ไมโครไฟแนนซ์เดือด!! กรุงศรี x เซเว่น ปล่อยกู้เงินติดล้อ

  • 1.4K
  •  
  •  
  •  
  •  

กรุงศรีxเซเว่น

เงินติดล้อ กำลังมาถึงจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ เมื่อธนาคารกรุงศรีฯ ที่ถือหุ้นใหญ่ ขายหุ้นออกมาจำนวน 50% ให้กับคนในตระกูล “เจียรวนนท์”

จึงทำให้ถูกจับตามองว่า ต่อไป เงินติดล้อ จะเข้ามาเปิดให้บริการสินเชื่อผ่านร้าน “เซเว่น-อีเลฟเว่น” หรือธุรกิจในครือซีพีเป็นลำดับถัดไป

“เงินติดล้อ” เชื่อว่าเป็นผู้ประกอบการให้เงินกู้ที่หลายคนรู้จักกันดี

เงินติดล้อ เป็นบริษัทที่ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) หรือ BAY ถือหุ้นใหญ่ทั้งหมด หรือจำนวน 100% ตั้งแต่ปี 2552 หลังจากกรุงศรีเข้าไปซื้อพอร์ตสินเชื่อของกลุ่ม AIG (กลุ่ม AIG เข้าไปซื้อแบรนด์ เงินติดล้อมาจากกลุ่มศรีสวัสดิ์ ซึ่งปัจจุบันคือ บริษัท ศรีสวัสดิ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SAWAD)

ล่าสุด แบงก์กรุงศรี ได้ขายหุ้นในเงินติดล้อออกมา 50% ให้กับให้ Siam Asia Credit Access Ltd. ซึ่งถือหุ้นโดยกลุ่มนักลงทุน ได้แก่ กองทุน CVC Capital Partners Asia Fund IV เป็นกองทุนส่วนบุคคล และที่ปรึกษาด้านการลงทุนชั้นนำ มีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารกว่า 5 หมื่นล้านเหรียญฯ

^5C4C7BB5A69A406760A03A1A06655B4689B6F3CF1B72E7CB18^pimgpsh_fullsize_distr

และบริษัท Equity Partners Ltd. กองทุนส่วนบุคคล หรือ private equity ที่เน้นการลงทุนในภูมิภาคเอเซีย ก่อตั้งโดยแฮตตัน แคปปิตอล ของตระกูลปฐมวาณิชย์ หนึ่งในผู้จัดจำหน่ายรถบรรทุกชี้นนำเช่นกัน และเจ้าของ “ธุรกิจเช่ารถบรรทุก” ใหญ่สุดในภูมิภาค ร่วมกับบริษัททู ดับเบิ้ล ยู กรุ๊ปฯ หนึ่งในกลุ่มธุรกิจของตระกูลเจียรวนนท์ ที่บริหารโดย “ชวินทร์ เจียรวนนท์”

แล้วเงินติดล้อทำอะไรบ้าง

ธุรกิจเงินติดล้อ

เงินติดล้อ ให้บริการสินเชื่อจำนำทะเบียนรถทุกประเภท เช่น สินเชื่อเช่าซื้อรถบรรทุกมือสอง และสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ และยังเป็นโบรกเกอร์ ขายประกันวินาศภัยที่มีสาขามากที่สุด รับทำประกันภัยรถยนต์ทุกประเภท ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.) ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล และประกันภัยโรคมะเร็ง

ผลประกอบการของเงินติดล้อมีการเติบโตที่เข้มแข็งมาก

ในปี 2558 มีรายได้รวม 3,869 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 632 ล้านบาท

ปี 2559 รายได้รวมเพิ่มขึ้นเป็น  4,772 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 869 ล้านบาท

ปี 2560 มีรายได้รวม 6,063 ล้นบาท และมีกำไรสุทธิ 1,247 ล้านบาท

เงินติดล้อ

สำหรับผลตอบแทนจากกำไรสุทธิต่อรายได้รวมปี 2558 อยู่ที่ 16.94% ปี 2559 อยู่ที่ 19.7% ปี 2560 อยู่ที่ 21.50%

ในปี 2560 เงินติดล้อขยายฐานลูกค้าเพิ่มขึ้นตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยขยายฐานลูกค้าเพิ่มขึ้น 25% สร้างโอกาสให้กับลูกค้ากว่า 340,000 ราย มียอดสินเชื่อคงค้าง 26,400 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 26% เมื่อเทียบกับปี 2559 และในปี 2560 ได้เพิ่มจานวนสาขา 115 สาขา ทำให้มีสาขารวม 750 สาขา เพื่อขยายการให้บริการครอบคลุมทั่วประเทศ

MarketingOops! จะย้อนพาไปดูงบการเงินของแบงกกรุงศรี ในฐานะถือหุ้น 100% ในเงินติดล้อกันบ้าง

แบงก์กรุงศรีฯ ถือหุ้นใหญ่ โดยกลุ่ม MUFG BANK,LTD. BAY ACCOUNT หรือคิดเป็น 76.88% โดยกลุ่ม MUFG เป็นกลุ่มสถาบันการเงินที่ใหญ่สุดของประเทศญี่ปุ่น ทำธุรกิจการเงินเกือบทุกประเภท และมีความเชี่ยวชาญด้านการปล่อยสินเชื่อรายย่อยอย่างมาก

ผลประกอบการของแบงก์กรุงศรีฯ นับจาก MUFG1 เข้ามาถือหุ้นยังเติบโตต่อเนื่อง

กรุงศรี

เมื่อดูจากรายได้ และอัตรากำไรสุทธิ จะพบว่า ผลประกอบการของทั้งเงินติดล้อ และแบงก์กรุงศรีฯ มีความแข็งแกร่งขึ้นอย่างมากในทุกปี ทำให้อาจมีคำถามว่า แล้วทำไมกรุงศรีถึงขายเงินติดล้อออกมา

ปัจจุบันมีผู้ประกอบธุรกิจรับจำนำทะเบียนรถ มากกว่า 1,000 ราย ยอดคงค้างของสินเชื่อจำนวนกว่า 2 แสนล้านบาท และธุรกิจนี้เติบโตเฉลี่ยต่อปี 5-7%

ผู้ให้บริการรายใหญ่ที่สุด 3 ราย ได้แก่ ศรีสวัสดิ์ (SAWAD), เงินติดล้อ และเมืองไทยแคปปิตอล (MTC) มีส่วนแบ่งตลาดรวมเกือบ 50% หรือคิดเป็นเงินกว่า 6-7 หมื่นล้านบาท

ในด้านการแข่งขันของผู้ประกอบการ ต่างพยายามเพิ่มจำนวนสาขา และช่องทางการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายให้มากขึ้น ขึ้นอยู่กับว่า ผู้ประกอบการายนั้นๆ จะมีจุดแข็งทางด้านใด

maxresdefault

การประกาศขายหุ้นเงินติดล้อของแบงก์กรุงศรี ยังมีขั้นตอนอีกมากกว่าดีลดังกล่าวจะแล้วเสร็จ และจะเกิดความร่วมมือกันอย่างจริงจังระหว่างกลุ่มผู้ถือหุ้นรายเดิมและกลุ่มผู้ถือหุ้นใหม่

โดยทั้ง 2 ฝ่าย ต่างยังไม่ได้บอกถึงแผนงานอย่างละเอียด แต่ให้ข้อมูลเพียงว่า การผนึกกำลังในครั้งนี้ จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจไมโครไฟแนนซ์ในเครือกรุงศรี ในการให้บริการ “สินเชื่อ” และ “ผลิตภัณฑ์ประกันภัย” ให้กลุ่มคนที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินจากธนาคารพาณิชย์ รวมถึงกลุ่มที่ไม่มีรายได้ประจำ

และยังบอกด้วยว่า ทั้ง CVC และ EPL สามารถสร้างความร่วมมือระยะยาว กับเงินติดล้อผ่านการแนะนำ “เทคโนโลยีใหม่ๆ” เพื่อสนับสนุนธุรกิจ และแบงก์กรุงศรีพร้อมรับมือกับ “การแข่งขันที่รุนแรงขึ้น” ในธุรกิจสินเชื่อเพื่อผู้บริโภค

โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจไมโครไฟแนนซ์ ซึ่งธุรกิจนี้ในระยะยาว ไม่ใช่แค่ต้องการขนาดของธุรกิจ แต่ยังต้องใช้ “แพลตฟอร์มที่ทันสมัย” เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความสะดวก และการประหยัดค่าใช้จ่าย

c25752e9d1eb8be13e0f9b1f458709ab_full

Win Win จากดีลเงินติดล้อ

แต่ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด การขายเงินติดล้อของแบงก์กรุงศรี มีทฤษฎีความเป็นไปได้อยู่ 2 ด้าน

ด้านแรก กลุ่ม MUFG ต้องการให้สอดคล้องกับแผน “ปรับโครงสร้างธุรกิจการเงิน” ของกลุ่ม

ที่ต้องการลดความซ้ำซ้อนของธุรกิจ “สินเชื่อรายย่อย” โดยเฉพาะสินเชื่อทะเบียนรถที่เป็นธุรกิจหลัก ซึ่งมีลักษณะค่อนไปทางสินเชื่อบุคคล แต่มีหลักประกัน

โดยปัจจุบันสินเชื่อบุคคลเป็นธุรกิจหลักของ “อยุธยา แคปปิตอล เซอร์วิสเซส” ภายใต้แบรนด์ “เฟิร์สช้อยส์” (First Choice) ที่จับกลุ่มลูกค้าระดับล่างอยู่แล้ว

ส่วนอีกทฤษฎีที่มีความเป็นไปได้ คือ ความต้องการใช้ “เครือข่ายธุรกิจกลุ่มซีพี” เข้ามาช่วยในการขยายฐานสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ เพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งตลาด

^DA9985BB6142E5276886CB03101BA9B9CEA48907D469E8BA45^pimgpsh_fullsize_distr

ปัจจุบัน กลุ่มซีพีมีเครือข่ายร้านค้ากว่า 1 หมื่นแห่งทั่วประเทศไทย ผ่านบริษัท ซีพีออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CPALL ที่เป็นผู้บริหารร้านสะดวกซื้อ “เซเว่น-อีเลฟเว่น” ที่สามารถเป็น “แบงก์กิ้ง เอเจ้นท์” (Banking Agent) และให้บริการไมโครไฟแนนซ์ ให้กับ “เงินติดล้อ” ได้

ขณะเดียวกัน CPALL ก็ได้ประโยชน์ ที่จะมีรายได้จากธุรกิจเกี่ยวกับการเงินเพิ่มขึ้น ถ้าสิ่งที่คาดการณ์ภายใต้ทฤษฎีดังกล่าวข้างต้นเกิดขึ้นจริง

การเป็นสินเชื่อเช่าซื้อ และสินเชื่อจำนำทะเบียนรถภายในท้องถิ่น จนเป็นที่รู้จักในระดับประเทศของเงินติดล้อ เกิดการรับรู้แบรนด์และทลายข้อจำกัดการเข้าถึงสินเชื่อของธนาคาร ดูจะเป็นความสำเร็จมากที่สุดของแบรนด์ๆ นี้ จนเพิ่มธุรกรรมแบบไมโครไฟแนนซ์ให้กับกรุงศรี นอกจากร์ดักส์อื่นๆ เช่น สินเชื่อตลาดสด ประกันภัย ประกันรถยนต์ จนเข้าถึงลูกค้าได้ทุกระดับ และขยายตลาดกลุ่มลูกค้าอีกจำนวนมาก เพราะมีสาขาครอบคลุมอยู่ทั่วประเทศ

ซึ่งถ้ารวมการเพิ่มโอกาสที่จะเจาะตลาดสินเชื่อรายย่อยผ่านร้านเซเว่น-อีเลฟเว่น ก็จะเสริมประสิทธิภาพให้กับธุรกิจไมโครไฟแนนซ์ในเครือกรุงศรี ให้มีความแข็งแกร่งมากขึ้น โดยเฉพาะบริการสินเชื่อและผลิตภัณฑ์ประกันภัย ที่ผู้บริโภคยังเข้าไม่ถึงบริการทางการเงินจากธนาคารพาณิชย์และกลุ่มที่ไม่มีรายได้ประจำ

ถือเป็นการจับมือเชิงกลยุทธ์ทางธุรกิจที่เป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของทั้งสองค่าย

 


  • 1.4K
  •  
  •  
  •  
  •