก่อนที่องค์กรจะพึงพอใจกับผลลัพธ์ที่ได้จาก MarTech จะต้องใช้เวลาเรียนรู้นานพอสมควร
จึงเป็นความท้าทายที่สำคัญขององค์กรในปี 2023 ที่จะมีแนวโน้มในการใช้งาน MarTech เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด
สำหรับภาพรวมของการใช้งาน MarTech ในปัจจุบัน
ปัจจุบันแบ่งหมวดหมู่ในการใช้งาน MarTech เป็น 6 หมวดหมู่หลักๆ ด้วยกัน ดังนี้
- การโฆษณาและการโปรโมท (Advertising and Promotion) เช่น Social/Seach Ads, Programmatic
- คอนเทนต์และประสบการณ์ (Content and Experience) เช่น CMS, Email Marketing, Marketing Automation, Content Creation
- โซเชียลและความสัมพันธ์ (Social and Relationships) เช่น Social Media Management, CRM, Webinar, Influencer Marketing
- การพาณิชย์และการขาย (Commerce and Sales) เช่น eCommerce and Shopping Cart Platform, Multichannel Management
- ข้อมูล (Data) เช่น Analytics, Social Listening, Marketing/Business Dashboard
- การทำงานร่มกันและการจัดการ (Collaboration and Management) เช่น Project Management, Business Operation
จำนวนหมวดหมู่เฉลี่ยของ MarTech Tools ต่อองค์กร ปัจจุบันใช้งานหลักๆ อยู่ 3-4 หมดวหมู่ โดยที่นิยมใช้มากที่สุด ได้แก่
- การโฆษณาและการโปรโมท
- ข้อมูล
- คอนเทนต์และการสร้างประสบการณ์
และมีแนวโน้มในการใช้เพิ่มขึ้นในอนาคต เป็น 5-6 หมวดหมู่
ส่วนจำนวนเครื่องมือเฉลี่ยที่ใช้ของ MarTech Tools ต่อองค์กร ปัจจุบันใช้งานอยู่ 11-12 Tools ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เป็น 16-17 Tools ในอนาคต
Top 3 MarTech Tools ยอดนิยม ในแต่ละหมวดหมู่
เปิด Top 3 MarTech Tools ยอดนิยมที่ถูกวางแผนจะใช้งานในปี 2023 (แบ่งตามหมวดหมู่) ทั้งนี้ Tellscore เป็นบริษัทไทยหนึ่งเดียวของ MarTech ที่ติดลิสต์ความนิยม Top 3
#1 การโฆษณาและการโปรโมท
- Meta Ads Manager 80%
- Google Ads 79%
- LINE Ads 64%
#2 เพื่อสร้างคอนเทนต์และประสบการณ์
- WordPress 55%
- Canva 43%
- MailChimp 21%
#3 โซเชียลและความสัมพันธ์
- Zoom 28%
- Hootsuit 17%
- Tellscore 16%
#4 การพาณิชย์และการขาย
- LINE MyShop 31%
- WooCommerce 25%
- 2C2P 23%
#5 เพื่อการเก็บข้อมูล
- Google Analytics 81%
- Looker Stuydio 46%
- Google Optimize 33%
#6 การทำงานร่วมกันและการจัดการ
- Microsoft Team 37%
- Trello 35%
- Google Workspace 35%
งบประมาณ
พบว่าปัจจุบันงบประมาณในการลงให้กับ MarTech อยู่ที่ประมาณ 10-20% ของงบฯ การตลาดทั้งหมด อย่างไรก็ตาม มีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นโดย 75% ของผู้ตอบแบบสอบถามยืนยันว่าจะเพิ่มงบฯ ในส่วนนี้อย่างแน่นอน
เส้นทางการเลือกซื้อ – ช่วงก่อนซื้อ
ปัจจัยและช่องทางในการกระตุ้นหรือเลือกเครื่องมือมาพิจารณา หลักๆ มีอยู่ 3 ข้อด้วยกัน
1.เป็นที่รู้จักและน่าเชื่อถือ
ความน่าเชื่อถือเป็นสิ่งแรกและเป็นพื้นฐานที่ลูกค้าจะพิจารณาว่าจะเลือกใช้งาน MarTech Tools ตัวใด ดังนั้น จำเป็นที่จะต้อง สร้างการรับรู้เกี่ยวกับ MarTech ไว้ล่วงหน้า ต้องเป็นเครื่องมือที่ใช้งานกันอย่างกว้างขวาง เพราะจะทำให้ผู้ใช้งานเกิดความมั่นใจ แลง่ายต่อการค้นหาข้อมูลก่อนการตัดสินใจซื้อ และเป็นเครื่องมือระดับโลก คือมีมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล รวมไปถึงเชื่อว่าเครื่องมือนั้นจะพัฒนาอย่างต่อเนื่องไม่หายหรือปิดกิจการ
2.ข้อมูลที่ได้จาการค้นหามีความน่าสนใจ
ลูกค้าสนใจจริงและมีแนวโน้มในการเลือกใช้ จะพยายามหาข้อมูลเพิ่มเติม ดังนั้น สิ่งที่ควรทำคือ สื่อสารถึงจุดเด่นที่ชัดเจน มีกรณีศึกษาหรือเคสตัวอย่างประกอบการใช้งานที่หลากหลาย และที่สำคัญคือมีให้ทดลองใช้งานเพื่อมอบประสบการณ์ให้กับลูกค้าได้ในเบื้องต้น
3.ความคิดเห็นจากผู้ใช้งานจริง
ผู้ใช้งานส่วนมากมองหาความคิดเห็นของผู้มีประสบการณ์ตรงในการใช้งาน โดยฟังจาก 2 กลุ่มด้วยกัน ได้แก่ 1) คนในแวดวงเดียวกัน และ 2) กล่มคนในสังคมออนไลน์ (คนไม่รู้จัก) เพื่อที่จะได้พูดคุยกับคนที่มีประสบการณ์จริงจะได้ทราบถึงข้อดีข้อเสียของการใช้งานได้
สำหรับปัจจัยหลักๆ ในการเลือกซื้อ – ในช่วงการพิจารณาตัดสินใจซื้อ
- กลยุทธ์/เป้าหมายทางธุรกิจ 49%
- งบประมาณ 49%
- ความง่าย/เวลาในการนำ MarTech Tools มาใช้ในองค์กร 39%
เป้าหมายในการใช้ MarTech
องค์กรส่วนใหญ่มีเป้าหมายในการใช้ MarTech เพื่อวิเคราะห์ เก็บข้อมูล และมุ่งเน้นในการใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำการตลาดและเพิ่มยอดขาย ขณะที่การใช้งานส่วนอื่นๆ เช่น เรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน หรือลดเวลา ลดต้นทุน จะยังไม่ถูกพูดถึงมากนัก ทั้ง 5 อันดับ เป้าหมายในการใช้ MarTech มีดังนี้
- เพื่อการวิเคราะห์ 21%
- เพื่อเก็บข้อมูล 17%
- เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำการตลาด 14%
- เพื่อเพิ่มยอดขาย 14%
- เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน 13%
อุปสรรค/ปัญหา ในการใช้งาน MarTech Tools
ปัญหาส่วนใหญ่ที่พบเกี่ยวกับความรู้และประสบการณ์ ทั้งในด้านการใช้งานให้ได้ประโยชน์สูงุดและในการเลือกใช้งาน ตามมาด้วยข้อจำกัดด้านงบประมาณ โดยจากการสำรวจพบข้อมูล 5 ท็อปอุปสรรค ดังนี้
- ยังไม่สามารถใช้งาน MarTech Tools ให้ได้ประโยชน์สูงสุด 50%
- ผู้ใช้งานขาดประสบการณ์/ความเชี่ยวชาญ ในการใช้ MarTech Tools 47%
- ขาดความรู้เรื่อง MarTech ที่เพียงพอกับการเลือกใช้ 41%
- ข้อจำกัดด้านงบประมาณ 39%
- ข้อจำกัดด้านทรัพยกรบุคคลที่จะมาช่วยเหลือหรือให้คำปรึกษา 25%
4P เพื่อความสำเร็จในการใช้งาน MarTech
ในการใช้งาน MarTech ไม่ใช่ว่ามีเครื่องมือแล้ว จะทำให้ทุกอย่างง่ายดาย หรือประสบความสำเร็จได้ทันที จำเป็นต้องมีปัจจัยอื่นเป็นองค์ประกอบร่วมด้วย ได้แก่ Plan People Platforms และ Process แต่ละตัวมีความสำคัญอย่างไรบ้าง
PLAN การวางแผนที่ดี มีชัยไปกว่าครึ่ง
- มีการวิเคราะห์ตลาด ตั้งแต่ ลูกค้า จุดอ่อน จุดแข็งของแบรนด์ เทียบกับคู่แข่ง รวมถึงแนวโน้มของตลาด เพื่อให้เห็นสถานการณ์ในการแข่งขันว่าอะไรคือข้อได้เปรียบทางการตลาดของแบรนด์ รวมไปถึงการกำหนดเป้าหมายทางการตลาดให้เห็นภาพชัดเจน
- การวางกลยุทธ์ กำหนดกลยุทธ์ในการแข่งขันให้กับองค์กรว่าอะไรทำให้ธุรกิจเติบโตได้จริง
- คัดเลือก MarTech ที่มาช่วยตอบโจทย์กลยุทธ์ที่วางไว้
PEOPLE ทีมงานคือคนสำคัญที่ลงมือทำ
- ทัศนคติ ทีมงานจะต้องมีทัศนคติที่ดีที่สามารถเปิดรับหรือเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้
- ความรู้ ทีมงานต้องมีความรู้และความเข้าใจใน MarTech ที่เลือกใช้
- ทักษะในการใช้งาน ทีมงานต้องมีทักษะที่จะใช้เครื่องมือให้เกิดประโยช์สูงสุด
PLATFORMS เลือกเครื่องมือที่ใช่มาใช้งาน
- ตอบสนองการแก้ไขปัญหาและเป้าหมายทางธุรกิจ เกณ์ในการเลือกเครื่องมือที่ใช้ต้องมีการกำหนดเป้าหมายและปัญหาอย่างชัดเจนก่อน เพื่อที่จะสามารถเลือก MarTech ที่ตอบโจทย์กับองค์กรได้
- เป็นตัวช่วยในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น “คน” MarTech จะช่วยทำให้สิ่งที่คนทำไม่ได้หรือช่วยประหยัดบุคคลากรในการทำงานได้ “เงิน” จะช่วยประหยัดหรือใช้งบฯการตลาดอย่างมีประสิทธิภาพ “เวลา” MarTech จะทำให้ประหยัดเวลาในการทำงาน หรือทำให้เกิดความรวดเร็วมากขึ้น
PROCESS ขั้นตอบคือเส้นทางสู่ความสำเร็จ
การวางขั้นตอนการทำงานที่ครบถ้วนและชัดเจนจะทำให้ MarTech ถูกใช้งานจริงและมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีอยู่ 2 ขั้นตอนดังนี้
- การทำให้ MarTech อยู่ในกระบวนการทำงาน ต้องมีการติดตั้งและเชื่อมต่อเข้ากับเครื่องมืออื่นในองค์กร
- การใช้งาน MarTech ในองค์กร โดยทีมงานต้องตกลงรูปแบบและขั้นตอนการทำงานร่วมกัน
ทั้งนี้ ต้องไม่ลืมด้วยว่า “กลยุทธ์การตลาดที่แข็งแรง” เป็นพื้นฐานสำคัญก่อนที่จะใช้ MarTech
8 เทรนด์สำคัญ MarTech ไทยปี 2023
#1 จะมีความสำคัญที่เพิ่มขึ้น ทั้งด้านฐานข้อมูลลูกค้าขององค์กรและแพล็ตฟอร์ม
ด้วยแรงกดดันจาก “การได้ข้อมูลที่จำกัด” จากมาร์เก็ตเพลส, โซเชียลมีเดีย และ iOS รวมถึง “พ.ร.บ.ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” ทำให้เกิดความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นในการจัดการข้อมูลลูกค้าขององค์กรอย่างเป็นระบบ ดังนั้น ความท้าทายคือ องค์กรต่างๆ จะใช้กลยุทธ์อย่างไรที่จะส่งเสริมให้เกิดการใช้งานข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในการนำมาใช้ในการพัฒนาและสร้างประสบการณ์ใหม่ที่ดีกับลูกค้า
#2 จะมีความต้องการที่เพิ่มขึ้นขององค์กรที่จะดำเนินธุรกิจโดยใช้ช่องทางดิจิทัลของตัวเอง
ปัจจุบันช่องทางการขายได้มีการเปลี่ยนแปลงสูงโลกออนไลน์มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ละองค์กรต้องพบกับความท้าทายหลายด้าน โดยเฉพาะ แรงกดดันจากการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ยิ่งกับตลาดออนไลน์หลักเช่นในมาร์เก็ตเพลส รวมถึงกระแสความนิยมใน Social Commerce ดังนั้น แต่ละองค์กรจึงสร้างช่องทางการขายดิจิทัลของตัวเอง (Brand.com) เพื่อที่เปิดโอกาสในการทำการตลาดมากขึ้น และยังสะดวกมากขึ้นด้วยระบบอัตโนมัติ อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้ได้มีฐานข้อมูลลูกค้าตัวเองด้วย
ความท้าทายคือ องค์กรจะมีกลยุทธ์อย่างไรที่จะสร้างความแตกต่างสำหรับช่องทางการตลาดดังกล่าว ซึ่งปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในภาพรวมคือ การที่แบรนด์สามารถสร้างคุณค่าที่คุ้มค่าให้กับลูกค้าได้ (Good Value Exchange) เพื่อชักจูงให้มาสู่ช่องทางการขายและใช้ช่องทางนี้ต่อไป
#3 จะเป็นยุคของสร้างแอปพิลเคชันโดยไม่ต้องเขียนโค้ด
ปัจจุบันเราเริ่มเห็นการพัฒนารูปแบบ MarTech ที่พร้อมใช้งานมากขึ้น และนำไปสู่รูปแบบของการกระจายการใช้งานได้ด้วยตัวเอง สามารถตอบสนองความต้องการของทีมงานได้ดีขึ้น ทำงานได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ซึ่งนอกจากจะต้องใช้งานง่ายแล้ว ควรจะต้องมี Guideline ให้กับผู้ใช้งานด้วย
#4 การทำงานประสานกันของมนุษย์และเครื่องจักร
อนาคตเมื่อมนุษย์และเครื่องจักรสามารถประสานการทำงานกันได้ดี เครื่องจักรหรือระบบปัญญาประดิษฐ์จะถูกนำไปใช้กับงานส่วนใหญ่ที่ต้องทำด้วยตัวเองซ้ำๆ และจะช่วยให้มนุษย์มีโอกาสในการทำงานที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น และทำงานส่วนต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
#5 การมีข้อมูลมีจำนวนมาก และมีความเข้าใจผู้บริโภคน้อย
ในการใช้ MarTech จะช่วยให้องค์กรมีข้อมูล (Data) ที่ใช้วัดผลการดำเนินการและเรียนรู้สถานการณ์ของธุรกิจในปัจจุบันได้ แต่การที่จะนำข้อมูลเหล่านั้นมาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือใช้งานตามที่ธุรกิจต้องการ จะต้องมีความเข้าใจใน “ความต้องการของลูกค้าเชิงลึก” (Consumer Insight) ด้วย ซึ่งคือความเข้าใจในเหตุผลและปัจจัยที่สร้างให้เกิดพฤติกรรมของลูกค้า ที่จะช่วยทำให้องค์กรสามารถออกแบบกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนธุรกิจได้ตรงจุด
#6 ปัญญาประดิษฐ์ที่ฉลาดมากขึ้น
ระบบปัญญาประดิษฐ์มีการพัฒนาให้มีความฉลาดมากขึ้น และตอบสนองความต้องการได้ดีขึ้น ซึ่งแนวโน้มนี้จะยังคงมีให้เห็นต่อไปเพื่อตอบสนองความต้องการตลาดที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว เช่น ธนาคารอาจจะไม่ได้ต้องการแค่ข้อมูลด้านการเงินที่เกี่ยวข้องกับลูกค้าแต่ต้องการความเข้าใจดานไลฟ์สไตล์ของลูกค้าด้วยเพื่อนำมาใช้ในการสร้างความแตกต่างดานการให้บริการด้วย
#7 การเชื่อมต่อและการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบของ MarTech
ในอนาคตเมื่อความต้องการในการรวบรวมและนำ MarTech มาใช้ทำงานพร้อมๆ กันจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการทำงานและขั้นตอนการทำงาน ขึงเป็นการเลือกใช้ MarTech ที่ขึ้นอยู่กับธุรกิจแต่ละประเภทและความสามารถที่ต้องการในการทำงาน โดยจะคำนึงถึงความสามารถที่เชื่อมต่อและใช้งานพร้อมกันได้อย่างเป็นระบบ (MarTech Stack) เพื่อทำให้องค์กรได้ผลลัพธ์โดยรวมที่ดีมากขึ้น
#8 ความก้าวหน้าของข้อมูล
ระบบข้อมูลในปัจจุบันนับว่ายังไม่ครอบคลุมครบถ้วนนัก แต่ในอนาคตด้วยความช่วยเหลือจาก MarTech จะทำให้ระบบข้อมูลในมือขององค์กรมีความก้าวหน้าและครบถ้วนมากขึ้น ด้วยการพัฒนา 5 เรื่อง ดังนี้
- ความรวดเร็วของการได้รับข้อมูลแบบเรียลไทม์
- ความสามารถในการคาดการณ์
- ให้ข้อมูลในบริบริทอื่นด้วย
- เห็นข้อมูลรวมของลูกค้าในภาพเดียว
- สามารถบริหารจัดการแบบรายบุคคลหรือการตลาดแบบรู้ใจลูกค้าได้
ท้ายที่สุดสิ่งที่ย้ำเตือนร่วมกันคือ MarTech ไม่สามารถแทนที่ “มนุษย์” ได้แต่จะมาช่วยเสริมพลังให้มนุษย์ดียิ่งขึ้น
สำหรับ Thailand’s MarTech Report 2023 เป็นรายงานท่เกิดจากความร่วมมือระหว่าง Content Shifu และ Hummingbirds Consults