ผู้บริโภคขาดความเชื่อมั่นในดิจิทัล ประเทศไทยพบการทุจริตสูง

  • 53
  •  
  •  
  •  
  •  

shutterstock_403708555
เอ็กซพีเรียน ร่วมมือกับไอดีซี บริษัทที่ปรึกษาและวิจัยการตลาดเทคโนโลยีสารสนเทศ เปิดเผยข้อมูลดัชนีความเชื่อมั่นระบบดิจิทัล (Digital Trust Index) รายงานข้อมูลด้านการบริหารจัดการ การทุจริต ประจำปี 2560 (Fraud Management Insights 2017) พบว่าอัตราการทุจริตในประเทศไทยอยู่ในขั้นรุนแรงอย่างเห็นได้ชัด 22% ของคนไทย เคยมีประสบการณ์ทุจริตโดยตรง และ 1 ใน 3 (35%) มีคนใกล้ชิดเคยได้รับผลกระทบจากการทุจริต
ดัชนีความเชื่อมั่นระบบดิจิทัล  (Digital Trust Index) พัฒนาขึ้นเพื่อสร้างวิธีการวัดผลความเชื่อมั่นในภูมิภาคและในภาคธุรกิจต่าง ๆ ผ่านการตรวจสอบด้วยชุดหลักเกณสำหรับอุตสาหกรรมฑ์ ทำให้ทราบถึงพฤติกรรมและความคาดหวังของผู้บริโภค ที่มีต่อระบบดิจิทัล ข้อมูลดัชนีดังกล่าววัดผล 4 ตัวแปลหลัก ดังนี้
1.การใช้ระบบดิจิทัล 2.แนวโน้มการใช้งานของอุตสารหกรรม 3.อัตราการทุจริต 4.ประสิทธิภาพของบริษัทด้านการบริหารการทุจริต และแบ่งเป็นประเภทธุรกิจได้แก่ บรการทางการเงิน โทรคมนาคม และธุรกิจค้าปลีก
Main-700x430
สำหรับข้อมูลของประเทศไทย
ด้านการบริการทางการเงิน
  • คนไทยมีความเชื่อมั่นและพึงพอใจระดับที่สูงในการทำธุรกรรมธนาคาร ถึงแม้จะมีอัตราการทุจริตที่สูง แต่มีความเชื่อมั่นว่าบริษัททางการเงินจะมีเครื่องมือที่สามารถรับมือการทุจริตได้
  • ผู้บริโภคชาวไทยมักไม่ระวังข้อมูลส่วนบุคคลและมีการให้ข้อมูลที่ผิดพลาด และเชื่อว่าองค์กรต่าง ๆ ขาดความสามารถในการตรวจจับการทุจริต
ด้านธุรกิจค้าปลีก
  • ผู้บริโภคของไทยมีเชื่อมั่นต่อธุรกิจประเภทนี้ต่ำมาก แม้ว่ากรณีการทุจริตจะต่ำกว่าค่าเฉลี่ย แต่ผู้บริโภคกลับไม่เชื่อถือผู้ค้าออนไลน์สำหรับข้อมูลส่วนตัว
  • กระบวนการปลายทางแบบกึ่งอัตโนมัติ (Semi-automated back-end processes) เมื่อมีการทุจริต จะต้องมีกระบวนการคัดกรองตรวจสอบโดยบุคคล ซึ่งอาจส่งผลต่อความล่าช้า
ด้านโทรคมนาคม
  • ผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทยเกือบ 1 ใน 3 เคยถูกทุจริตโดยตรงและโดยอ้อม เกือบครึ่งเคยถูกทุจริตในธุรกิจโทรคมนาคม (45.8%)
  • พบการทุจริตในธุรกิจอี-วอลเล็ตของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมกว่า 25%

  • 53
  •  
  •  
  •  
  •