5 กลยุทธ์พลิกฟื้น ‘โรงหนัง’ เติบโตก้าวกระโดด “เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์” ตอบรับกระแสพร้อมสร้างความแข็งแกร่งให้แบรนด์พันธมิตรแบบวิน-วิน

  • 1.4K
  •  
  •  
  •  
  •  

 

หลายสัญญาณบ่งบอกถึงการฟื้นตัวของประเทศหลังจากเผชิญกับวิกฤตโรคระบาดมาอย่างยาวนาน ผู้คนเริ่มกลับมาทำงาน กลับมาท่องเที่ยวแทบจะเป็นเหมือนปกติแล้ว สะท้อนภาพได้ชัดเจนกับการที่ผู้คนทยอยเดินเข้าชมโรงภาพยนต์กันหนาตามากขึ้น เหมือนกับว่าโหยหาบรรยากาศต่างๆ ของโรงหนังที่ห่างหายไปนาน บ่งบอกชัดเจนว่าธุรกิจโรงหนังได้กลับมาแล้วในปีนี้และปีหน้า

สอดรับกับข้อมูลตัวเลขจาก MI LEARN LAB โดย MI Group ซึ่งทำการวิเคราะห์ตัวเลขกลางระหว่างข้อมูลของ DAAT และ Nielsen คาดการณ์มูลค่ารวมการใช้สื่อจนถึงสิ้นปี 2565 ว่าจะอยู่ที่ 81,813 ล้านบาท เติบโต +7.4% ขณะที่สื่อโรงภาพยนตร์ มีเม็ดเงินโฆษณาเติบโตเช่นกัน โดยจากปี 2021 มีมูลค่าอยู่ที่ 2,085  ล้านบาท และคาดการณ์ว่าสิ้นปี 2022 นี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 2,462 ล้านบาท (อ่านข่าวเพิ่มเติมปัจจัยที่มีผลอย่างชัดเจนที่ทำให้สื่อโรงภาพยนตร์ฟื้นคืน ไม่เฉพาะแค่ผู้คนคิดถึงประสบการณ์การชมภาพยนตร์ในโรงหนังเท่านั้น แต่ยังประกอบด้วยหลายปัจจัยที่สนับสนุนให้ธุรกิจโรงหนังกลับมาคึกคัก ซึ่งเราสามารถถอดรหัสความสำเร็จการผลักดันธุรกิจจอเงินได้จากผู้นำที่ยืนหนึ่งมาตลอดได้จาก ‘เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์’ หรือ บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) 5 กลยุทธ์สำคัญที่ผลักดันธุรกิจโรงภาพยนตร์เพื่อให้สอดรับกับการเติบโตของธุรกิจโรงภาพยนตร์ บนสภาพแวดล้อมที่ผู้คนกลับมาใช้ชีวิตปกติ

 

5 กลยุทธ์ผลักดันธุรกิจโรงหนังเติบโต โอบรับชีวิต Normal is back

1.วาไรตี้คอนเทนต์ ‘ไทย-เทศ-บิ๊กอีเวนต์’ คับคั่ง

เรื่องของความหลากหลายของคอนเทนต์ “เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์” โดดเด่นมานาน โดยเฉพาะหนังฟอร์มใหญ่จากต่างประเทศ ที่เมื่อไหร่มีหนังใหม่เข้า เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ จะเป็นโรงที่ผู้คนนึกถึงเป็นอันดับแรก เช่นค่ายมาร์เวล Spider-Man No Way Home และ Dr. Strange In The Multiverse of Madnessก็กลับมาทำรายได้ถล่มทลายมากกว่า 300 ล้านบาท หนังไทยก็คึกคักไม่แพ้กัน “บุพเพสันนิวาส” ทำรายได้ประมาณ 400 ล้านบาทเลยทีเดียว นอกจากนี้ ในช่วงปลายปี ยังมีอีก 2 หนังฟอร์มใหญ่ ได้แก่ Black Panther Wakanda Forever (9 พฤศจิกายน) และ Avatar The Way Of Water (14 ธันวาคม) ซึ่งคาดการณ์ว่าจะทำรายได้ในระดับ 300 ล้านบาทขึ้นไป

 

 

ไม่เพียงแค่นั้น เร็วๆ นี้ทาง เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ เองก็วางแผนที่จะสร้างหนัง Regional Film มาเพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นให้อุตสาหกรรมคึกคักมากขึ้น เป็นการตอบโจทย์ทั้งตลาดแมสและตลาด Localization มากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาก็ประสบความสำเร็จกับการสร้างหนังมาแล้วหลายเรื่อง อาทิ อีเรียมซิ่ง ส้มป่อย มนต์รักวัวชน ฯลฯ ที่สำคัญ นอกจากจะเป็นการเจาะตลาดในภูมิภาคได้แล้ว คอนเทนต์เหล่านี้ยังสามารถส่งออกและสร้างรายได้ในต่างประเทศอีกด้วย

 

 

ความวาไรตี้ของหนังไม่ได้มีแค่หนังฝรั่งหรือหนังไทยเท่านั้น ต้องยอมรับว่า “หนังอินเดีย” ก็มาแรงสำหรับคนไทยไม่แพ้กัน ซึ่ง เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ เป็นโรงภาพยนตร์เดียวในไทยที่ฉายและฉายอย่างต่อเนื่อง และฉายพร้อมกันกับประเทศอินเดีย มากกว่า 20 เรื่องต่อปี และได้รับการตอบรับจากคนดูเป็นอย่างดี พร้อมกับมีแผนขยายสาขาในการฉายจากเดิม 20 สาขา เป็น  40-50 สาขา

 

 

และใช่ว่าจะมีแต่คอนเทนต์ภาพยนตร์เท่านั้น แต่ยังมีการนำเสนอคอนเทนต์ทางเลือก (Alternative Content) อีก ไม่ว่าจะเป็น การแสดงสดในรูปแบบ Live Streaming จากต่างประเทศ มาให้ชมในโรงภาพยนตร์จอใหญ่ อาทิ งานประกาศผลรางวัลออสการ์, การแข่งขันกีฬา Super Bowl หรือการแสดงคอนเสิร์ตจากเกาหลี รวมไปถึง Exclusive Content ที่ร่วมกับ True ซึ่งเตรียมจะเข้าฉายเฉพาะโรงIMAX ที่เดียว

 

 

2.เทคโนโลยีก้าวล้ำ สอดรับสังคมดิจิทัล

เทคโนโลยีสร้างประสบการณ์ที่ดีและเพิ่มอรรถรสในการรับชมภาพยนตร์ได้ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ยืนหนึ่งในเรื่องนี้มาตลอด เทคโนโลยีไหนที่ว่าดีที่สุดใหม่ที่สุดจะสามารถมาดูที่ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ได้ ไม่ว่าจะเป็น โรงภาพยนตร์จอยักษ์ IMAX, โรงหนังสี่มิติ 4DX , โรงหนังสามจอ ScreenX และล่าสุดเตรียมเปิดตัวในปลายปีนี้ ได้แก่ โรงภาพยนตร์ IMAX with LASER และ ScreenX PLF ซึ่งจะสร้างประสบการณ์ที่แปลกใหม่ให้กับการรับชมคอนเทนต์ให้สนุกมากยิ่งขึ้น

 

 

และไม่เฉพาะเทคโนโลยีการรับชมภาพยนตร์เท่านั้นที่ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ จะไม่หยุดพัฒนาตัวเอง แต่ยังมุ่งมั่นที่จะตอบโจทย์พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเพื่อให้สอดรับกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภคที่โอบรับสังคมดิจิทัลมากขึ้น เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ มีการชำระเงินในรูปแบบ Cashless ประมาณ 95%  มีทั้งพร้อมเพย์  Wallet บัตรเครดิต เดบิต BNPL รวมถึงการซื้อผ่านแอปพลิเคชั่นต่างๆ โดยตั้งเป้าเป็น Cashless Cinema 100% ภายในสิ้นปีนี้ 2022 และตั้งเป้าใหม่เป็น Mobile Ticketing 100% ภายในปีหน้า 2023 นอกจากนี้ ยังมีระบบซื้อตั๋วผ่านเครื่อง Smart Ticket เครื่องอ่านตั๋วหนังแบบ QR Code ด้วย ซึ่งตั้งเป้าให้ครบทุกสาขาภายในสิ้นปี 2022 นี้เช่นกัน

 

 

จุดที่น่าสนใจมากกว่าการพาลูกค้าไปยังระบบออนไลน์มากขึ้น นอกเหนือการสร้างความสะดวกสบายให้กับลูกค้าในยุคดิจิทัลแล้ว ก็คือทำให้สามารถรวบรวม First Data จากลูกค้าได้ เพราะโรงภาพยนตร์คือธุรกิจที่มีลูกค้าหลากหลายกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นเพศใด หรืออายุเท่าไหร่ เรียกว่าครอบคลุมทุกเซกเมนต์ของผู้บริโภค ซึ่งจุดนี้จะเป็นประโยชน์มากขึ้นในการนำมาใช้วิเคราะห์เพื่อสร้างแคมเปญการตลาดที่ตอบโจทย์ตรงใจลูกค้าต่อไป

 

3.ระบบสมาชิกแข็งแกร่ง ผ่านกลยุทธ์ Co-Campaign

อีกหนึ่งความแข็งแกร่งของ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ก็คือระบบสมาชิกจำนวนมาก โดยระบบ M Pass มีลูกค้าสมัคร Subscription ดูหนังรายเดือน มากกว่า 170,000 ราย ซึ่งถือว่าเป็นผู้พัฒนาขึ้นเป็นเจ้าแรกและเจ้าเดียวในไทย พร้อมกับมีแผนก้าวสู่ 300,000 รายภายในสิ้นปีนี้ ความสำเร็จของระบบสมาชิกที่ให้การสนับสนุนมากกว่าแสนคนนอกเหนือจากปริมาณคอนเทนต์ที่มากมายและหลากหลายแล้ว ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะ กลยุทธ์ Co-Campaign ที่ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ร่วมกับ Sponsor ชั้นนำ ไม่ว่าจะเป็น เช่น KTC ,เครื่องดื่ม RockStar และ True รวมถึงโปรโมชั่นต่าง ๆ ก็สนับสนุนให้ฐานสมาชิก M Pass เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ยังมีสมาชิก M Generation หรือบัตรสะสมคะแนนกว่า 3 ล้านราย

 

 

ด้วยฐานสมาชิกจากทั้งสองระบบ ทำให้ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ มี Data ของลูกค้าจำนวนมากหลากหลายกลุ่ม ทำให้มีข้อมูลเพียงพอที่จะเข้าใจถึงความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าได้ และนำมาพัฒนาต่อยอดเป็นแคมเปญการตลาด หรือจัดโปรโมชั่นดีๆ ส่งไปให้ตอบโจทย์ความต้องการลูกค้าได้แบบ Personalized ที่เป็น One to One Offering ที่เฉพาะเจาะจงได้มากขึ้น ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์สำคัญในการทำธุรกิจยุคดิจิทัล จึงสะท้อนภาพได้ชัดเจนว่า เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ เป็นตัวแทนธุรกิจสื่อในโรงภาพยนตร์ที่สามารถเข้าถึงลูกค้าครอบคลุมทุกเซกเมนต์ และเข้าใจอินไซต์ลูกค้าเป็นอย่างดี ดังนั้น ทั้งแบรนด์และนักการตลาดทั้งหลายจึงเลือกที่จะร่วมพัฒนาแคมเปญการตลาดผ่านสื่อโฆษณาโรงภาพยนตร์ไปกับเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ มาเป็นอันดับ 1 เสมอ

 

4.ผสาน Online to On Ground อย่างไร้รอยต่อ

นอกเหนือจากการสร้างความแข็งแกร่งของการเป็นสื่อชั้นนำของธุรกิจโรงภาพยนตร์แล้ว เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ยังสร้างความหลากหลายของการส่งเสริมแคมเปญการตลาดในทุกมิติด้วย โดยสามารถจัดอีเวนต์ On Ground พร้อมนำเสนอแบบ Tailor-made Marketing ให้กับแบรนด์ต่างๆ อย่างสร้างสรรค์ โดยในแง่การทำ Sponsorship ร่วมกับพาร์ทเนอร์ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ศึกษาโจทย์ทำร่วมกันกับแบรนด์เพื่อสร้าง Convenience ให้กับลูกค้าในทุก ๆ มิติ รวมไปถึงการมอบ Benefit ในแบบ CRM ให้ลูกค้าของพาร์ตเนอร์ได้รับประสบการณ์แบบ Exclusive และ Privilege เช่น ส่วนลด ดูหนังฟรี ดูหนังก่อนใคร สามารถคัสโทไมซ์ได้ตามเป้าหมายของพาร์ทเนอร์

ยกตัวอย่าง used case ที่ทำร่วมกับ Krungsri IMAX ซึ่ง เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ และ ธนาคารกรุงศรีเป็น Naming Sponsorship กันมากว่า 17 ปี ทำแคมเปญและมอบสิทธิพิเศษให้กับลูกค้ากรุงศรีและลูกค้าเมเจอร์มามากมาย เช่น การซื้อตั๋วหนังในราคาพิเศษ การทำ CSR พาน้องดูหนัง การสร้างแบรนด์ด้วยแคมเปญ KRUNGSRI IMAX Video Contest หรือการทำ CRM ซื้อตั๋วหนังผ่าน แอปพลิเคชัน UChoose และอื่น ๆ อีกมากมาย

 

 

ทั้งนี้ การจัดแคมเปญ On Ground มีความสำคัญมากขึ้น โดยเฉพาะหลังจากที่ผู้คนเริ่มกลับมาใช้ชีวิตปกติกันแล้ว ผู้บริโภคมี Pent-up demand มากขึ้น และอยากออกมาใช้ชีวิตนอกบ้าน ดังนัน จากกิจกรรมที่เคยทำแบบ Online สามารถต่อยอดหรือขยายมาสู่ On Ground มากขึ้น ซึ่งสามารถสร้างพลังEngagement ได้ดีอย่างไร้รอยต่อ ซึ่งสามารถสร้างประสบการณ์ได้ดีกว่าและมากกว่าแก่ลูกค้าได้

มากไปกว่านั้น เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์   ยังมีจุดแข็งสำคัญในเรื่อง การเป็น Two-way Communicationเพราะมีทั้ง  Lounge ที่ดูแลลูกค้า มี Movie Licensing Character และกิจกรรมรูปแบบต่าง ๆ ออกแบบให้สอดรับในแต่ละกลุ่มลูกค้า มีสื่อ O2O (Offline to Online) ไปจนถึง Integrated Marketing ที่ครบวงจรมากกว่าสื่ออื่นๆ ที่สำคัญคือเข้าถึงลูกค้าได้ครอบคลุมทุกกลุ่มทุกเซกเมนต์ อันนี้คือจุดแข็งสำคัญของสื่อในโรงภาพยนตร์เลย

 

 

และนอกเหนือจากสาขาโรงภาพยนตร์ที่มีจำนวนสาขามากครอบคลุมทั่วประเทศแล้ว ในแง่ของสื่อออนไลน์เองก็มี Facebook Page ซึ่งรวมกันทุกสาขามียอดผู้ติดตาม มากกว่า 15 ล้านฟอลโลวเวอร์ และมี Line OA : Major Group 17 ล้านฟอลโลวเวอร์  และเร็วๆ นี้ กำลังจะเปิด Line OA แยกแต่ละสาขาเพื่อสื่อสารกับลูกค้าในพื้นที่โดยตรงซึ่งสามารถต่อยอดไปทำ Localize Marketing ได้

ดังนั้น การที่เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์มี On Ground Marketing ที่แข็งแกร่ง สะท้อนว่าการทำ Naming Sponsor ร่วมกับแบรนด์ธุรกิจต่างๆ จะสามารถสร้าง Brand Awareness ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะที่ Integrated Marketing ที่ครบวงจรก็เอื้อต่อการทำกิจกรรม CRM กับลูกค้าของแบรนด์ได้เป็นอย่างดีด้วย

 

5.เสริมพลัง Soft Power ไทย สู่ระดับสากล

อีกหนึ่งความภาคภูมิใจของวงการภาพยนตร์ไทย ล่าสุด เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ได้เป็นเจ้าภาพงาน CineAsia 2022” ในวันที่ 5-8 ธันวาคม 2565  ที่ Icon Siam และโรงภาพยนตร์ Icon CineConic ซึ่งเป็นงานอุตสาหกรรมภาพยนตร์ระดับนานาชาติ ที่ผู้สร้างภาพยนตร์ระดับฮอลลีวู้ดหลายราย และโรงภาพยนตร์ทั่วทั้งเอเชียจะมาร่วมงาน และเป็นโอกาสที่ผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมหนังไทยจะได้ Showcaseกันในงานอย่างคับคั่ง

ที่สำคัญ จะยังถือเป็นการนำเสนอ Soft Power ด้านคอนเทนต์ภาพยนตร์ของไทย ก่อให้เกิดธุรกิจต่อเนื่องและประโยชน์กับหลากหลายภาคส่วน รวมไปถึงยังจะเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการกลับมาของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ธุรกิจโรงภาพยนตร์ และธุรกิจสื่อในโรงภาพยนตร์อย่างเต็มตัว สำหรับงาน CineAsia เป็นครั้งแรกที่กลับมาจัดในรอบ 3 ปี เนื่องจากสถานการณ์โควิด และเป็นครั้งที่ 2 ในประวัติศาสตร์ที่ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพในการจัดงานในครั้งนี้

 

 

ธุรกิจโรงภาพยนตร์กำลังกลับสู่ช่วงขาขึ้นแบบมีนัยยะสำคัญ พร้อมสัญญาณบวกที่ส่งผลให้แนวโน้มผลประกอบการสามารถกลับมามีกำไรเติบโตได้ในอนาคต แต่มากไปกว่าผลบวกของเศรษฐกิจ ก็คือการวางกลยุทธ์ที่แข็งแกร่งและการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งของ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ที่รับมือกับทุกอุปสรรคได้เป็นอย่างดี รวมถึงความว่องไวในการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ตามสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ประเทศเริ่มเปิดแล้ว ธุรกิจโรงภาพยนตร์ก็กำลังไปได้สวย สุดท้ายเราคงต้องจับตาต่อไปว่า เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ จะสร้างปรากฏการณ์อะไรให้เกิดขึ้นอีกบ้าง เราจะนำมารายงานต่อไปทันที.


  • 1.4K
  •  
  •  
  •  
  •