กว่า 10 ปีที่ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ยุค 3G เทคโนโลยีต่างๆ ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อให้สอดรับกับความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ยิ่งเมื่อเทคโนโลยี AI เกิดขึ้น ความต้องการด้านเทคโนโลยียิ่งเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในภาคธุรกิจที่มีการนำ AI เข้ามาใช้เพื่อให้การทำธุรกิจง่ายมากขึ้น แต่เพียงไม่กี่ปีต่อมา AI ก็ถูกพัฒนาจนมาสู่ Generative AI ชี้ให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของเทคโนโลยี
ดูเหมือนว่าแค่เทคโนโลยี Generative AI ในปัจจุบันอาจไม่เพียงพอต่อความต้องการ ทำให้ KBTG ธุรกิจที่เรียกได้ว่าเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีของไทยจึงต้องหันมาพัฒนาเทคโนโลยีที่เหนือชั้นกว่า Generative AI ภายใต้แนวคิดยุทธศาสตร์ Human-First x AI-First Transformation ที่ผสานการพัฒนาบุคลากรและการใช้เทคโนโลยี AI เพื่อทำงานร่วมกันในยุค Agentic AI ในอนาคต พร้อมตั้งเป้าสร้างผลลัพธ์ทางธุรกิจมากกว่า 10,000 ล้านบาทภายใน 5 ปีข้างหน้า
KBTG ผู้นำด้านเทคโนโลยีแห่งอนาคตของไทย
ถ้าจะกล่าวให้ถูก KBTG คือหน่วยงานที่ Spin Off ออกมาจากธุรกิจการเงิน เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีตอบสนองธุรกิจการเงิน แต่เพราะโลกก้าวสู่โลกเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว KBTG จึงมีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อธุรกิจที่หลากหลาย เปลี่ยนสภาพจาก Fin Tech สู่ธุรกิจ Big Tech ของไทย โดย คุณเรืองโรจน์ พูนผล ประธานกลุ่มบริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป หรือ KBTG ชี้ว่า สำหรับ KBTG แบ่งออกเป็น 3 ยุคด้วยกัน
โดยยุคแรกคือ 1.0 เป็นยุคของการก่อตั้ง KBTG จากนั้นก็เข้าสู่ยุค 2.0 ซึ่งเป็นการ Transformation เทคโนโลยีต่างๆ โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับ Core Bank เพื่อให้ธุรกรรมการเงินต่างๆ สามารถทำได้อย่างไหลลื่นไม่มีสะดุด และในปัจจุบันที่เป็นยุค 3.0 ซึ่งมีการผสานการทำงานระหว่างบุคลากรกับเทคโนโลยีทำงานร่วมกัน
จากการที่ในปีที่ผ่านมา KBTG วางกลยุทธ์ที่ AI First ผลที่ได้คือการมาผิดทาง นั่นจึงทำให้ปี 2024 มีการวางยุทธศาสตร์ Human-First x AI-First Transformation โดยมีการนำ AI Machine Learning และ Data Analytic ไปใช้ในธุรกิจการเงิน ช่วยสร้างรายได้ถึง 1,000 ล้านบาทต่อปี ในปี 2025 จะเป็นการปรับโครงสร้างครั้งใหม่ไปสู่ Agentic AI
ผลักดันบุคลากรและเทคโนโลยี AI ช่วยพัฒนาธุรกิจ
สำหรับเทคโนโลยี AI ที่ทาง KBTG นำมาใช้แล้ว อย่างเช่น AI Coding Assistant ระบบผู้ช่วยในการเขียน Code ซึ่งช่วยประหยัดเวลาการทำงานลงได้ 50% ซึ่งการเขียน Code เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีถือเป็นงานหลักของ KBTG นอกจากนี้ยังมีการพัฒนา AI Agent โดยเฉพาะ GeDi DataAnalytic Agent ที่จะเป็นผู้ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ รวมไปถึง HR Chat Agent และ AI-Power Software Quality Management ที่มีการนำไปใช้แล้วกว่า 15 โครงการ
ไม่เพียงแต่การพัฒนาเทคโนโลยีเท่านั้นยังพัฒนา ทักษะของบุคลากรภายในองค์กร โดยพนักงานของ KBTG ทุกคน จำนวนกว่า 2,600 คน ได้ผ่านการอบรมด้าน AI Literacy แบบ 100% นอกจากนี้ยังมีการพัฒนา AI Engineer ที่เป็นผู้สร้างระบบ AI กว่า 250 คน โดยเฉพาะการพัฒนา AthenaMind แพลตฟอร์มที่สามารถสร้าง AI Agent หรือการพัฒนาโมเดล AI ที่ทำงานเฉพาะทางสำหรับภายในองค์กร
รวมถึงการพัฒนา THaLLE ระบบ LLM สำหรับธุรกิจการเงินของไทย Future You ระบบ AI ที่ช่วยให้คุยกับตัวเองในอนาคต ยังมี FinLearn ที่จะเหมือนมีโค้ชส่วนตัวด้านการเงิน และยังมี Waan AI ที่เป็น AI Analytic ที่จะช่วยวิเคราะห์ข้อมูลด้านการเงินแบบส่วนตัว และยังช่วยป้องกันการหลอกลวงได้อีกด้วย ที่สำคัญ THaLLE ยังผ่านการทดสอบของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยได้คะแนนสูงที่สุด ขณะที่ Future You มีผู้ใช้งานแล้วกว่า 190 ประเทศทั่วโลกหรือราว 50,000 กว่าคนทั่วโลก นอกจากนี้ยังมีการสร้าง AI ecosystem ระดับโลก
3 เรื่องใหญ่ของ Trend AI ที่จะเกิดขึ้นในปี 2025
โดยคุณเรืองโรจน์มองว่า อีก 10 ปีข้างหน้าจะเกิดความร่วมมือระหว่าง Human AI Collaboration ในรูปแบบเพื่อเพิ่ม Productivity สูงขึ้นถึง 6.5 เท่า โดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 เรื่องใหญ่ๆ ประกอบไปด้วย
– AI for Decision Intelligence จะมีการใช้การใช้ AI เพื่อช่วยในการตัดสินใจและสร้างผลลัพธ์ทางธุรกิจ (AI-Driven Business Impact) โดยธุรกิจระดับโลกกว่า 75% เตรียมที่จะเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยี AI ดังกล่าว
– AI Agent โมเดล AI เฉพาะทางที่สามารถทำงานและตัดสินใจแบบ End-to-end ได้อย่างแม่นยำ โดยคาดว่าภายในปี 2028 ธุรกิจ ซอฟต์แวร์ Application ระดับโลกกว่า 33% จะมีการใช้ AI Agent
– AI Guardrails การใช้งาน AI อย่างมีความรับผิดชอบเพื่อลดความเสี่ยง โดยใช้ AI ตรวจสอบการทำงานของ AI ด้วยกัน ผ่านการสร้างความตระหนักรู้และการกำกับดูแลที่มีความครอบคลุม แต่ยังคงมีความยืดหยุ่น
นอกจากนี้ KBTG ยังตั้งเป้าพัฒนาบุคลากรด้าน AI Engineer เพิ่มขึ้นถึง 1,000 คน หรือคิดเป็นเพิ่มขึ้น 4 เท่า เพื่อสร้างและพัฒนาเทคโนโลยี AI ผ่านการสร้างกลุ่มผลักดันการใช้งาน AI อย่างแพร่หลาย (KBTG Democratization of AI: K-DAI Council) เพื่อจะมุ่งทำ Human Transformation พัฒนาบุคลากรให้สามารถดึงศักยภาพสูงสุดของตัวเอง โดย AI จะเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยปลดล็อกและนำพาไปสู่เป้าหมายที่วางไว้
การพัฒนา 3 ด้าน Agentic รองรับการทำงานรูปแบบใหม่
AI ในยุคถัดไปจะเป็นการผสมผสานความสามารถของ AI ทั้งความเข้าใจในมนุษย์และความรู้ที่เสริมเข้าไปให้กับ AI ซึ่งจะทำให้ AI มีความสามารถเทียบเท่ากับมนุษย์ นั่นคือสิ่งที่ ดร.ทัดพงศ์ พงศ์ถาวรกมล Managing Director, KBTG มองเห็นถึง AI ในอนาคต นั่นทำให้ Agentic AI มีบทบาทขึ้นมา เมื่อย้อนกลับไปดูว่าทำไม Agentic AI ถึงเกิดขึ้นมาได้ ก็ต้องย้อนกลับไปว่าในอดีต เวลาจะมีการสั่งงานขึ้นมาคนจะต้องสื่อสารระหว่างคนแบบอยู่ต่อหน้ากัน
ปัจจุบันสามารถใช้ช่องทางต่างๆ ทางด้านดิจิตอลในการสั่งงาน ไม่ว่าจะเป็นอีเมล์ การแชทหรือการประชุม Video Conference ซึ่งในอนาคตจะมีการทำงานร่วมกันระหว่าง AI กับคน จนเกิดเป็น Agent AI ซึ่งในอนาคตเวลาที่แชทสั่งงานกันจะไม่รู้เลยว่ากำลังคุยอยู่กับคนหรือ AI ซึ่งจะทำให้ธุรกิจต้องกลับมาพัฒนากระบวนการในการทำงานเพื่อปลดล็อคประสิทธิภาพในด้านต่างๆ
ซึ่งจะมี 3 อย่างที่จะต้องพัฒนาเพิ่มความสามารถ โดยเรื่องแรกคือการพัฒนาด้าน Agentic Platformization ซึ่งในอนาคตการจะสร้าง AI จะต้องทำได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะทำให้เกิด Agent AI ในด้านต่างๆ มากมาย ยกตัวอย่างเช่น AthenaMind แพลตฟอร์มสร้าง AI Agent ที่ KBTG พัฒนาใช้เองภายในองค์กร เปรียบเสมือน AI Agent Factory ช่วยสร้าง AI Agent เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในแต่ละส่วนงานของ KBTG
แล้วเรื่องต่อมาจะเป็นการพัฒนาด้าน Agentic Orchestration ซึ่งเป็นการสร้างกระบวนการทำงานของธุรกิจในรูปแบบใหม่ ที่คนทำงานจะไม่ใช่ทั้งคนและ AI แต่เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างคนกับ AI ด้วยกัน ซึ่งธุรกิจจะต้องปรับกระบวนการทำงานใหม่เพื่อรองรับการทำงานในรูปแบบ Agent เช่น การนำ AI Coding Assistant มาใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ เพิ่มความรวดเร็วการทำงานของ Developer ช่วยลดเวลาการทำงานของ Developer ได้ไม่ต่ำกว่า 20% และมีการสร้างโค้ดด้วย AIไปแล้ว 500,000 Line of Code
และการพัฒนาด้าน Agentic Humanization ซึ่งจะเป็นการพัฒนาทักษะด้านใหม่ๆให้กับบุคลากรเพื่อเตรียมความพร้อมในการทำงานกับเพื่อนร่วมงานที่อาจจะไม่ใช่คนอีกต่อไป แต่จะเป็น Agent ที่สามารถเป็นได้ทั้งคนหรือ AI รวมไปถึงการพัฒนาทักษะด้านการคุยกับ AI จนเกิดเป็น Human-AI Workforce Integration เพื่อส่งเสริมการผสมผสานเทคโนโลยี AI เข้ากับการทำงานของพนักงานในทุก ๆ วัน
สร้างเทคโนโลยี AI ได้ง่ายด้วย Coding Agent
การใช้งาน AI เพื่อช่วยเขียน Code ในการสร้างและพัฒนากลายเป็นเรื่องสำคัญของนักพัฒนาระบบ นี่คือสิ่งที่ คุณจิรัฎฐ์ ศรีสวัสดิ์ Assistant Managing Director – Technical Excellence KBTG มองเห็นจากการพัฒนาสู่ Agentic AI ซึ่ง AI Coding Assistant คือเครื่องมือที่ช่วยแนะนำการเขียนโค้ด ซึ่งจะช่วยเพิ่มเติมหรือเติมเต็ม Code ให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น และสามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
ซึ่งจากการทดลองพบว่า การใช้ AI เขียน Coding เพียงอย่างเดียวมีประสิทธิภาพที่น้อยกว่า ทำงานได้ช้ากว่า แต่เมื่อภาษาการทำงานระหว่าง AI กับคน จะช่วยให้สามารถเขียนได้เร็วขึ้น มีประสิทธิภาพเชิง Productivity ได้มากขึ้น รวมไปถึงการเขียนด้วยภาษาที่แตกต่างกัน ผู้พัฒนาระบบจะทราบดีว่าทำได้ยากมาก แต่ด้วย AI Coding Assistant ช่วยลดระยะเวลาการเขียนลงได้ 54% ช่วยประหยัดเวลาในการพัฒนาระบบได้อย่างมาก
นอกจากนี้ AI Coding Assistant ยังช่วยให้นักพัฒนาระบบที่เชี่ยวชาญในแต่ละภาษาสามารถเขียน Coding ได้ทุกภาษา เช่น การนำนักพัฒนาระบบทางด้านเกมมาเขียนโปรแกรม Application โดยใช้ AI Coding Assistance ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจากการเก็บข้อมูลยังพบว่า ประมาณ 3 เดือนสามารถเขียนได้มากกว่า 200,000 Coding ซึ่งทั้งหมดถูกเขียนขึ้นโดย AI Coding Assistant และถูกนำไปใช้ภายใน KBTG
ขณะที่ Coding Agent ช่วยให้การทำงานด้านการพัฒนาระบบทำได้รวดเร็วขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเป็นการให้ AI เขียน Coding ขึ้นมา ในขณะที่คนมีหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้อง รวมไปถึงการทดสอบระบบ ซึ่งในอดีตจะต้องใช้เวลาตั้งแต่เริ่มการเขียนไปจนถึงทดสอบระบบประมาณครึ่งวัน แต่ด้วย Coding Agent สามารถดำเนินการทั้งระบบได้จบทุกขั้นตอนภายในระยะเวลาเพียง 5 นาทีเท่านั้น เห็นได้ชัดถึงความรวดเร็วในการพัฒนาระบบ
พัฒนาบุคลากรรับมือการทำงานร่วมกับ Agent AI
เมื่อเทคโนโลยีฉลาดมากขึ้น บุคลากรที่ทำงานร่วมกับ AI จึงต้องฉลาดและเรียนรู้ให้เท่าทัน AI เป็นแนวคิดของ ดร.โกเมษ จันทวิมล Principle Research Engineer KBTG ซึ่งในปัจจุบันพนักงานของ KBTG ได้พัฒนาศักยภาพแบบ 100% เพื่อให้พร้อมกับการทำงานร่วมกับ AI Agent ช่วยให้พนักงานสามารถตัดสินใจได้ว่าควรจะใช้ AI ประเภทไหนและเมื่อไหร่ควรจะใช้ Agent AI ในการทำงาน
ซึ่งในยุคแรกที่มีการใช้ Generative AI ระยะเวลาเพียง 9 เดือนมีการใช้งานสูงถึง 75% ซึ่งยังมีบางส่วนที่ยังไม่ได้ใช้งาน ขณะที่คนใช้แล้วอาจจะใช้งานอย่างไม่รับผิดชอบก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อองค์กร นั่นจึงทำให้เกิด K-DAI Council เพื่อให้พนักงานได้ทดลองใช้งานและการทำงานร่วมกับ AI Agent รวมไปถึงการจัดโครงการ Boot Camp ที่จะให้ทุกคนสามารถสร้าง AI ขึ้นมาใช้งานในสถานที่ที่ปลอดภัย
ซึ่งตลอดทั้งปีมีการเปิดคอร์สเรียนแบบไม่บังคับขึ้นอยู่กับความชอบและความเข้าใจของแต่ละคน ทั้งออฟไลน์และออนไลน์ โดยมีจำนวนชั่วโมงเรียนให้กับทุกคนอยู่ที่ 10,000 ชั่วโมงจาก Internal Speaker ประมาณ 20 คน นอกจากนี้ยังมีงบประมาณเพื่อให้พนักงานไปเรียนรู้เรื่อง AI ต่างๆ ตามที่สนใจ ที่สำคัญคือการที่เรียนแล้วสามารถทำได้จริงในรูปแบบ Experience Learning
รวมไปถึงการเปิดพื้นที่ให้ได้ทดลองการสร้าง AI ในงาน AI Day ซึ่งในวันนั้นมีกว่า 30 ไอเดียและถูกคัดเลือกให้เหลือ 10 ไอเดีย โดยปัจจุบันมี 1 ไอเดียที่กำลังอยู่ในกระบวนทดลองอย่างจริงจัง รวมไปถึงการสร้างชมรมต่างๆ เพื่อสร้างความรู้ในการทำงานร่วมกับ AI ซึ่งในอนาคตจะมีการพัฒนา K-DAI Council ผ่านการใช้ Agent AI โดยมีเป้าหมายในการทำให้ไอเดียพัฒนาไปสู่ Production รวดเร็วขึ้นประมาณ 2 เท่า และการสร้าง AI Engineer ให้ถึง 1,000 คนในปี 2025
พัฒนาเทคโนโลยี AI สู่การนำไปใช้งานจริง
เมื่อปัญหานำมาซึ่งความรู้สู่การพัฒนาต่อยอด คือสิ่งที่ ดร.มนต์ชัย เลิศสุทธิวงค์ Principal Research Engineer and Head AI Research นั่นเพราะปัจจุบัน KBTG เน้นการสนับสนุนธนาคารและและพันธมิตร ซึ่งปัญหาต่างๆ ทำให้เกิดโซลูชัน เสมือนจากคนนั่งรถเปลี่ยนมาขับรถ พอมีความรู้ก็พัฒนาไปสู่การสร้างรถ แต่เมื่อสร้างรถเองไม่ได้ก็ต้องหาพันธมิตรที่มีความรู้มาช่วยสร้าง
ซึ่งในปีที่ผ่านมามีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ใน 7 Area เริ่มจาก
– Face Technology ที่เป็นเทคโนโลยีเพื่อนำไปใช้ในการยืนยันตัวตนแบบ e-KYC พร้อมด้วยการพัฒนาระบบเพื่อป้องกันการหลอกลวง
– เทคโนโลยี OCR ที่เป็นการเปลี่ยนภาพให้กลายเป็นตัวอักษรเพื่อเปลี่ยนเอกสารต่างๆ ให้กลายเป็นเอกสารทางดิจิทัล ซึ่งมีความท้าทายอย่างมากเนื่องจาก ที่มาของเอกสารมีทั้งที่เป็นลายมือเขียนและการพิมพ์ รวมไปถึงภาพสแกนที่อาจไม่มีคุณภาพสูงพอ
– เทคโนโลยี LLM ที่ปัจจุบันหลายองค์กรนำเข้ามาใช้ ไม่ว่าจะเป็น ChatGPT หรือ Co-Pilot
– AI Agent ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ถูกนำมาใช้เฉพาะทาง ทำหน้าที่ช่วยเหลือด้านการเงินให้กับพนักงานของ KBTG
– Computer Vision Technique โดยถูกนำมาใช้ในการสร้างภาพ ซึ่งภาพเหล่านั้นจะถูกนำไปใช้ในการสร้างแบรนด์
– Human-AI เป็นเทคโนโลยีที่กำลังรู้ว่าคนกับ AI จะทำงานร่วมกันได้อย่างไร
– Extend to External การนำความรู้ที่มีอยู่ไปต่อยอดแล้วนำไปสร้างให้เกิด Impact กับภายนอก KBTG
ยกตัวอย่างเทคโนโลยีจากการดำเนินการไม่ว่าจะเป็น Future You โดยเป็นโครงการที่ KBTG ทำร่วมกับ MIT Media Lab โดยนำไปใช้จริงกับคนไข้ในโรงพยาบาลสหรัฐฯ เพื่อดูพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ขณะที่เทคโนโลยี Thai ID Card เทคโนโลยีที่ใช้ในการตรวจสอบข้อมูลบนบัตรประชาชนว่าเป็นข้อมูลจริงหรือข้อมูลปลอม โดยมีการใช้งานจริงกับพันธมิตรของธนาคาร
นอกจากนี้อย่างนี้เทคโนโลยี Neramit ที่ช่วยให้ผู้ที่ต้องการซื้อบ้านสามารถเห็นแบบบ้านได้อย่างที่ต้องการหรือไม่ อีกหนึ่งเทคโนโลยีอย่าง CAR AI ที่ใช้ระบบ AI ในการประเมินความเสียหายของรถยนต์ ช่วยให้ธุรกิจสามารถประเมินราคาซ่อมได้อย่างแม่นยำและเป็นกลาง ส่วนเทคโนโลยี Video Analytics เป็นเทคโนโลยีที่จะช่วยตรวจจับข้อมูลต่างๆ ที่กล่าวถึงธุรกิจบนโซเชียลมีเดียในรูปแบบ Video ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจสามารถเข้าใจความต้องการของผู้บริโภคได้ และเทคโนโลยี AI Chatbot ที่ถูกพัฒนามา จากความรู้ขององค์กรเพื่อให้กลายเป็นเทคโนโลยีเฉพาะด้าน
ส่วนเทคโนโลยีที่นำไปใช้กับพันธมิตรขึ้น จะเป็นลักษณะของผู้ช่วย เช่น รูปแบบการกรอกแบบฟอร์มที่ AI จะไม่ได้เข้ามากรอกข้อมูลแทน แต่จะให้คำแนะนำในการกรอกข้อมูลเพื่อช่วยให้คนพิจารณาว่า กรอกแบบฟอร์มอย่างไรเพื่อที่ผลจะออกมาเป็นอย่างไร โดยในปีที่ผ่านมามีผลงานวิจัยถึง 13 ชิ้น โดย 2 ชิ้นในนั้นอยู่ในระดับ A*
โดยผลงานที่โดดเด่นที่ร่วมทำกับพันธมิตรนอก KBTG โดยร่วมกับทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยการนำ AI มาโคลนอาจารย์ผู้สอน ซึ่งอาจจะเป็นอาจารย์ที่เกษียณอายุไปแล้วแต่อยากให้ความรู้ผ่านประสบการณ์เหล่านั้นของอาจารย์ยังคงอยู่ โดย AI จะทำหน้าที่เสมือนเป็นอาจารย์หรือเป็นผู้ช่วยในการเตรียมข้อมูลต่างๆ ให้กับอาจารย์
อีกหนึ่งผลงานที่โดดเด่นในการใช้เทคโนโลยี AI กับเด็กนักเรียนด้อยโอกาสที่มีไม่ต่ำกว่า 300,000 คน โดย AI จะช่วย ตรวจสอบข้อมูลความชอบของเด็กเหล่านี้ เพื่อทำการแนะนำถึงอาชีพที่เหมาะสมเมื่อเด็กเหล่านี้โตขึ้นไป และสุดท้ายในการร่วมมือกับโรงพยาบาลจุฬาฯ ในการพัฒนาระบบ AI ช่วยการเรียนการสอนของแพทย์ช่วยให้นักศึกษาแพทย์ ทำให้ไม่จำเป็นต้องทำงานอยู่ใน Lab สามารถทำงาน Lab จากที่บ้านได้และสามารถทำซ้ำได้เรื่อยๆ จนกว่าจะเกิดความเข้าใจ
ทั้งหมดนี้คือกลยุทธ์ของ KBTG ที่ตั้งเป้าขับเคลื่อนองค์กรสู่การเป็น AI-Infused Organization โดยให้ AI เข้ามามีส่วนร่วมและผสมผสานกับการทำงานของพนักงานในทุกจุด พร้อมทั้งขับเคลื่อน AI-Driven Innovations เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าและเพิ่มขีดความสามารถให้กับองค์กร รวมไปถึงการขยายอุตสาหกรรมที่นำ AI เข้าไปใช้นอกเหนือจากธุรกิจทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็น AI เพื่อการศึกษา AI เพื่อเป็นที่ปรึกษาสำหรับเยาวชน และ AI เพื่อการแพทย์ ตามแนวคิด KBTG AI For Thailand