แชร์มุมมอง SC Asset ปรับองค์กรอย่างไรให้กลายเป็น Living Solutions Provider กับแนวคิดที่เริ่มจาก #คนไม่ใช่เทคโนโลยี

  • 80
  •  
  •  
  •  
  •  

 

จากสถานการณ์โลกที่ขับเคลื่อนไปด้วยดิจิทัลเทคโนโลยี ทั้งยังมีปัจจัยเสริมอย่างการแพร่ระบาดของไวรัสตั้งแต่ปี 2020 ต้องยอมรับว่าได้ส่งผลโดยตรงต่อพฤติกรรมผู้บริโภคให้เปลี่ยนเร็วขึ้นอย่างสุดขั้ว การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มีส่วนสำคัญที่ทำให้ landscape ในการทำธุรกิจไม่เหมือนเดิม จากเดิมที่ผู้บริโภคอาจจะเลือกซื้อของตามสินค้าที่มีวางจำหน่าย กลับกลายเป็นว่าทุกวันนี้ #ลูกค้า = ศูนย์กลางธุรกิจ ที่เราต้องปรับตามความต้องการของลูกค้าแทน

ในเมื่อโจทย์ธุรกิจคือ ความต้องการของลูกค้า สิ่งจำเป็นในยุคดิจิทัลจึงต้องมีเทคโนโลยี 5G เป็นองค์ประกอบสำคัญในการเดินหน้าธุรกิจไม่ให้สะดุด ซึ่ง AIS ถือว่าเป็นเครือข่ายคุณภาพของไทยและมีประสิทธิภาพสูงในการสนับสนุนทุกการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ทั้งยังมีบริการเครือข่ายครอบคลุมการให้บริการ 5G ถึง 77 จังหวัดแล้ว

โดยในงานสัมมนา AIS Business Digital Future 2021 ได้พูดถึงความสามารถของเทคโนโลยี 5G ที่มีส่วนสร้าง Ecosystem ให้ธุรกิจได้คล่องตัวขึ้นในฐานะที่เป็น Smart Digital Partner ซึ่งเทคโนโลยี 5G เป็นส่วนสำคัญที่ธุรกิจจะสามารถยกระดับจาก Physical สู่ Digital ได้ ด้วยการนำเทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการ เพื่อปรับโครงสร้างต้นทุนให้ลดลง

 

 

หนึ่งในธุรกิจที่ได้พูดถึงประสิทธิภาพของ AIS ว่ามีส่วนอย่างมากในการสร้าง Ecosystem ทำให้การเปลี่ยนแปลงสมูทขึ้น ก็คือ SC Asset ซึ่งเป็น exclusive speaker ในงานสัมมนานี้ โดยคุณณัฐพงศ์ คุณากรวงศ์ CEO, SC Asset ได้มาแชร์เรื่องราวการ transform ธุรกิจ และบทบาทใหม่ที่ปรับตัวเองจาก Property Developer (บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์) ให้กลายเป็น Living Solutions Provider (ผู้นำในการพัฒนาโซลูชั่นสำหรับการอยู่อาศัย) ได้อย่างน่าสนใจ ซึ่งต้องยอมรับว่า แนวคิดการเป็น solutions provider ถือว่าเป็น new business model ของยุคนี้ไปแล้ว

คุณณัฐพงศ์ เล่าให้ฟังว่า ก่อนที่ SC Asset จะเรียกตัวเองได้เต็มปากว่าเป็น Living Solutions Provider สิ่งสำคัญแรกๆ ที่ต้องเปลี่ยนก็คือ ต้องเปลี่ยนความคิดตัวเองให้ได้ก่อน (หมายถึงทั้งตัวเอง และองค์กร) ซึ่งต้องให้รู้สึกว่าการเปลี่ยนแปลงเป็น vision ของทุกคนไม่ใช่แค่เป้าหมาย

 

 

โลกเปลี่ยน ความต้องการเปลี่ยน วิธีการจึงต้องเปลี่ยนตาม

 

คุณณัฐพงศ์ ได้พูดว่า การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นไม่ใช่เป็นการปรับแค่เรื่องของโมเดลธุรกิจ แต่เป็นการปรับตั้งแต่ #วิธีคิด โดยยึดจุดโฟกัสมาที่ #ลูกค้าให้เป็นศูนย์กลางธุรกิจแทน ภายใต้วิสัยทัศน์ของ SC Asset ที่ย้ำมาตลอดว่า “เพื่อเช้าที่ดีของทุกคน” (For Good Moring)

การรีเซ็ตแนวคิดของคุณณัฐพงศ์ในการ transform ธุรกิจ ได้รับแรงบันดาลใจมาจากหนังสือเล่มหนึ่ง ที่ชื่อว่า ‘The Digital Matrix’ ซึ่งเป็นหนังสือที่มีส่วนในการเปลี่ยนความคิดอย่างมาก โดยในหนังสือได้ตั้งโจทย์การเปลี่ยนแปลงใหม่ที่มีผลต่อบริบทรอบข้างให้เปลี่ยนตาม ซึ่งสิ่งที่เข้ามาเป็นตัวแปรหลักของโจทย์นี้ก็คือ Digital Technology

เมื่อการขับเคลื่อนโลกเปลี่ยน พฤติกรรมคนจึงเปลี่ยน ดังนั้น สิ่งที่หนังสือเล่มนี้โยนคำถามออกมาก็คือ จากโลกยุคเดิมที่เรามัวแต่ถามตัวเองว่า เราดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับอะไร มันกลับตาลปัตรมาตั้งคำถามในโลกธุรกิจยุคใหม่ว่า “เราจะใช้ digital technology ในการแก้ปัญหาให้กับใคร?” ซึ่งเป็นคำถามที่นักธุรกิจต้องตอบให้ได้ ก่อนจะเลือกทิศทางในการ transform โมเดลธุรกิจแบบใหม่

หากสรุปมุมคิดของ คุณณัฐพงศ์แบบง่ายๆ เกี่ยวกับโมเดลธุรกิจที่ base on ความแตกต่างระหว่าง โลกยุคเก่า VS โลกยุคใหม่ ที่เห็นได้ชัดก็คือ ในโลกธุรกิจยุคเดิมจะโฟกัสที่ product + service แต่โลกธุรกิจยุคใหม่ มันคือ platform + solutions ซึ่ง solutions จะทำหน้าที่เจาะลึกความต้องการของลูกค้าแต่ละคน

“หากเราต้องการเติบโตอย่างยั่งยืน และสร้างเช้าที่ดีให้กับลูกค้าได้ เราต้องเปิดมุมมองตัวเองให้กว้างขึ้น แทนที่จะเอาธุรกิจเราเป็นศูนย์กลาง เราต้องใช้ความต้องการของลูกค้าเป็นศูนย์กลางแทน ซึ่งบ้านและคอนโดของเราก็เป็น living solutions แบบหนึ่ง เพียงแต่จะประสานกับนวัตกรรม service ต่างๆ ให้เป็น solutions เพื่อเสนอลูกค้า”

 

การทำธุรกิจยุคใหม่ #เข็มทิศ สำคัญกว่าแผนที่

 

อีกมุมหนึ่งของคุณณัฐพงศ์ ที่อธิบายความหมายได้ดีเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจในยุคใหม่ นั่นก็คือ การหันทิศให้ถูก (มีเข็มทิศดีกว่ามีแผนที่) เพราะอะไร เพราะอย่างน้อยๆ เราต้องมองให้ออกว่าควรหันหัวเรือธุรกิจไปทางไหนถึงจะดี ถึงแม้ว่าในระหว่างทางเราอาจจะต้องเจอกับอุปสรรคต่างๆ ที่เราไม่มีทางรู้เหมือนกันว่าคืออะไร ไม่ว่าจะทางลาด หรือทางชันแค่ไหน

แต่สิ่งที่ต้องเรียนรู้ก็คือ Dance with The Disruption หรือ การปรับตัวเมื่อเจอการเปลี่ยนแปลง แต่ยังโฟกัสที่ความต้องการของลูกค้าเป็นหลักเสมอ

 

 

ในภาพรวมที่ SC Asset ได้ปรับตัวมาตลอดตั้งแต่ปี 2018 กับทิศทางนี้คือเป็น Living Solution Provider หลักๆ มีอยู่ 3 ด้านด้วยกันที่ปรับเปลี่ยนอย่างชัดเจน คือ vision – direction – culture

ถึงแม้ว่าถ้าย้อนไป 4 ปี ในตอนที่ SC Asset เพิ่งเริ่มๆ ปรับทิศทางขององค์กร อาจจะยังเห็นภาพไม่ชัด ทั้งเทคโนโลยีและปัญหาของลูกค้า แต่ปัจจุบันนับตั้งแต่ที่มี pandemic disruption ของ COVID-19 ทำให้มั่นใจขึ้นว่าหันเข็มทิศของธุรกิจได้ถูกทาง ขณะเดียวกันสิ่งที่เรียนรู้อีกอย่าง ก็คือ ผู้อยู่อาศัยมีความต้องการที่เปลี่ยนไป ซึ่งมี 3 สิ่งที่เปลี่ยนไปชัดเจน คือ

  1. บ้านกลายเป็นเกือบทุกอย่าง – ฟังก์ชั่นบ้านเปลี่ยนเพราะคนใช้เวลาที่บ้านมากขึ้น ทำทุกสิ่งทุกอย่างที่บ้านได้มากขึ้น ดังนั้น ในเมื่อบ้านถูกใช้งานหนักขึ้น ความเสื่อมโทรมตามสภาพก็มากขึ้นเร็วขึ้น จึงต้องมีการบำรุงดูแลรักษาบ้าน
  2. สภาพเศรษฐกิจเปลี่ยน – เหตุการณ์ต่างๆ ส่งผลกระทบแรงทั้งสุขภาพคน และสุขภาพเงิน เราจึงต้องคิดถึงเรื่องนี้กันมากขึ้น อยู่อย่างไรให้ค่าใช้จ่ายประหยัดลง ดังนั้น เราต้องคิดโจทย์คิดคำตอบให้กว้างขึ้นกว่าเดิม
  3. Location คือ อยู่ตรงไหนก็ได้ที่เดลิเวอรี่เข้าถึง – บ้านและคอนโดสมัยก่อนอาจจะต้องให้ความสำคัญกับเรื่อง location มากพอๆ กับคุณภาพ ต้องติดถนนใหญ่, ต้องใกล้ตลาด โรงพยาบาล หรือ แหล่งชุมชน ฯลฯ แต่ในยุคนี้มันกลายเป็น location – location – solutions

 

#รู้ใจคลับ Solution Platform ที่พัฒนาและดูแลลูกบ้านเอง

 

คุณณัฐพงศ์ ได้พูดถึงโซลูชั่นใหม่จาก SC Asset ที่พัฒนาขึ้นมาเอง เพื่อตอบโจทย์ pain point ของผู้พักอาศัยได้ ชื่อว่า #รู้ใจคลับ ที่หลักๆ จะช่วยในเรื่องการบำรุงดูแลบ้าน ถือว่าเป็นอีกหนึ่งมุมคิดที่ค่อนข้าง success เพราะถ้าย้อนไปดูการซื้อขายบ้านหรือคอนโดในสมัยก่อน ทุกๆ อย่างจะจบลงตรงที่ #การปิดดีลโอนกรรมสิทธิ์ให้ลูกบ้าน

แต่สำหรับ #รู้ใจคลับ เป็นการ offer ลูกค้าที่ซื้อบ้านและคอนโด โดยจะเข้าเป็นสมาชิกในคลับนี้ทันที นอกจากจะช่วยดูแลบ้านให้ ยังเพิ่มความสะดวกสบายให้กับลูกค้าด้วย ไม่ว่าจะเป็นการทำความสะอาด, ล้างท่อ, หาช่างซ่อม ฯลฯ

ทั้งนี้ รู้ใจคลับ จะมีทั้งแบบฟรี และซื้อ ทั้งแบบ one time, subscriptions ซึ่งที่ผ่านมามีลูกค้า 1 ใน 3 ที่เลือกเป็นแบบ monthly active users (รายเดือน) ขณะที่คุณณัฐพงศ์ ได้พูดถึง data ของลูกค้าว่าเป็นเรื่องใหญ่ที่ลูกค้ากังวล แม้ว่าจะต้องการความสะดวกสบายมากแค่ไหนก็ตาม pain ตรงนี้ SC Asset จึงตัดสินใจพัฒนาเซอร์วิสแพลตฟอร์มขึ้นมาเอง และเลือกที่จะดูแล data ความเป็นส่วนตัวของลูกค้าด้วยตัวเอง นอกจากจะสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าได้ ตอบโจทย์เรื่องการดูแลผ่านโซลูชั่นได้ ยังสร้าง Recurring Income (รายได้จากเพื่อเช่า) ให้กับ SC Asset อีกทางด้วย

ดังนั้น ในยุคที่จำเป็นต้องปูทางธุรกิจให้เป็น digital ecosystem จึงจำเป็นต้องเพิ่มความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ที่เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ AIS ก็มีส่วนสำคัญในการทำให้แพลตฟอร์มของ SC Asset ไม่สะดุด บวกกับความร่วมมือกับ experts อื่นๆ เพื่อเสิร์ฟโซลูชั่นให้กับลูกค้าได้ครบที่สุด หรือที่เรียกว่าเป็นการทำ Co-creation ด้วยการเชิญให้เขามาร่วมกับแพลตฟอร์มรู้ใจคลับ ซึ่งเป็นวิธีการที่จำเป็นสำหรับ landscape ธุรกิจในยุคนี้

 

 

สร้างพลังงานบวกเพื่อเอาชนะ #ความต้องการลูกค้า

 

คุณณัฐพงศ์ ยังฝากไปถึงการแข่งขันของธุรกิจยุคนี้ด้วยว่า ในเมื่อศูนย์กลางธุรกิจ คือ ลูกค้าและความพึงพอใจของลูกค้า ดังนั้น การแข่งขันจึงเป็นการเอาชนะความต้องการลูกค้าให้ได้

สำหรับ SC Asset เลือกที่จะสร้าง #พลังงานบวก ในองค์กรสำหรับการแข่งขันเพื่อเอาชนะใจลูกค้า เพราะความต้องการของคนเราเปลี่ยนไปทุกวัน และในปัจจุบันความต้องการก็หลากหลายมากขึ้น อย่างที่ SC Asset มีโปรเจ็กต์บ้านคนโสด ที่จะตอบโจทย์กลุ่มคน Gen X, Gen Y ที่ชอบบ้านหลังใหญ่แต่ห้องนอนไม่ต้องใหญ่มาก ซึ่งก็เป็นหนึ่งในดีไซน์ใหม่ที่ค่อนข้างหลากหลายของยุคนี้ รวมไปถึงโซลูชันเซอร์วิสอื่นๆ ที่เพิ่มเข้ามาตาม pain ลูกค้าที่เกิดขึ้น

 

การเปลี่ยนแปลงในองค์กรสิ่งสำคัญ #เริ่มจากคน ไม่ใช่เทคโนโลยี

 

ในเวอร์ชั่นของ SC Asset สำหรับการเปลี่ยนแปลง (transformation) องค์กรในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาท ความท้าทายที่สุดคือ หลายคนรู้ว่าโลกกำลังเปลี่ยน แต่มีหลายคนที่ไม่รู้สึกว่า #ต้องเปลี่ยนแปลง

ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงที่ประสบผลสำเร็จ อันดับแรกคือ ต้องเริ่มมาจาก ‘คนก่อนเสมอ’ ตราบใดที่องค์กรยังขับเคลื่อนด้วยคน

 

 

โดยต้องทำให้พวกเขา ‘รู้สึก’ อยากจะเปลี่ยนแปลงก่อน ขณะเดียวกันเราก็ต้องเพิ่มความเข้าใจคนในองค์กรด้วย ทั้งความรู้สึก ความคิด และต้องเข้าใจว่ามนุษย์มีการยึดติดกับความคิดเดิมๆ และอยู่บนทักษะเดิม ดังนั้น ตราบใดที่มนุษย์ยังทำงานกับมนุษย์ ‘ความเข้าใจ = สิ่งสำคัญที่สุด’

จากนั้นค่อยๆ ขยับวงมาที่ #ลูกค้า ต้องท่องให้ขึ้นใจว่า เราจะไม่สามารถเป็น Solutions Provider ที่ดีได้เลย หากเราไม่เข้าใจลูกค้า ไม่เข้าใจ pain point ของพวกเขาจริงๆ

มีอีกหนึ่งมุมมองของคุณณัฐพงศ์ ที่น่าสนใจที่พูดว่า ทุกวันนี้ยังไม่มีโซลูชั่นสำเร็จรูป ดังนั้น ในขณะที่เราต้องการเสิร์ฟทางออกให้ลูกค้าตาม pain ต่างๆ บางทีต้องหยุดแล้วหันไปมองข้างทางบ้างว่า ผลลัพธ์เป็นอย่างไร เป็นการ recheck ว่าโซลูชั่นนั้นๆ เหมาะสมกับปัญหาที่ลูกค้าเผชิญอยู่จริงๆ

ทั้งนี้ คุณณัฐพงศ์ ได้ทิ้งท้ายด้วยการให้กำลังใจผู้ประกอบการที่เผชิญกับวิกฤต COVID-19 ทั้งยังย้ำแง่มุมคิดที่น่าสนใจว่า สิ่งสำคัญในเวลานี้คือ ต้องรอดให้ได้ก่อน เมื่อพนักงานพร้อม สุขภาพพร้อม สุขภาพการเงินพร้อม หลังจากนี้จะมีโอกาสอีกมากมายรอเราอยู่ ซึ่งในมุมของ SC Asset คือ #รอด และพร้อมจะเติบโตหลังช่วงเวลาวิกฤต

 

 

 


  • 80
  •  
  •  
  •  
  •  
CLOSE
CLOSE