4 เทรนด์รักษ์โลก ผสมผสาน Passion สู่อาชีพสายกรีนที่พร้อมขับเคลื่อนสังคม สู่ Net Zero อย่างยั่งยืน

  • 3.5K
  •  
  •  
  •  
  •  

 

ปัญหาภาวะโลกร้อนถือว่าเป็นปัญหาระดับโลกที่เกิดขึ้นกับมนุษยชาติ เพราะทุกวันนี้ได้เพิ่มความรุนแรงกระจายความเสียหายไปทั่วทุกพื้นที่ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น หรือก๊าซเรือนกระจกที่มีการปล่อยออกมาอยู่เรื่อย ๆ หรือแม้แต่กระทั่งภัยพิบัติทางธรรมชาติตามมาอีกมากมาย ส่งผลให้ทั่วโลกต่างตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวที่ทั่วโลกต่างเร่งมือช่วยกันแก้ไข

จากการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ COP 26 ช่วงปลายปีที่ผ่านมา ทั้ง 200 ประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยด้วยที่เข้าร่วม ได้ประกาศและทำแผนข้อตกลงร่วมกันเพื่อลดการปล่อยมลพิษให้ได้ภายในปี 2030 โดยการเลิกใช้ถ่านหิน การเปลี่ยนไปใช้ยานพาหนะไฟฟ้า หรือ EV CAR ซึ่งเป็นถือเป็นแผนปฏิบัติการลดการปล่อยมลพิษระดับชาติ

อีกหนึ่งเทรนด์ที่กำลังมาแรงที่เป็นตัวขับเคลื่อนต่อการลดโลกร้อนได้ นั่นคือ Green Careers ที่เป็นการสร้างแรงบันดาลใจ สร้างอาชีพ สร้างรายได้ จากโปรเจกต์รักษ์โลก รักสิ่งแวดล้อม ซึ่งนับว่าเป็นอีกส่วนหนึ่งที่จะช่วยลดก๊าซเรือนกระจกลงได้ ที่สามารถส่งต่อสิ่งดี ๆ ให้กับคนรอบข้างและคนในชุมชนได้ กับ 4 อาชีพรักษ์ธรรมชาติ ที่ช่วยลดโลกร้อนให้กับโลกได้

 

4 เทรนด์รักษ์โลก กับอาชีพที่คุณได้ โลกได้

งานศิลปะสิ่งทอกับการรีไซเคิลที่โด่งดังไปทั่วโลก

หลายคนอาจคุ้นชินกับงานศิลปะการวาดภาพ แต่ใครจะรู้ว่าหนึ่งในงานศิลปะสิ่งทอที่เกิดขึ้นจาก กระดาษ ขวดพลาสติก หรือถุงน่องที่ไม่ใช้แล้ว สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ใหม่ และกลับกลายมาเป็นงานศิลปะที่สวยงามได้ คุณมุก-เพลินจันทร์ วิญญรัตน์ ดีไซเนอร์ Co – Founder แบรนด์ Mook V และ Art Decorator ใช้เทคนิคการถักทอที่ตัวเองถนัดมาสร้างผลงานศิลปะจากขยะเหลือใช้ โดยการขวดน้ำพลาสติก หรือแม้แต่กระทั่งถุงน่องที่ผู้หญิงมักใส่แล้วพอเกิดเป็นรอยก็มักจะทิ้งลงถังขยะ แต่กลับสามารถนำกลับมาเป็นงานศิลปะได้ แม้แต่ขยะที่มาจากทะเลนำไปบดตากแห้ง แล้วนำไปใส่ถุงน่อง แล้วนำมาทอ มารีไซเคิลจนเกิดมาเป็นงานศิลปะ หรือแม้แต่กระทั่งการนำผ้าไทยจากศูนย์ศิลปาชีพบางไทรที่เหลือใช้ต่าง ๆ มาเอาครีเอทให้เป็นงานศิลปะ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองงานวันที่ 12 สิงหาคม ที่ผ่านมาก็ถือเป็นอีกหนึ่งงานของความภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งเล็ก ๆ ของการช่วยลดมลพิษต่อการเกิดภาวะโลกร้อนได้

 

คุณมุก-เพลินจันทร์ วิญญรัตน์ ดีไซเนอร์ Co – Founder แบรนด์ Mook V และ Art Decorator

 

Plant-Based Food อาหารเพื่อสุขภาพที่รักษ์โลก

เป็นอีกเทรนด์ทางเลือกใหม่สำหรับผู้คนในการช่วยลดโลกร้อนได้ นั่นคือ การเริ่มหันมารับประทาน Plant-Based Food  ซึ่งเป็นนวัตกรรมทางอาหารชนิดใหม่ ที่จะช่วยลดสภาวะเรือนกระจกจากปริมาณการทำปศุสัตว์ในทุกพื้นที่บนโลก ซึ่งถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งสาเหตุหลัก ณัฏชนา เตี้ยมฉายพันธ์ ผู้ก่อตั้ง Trumpkin Cheese จับกระแสของอาหาร Plant-Based Food กับการบริโภคผลิตภัณฑ์จากพืช นอกจากจะช่วยในเรื่องการสร้างสุขภาพที่ดีแล้ว ยังทำให้ลดความเสี่ยงของโรค และเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่รักษ์โลกได้อีกทางหนึ่ง ที่นอกจากจะสร้างรายได้ ให้ผู้คนมีสุขภาพที่ดีแล้ว ยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณ 30 – 90% หากเทียบกับผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากสัตว์ จึงเป็นอีกหนึ่งพฤติกรรมที่สามารถปรับทางด้านการกินที่เป็นจุดเริ่มต้นง่าย ๆ  จุดเริ่มต้นแรก ๆ ที่ช่วยโลกได้

 

คุณณัฏชนา เตี้ยมฉายพันธ์ ผู้ก่อตั้ง Trumpkin Cheese

 

งานผ้าไทย แฟชั่นร่วมสมัยกับการรักษ์สิ่งแวดล้อม

การอนุรักษ์และถ่ายทอดเรื่องผ้าไทยท้องถิ่นจากทั่วประเทศ เป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชุนในแต่ละจังหวัด อีกทั้งยังช่วยลดภาวะโลกร้อน แพร-อมตา จิตตะเสนีย์มหรือแพรี่พาย อดีต BeautyInfluencers ที่ครั้งหนึ่งในชีวิตได้สัมผัสกับใกล้ชิดกับธรรมชาติ จึงเป็นอีกหนึ่งจุดเปลี่ยนที่ทำให้ก้าวออกจากวงการบิวตี้ และการเรียนรู้เรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน ซึ่งถือว่าเป็นบทใหม่ในชีวิตสัมผัสวิถีชีวิตของชุมชนในเมืองไทย เพราะกลิ่นอายผ้าท้องถิ่นในไทยมีความหลากหลายมาก ไม่ว่าเป็นทางเหนือ อีสาน กลาง ใต้ มันคือวัฒนธรรมในเป็นงานศิลปะที่ไร้ขีดจำกัด สร้างความสวยงามของธรรมชาติ ผ่านทางเครื่องมือสื่อสาร ผ่านงานศิลปะ จากธรรมชาติจากบรรพบุรุษให้ต่อยอดกับคนรุ่นลูกรุ่นหลานได้ นอกจากนี้ยังใช้ดาดฟ้าของบนคอนโดเพื่อใช้ปลูกพืชผักสวนครัวเองจากธรรมชาติ เช่นการปลูกหัวไชเท้ารูปแบบต่างๆ ซึ่งถือว่าเป็นการสร้างความภาคภูมิใจในสิ่งเล็กที่สามารถทำได้ด้วยตนเอง

 

คุณแพร-อมตา จิตตะเสนีย์มหรือแพรี่พาย อดีต Beauty Influencers

 

สิ่งของเหลือ นำมาก่อประโยชน์กลายเป็นร้านคาเฟ่

จากแนวความคิดที่ต้องการนำของเหลือใช้ ไม่ว่าจะเป็นยางรถยนต์ เหล็กเหลือใช้ หรือเศษไม้ต่าง ๆ นำมาสู่โปรเจกต์ร้านคาเฟ่ควินิน ในรั้ววิทยาลัยเทคนิคนิคมอุตสาหกรรมระยอง เพื่อเป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างชุมชนกับวิทยาลัยให้เกิดความยั่งยืน อาจารย์กิตติพงษ์ อุตตมะเวทิน ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคนิคมอุตสาหกรรมระยอง ผู้ก่อตั้งร้าน ควินินคาเฟ่ ร้านอาหารเพื่อสุขภาพ และต้องการให้นักศึกษาทุกคนจากสายวิชาช่างนำมาก่อประโยชน์เพื่อสร้างเป็นอาชีพต่อไปในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นนำพวกเศษเหล็ก ล้อจักรยาน ที่ซ่อมในสาขาวิชาช่างยนต์ หรือนำมาประดิษฐ์ทำเป็นโคมไฟ โดยให้นักศึกษาแผนกช่างไฟฟ้านำมาทำเป็นโคมไฟ มาใช้ประดับในร้าน พวกเศษไม้ พาเลตที่ไม่ใช้แล้วนำมาทำเป็นโต๊ะจากวัตถุเหลือใช้จากธรรมชาติ ก่อให้เกิดประโยชน์และเป็นการช่วยลดโลกร้อน

 

อาจารย์กิตติพงษ์ อุตตมะเวทิน ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคนิคมอุตสาหกรรมระยอง ผู้ก่อตั้งร้าน ควินินคาเฟ่

 

 

 

อย่างไรก็ตาม การช่วยลดภาวะโลกร้อนไม่ได้เป็นเรื่องที่ไกลตัว เพียงแต่เราลองหันกลับมามองตัวเองในรูปแบบง่าย ๆ ที่จะสามารถช่วยเหลือสังคม และโลกใบนี้ให้กลับมาน่าอยู่มากยิ่งขึ้น เช่น การพกถุงผ้าและลดใช้ถุงพลาสติก เป็นต้น เพียงเท่านี้ก็ถือว่า เป็นการช่วยโลกได้ เช่นเดียวกับ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ผู้ประกอบธุรกิจด้านเคมีภัณฑ์เป็นอีกหนึ่งบริษัทที่ตระหนักการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและพัฒนานวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อก้าวไปสู่ Net Zero

 

 

 


  • 3.5K
  •  
  •  
  •  
  •