eJobfair เดินหน้าด้วย Creative Concept ก่อนปักธงเป็นเบอร์ 1 e-Market Place ตลาดหางานออนไลน์ของไทย

  • 66
  •  
  •  
  •  
  •  

การบริหารบุคคลยุคดิจิทัลนอกจากธุรกิจจะเดินเร็ว การแข่งขันจะรุนแรง ยังจะต้องรับมือกับปัญหาพนักงานเปลี่ยนงานบ่อย การหาคนใหม่มาทดแทนก็เป็นเรื่องยาก ต้องใช้เวลามาก การสรรหาพนักงานใหม่มีช่องทางน้อยที่จะสามารถรับคนให้ตรงตามตำแหน่งงาน  กลายเป็นเรื่องใหญ่ที่หลายองค์กรต้องประสบ ในทางกลับกันผู้สมัครงานทั้งผู้ที่จบใหม่ รวมทั้งผู้ที่ต้องการเปลี่ยนงานใหม่ ก็ไม่มีช่องทางมากพอที่จะสามารถนำเสนอคุณสมบัติของตัวเอง ให้ตรงกับลักษณะงานที่ต้องการ รวมทั้งให้ตรงกับความต้องการของนายจ้าง ภาวะ “องค์กรขาดคน-แต่คนก็ยังตกงาน” ก็ยังคงอยู่เสมอในยุคปัจจุบัน

eJobfair หรือตลาดนัดพบแรงงาน Online Platform ใหญ่ที่สุดของไทย  ได้พัฒนาองค์ความรู้ นวัตกรรม และเทคโนโลยีมาผนวกไว้ด้วยกัน ให้สามารถเสาะหาผู้สมัครที่ Update และ Active ได้ตรงความต้องการ Human Resource (HR)  มากที่สุด ตอบโจทย์องค์กร ตลาดแรงงาน และวิถีคนรุ่นใหม่ที่มีไลฟ์สไตล์ 4.0 ทำให้เกิดความสะดวกกับทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งผู้สมัครงานและผู้ว่าจ้าง โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไกล ไม่ต้องมีใช้จ่าย และสามารถสร้างความเท่าเทียมให้กับผู้สมัครงาน ไม่ว่าจะอยู่ภาคไหนของประเทศ ก็สามารถเข้าสู่ระบบออนไลน์ได้พร้อมกัน รวมทั้งรู้ผลการสมัครงานภายในวันเดียว

eJobfair_1

คุณมนูญ ศรีเจริญกุล ประธานกลุ่มบริษัท เพาเวอร์ เทคโนโลยี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด และผู้ก่อตั้ง www.ejoblive.com เว็บไซต์เพื่อการสรรหาบุคลากรออนไลน์ที่ได้คิดค้นระบบ eJobfair กล่าวว่า ผู้เข้าร่วมกับระบบ eJobfair เมื่อ log-in  เข้าระบบๆ จะแสดง resume และข้อมูลต่างๆ ให้นายจ้าง ฝ่าย HR รวมทั้งผู้สมัครให้ได้เห็นพร้อมกันบนแพลตฟอร์ม eJobfair ที่ถือว่าเป็นครั้งแรกในประเทศไทย หรือเป็นระบบที่มีขึ้นเป็นครั้งแรกของโลกก็ว่าได้

eJobfair_2

แพลตฟอร์มออนไลน์ของ eJobfair จะถูกกำหนดให้ผู้เข้าร่วมงานแฟร์เพื่อการจัดหางานในทุกวันพฤหัสของสัปดาห์ เวลา 08.00-17.00 น. ระบบจะให้บริษัทที่มองหาพนักงานต้องจองบูธเหมือนงาน Job fair ทั่วไปล่วงหน้า 3 วัน ก่อนที่ระบบวันงานจะเริ่ม on ในเวลา 08.00 น. โดยผู้สมัครและบริษัทที่ต้องการพนักงานทั้งสองฝ่ายจะพบกัน และสามารถอยู่ในระบบก่อนที่จะ shutdown ระบบในเวลา 17.00 น. ซึ่งเป็นการวางวัน เวลา ที่ชัดเจน ที่ทุกฝ่ายจะทราบ Appointment  ล่วงหน้า และเป็นลักษณะสื่อสารแบบ formal ข้อมูลประกอบที่ใช้สื่อสารกันใน eJobfair ทั้งหมด สามารถใช้เป็นคู่มือออนไลน์ เช่น แสดง resume ความต้องการต่างๆ ที่จะเป็นข้อมูลสนับสนุนสำหรับฝ่าย HR ทุกรูปแบบ

ผนวกไลฟ์สไตล์ 4.0 บนโลกออนไลน์ สู่การตอบโจทย์ HR

eJobfair เป็นระบบของงานนัดพบแรงงานที่อยู่บน online real-time platform เปรียบกับการยกเวทีของงานจ็อปแฟร์ มาอยู่บนอุปกรณ์สื่อสารที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต เช่น สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ เป็นระบบที่ต้องโพสต์จองล่วงหน้า ก่อนจะ login เข้ามาในระบบ ผู้หางานจะ search หาตำแหน่งงานที่ต้องการ บริษัทหรือฝ่าย HR ที่ต้องการพนักงานก็จะ search หาคนในระบบได้

“ข้อดีก็คือ เทคโนโลยีสามารถช่วยผู้สมัคร search หาตำแหน่งที่ต้องการ ถ้าเจอตำแหน่งที่ใช่ก็กดสมัคร และสามารถช่วยบริษัทค้นหาคนที่ตรงเงื่อนไข ถ้าเจอคนที่ใช่ก็กดเชิญมาสัมภาษณ์”

eJobfair_3

“ในส่วนของกระบวนการสัมภาษณ์ ระบบจะมีการเซ็ทไว้ 3 ขั้นตอน คือ 1 e-Chatting เป็นการสัมภาษณ์ผ่านการพิมพ์ ขั้นตอนนี้จะเป็นการเก็บรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญ จัดเก็บเป็นเรกคอร์ดไว้บนระบบ สามารถทำการพิมพ์ได้ภายหลัง 2 e-VDO call เป็นขั้นตอนสัมภาษณ์ผ่านกล้องวิดีโอเพื่อพิจารณาบุคลิกเพิ่มเติม เหตุผลที่เราวางระบบ e-Chatting ไว้อยู่ในขั้นตอนแรก เพราะเป็นการป้องกันการ Bias เห็นบุคลิกภาพผ่านวิดีโอคอลก่อนสัมภาษณ์ แทนที่จะพิจารณาจากศักยภาพที่แท้จริง และ 3 ขั้นตอน e-Appraisal คือ การประเมินผลแบบออนไลน์” คุณมนูญ กล่าว

กลุ่มบริษัท เพาเวอร์ เทคโนโลยี ทำงานด้าน outsource หรือ HR Management เคยบริหารบุคลากรให้กับองค์การใหญ่รวมทั้งในรัฐวิสาหกิจหลายแห่ง อาทิ ปตท. การไฟฟ้า การบินไทย การท่องเที่ยว ฯลฯ ทำหน้าที่ recruit พนักงานได้ราว 1,000-1,500 คน การตอบสนองฝ่าย HR ขององค์กรระดับดังกล่าว ประสบการณ์วิธี recruit ผ่าน channel ต่างๆ ทั้งเว็บไซต์ การจัดงาน Job Fair รวมถึงจัดงาน recruit นักศึกษาตามมหาวิทยาลัยต่างๆ

ทำให้เพาเวอร์ เทคโนโลยี สามารถเรียนรู้อุปสรรคในแต่ละ channel  รวมถึงประสิทธิภาพที่ขาดไปในแต่ละช่องทาง ประกอบกับ คุณมนูญ รวมทั้งทีมงานเพาเวอร์ เทคโนโลยี มี background ทางด้าน IT จึงสามารถคิดค้นระบบและวิธีการ recruit พนักงานที่อยู่ในความต้องการของ HR หรือหน่วยงานต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันก็สามารถตอบโจทย์คนยุคใหม่ที่มีไลฟ์สไตล์ 4.0 ได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นกัน

“เพราะคนกลุ่มนี้จะใช้เวลา 9-10 ชั่วโมงต่อวันบนออนไลน์ โจทย์ของเราคือ สามารถตอบโจทย์คนกลุ่มนี้ได้อย่างไร” คุณมนูญ กล่าว    

ไอเดียดังกล่าวจึงนำไปสู่การศึกษาตลาด วิจัย และ SWOT analysis มองเห็นภาพพฤติกรรมและความต้องการของคนยุคใหม่ นำข้อมูลองค์ความรู้มาพัฒนาต่อยอดจนสามารถตอบโจทย์ให้ระบบ eJobfair มีประสิทธิภาพดีขึ้น ตอบโจทย์ความต้องการองค์กรที่อยากได้คนที่ active จากเดิมการจัดหาคนตามเว็บไซต์ต่างๆ จะเป็นไปตามเป้าแค่ 2 ใน 10 คน ที่จะเข้าสู่กระบวนการสัมภาษณ์ เมื่อระบบดังกล่าวตอบโจทย์ จึงนำไปสู่การพัฒนาเป็น business unit ให้บุคคลภายนอกสามารถเข้ามาใช้งานได้

ระบบ eJobfair ได้รับการจดลิขสิทธิ์จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา และได้รับการส่งเสริมจาก BOI จากการเป็นแพลตฟอร์มที่สามารถตอบโจทย์นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ได้ค่อนข้างสมบูรณ์แบบ และเป็นที่มาของงานจัดงาน eJobfair ในปัจจุบัน

ปรากฏการณ์สวนทาง “หาคนยาก แต่คนตกงาน”

ทำไมคนยังตกงานกันมาก? ขณะที่ฝ่ายนายจ้างก็มองว่า ทำไมหาคนได้ยาก เป็นจุดหนึ่งที่ทำให้เพาเวอร์ เทคโนโลยี มองว่า จะทำให้คนเข้าถึงแหล่งงาน ได้อย่างไร และคนบนโลกออนไลน์อยู่ตรงไหน มีงานแต่ไม่รู้จะไปโพสต์หาคนได้จากที่ไหน ขณะที่ตามเว็บไซต์ทั่วไป ระบบหลังบ้านจะส่ง Job กับเงื่อนไขต่างๆ ไปยังผู้สมัครเมื่อนายจ้างโพสต์สิ่งที่ต้องการไว้ ผู้สมัครก็จะกดตอบรับ แต่ไม่มีการดูรายละเอียด วันสัมภาษณ์มาถึงก็เกิดปัญหาไม่ตรงกับความต้องการ เช่น สถานที่ไกลไป

ปัญหาของระบบการโพสต์หา resume ด้านฝ่ายนายจ้างจะเจอปัญหา พบว่าเป็น resume ที่เวลาผ่านไปปีสองปีแล้ว เจ้าตัวย้ายที่อยู่ หรือได้งานไปแล้วไม่ได้อยู่ในที่เดิมที่ได้ประกาศรับ กลายเป็นปัญหาไม่ถูกขั้ว ไม่ลงล็อค ไม่ตรงตามความต้องการ ไม่ Update และไม่ Active ซึ่งเป็นสิ่งที่สวนทางกับความต้องการของฝ่าย HR มากที่สุด

“กลยุทธ์เราคือ การพัฒนาระบบให้เป็น cyber employment Community เป็นชุมชนบนอินเตอร์เน็ต ให้ทุกคนมา Hang Around สามารถเข้ามาใช้ชีวิตบนนี้  เรากำลัง Create พื้นที่ให้ทุกคนมาเจอกัน เป็น eMarket Place สำหรับแรงงาน ให้ทุกคนรู้ว่าสามารถไปโพสต์เรื่องเกี่ยวกับการหางานได้ที่ไหน  นี่จะเป็น Community ที่เกิดขึ้นบนอากาศ โดยเฉพาะยุคปัจจุบันอยู่บนอินเตอร์เน็ตมากกว่า  9-10 ชั่วโมงต่อวัน หรือคิดเป็น 35% ที่ชีวิตคนอยู่บนอินเตอร์เน็ต เราสร้างสเปชให้ทุกคนมาเจอกัน” คุณมนูญ กล่าว

คอนเซ็ปต์ดังกล่าวทุกคนเป็นตัวจริงที่เข้ามาแสดงตน คนหางานจะเป็นคนที่เปิดเผยตัวตน Community ของ eJobfair เป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถ connect กันได้

eJobfair_4

“เราเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า Creative Concept แล้ว Drive ด้วยเทคโนโลยีการที่ eJobfair จะสามารถตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ 4.0 ได้เรามองไปที่วิถีชีวิต การสื่อสาร และการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็น 3 สิ่งที่เกิดขึ้นในโลก cyber วิถีชีวิตทุกคนอยู่บนอินเตอร์เน็ต สื่อสารด้วยเทคโนโลยี ธุรกรรมการดำเนินชีวิตก็อยู่บนอินเตอร์เน็ต ซื้อของ สั่งของ ดูหนัง เป็นพฤติกรรมของคนยุค 4.0 ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งต่างก็ต้องการบริการที่สะดวก ลดเวลา  แก้ Pain Point ของทั้งนายจ้างและผู้หางาน” คุณมนูญ กล่าว

eJobfair จุดแตกต่างการสมัครงานในโลกออนไลน์

สภาพตลาดการจัดนัดพบแรงงานบนโลกออนไลน์ ความแตกต่างของแต่ละแพลตฟอร์มมีไม่มาก แต่โมเดลธุรกิจจะคล้ายคลึงกันแบ่งเป็น 2 รูปแบบใหญ่ๆ เรียกว่า Job Post  คือการเข้าไปโพสต์หาพนักงานด้วยตำแหน่งงานต่างๆ ระบบจะทำการแมทช์ชิ่งส่งไปยังผู้สมัคร ถ้าสนใจกดดำเนินการกดสมัครงานตำแหน่งที่ต้องการ

อีกประเภทเรียกว่า resume search ที่เป็นผู้สมัครเป็นผู้ไปกรอกประวัติ resume และอนุญาตให้นายจ้าง search resume ได้ แต่ปัญหาของทั้ง 2 ระบบ เช่น Job Post  เมื่อมีการแมทช์ชิ่งตำแหน่งงานแต่ employee ที่ได้รับข้อมูลต้องการเปิดโอกาสให้ตัวเอง ก็จะกด confirm เพื่อรับการสมัครโดยยังไม่ตรวจตรารายละเอียดต่างๆ ทำให้ resume ที่ฝ่ายนายจ้างได้รับมีปริมาณมาก ทำให้งานไปตกอยู่ที่ฝ่าย HR มีการนัดสัมภาษณ์มากกว่า 1 รอบ จะรับคนได้ต้องใช้เวลามากกว่า 45-60 วัน เช่นเดียวกับระบบ resume search ประสิทธิภาพของการได้มาของพนักงานมีประมาณ 10-20% เท่านั้น

การกำหนดจัดงาน Job Fair ทุกสัปดาห์ในวันพฤหัสของ eJobfair จะกำหนดให้นายจ้างและผู้สมัครต้องทำตามระบบ รวมทั้งจะมีการสื่อสารกับผู้สมัครงานตลอดเวลา เรื่องการอัพเดทข้อมูลก่อนวันงาน การเตรียมความพร้อม เช่น การกรอกข้อมูลให้สมบูรณ์รวมทั้งอัพโหลดเอกสารต่างๆ ไว้ในระบบ ก่อนวันงาน Job Fair

“เมื่อเจอนายจ้างคุณสามารถกดเพื่อสมัครได้ทันที รวมทั้งการเตรียมรายละเอียดเรื่องการสัมภาษณ์ให้กับผู้สมัคร เมื่อถึงถึงวันงานสามารถ login เข้ามาสัมภาษณ์กับนายจ้างที่เข้ามาโพสต์ล่วงหน้าไว้แล้ว 3 วัน เรามองละเอียดเป็นการคิดเผื่อผู้สมัครที่อยากเปลี่ยนงาน ให้รู้ล่วงหน้าว่าอาจจะเจอ HR ของตัวเองก็เป็นได้ นี่คือความแตกต่างที่เรามอบให้ กรณีบริษัทที่ไม่มีการสัมภาษณ์หลายขั้นตอน ก็สามารถจบขั้นตอนการรับสมัครและรับเข้าทำงานในวันเดียว”

กรณีเรื่องความเท่าเทียมในการสมัครเข้าทำงาน ถ้าไม่มีโอกาสเข้าถึงแหล่งงาน โอกาสที่จะไม่ได้งานก็มีมากตามไปด้วย เพราะคนต่างจังหวัดต้องทำตามกระบวนการสรรหาคน ด้วยการต้องเดินทางไปสมัคร ไปสัมภาษณ์ การไม่ได้ไปแฝงตัวตามแหล่งงาน โอกาสที่จะได้งานจึงมีน้อยมาก

แต่ถ้าเข้ามาอยู่ในระบบของ eJobfair ไม่ว่าบ้านจะอยู่ต่างจังหวัดที่ห่างไกล เมื่อ login online เข้าไปในระบบ ก็จะสามารถเห็นแหล่งงานทั่วไทย ไม่ต้องย้ายถิ่นที่อยู่เพื่อสมัครงาน ระหว่างการหางานหรือรองาน สามารถทำงานช่วยทางบ้านไปก่อนได้ เมื่อถึงทุกวันพฤหัสก็สามารถเข้าระบบตามขั้นตอนได้ทันที

eJobfair_5

“การที่ต้องเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อสมัครงาน พักในย่านต่างๆ ของเมืองกรุงมีค่าใช้จ่ายเป็นเดือนตามโปรเซสของการสมัครงานทั่วไปต้องใช้เวลา 2-3 เดือน ต้องมีค่าใช้จ่าย กิน อยู่ เดือนละประมาณ 5,000 บาท จากข้อมูลสถิติกรมแรงงานบัณฑิตจบใหม่ 5.8 แสนคนต่อปี ขณะที่ตลาดแรงงานไทยมีอยู่ประมาณ 1.2 ล้านคน แยกเป็นจบใหม่ 6 แสนคน รวมทั้งปริญญาตรี-โท ขณะเดียวกันผู้ที่เปลี่ยนงานระหว่างปีอยู่ที่ 6 แสนคน และ 6 หมื่นคนเป็นผู้ตกงาน นำมาซึ่งโจทย์ว่าระบบ ซึ่งระบบ eJobfair สามารถช่วยเหลือสังคมได้อย่างไร”

“บัณฑิตจบใหม่ราว 6 แสนคน ใช้เวลาหางานที่มีค่าใช้จ่าย 1-1.5 หมื่นบาทต่อคน เท่ากับต้องใช้เงินรวมราว 7-8 พันล้านบาท หากมีระบบที่ช่วยไม่ให้ต้องเดินทาง ไม่ต้องมีค่าใช้จ่าย เท่ากับช่วยรัฐบาลประหยัดเงินไปได้จำนวนมาก ผมเรียกระบบนี้ว่า Social Economic Benefit เป็นระบบที่ช่วยสังคมไม่ต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายปีละ 6-7 พันล้านบาท เท่ากับตีโจทย์ให้กับ BOI ว่าเพาเวอร์ เทคโนโลยีช่วยอะไรกับสังคมได้บ้าง” คุณมนูญ กล่าว

ขณะที่ระบบ eJobfair ช่วยยกระดับการจัดหางานบนโลกออนไลน์ นอกจากเป็นการตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ 4.0 ที่มีพฤติกรรมทำธุรกรรมผ่านออนไลน์  สร้างความเท่าเทียม ผู้ที่อยู่ห่างไกลสามารถสมัครงานได้เท่าเทียมคนที่อยู่ในกรุงเทพฯ ที่ผ่านกระบวนการ และมีวิธีการประมวลผลที่ชัดเจน เท่าเทียมและยุติธรรม eJobfair ช่วยให้ทุกคนเท่าเทียมกันถ้าเข้ามาอยู่ในระบบ ตั้งแต่วุฒิมัธยม ปวช. ปริญญาตรี ปริญญาโท รวมทั้งผู้ที่จบดร. สามารถเข้ามาร่วมในระบบได้

วิสัยทัศน์ของ CEO และกลยุทธ์ eJobfair

eJobfair ดำเนินกลยุทธ์ด้วยการ Creative Concept จากปมของเรื่อง ‘คนที่มีงานก็หาคนไม่ได้ คนที่จบมาก็บอกว่างานไม่มี’ ปัจจุบันถือว่าสิ้นสุดยุคติดประกาศหน้าบริษัทแล้วคนจะมาเห็น หรือลงประกาศในหนังสือพิมพ์ก็ไม่ตอบโจทย์ หาตลาดแรงงานไม่เจอ เราจึงใช้กลยุทธ์ Creative Concept สร้าง cyber employment Community ให้เกิดขึ้น เป็นชุมชนของคนหางานและบริษัทที่ต้องการหาคน เป็นพื้นที่ให้กับคน 2 กลุ่ม ทำให้การสรรหางานเป็นเรื่องง่าย สะดวก และคนเข้าถึงได้ถึงทุกที่” คุณมนูญ CEO เพาเวอร์ เทคโนโลยี กล่าวย้ำ

ขณะเดียวกัน eJobfair by www.ejoblive.com ที่เป็นผู้ให้บริการจัดหางานออนไลน์ระบบ eJobfair หรือมหกรรมนัดพบแรงงานออนไลน์เรียลไทม์ ซึ่งพัฒนารูปแบบการจัดหางานผ่านเว็บไซต์ eJoblive.com ก็พยายามสร้างแพลตฟอร์มให้เป็นเสมือนแหล่งความรู้เพื่อพัฒนาตัวเอง และเป็นพื้นที่ให้องค์กรและพนักงาน เข้ามาเจอกัน เพื่อแชร์ประสบการณ์ที่ดีๆ ต่อกัน นอกจากตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการและผู้สมัครงาน ที่ทำให้ประหยัดเวลา คุ้มค่า ได้ผู้สมัครงานที่ใช่ (Active) ตรงตามความต้องการของผู้ประกอบการ รวมทั้งผู้สมัครงานก็ได้งานที่ชอบ รู้ผลทันที จบภายในวันเดียว

eJobfair_6

“นี่เป็น Creative Concept ที่เราพยายามจะพัฒนาแม้ว่า 9-10 ชั่วโมงที่คนใช้เวลาบนโลกอินเตอร์เน็ต แต่การที่จะเจอกันในเวลาเดียวกันบนออนไลน์ก็เป็นเรื่องยาก การใช้ Creative Concept สร้างเป็นแพลตฟอร์มทุกวันพฤหัสเหมือนเป็นการนัดหมายล่วงหน้า ปักธงให้ทุกคนเห็นธงร่วมกัน กด login เจอกัน โดยมีแพลตฟอร์มเป็นตัวเชื่อม”

eJobfair_7

ยิ่งไปกว่านั้น eJobfair ยังตอกย้ำความเป็นผู้นำในตลาดแรงงานออนไลน์ ด้วยแคมเปญส่งท้ายปี คือ ฟรีx2 สมัครงานฟรี พร้อมทั้งฟรีประกันภัยอุบัติเหตุคุ้มครอง 100,000 บาท (นาน 30 วัน) โดยทิพยประกันภัย

“ทิพยประกันภัยจะเป็นสิ่งที่ผู้สมัครได้สิทธิประโยชน์ ผู้สมัครงานหลังจากกรอกข้อมูลสมัครงาน แล้วมาอัพเดท จะได้รับสิทธิตรงนี้ไปทันที ถือเป็นโปรโมชั่นส่งท้ายปี จากมหกรรมนัดพบแรงงานออนไลน์เรียลไทม์ เริ่มตั้งแต่วันนี้จะถึงปลายเดือนธันวาคมนี้ แต่จะให้ความคุ้มครองไปจนถึงเดือนเมษายนปีหน้า”


  • 66
  •  
  •  
  •  
  •