คนไทยรู้จักรู้จัก Line ครั้งแรกในฐานะแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน ที่ใช้สำหรับ “แชท” และสามารถส่ง sticker ให้กันได้ ด้วยความสนุกสนานนี้ สร้างให้ยอดผู้ใช้ Line เพิ่มสูงขึ้น มีมูลค่าทั่วโลกแตะ 1,000 ล้านเหรียญไปแล้ว ในประเทศไทยมีผู้ใช้กว่า 33 ล้านราย แต่การแชท ไม่ใช่ฟังก์ชั่นที่จะมาตอบโจทย์ทางธุรกิจ แต่เป็นเพียงก้าวแรกในการสร้างฐานผู้ใช้ที่เข้าถึงได้ง่าย
ต่อมาจึงเกิดบริการตามมาอีกเพียบ เช่น Line TV, Line Music, Line shop, Line@ และอื่นๆ ซึ่งมีการตอบรับที่ดี ทำให้หลายคนสนใจว่า Line ในปี 2016 จะเป็นอย่างไรต่อไป อะไรคือ Line Beyond Chat อริยะ พนมยงค์ กรรมการผู้จัดการ ของ Line ประเทศไทย ได้ไขข้อข้องใจนั้นอย่างน่าสนใจ
4 Trends ในมุมมองของ Line
Line มองว่าเทรนด์ที่น่าสนใจและจะเกิดขึ้นกับไทยในปีนี้มี 4 ส่วนที่จะสร้างผลกระทบให้เกิดขึ้น สิ่งแรกคือ Mobile First ด้วยการเริ่มต้นบริการของ 4G จากทุกค่ายมือถือ เป็นตัวเร่งกระแสให้เกิดการใช้สมาร์ทโฟนที่ advance กว่าเดิม จำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนจะเพิ่มจาก 40 ล้านรายเป็น 50 ล้านรายในปีนี้
เทรนด์ต่อมาคือ สมาร์ทโฟนจะมาเติมเต็มทีวี นั่นคือ คนจะใช้สมาร์ทโฟนเพื่อดูทีวี โดยมีถึง 31% ซึ่งสามารถดูได้ทุกที่ ทุกเวลา สะดวกกว่าเดิม เพราะก่อนหน้านี้มีการใช้เพื่อดู VDO อยู่แล้ว การขยับมาดูทีวีจะมากขึ้น รวมถึงบริการทีวี สตรีมมิ่งด้วย
เทรนด์ที่ 3 คือการเปลี่ยนผ่านจาก e-Commerce สู่ mobile-Commerce และ social-Commerce การซื้อขายจะไม่ได้เกิดแค่บนเว็บไซต์ แต่จะมาจาก mobile เกิน 60% และทำให้บริการประเภท mobile banking และ payment มีการเติบโตแบบก้าวกระโดด
เทรนด์ที่ 4 คือ บริการใหม่ App in App หรือ O2O (online yo offline)ทขยายบริการจากออนไลน์สู่ออฟไลน์ โดยจะใช้ Line เป็นตัวกลางในการเผยแพร่แอพต่างๆ บริการใหม่ๆ ให้ไปสู่ผู้บริโภคมากขึ้น จากการสำรวจพบว่า ผู้ใช้สมาร์ทโฟน ดาวน์โหลดแอพเฉลี่ย 39 แอพ และมีการใช้งานประจำ 17 แอพเท่านั้น จากแอพสโตร์ และกูเกิลเพลย์ ที่มีแอพอยู่ 1.5-1.6 ล้านแอพ จะดีกว่าหรือไม่ถ้ามีเครื่องมือรวมแอพที่ต้องการไว้ในที่เดียว
3 PainPoint แก้จุดเจ็บสร้างธุรกิจ
จุดที่เรียกว่า PainPoint คือ ปัญหาที่ทำให้ผู้บริโภคไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ ซึ่ง Line มองเห็นและจะเข้ามาช่วย โดย PainPoint แรก มากจากเทรนด์ที่ 4 คือการมีแอพจำนวนมาก แต่พอจะหาที่ต้องการใช้งาน กลับหาไม่เจอ
ดังนั้น Line จะมุ่งสร้างบริการในลักษณะ O2O ให้มากขึ้นผนวกแอพอื่นๆ เข้ามาอยู่ใน Line ขยายธุรกิจ Line Tv, Line Music เพื่อสร้างธุรกิจคอนเทนต์ให้เกิดขึ้น สอดคล้องกับเทรนด์ที่ 2 เรื่องการดูทีวีผ่านสมาร์ทโฟน ต่อไปจะมีคอนเทนต์ที่เร็วกว่าช่องทางอื่น หรือดูได้เฉพาะ Line TV เท่านั้น รวมถึง Line Music ด้วย
ส่วนต่อมาคือ การสร้างบริการใหม่ โดยทีมงาน Line ประเทศไทยและส่งออกไปให้บริการผ่าน Line ในประเทศอื่นๆ ปิดท้ายด้วยการร่วมมือกับพันธมิตร Startup เพื่อนำบริการต่างๆ มาให้บริการผ่าน Line ในลักษณะ App in App
PainPoint ที่ 2 เรื่อง Fragmented Digital eco-system ทำธุรกิจดิจิทัลให้มากขึ้น โดยเพิ่มความสามารถของ Official Line Account ของลูกค้าองค์กร ให้สามารถติดต่อผู้บริโภคได้เป็นจำนวนมาก มีฟังก์ชั่นในการติดต่อแบบ One to One สามารถ Retargeting ลูกค้าได้ เปิด API เพื่อให้ธุรกิจนำไปพัฒนาต่อยอดได้มากขึ้น และเปิดระบบ Pay by Official Account รองรับซื้ขายจ่ายเงินได้ทันที
PainPoint ที่ 3 คือ การจัดการด้านดิจิทัลเป็นปัญหากับกลุ่ม SME ซึ่งปัจจุบัน SME กว่า 2.8 ล้านราย มีเพียง 500,000 รายที่ใช้งานดิจิทัลได้ เป้าหมายคือ Line จะช่วย SME ให้ใช้งานดิจิทัลมากขึ้น ผ่านเครื่องมือ เช่น Line@ ที่ปัจจุบันให้บริการฟรี แต่ในอนาคตจะมีค่าใช้จ่ายเล็กน้อย (ประมาณ เม.ย. นี้)
3 ธุรกิจสร้างรายได้
อริยะ บอกว่า ธุรกิจ 3 ส่วนที่สร้างรายได้ให้กับ Line คือ กลุ่มแรก เกมและสติกเกอร์ มีเกมจำนวน 20 เกมให้บริการ มีผู้ใช้เล่นเกม 23 ล้านราย กลุ่มที่ 2 คือ ลูกค้าองค์กร ผ่านบริการ Official Account และ สติกเกอร์แบรนด์ต่างๆ และกลุ่มธุรกิจที่ 3 คือ Line Content คือ Line TV จำนวน 7.2 ล้านดาวน์โหลด , Line Music จำนวน 5 ล้านดาวน์โหลด
รวมถึงอีกส่วนสำคัญที่จะเป็นเครื่องมือช่วยสร้างรายได้ในอนาคตคือ Line Pay มีผู้ใช้ประมาณ 1 ล้านราย อนาคตจะเป็น e-Wallet ผูกกับบัญชีธนาคาร ใช้ซื้อของทั้งออนไลน์และออฟไลน์
Line Beyond Chat ก้าวที่สำคัญของ Line จากแอพแชท สู่แพล็ตฟอร์มบริการออนไลน์ หนึ่งในบริการที่มาเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคได้อย่างแนบเนียนและกำลังจะกลายเป็นส่วนสำคัญในชีวิตประจำวันมากขึ้น ต้องจับตามองแบบห้ามกระพริบ