Creative Ventures อัดฉีด 50 ล้านเหรียญลงทุน Deep Tech ใน 3 ปท. แหล่งสตาร์ทอัพ “อิสราเอล-สิงคโปร์-ไต้หวัน”

  • 96
  •  
  •  
  •  
  •  

 

creative

เมื่อโลกของเรากำลังประสบความยากลำบากเข้าไปทุกวันทั้งสึนามิ น้ำท่วม แผ่นดินไหว ไต้ฝุ่น หรือจะผลกระทบจากสภาพอากาศ ปัญหาผลผลิตทางการเกษตรที่ลดลง จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่ความต้องการกลับเพิ่มขึ้น ในขณะที่โลกมีความต้องการอาหารขึ้นอีกประมาณ 35% และน้ำเพิ่มขึ้น 40% ในปี 2583 เมื่อเทียบกับปัจจุบัน

นอกจากอุตสาหกรรม เช่น การก่อสร้างและการผลิต ที่กำลังเจอปัญหาขาดแคลนแรงงาน แต่ความต้องการประสิทธิภาพทางการผลิตเพิ่มขึ้น ในแง่ธุรกิจดูแลสุขภาพหลายประเทศทั่วโลก ก็กำลังเผชิญปัญหาการก้าวสู่สังคมผู้สูงวัย จำนวนผู้สูงวัยเพิ่มขึ้น ทำให้มีความต้องการการดูแลสุขภาพ ที่มีคุณภาพและคุ้มค่า มากกว่าความต้องการบริการด้านการรักษาพยาบาล

การใช้เทคโนโลยีขั้นสูง (Deep Tech) เพื่อมาคลี่คลายปัญหาต่างๆ ที่เป็นเทรนด์หรือทิศทางของโลก ถือเป็นทางออกที่มีประสิทธิภาพ และการลงทุนในธุรกิจที่มีการสร้างนวัตกรรมเทคโนโลยี เพื่อมาใช้ในการแก้ปัญหา หรืออำนวยความสะดวก ให้ชีวิตมีความเป็นอยู่หรือมีคุณภาพที่ดีขึ้น จะสามารถทำธุรกิจให้เติบโตแบบ Exponential มีขีดความสามารถการแข่งขันเหนือกว่าคู่แข่ง และให้ผลตอบแทนทางการเงินที่เหนือกว่าในระยะยาว

^BFAA2C9405313F43E8642273F74E20438A7508EC288031E467^pimgpsh_fullsize_distr

ครีเอทีฟเวนจอร์ (Creative Ventures) เป็นธุรกิจกองทุนร่วมลงทุน (Venture Capitalist) ที่จัดตั้งขึ้นในสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2559 โดยสตาร์ทอัพคนไทยรุ่นใหม่ รวมทั้งนักธุรกิจชั้นแนวหน้าของเมืองไทย ได้ประกาศความพร้อมจากการระดมทุนในไทย เพื่อนำเงินไปลงทุนในธุรกิจสตาร์ทอัพ ในซิลิคอนวัลเลย์และประเทศที่มีสตาร์ทอัพชั้นนำ รวมทั้งมีแผนขยายบริษัท ไปยังอิสราเอล สิงคโปร์และไต้หวัน เนื่องจากมีนักลงทุนให้ความสนใจใน Creative Ventures อีกจำนวนมาก

คุณปุณยธร สุทธิพงษ์ชัย ผู้จัดการหุ้นส่วน บริษัท ครีเอทีฟเวนจอร์ จำกัด กล่าวว่า กองทุนสองที่กำหนดเป้าไว้ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2562 สามารถระดมทุนได้ครบก่อนกำหนดระยะเวลา ตอนนี้จึงสามารถดำเนินการคัดสรรสตาร์ทอัพที่น่าสนใจได้ทันที โดยเน้นที่กลุ่ม Deep Tech ระดับซีรีส์  ในระดับการลงทุน 1 ล้านดอลล่าร์สหรัฐขึ้นไป

สำหรับกองทุนร่วมลงทุนกองที่สอง มูลค่า 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 1,650 ล้านบาทนี้ ระดมได้จากนักธุรกิจของไทยและสิงคโปร์ โดยเฉพาะนักธุรกิจรุ่นใหม่ ที่มองเห็นโอกาสการลงทุนใหม่ๆ ที่เป็นเทรนด์ของโลก ให้การตอบรับเป็นอย่างดี และแม้ว่าขณะนี้ครีเอทีฟเวนจอร์ได้รับเงินลงทุนเพียงพอแล้ว ก็ยังมีนักลงทุนสนใจเข้าร่วมลงทุนอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากไทยหรือสิงคโปร์

ปก VC

“แผนต่อไปเราจะนำเงินไปลงทุนกับบริษัทสตาร์ทอัพที่อยู่ในซิลิคอน วัลเลย์ ที่เป็นศูนย์รวมบริษัทที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูง (Deep Tech) หรือสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เป็น Mega Trend ใน 3กลุ่มคือ ธุรกิจปัญหาเกษตรกรรมหรืออาหาร ที่ได้รับผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือภาวะโลกร้อน ธุรกิจการแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในอุตสาหกรรม และธุรกิจที่ต้องใช้เทคโนโลยีสุขภาพ เพื่อดูแลประชากรผู้สูงอายุ” คุณแชมป์-ปุณยธร กล่าว

นอกจากนี้ครีเอทีฟเวนจอร์ ยังเตรียมเปิดออฟฟิศในอิสราเอล ซึ่งเป็นประเทศที่มากไปด้วยบริษัทเทคโนโลยีขั้นสูง มีศักยภาพสูงเหมาะกับการลงทุน เช่น เรื่อง การเกษตร เรื่องเกี่ยวกับสุขภาพ และยังมีสิงคโปร์หรือไต้หวัน ที่ยังเป็นประตูในการเชื่อมเข้าสู่เอเชีย

กองทุนสองนี้คาดว่าจะมีผลตอบแทนภายใน 7-10 ปี โดยเน้นกำไรจากส่วนต่างของการขายหุ้นต่อ (capital gain) มากกว่าที่จะนำสตาร์ทอัพเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์เพื่อระดมทุน ทั้งนี้ภายใน 4-5 ปีก็จะมีการเปิดกองทุนสามด้วยวงเงิน 250 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ

^59885B968E13D617A9112391ED41D0FBCE6F4C65A939D97649^pimgpsh_fullsize_distr

ส่วนกองแรกในวงเงิน 11 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ได้ดำเนินการลงทุนใน 14 บริษัทด้วยวงเงินครึ่งหนึ่ง อาทิ Dishcraft สตาร์ทอัพด้านนวัตกรรมหุ่นยนต์ เพื่อเป้าหมายแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงานในธุรกิจบริการ เช่น โรงแรม ภัตตาคาร รวมทั้งธุรกิจเอ็นเตอร์เทนเมนท์ขนาดใหญ่ โดยเชื่อว่าหุ่นยนต์จะทดแทนแรงงานในห้องครัวได้สมบูรณ์แบบที่สุด

ทั้งนี้ครีเอทีฟเวนจอร์ยังได้เข้าลงทุนใน ALICE Technologies ที่เป็นระบบ AI ซอฟต์แวร์ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพเรื่องการจัดการการก่อสร้างอาคารสูง สร้างประโยชน์ให้นักพัฒนาที่ดิน วงการบริษัทรับเหมาก่อสร้าง ซึ่งจะลดระยะเวลาก่อสร้างให้สั้นลง ลดต้นทุนก่อสร้างได้มาก ซึ่งในประเทศไทยบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำอย่างบริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) นำเอาเทคโนโลยีนี้เข้ามาใช้ในอุตสาหกรรมแล้ว

คนรุ่นใหม่แถวหน้าเมืองไทยร่วมลงขัน

ในช่วงที่ผ่านมาครีเอทีฟเวนจอร์มีการจัดทริป Innovation Tour นำกลุ่มผู้ที่สนใจเดินทางไปยังซิลิคอน วัลเลย์  เมืองซานฟรานซิสโกมาแล้ว เพื่อพบปะและศึกษาข้อมูลกับกลุ่มสตาร์ทอัพเป้าหมายของกองทุนร่วมลงทุนแล้ว ขณะที่สตาร์ทอัพไทยในมุมมองของนักลงทุน ถ้าจะทำให้ดึงดูดต้องมีเทคโนโลยีขั้นสูง สเกลได้ รวมทั้งมีช่องทางเครือข่ายในระดับภูมิภาค อย่ามองเฉพาะตลาดในประเทศ

^09336C23CCB856E2262621925A87C682C91076B11F47ADD3A1^pimgpsh_fullsize_distr

“ในส่วนของสตาร์ทอัพต่างประเทศ ที่ครีเอทีฟเวนจอร์เข้าไปลงทุน สามารถจะเข้ามาเสริมธุรกิจของนักลงทุนไทย ถือเป็นการถ่ายโอนเทคโนโลยี ช่วยผลักดันเศรษฐกิจไทยได้ รวมไปถึงเป็นการขยายความร่วมมือกับสตาร์ทอัพไทยได้อีกทางหนึ่ง”

นอกจากคุณแชมป์-ปุณยธร ทายาทกรุงไทยการไฟฟ้า ที่เป็นหัวจักรหาทุนของครีเอทีฟเวนจอร์ในฐานะผู้จัดการหุ้นส่วนแล้ว ยังมีคุณเท็ด โปษะกฤษณะ ถิระพัฒน์ ทำหน้าที่เป็นหุ้นส่วนดำเนินการ คุณพิรชัย เบญจรงคกุล Investment  Director บริษัท บีซีเอช เวนเจอร์ส จำกัด ในกลุ่มบริษัท เบญจจินดา โฮลดิ้ง คุณทวันทว์  บุณยะวัฒน์ Investment and Management

^FCBC91DF932DCB35EFD8EEDD8DE7F6BB06DCA46C51F9797A26^pimgpsh_fullsize_distr

คุณเฉลิมชัย มหากิจศิริ กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.โทรีเซน ไทย เอเยนต์ซีส์ และผู้ก่อตั้งกองทุนร่วมทุนวิชั่นนิตี้เวนเจอร์ คุณวรภัทร ชวนะนิกุล ผู้จัดการ Singha Ventures และคุณสิทธิชัย ลีสวัสดิ์ตระกูล ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นทายาทธุรกิจและเป็นนักธุรกิจรุ่นใหม่แถวหน้าของเมืองไทยร่วมงานกัน ในงานวันแถลงข่าวประกาศความพร้อมจากการระดมทุนในไทยของครีเอทีฟเวนจอร์อีกด้วย

ทั้งนี้ นักลงทุนที่เข้าร่วมลงทุนกองสองนี้ จะมีการลงทุนทั้งผ่านบริษัทและลงทุนในนามส่วนตัว อาทิ คุณ-ต็อบ เถ้าแก่น้อย อิทธิพัทธ์ พีระเดชาพันธ์คุณภูริต ภิรมย์ภักดีประธานกรรมการบริหาร Singha Ventures กองทุน Moonshot Ventures คุณชานนท์ เรืองกฤตยา CEO อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์


  • 96
  •  
  •  
  •  
  •