เปิดศึก 2 มังกร “Tencent – Alibaba” บนสมรภูมิไทย แจ็ค หม่า ชิงเยือนทำเนียบ รุก 4 MOU ลงทุน 11,000 ล้าน EEC

  • 957
  •  
  •  
  •  
  •  

ปก

Tencent และ Alibaba ทั้งสองมีอะไรที่คล้ายคลึงกัน แต่ก็ต่างกันอย่างสุดขั้ว

สองมหาอำนาจยักษ์ใหญ่เจ้าของธุรกิจ ISP หรือ Internet Service Provider อย่าง Tencent และ E-Commerce ระดับโลกอย่าง Alibaba มีกำเนิดจากแดนมังกรจนเติบโตแข็งแกร่ง ขยายเครือข่ายไปทั่วทุกภูมิภาคของโลก และยังมีเจ้านายใหญ่มาจากสกุล “หม่า” เหมือนกัน

แจ็ค หม่า สมัยเริ่มสมัครงานมีแต่คนปฏิเสธ แต่ปัจจุบันคือ CEO แห่ง Alibaba ส่วน โพนี หม่า หรือ “หม่า ฮั่ว เถิง” เป็นผู้ขับเคลื่อน Tencent สู่เศรษฐกิจโลก แม้ทั้งสองจะมีบุคคลิกต่างกัน แต่สิ่งหนึ่งที่ทั้งสองคิดเหมือนกันคือ นำแบรนด์จีนสู่ตลาดนานาชาติ

01 Ali

แต่เมื่อแจ็ค หม่า เข้าทำเนียบเตรียมลงนาม MOU 4 ฉบับกับรัฐบาลไทย เพื่อลงทุนขั้นแรก 11,000 ล้านบาทใน EEC ไม่ว่าจะเป็นโครงการลงทุนสร้างศูนย์ Smart Digital Hub โครงการส่งเสริมธุรกิจผ่าน E-Commerce โครงการส่งเสริมทักษะ Digital E-Commerce สำหรับ SME และ Startup ของไทย รวมทั้งโครงการจัดทำ Thailand Tourism Platform

การเปิดศึกครั้งนี้ของ Alibaba ที่ข้ามฝั่งเข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เสมือนก้าวรุกชิงความได้เปรียบเหนือ Tencent ในภูมิภาคนี้ และจะยิ่งทำให้สมรภูมิ E-Commerce ทั้งในไทยที่จะเติบโตแบบก้าวกระโดด และทั้งในภูมิภาคที่จะดุเดือดมากขึ้นไปอีก

เป็นการตอกย้ำว่าประเทศไทยมีศักยภาพสูง ที่จะกลายเป็นศูนย์กลางดิจิทัลและ E-Commerce ในภูมิภาคไปในที่สุด

02 Ali

ใหญ่ชนใหญ่

ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน สถานกงสุลใหญ่ ณ นครคุนหมิง รายงานว่า ทั้ง 2 บริษัท เริ่มต้นดำเนินธุรกิจแตกต่างกัน Alibaba เป็นผู้ให้บริการเว็บไซต์ช็อปปิ้งออนไลน์และ Alipay ส่วน Tencent ให้บริการแอพฯ เครือข่ายสังคมออนไลน์ WeChat และ QQ

ต่อมา WeChat ของ Tencent เริ่มให้บริการ WeChat Pay ทำให้ Alibaba ต้องพัฒนาแอพฯ เครือข่ายสังคมออนไลน์ LaiWang (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น DianDianChong) ขึ้นมาต่อกรกับ WeChat จนทำให้บริการของทั้ง 2 บริษัท มีอิทธิพลสูงมากต่อชีวิตประจำวันของชาวจีนทั้งแผ่นดินใหญ่ ครอบคลุมทั้งซื้อสินค้าและบริการออนไลน์ ชำระค่าสาธารณูปโภค จองบัตรโดยสาร รับ-โอนเงิน รวมทั้งการติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ (ใครติด Facebook ติดต่อคนจีนคงเคยมีประสบการณ์)

03 Ten

นอกจากในตลาดจีนแล้ว ในส่วนอื่นๆ ของภูมิภาคโลก ทั้งสองแบรนด์ต่างรบพุ่งกันมาตลอดเส้นทาง เมื่อต่างฝ่ายต่างมีโปรดักส์และบริการ ที่จับคู่กันมาเกือบจะทุก Segment ของตลาดออนไลน์

โดยเฉพาะการแข่งขันกันเองของ Alipay และ WeChat Pay ในการเข้าสู่กระแส Cashless เมื่อ Alipay อาศัยความได้เปรียบที่เริ่มบุกตลาดก่อน และผูกขาดการชำระเงินในเว็บไซต์ช็อปปิ้งออนไลน์กระแสหลักอย่าง Taobao และ Tmall ทำให้ผู้ซื้อไม่สามารถใช้ WeChat Pay ในเว็บไซต์ดังกล่าวได้

04 Ali

ขณะที่เจ้าสัว “หม่า” อีกคนของ Tencent แก้เกมด้วยการกระโดดข้ามนำ WeChat Pay ไปสู่แอพพลิเคชั่นในสมาร์ทโฟนที่ตนเองมีฐานลูกค้าในจีนถึง 800 ล้านคน และในต่างประเทศอีกจำนวนมหาศาล ด้วยการพัฒนาให้เป็นแอพฯ เดียวที่มาพร้อมทั้ง “แชท” และ “จ่าย” ในแอพฯ เดียว

แม้ว่าในช่วงแรก Tencent จะประสบปัญหาการดำเนินงาน ที่ยังเข้าไม่ถึง “ใจ” ของผู้ใช้งานนัก จนต้องยอมขายหุ้นบางส่วนให้กับกลุ่มนักธุรกิจอื่น เพื่อพยุงสถานะภาพของบริษัทไว้ แต่ภายหลังเมื่อตั้งหลักได้แล้ว ปรากฎว่าเมื่อวัดจากผลประกอบการ คือรายได้และผลกำไรในช่วง 1-2 ปี ที่ผ่านมา Tencent กลับสร้างรายได้ และตัวเลขผลกำไรได้สูงกว่า Alibaba พอสมควร

กลายเป็นฐานเงินทุนที่สำคัญให้ โพนี หม่า นำแบรนด์ Tencent ให้กลายเป็นไต้ฝุ่นแห่งการลงทุน กวาดบริษัทน้อยใหญ่จำนวนมากทั้งในจีนและนอกจีน เข้ามาอยู่ใต้ปีกการบริหารได้ในที่สุด

วิถีมังกร

สำหรับย่างก้าวในไทย Tencent ได้ปรับกลยุทธ์การตลาด หลังจากแอพแชทเรือธงของกลุ่มอย่าง WeChat ยังไม่สามารถเบียดสู้กับ LINE ได้ จึงต้องหาช่องทางเข้าสู่ธุรกิจดิจิตอลอื่นๆ แทน

05 Ten

มุมมองของ Tencent เลือกที่จะใช้ช่องทางร่วมทุนกับบริษัทไอทีคนไทย เพื่อต่อยอดการทำตลาดแทนการลุยเดี่ยวหลังจากได้ชิมลางเข้าซื้อหุ้นของ sanook.com ยักษ์ไอทีด้าน Portal Web ของไทยไปบางส่วนตั้งแต่ปี 2559

ในปี 2560 ผู้บริหาร Tencent ตัดสินใจรวบหัวรวบหางกิจการของ sanook.com มาไว้ในพอร์ตลงทุนต่างแดนของ Tencent อย่างเบ็ดเสร็จและเด็ดขาด เปลี่ยนชื่อบริษัท สนุก ออนไลน์ จำกัด มาเป็นบริษัท เทนเซ็นต์ (ประเทศไทย) จำกัดรวมถึงบริการเพลงออนไลน์แถวหน้าของเมืองไทยอย่าง JOOX

ปีเดียวกัน Tencent ยังรุกคืบเข้าถือหุ้นในบริษัท อุ๊คบี จำกัด (Ookbee) หลังจากได้มีการปรับเปลี่ยนเป้าหมายในการให้บริการ จากการเป็นเพียงผู้ให้บริการระบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) มาเป็นผู้ให้บริการระบบชุมชนออนไลน์ของสื่อบันเทิงในรูปแบบดิจิตอล (Digital Entertainment) ในรูปแบบต่างๆ

อีกทั้งยังเป็นสื่อกลางในการเชื่อมต่อศิลปิน นักวาดการ์ตูน นักดนตรี นักเขียน นักคิด เข้ากับผู้บริโภคหลายล้านคน Tencent ในไทยจึงก้าวเข้ามาเป็นผู้ให้บริการธุรกิจดิจิทัลชั้นนำต่างๆ อาทิ WeChat, JOOX, Sanook, Ookbee, เกมและบริการออนไลน์ต่างๆ ขณะที่วิถีมังกรของ แจ็ค หม่า ในไทยก็ไม่ต่างกัน

06 Ali

ซื้อ Lazada มุ่ง E-Commerce

เมื่อ Alibaba เลือกก้าวกระโดด ด้วยการเข้าซื้อกิจการเว็บไซต์คอมเมิร์ซ Lazada ในเครือบริษัท ร็อคเก็ต อินเทอร์เน็ต จากเยอรมนี แต่ต่างตรงกันที่ Alibaba ยังคงเลือกเส้นทางที่ตนเองมีความเชี่ยวชาญเป็นทุนเดิม คือ การให้บริการเว็บไซต์ช็อปปิ้งออนไลน์

สาเหตุที่เลือก Lazada เพราะ Alibaba มองว่า Lazada เป็นแบรนด์ออนไลน์ ที่สามารถเข้าถึงประชากรมากกว่า 560 ล้านคนในประเทศไทยอินโดนีเซียมาเลเซียฟิลิปปินส์สิงคโปร์ รวมทั้งเวียดนาม

โดยเฉพาะในไทยใม่ต้องบอกว่า Lazada ประเทศไทย มีความแข็งแกร่งมากขนาดไหน (โดยจะมีการจัดงานฉลองวันเกิดครบรอบ 6 ปี ครั้งยิ่งใหญ่ของลาซาด้าในประเทศไทย ในวันที่ 19 เมษายนนี้ ภายใต้ธีม Lazada 6th Birthday Festival พร้อมกับเปิดตัว เบลล่า” ราณี แคมเปน แม่หญิงการะเกดอันโด่งดัง เข้ามาเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ของลาซาด้า) และ Lazada ก็จะกลายเป็นเสมือนแบรนด์แอมบาสเดอร์ของ Alibaba ในการรุกธุรกิจออนไลน์ในประเทศไทย

07 Ali

นอกจากนี้ Alibaba ยังเลือกจับมือกับเครือซีพีในดีลของ “เพย์เม้นต์ออนไลน์” ผ่านบริษัทในเครือคือ Ant Financial Service Group ผู้ให้บริการ Alipay ซึ่งเป็นบริการชำระเงินออนไลน์รายใหญ่ที่สุดของจีน ลงนามสัญญาความร่วมมือ และถือหุ้น 20% ในบริษัท Ascend Money ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP)โดยมีเป้าหมายก้าวขึ้นเป็นผู้นำในบริการชำระเงินออนไลน์ ที่กุมส่วนแบ่งตลาด 50% ของผู้ใช้ในไทยให้ได้

และเส้นทางของสองแบรนด์ออนไลน์จากจีน คงไม่หยุดอยู่แค่ดีลต่างๆ ที่เกิดขึ้น เมื่อต่างมองตรงกันว่า ประเทศไทยน่าจะเป็นประตูที่เปิดกว้างเจาะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ที่มีประชากรรวมกันแล้วกว่า 600 ล้านคนได้ง่ายขึ้น

ยิ่งเมื่อรายได้จาก E-Commerce ในภูมิภาคนี้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง สำหรับแค่ประเทศไทยคาดว่า รายได้จากธุรกิจ E-Commerce จะเติบโตแบบก้าวกระโดดจาก 113,400 ล้านบาท (3,544 ล้านดอลลาร์) ในปี 2561 เป็น 186,500 ล้านบาท (5,830 ล้านดอลลาร์) ในปี 2565 ด้วยนโยบายประเทศไทย 4.0 และเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่ช่วยหนุนความมั่นใจต่อการทิศทางพัฒนาประเทศ ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน คมนาคมขนส่ง ระบบโลจิสติกส์ โครงข่ายทางดิจิทัล และมาตรการสิทธิประโยชน์ รวมถึงการอำนวยความสะดวกในการลงทุน

08 Ali

Alibaba จึงมองโอกาสในการสร้างไทยให้เป็นศูนย์กลาง E-Commerce ในภูมิภาค และพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ Internet of Things (IoT) ให้เป็นคลื่นลูกใหม่ ที่จะเพิ่มประสิทธิภาพเทคโนโลยีในกระบวนการธุรกิจด้วย ประกอบกับความพร้อมทั้งเทคโนโลยีและเงินทุน ที่หาคู่ต่อกรได้ยากในโลกยุคนี้

การรุกคืบของ Alibaba ทั้งในไทยและในภูมิภาคยิ่งทำให้คู่แข่งที่รบกันมาแทบทุกสนาม ต้องวางหมากเพื่อพลิกสถานการณ์กลับมาถือแต้มต่อให้ได้

o9

ย้อนรอยเดือด ควบ Lazada

Alibaba Group Holding ได้ประกาศซื้อหุ้นในธุรกิจของ Lazada Group กว่า 1 พันล้านเหรียญ แบ่งเป็นหุ้นเพิ่มทุน 500 ล้านและอีก 500 ล้านซื้อจากผู้ถือหุ้นเดิม จากการรายงานของ Bloomberg เป้าหมายหลักคือ นำตัวเองเข้าสู่ตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบบเร็วที่สุด

Lazada ปัจจุบันมีธุรกิจอยู่ใน 6 ประเทศทั้งอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม รวมประชากรถึง 560 ล้านคน และมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่ 200 ล้านราย โดยมี MatahariMall เป็นคู่แข่งรายสำคัญซึ่งสนับสนุนโดย Lippo Group และ Tokopedia ในตลาดอินโดนีเซีย

เมื่อคาดการณ์ได้ถูกต้องว่า ในที่สุด Alibaba ก็จะมา แต่จะมาท่าไหนในการที่จะเข้าไทยแบบเร็วๆ เพราะจากเป้าหมายของ Rocket Interenet ผู้ถือหุ้นหลักเดิมของ Lazada ก็มีแผนเปิดให้รายใหญ่เข้ามาครอบครองอยู่แล้ว

ขณะที่แชแนลนิวส์เอเชีย รายงานเพิ่มเติมว่า บริษัทยักษ์ใหญ่ Alibaba ประกาศลงทุนเพิ่มอีก 2,000 ล้านดอลลาร์ใน Lazada หลังจากได้เข้าซื้อหุ้นเมื่อเกือบ 2 ปีที่ผ่านมา และจะแต่งตั้ง ลูซี เผิง หนึ่งในผู้ก่อตั้งและเป็นหุ้นส่วนอาวุโสของ Alibaba Group ดำรงตำแหน่ง CEO ของ Lazada แทน Maximilian Bittner CEO คนปัจจุบันด้วย

การเคลื่อนไหวดังกล่าว ทำให้ Alibaba ลงทุนในแพลตฟอร์มออนไลน์ช็อปปิ้งอย่าง Lazada ไปแล้วทั้งหมด 4,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเร่งพัฒนา E-Commerce ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จากประชากรรุ่นใหม่ที่มีอัตราการเข้าถึงโทรศัพท์มือถือสูง และการค้าปลีกบนแพลตฟอร์มออนไลน์ยังมีสัดส่วนแค่ 3% ในภูมิภาค

ทำให้ Alibaba มั่นใจในการลงทุนเพิ่มเป็น 2 เท่าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีสัดส่วนถือครองอยู่ใน Lazada 83%

ขึ้นแท่น Market Cap อันดับ 1

เมื่อช่วงปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา Amazon ได้เบียด Alphabet บริษัทแม่ของ Google ขึ้นเป็นบริษัทมีมูลค่าตามราคาตลาด (Market Capitalization) เป็นอันดับ 2 ของโลก ตามหลังแค่อันดับ 1 อย่าง Apple แถมยังมีทีท่าว่าอาจจะแซงขึ้นมาเป็นเบอร์ 1 ได้ในไม่ช้า

เพราะมูลค่ากิจการของ Amazon ยังเติบโตต่อเนื่อง จากการที่ธุรกิจ E-Commerce เติบโตอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา และ Amazon ไม่ได้ทำแค่นั้น เพราะธุรกิจการให้บริการ Cloud ของ Amazon คือ AWS ยังเป็นผู้นำในตลาด โดยครองส่วนแบ่งตลาดทั่วโลกกว่า 35%

 


  • 957
  •  
  •  
  •  
  •