ใครทำธุรกิจฟัง! คำเตือน 5 ข้อ ก่อนทำคอนเทนต์บน Social Media

  • 58
  •  
  •  
  •  
  •  

Content is King เป็นเรื่องจริงสำหรับนักการตลาดยุคดิจิตอล เพราะยุคนี้เป็นยุคที่คนไม่ชอบโฆษณาที่ไม่เกี่ยวกับเขา และผู้บริโภคสามารถเลือกที่จะเห็นโฆษณานี้หรือไม่ก็ได้ ฉะนั้นการทำการตลาดจึงต้องจัดคอนเทนต์ที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในทุกๆจุด ต้องเป็นคอนเทนต์ที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภค เสพแล้วมีประโยชน์

แต่เราจะเห็นคอนเทนต์บนโลกออนไลน์ที่ผิดเป็นประจำ มาฟังเหล่า 3 นักการตลาดดิจิตอลอย่าง “คุณจันทร์เพ็ญ จันทนา” จาก Siam Commercial Bank (SCB) “คุณณัฐพัชญ์ วงษ์เหรียญทอง” จากบริษัท โทเทิล แอ็คเซ๊ส คอมมูนิเคชั่น จำกัดมหาชน และ “คุณเอพริล ศรีวิกรม” จาก Google Thailand เตือนเหล่านักการตลาดและทุกกิจการในการทำคอนเทนต์ไว้ 5 ข้อ

panel-discussion-how-to-win-the-digital-minds-and-analogue-hearts-of-tomorrow-is-customer

 

1. ใช้ Big Data ขัดเกลาสารที่สื่อถึงลูกค้าให้คมกริบ

จะถอดรหัสความคิดของผู้บริโภค ต้องเข้าถึงและวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมการค้นหา การเสพคอนเทนต์ วิถีชีวิตและเรื่องที่ลูกค้าสนใจในสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ ช่วยให้เราเข้าใจลูกค้ามากขึ้น เข้าใจคุณสมบัติและประโยชน์สินค้าและบริการของเราที่ลูกค้ากังวลอยู่ เมื่อเทียบกับคู่แข่ง และสามารถนำมาสร้างข้อความทางการตลาดให้เกี่ยวข้องกับเขาได้ในที่สุด

ยิ่งรู้จักคนมากเท่าไหร่ เรายิ่งขายของได้ละเอียด และ “กระแทก” ความต้องการของเขามากขึ้นเท่านั้น ที่สำคัญต้องรู้จักทดสอบโฆษณาของเรา หรือที่เราเรียกกันว่า A/B Testing หลายๆชิ้นจนมั่นใจว่า Keyword ของเราโดนใจเป้าหมายแต่ละกลุ่มลูกค้าด้วย

live-reactions-android

 

2. นำข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้า “แต่ละคน” มาสร้างประสบการณ์เสพคอนเทนต์

ซึ่งในยุคดิจิตอล มี Algorithm สามารถคัดสรรคอนเทนต์ที่เหมาะกับลูกค้าแต่ละคนได้ เช่น การใช้ DTAC APP เพื่อเช็ก โปร ยอด แต่ละคนจะเห็นไม่เหมือนกัน เพราะว่า DTAC ประเมินฐานข้อมูลมาแล้ววว่าใครมีพฤติกรรมแบบไหน ใช้ข้อมูล แบบไหน แนะนำไปเลยใช้แพคเกจแบบไหน และแพคเกจที่เราน่าจะซื้อคือแพกเกจอะไร

ไม่ต้องอาศัยพนักงานบริการลูกค้าจำนวนมากอีกต่อไปในอนาคต

862223_750x420

 

3. เลิกมองกลุ่มลูกค้าตาม เพศ อายุ ที่อยู่ ได้แล้ว

รู้ว่าแบ่งกลุ่มลูกค้าแบบนี้มันทำให้เราทำงานง่าย แต่เรามักลืมไปว่าแต่ละคนในกลุ่มก็ต่างกัน คนทุกคนในแต่ละ “Segment” ไม่ได้เหมือนกันหมด คนอายุเท่ากันก็ไม่ได้หมายความว่าต้องคิดและทำเหมือนกัน

เรื่องพฤติกรรมของลูกค้า อย่าคิดเอาเอง อย่ามักง่าย มิฉะนั้นจะไม่ตอบโจทย์ผู้บริโภค

เพราะแท้จริงแล้วกลุ่มลูกค้าในปัจจุบันกลายเป็นสิ่งที่เรียกว่า “Tribe” หรือชนเผ่าที่เชื่อและคลั่งใคล้อะไรคล้ายๆกัน ไม่มีข้อจำกัดเรื่องเพศ อายุ ที่อยู่ การตอบโจทย์ Tribe แต่ละกลุ่มจึงขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจด้วย เช่น Tribe เดียวกันที่ซื้อเครื่องสำอางค์จะมี “Touch Point” หรือจุดที่ผู้บริโภคมีประสบการณ์กับสินค้าบริการของเรา ต่างจาก Tribe เดียวกันที่ซื้อสมาร์ทโฟนก็ได้

ทำให้ Metric หรือตัวชี้วัดสำคัญมากขึ้นเช่นกันในยุคดิจิตอล

20141103175200-how-market-generation-z-kids-who-already-have-44-million-dollars-spend

 

4. หมดยุค “อัดโฆษณา เพิ่มยอดขายตรงๆ”

เพราะเราค้นหาออนไลน์บ่อยขึ้น เราจึงตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการจึงไม่เรียบง่ายเหมือนก่อน เช่นกว่าคนเราจะซื้อรถได้หนึ่งคันจะมี Touch Point อยู่ 24 จุดไม่ว่าจะไปหา dealer ดูวีดีโอ หรือดูเวบไซต์

ไม่ใช่แค่ดูโฆษณา แล้วซื้อเลย

ฉะนั้นต้องคิดให้รอบคอบว่าเราจะแบ่งทรัพยากรไป Touch Point จุดไหนบ้าง ให้น้ำหนักลงทุนแต่ละจุดเท่าไหร่ จึงต้องรู้ว่าผลตอบแทนทางการตลาดจุดไหนที่สูงที่สุด จุดไหนที่คนหาข้อมูลเยอะสุด อีกทั้งจำนวน Touch Point ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ถ้าจำนวน Touch Point ต่างกันแต่ผลลัพธ์เท่ากัน conversion rate เท่ากัน แปลว่า จุดหายไป ก็ไม่สำคัญ สำหรับลูกค้าคนนั้น เราต้องจัดความสำคัญของ Touch Point แต่ละจุดด้วย

สินค้าและบริการของเราต้องปรากฎให้ลูกค้าเห็น ถูกที่ ถูกเวลา เพราะถ้าพลาดจุดไหน นั่นหมายความว่าเราให้คู่แข่งพร้อมครองจุดนั้นตัดหน้าเราไปแบบสบายๆ

Woman holding domestic product emerging from television, portrait

 

5. จะทำคอนเทนต์ ต้องรู้จักฟังผู้บริโภค

ในกรณีการทำคอนเทนต์เรื่องการเงินของ SCB เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนมาก เพราะเมื่อจับทางได้ว่าคนไทยไม่ชอบเรื่องน่าเบื่อ เข้าใจยาก ชอบเรื่องสนุก เข้าใจง่ายๆ ตามกระแส SCB จึงผลิตคอนเทนต์สอนความรู้เรื่องการเงินแบบง่ายๆ และยังกระตุ้นให้ผู้ใช้งานคิดคอนเทนต์ผ่านแพลตฟอร์มของ SCB ด้วย

httpv://www.youtube.com/watch?v=oMdqhOV8Al0

httpv://www.youtube.com/watch?v=sjNmv_JCz8M

เพราะจริงๆแล้วคอนเทนต์ไม่ใช่บทความ รูปภาพหรือวีดีโอ แต่เป็นเรื่องราวและข้อมูลที่ต้องเกี่ยวข้องกับผู้บริโภค มิฉะนั้นผุ้บริโภคอาจหันมาเกลียดเราด้วย

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือแคมเปญของ DTAC MUSIC INDEFINITE ที่มี Key Message อย่าง “ฟังเพลงฟรี 7 แอป ไม่เสียค่าเน็ต” ซึ่งอาจทำยอดขายและรายได้ไม่ดีเท่ากับ Key Message อย่าง “ฟัง JOOX ฟรีไม่เสียเน็ต กด *699” ซึ่งข้อความหลังนักการตลาดและผู้บริหารอาจมองว่ามันไม่ “คงเส้นคงวา” แต่เป็นข้อความที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มลูกค้ามากกว่า

httpv://www.youtube.com/watch?v=uLI7FKz23bE

ฉะนั้นถ้าคุณจะ Connect กับคน คุณต้องเอาคนที่ Connect กับเขาได้ด้วย

 

สุดท้าย 3 กูรูการตลาดิจิตอลทิ้งท้ายว่าเลิกแยก “การตลาด” กับ “การตลาดดิจิตอล” เถอะ เพราะการตลาดดิจิตอลอีก 2-3 ปีเป็นทักษะจำเป็นที่ทุกคนต้องมีในตลาดแรงงาน การแยกแผนกดิจิตอล หรือแผนกนวัตกรรม ในองค์กรไม่ได้หมายความว่าองค์กรนั้นมีความเป็นดิจิตอลหรือมีความเป็นนวัตกรรม

แต่ต้องยุบแผนกดิจิตอล นวัตกรรมทิ้ง ให้ความเป็นดิจิตอลและนวัตกรรมอยู่ใน DNA ของทุกคน

2-panel-discussion-how-to-win-the-digital-minds-and-analogue-hearts-of-tomorrow-is-customer

 

แหล่งที่มา

TMA Day 2016 Business Transformation Reinventing the Company for Digital Transformation วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน 2559 โรงแรม พลาซ่า แอทธินี กรุงเทพ


  • 58
  •  
  •  
  •  
  •  
Sarunjade
แชร์มุมมองเกี่ยวกับ Digital Marketing, Digital Business และ Technology เท่าที่รู้ สามารถติชมหรืออยากให้เจาะลึกเรื่องไหนเป็นพิเศษ ส่งเมลมาเลยที่ contact@oopsnetwork.co.th