Sea (ประเทศไทย) ติดปีกผู้ประกอบการหญิงในไทย ผ่านโครงการ ‘Women Made’ ทลายข้อจำกัด ขยายพื้นที่จุดประกายไอเดียต่อยอดธุรกิจ

  • 1.9K
  •  
  •  
  •  
  •  

 

ในประเทศไทยคงไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่สำหรับการที่มีผู้หญิงเป็นเจ้าของกิจการ เป็นผู้ประกอบการ หรือก้าวขึ้นมาทำหน้าที่เป็นผู้นำแทนผู้ชายในหลาย ๆ แง่มุม แต่รู้หรือไม่ว่าเมื่อเทียบกับผู้ชายแล้วยังถือว่าน้อยกว่ามาก จากรายงาน Global Entrepreneurship Monitor พบว่า 70% ของผู้ประกอบการหญิงในประเทศไทยขาดความมั่นใจและกลัวความล้มเหลว ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการเติบโตทางธุรกิจและการสร้างนวัตกรรมในธุรกิจของตน ผู้หญิงกว่าครึ่งกล่าวว่าพวกเขาขาดโอกาสในการเข้าถึงที่ปรึกษา (Mentor) ซึ่งเป็นส่วนที่ช่วยให้เหล่าผู้ประกอบการทั้งหลายไปสู่เป้าหมายความสำเร็จที่วางไว้ได้ง่ายขึ้น

 

 

 

ผู้ประกอบการผู้หญิงต้องก้าวข้ามข้อจำกัดทลายความกลัวสู่ความกล้า

ผู้หญิงไทยเป็นกลุ่มที่พบปัญหาการลดลงของรายได้และสุขภาพจิตที่แย่ลงมากกว่ากลุ่มผู้ชาย ข้อมูลดังกล่าวมาจากการสำรวจ Thai Digital Generation 2021 ‘ฉายภาพอนาคตประเทศไทยหลังวิกฤตโควิด-19’ จาก Sea (Group) และ World Economic Forum นี่อาจสะท้อนความตึงเครียดของผู้หญิง ที่มักต้องทำงานนอกบ้านและทำหน้าที่ดูแลสมาชิกในครอบครัวด้วยในเวลาเดียวกัน

หน้าต่างบานแรกที่ผู้ประกอบการหญิงต้องกล้าที่จะเปิดใจเอาชนะความกลัว เปิดโอกาสต่อยอดธุรกิจ เพื่อความมั่นคงต่อธุรกิจ จึงมีโครงการ Women Made’ พร้อมมุ่งทลาย ‘ความกลัว’ ที่เป็นอุปสรรคสำคัญของผู้หญิงในฐานะผู้ประกอบการ เป็นแนวคิดจาก Sea ประเทศไทย (https://www.seathailand.com/) บริษัทชั้นนำระดับโลกด้านการให้บริการอินเทอร์เน็ตแพลตฟอร์มซึ่งเป็นเจ้าของ Garena, Shopee และ SeaMoney ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA) ซึ่งริเริ่มโครงการ Women Made ขึ้นมา เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการหญิงในประเทศไทย ให้สามารถใช้เทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์ในการต่อยอดธุรกิจและสร้างสรรค์นวัตกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

จุดเด่นของโครงการที่ไม่มองข้ามพลังของผู้ประกอบการหญิง

ประเทศไทยยังมีซีอีโอเป็นผู้หญิงถึง 24% สูงเป็นอันดับ 3 ของโลก  (อ้างอิง: แกรนท์ ธอนตัน (ประเทศไทย) สะท้อนให้เห็นว่า ผู้ประกอบการหญิงในประเทศไทยมีจำนวนมากในปัจจุบัน พวกเธอมีศักยภาพที่จะพัฒนาธุรกิจให้เติบโตในระดับประเทศหรือนานาชาติ และจะมีบทบาทในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องและเศรษฐกิจของประเทศได้เป็นอย่างดี หากมีการสนับสนุนที่เอื้ออำนวยจากทั้งภาครัฐและเอกชน นั่นสามารถช่วยฉายภาพแนวคิดโครงการ ‘Women Made’ ให้ชัดขึ้นว่า เป็นอีกโครงการที่จะเป็นกระบะทราย (Sandbox) สำหรับผู้ประกอบการหญิงที่มีไฟและต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สามารถขยายสู่กลุ่มลูกค้าที่กว้างขึ้นได้จริง หากผู้ประกอบการหญิงคนใดที่พบว่าตนเองต้องการพัฒนาธุรกิจ ทั้งในแง่การเพิ่มมูลค่า โดยการใช้ความคิดสร้างสรรค์ และการสเกล สร้าง growth ด้วยเทคโนโลยี หรือพบว่าตนเองกลัวที่จะขยายธุรกิจหรือสร้างสรรค์นวัตกรรมสินค้าใหม่ ๆ ออกมาแม้ว่าจะมีไอเดียที่ดี หรือไม่รู้ว่าจะทำได้อย่างไร โครงการ Women Made นับเป็นโครงการที่ตอบโจทย์ เพราะได้รับการดีไซน์ให้เหมาะกับผู้ประกอบการหญิงโดยเฉพาะ โดยนำความเชี่ยวชาญของ Sea (ประเทศไทย) มาผนวกกับองค์ความรู้จากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA) ออกมาเป็นโปรแกรมเทรนผู้ประกอบการระยะเวลา 2 เดือนเต็ม เพื่อนำเทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์มาต่อยอดแบรนด์และผลิตภัณฑ์ และนำสินค้าที่ถูกพัฒนาหรือปรับขึ้นใหม่ขึ้นมาขายจริงบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซอย่างช้อปปี้

ความน่าสนใจคือโครงการไม่เพียงเน้นจุดประกายให้ผู้ประกอบการหญิงเกิดแรงบันดาลใจใหม่ ๆ ในการต่อยอดธุรกิจเท่านั้น ยังเปิดโอกาสให้สร้างสรรค์ไอเดียใหม่ ๆ หรือผู้ประกอบการมือใหม่ก็สามารถเข้ามาหาความรู้เรื่องอีคอมเมิร์ซได้เช่นกัน พร้อมโอกาสในการเข้าร่วมอบรมมาสเตอร์คลาสพัฒนาธุรกิจและผลิตภัณฑ์จากผู้เชี่ยวชาญชั้นนำ ครอบคลุมถึงเงินสนับสนุนแบรนด์ในการพัฒนาสินค้าและทดลองขายบน Shopee แบรนด์ละ 25,000 บาท พร้อมเปิดโอกาสการประชาสัมพันธ์แบรนด์กับสื่อพันธมิตรของโครงการฯ

 

คุณนก มณีรัตน์ อนุโลมสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Sea (ประเทศไทย)

 

นำทัพการมอบโอกาสโดย คุณนก มณีรัตน์ อนุโลมสมบัติ ซึ่งเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Sea (ประเทศไทย) กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของโครงการ Women Made ว่า “เดิมที Sea (ประเทศไทย) และช้อปปี้ ซึ่งเป็นธุรกิจอีคอมเมิร์ซภายในเครือ ได้มีการทำโครงการต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการไทยอยู่แล้วมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกับกลุ่ม SMEs ทั้งนี้ ยังไม่เคยมีโครงการที่ทำขึ้นมาเพื่อกลุ่มผู้ประกอบการหญิงโดยเฉพาะ เมื่อเราได้มีการทำ Research และพบว่าอุปสรรคในการทำธุรกิจของกลุ่มผู้ประกอบการหญิงนั้น มีบางแง่มุมที่แตกต่างไปจากอุปสรรคทั่ว ๆ ไปในการทำธุรกิจ และมีปัญหาที่มักเกิดขึ้นกับผู้ประกอบการหญิงโดยเฉพาะซึ่งจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุน เราจึงริเริ่มโครงการ Women Made ขึ้นมา”

Women Made เปรียบเสมือนสนามทดลองที่เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการได้ลงมือทำอะไรใหม่ ๆ เพื่อต่อยอดธุรกิจ “เราสร้างสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับการทดลองทำอะไรใหม่ ๆ โดยไม่ต้องกลัวความผิดพลาด จะมีเมนเทอร์ที่คอยให้ความช่วยเหลือและคำแนะนำตลอดทั้งการดำเนินโครงการ จากผู้สมัครทั้งหมดเราจะใช้ขั้นตอนการคัดเลือกด้วย 3 ข้อหลัก คือ  1. Business Performance: มีประสบการณ์การขายสินค้าหรือทำธุรกิจและสินค้ามีความโดดเด่น  2. Online Scale Potential: ธุรกิจมีศักยภาพในการเติบโตบนโลกออนไลน์  3. Social Impact: ธุรกิจมีความตั้งใจและเป้าหมายในการสร้างความยั่งยืนและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมหรือสิ่งแวดล้อมเพื่อสุดท้ายแล้ว ทั้ง 10 แบรนด์จากผู้ประกอบการหญิงที่เข้าร่วมโครงการกับเรา จะเติบโตและเดินต่อไปได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน”

 

คุณชาคริต พิชญางกูร ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA)

 

คุณชาคริต พิชญางกูร ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA) กล่าวเสริมว่า “ปัจจัยสำคัญที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เกิดการเติบโตคือความคิดสร้างสรรค์และเทคโนโลยี และผู้ประกอบการทุกคนต้องปรับตัว ต่อยอดต้นทุนวัฒนธรรมและภูมิปัญญาสู่ผลิตภัณฑ์และบริการ ทั้งยังสามารถร่วมพัฒนารายได้และคุณภาพชีวิตของผู้คนในชุมชนโดยรอบ เอื้อให้เกิดระบบนิเวศสร้างสรรค์อย่างแท้จริง”

Women Made นับเป็นอีกหนึ่งโครงการที่น่าสนใจ สำหรับผู้ประกอบการหญิงที่ต้องการปรับตัว เติบโต และทำธุรกิจได้อย่างมีความมั่นใจ โดยเปิดรับสมัครผู้ประกอบการหญิงเข้าร่วมโครงการแล้ว ตั้งแต่วันนี้ – 5 ตุลาคม 2565  สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมและสมัครได้ผ่านทาง https://forms.gle/EbbSYqBEDqtkUqTS8

 

ระยะเวลาโครงการ

  • เปิดรับสมัคร: 5 กันยายน – 5 ตุลาคม 2565
  • ประกาศผลผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ: ภายใน 17 ตุลาคม 2565
  • ร่วมอบรมมาสเตอร์คลาส (ออนไลน์) : 5 – 6 พฤศจิกายน 2565
  • การหารือ One-on-one Consultation ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญเพื่อพัฒนาสินค้า (ออนไลน์) : 19, 26 พฤศจิกายนและ 10 ธันวาคม 2565
  • วางขายสินค้าบนแพลตฟอร์มช้อปปี้: ธันวาคม 2565 – มกราคม 2566

การทลายกรอบหรือข้อจำกัดกับการเป็นผู้หญิงในเส้นทางธุรกิจจะไม่เป็นปัญหาอีกต่อไป เชื่อว่าในอนาคต บางประเทศจะมีนโยบายจากภาครัฐฯ และโครงการที่เตรียมสภาวะแวดล้อมที่สนับสนุนผู้ประกอบการหญิง เพื่อให้สังคมต้องยอมรับว่าแท้จริงแล้วผู้หญิงสามารถเป็นผู้ประกอบการที่สามารถประสบความสำเร็จได้ และตัวผู้หญิงเองจงเชื่อมั่นในศักยภาพของคุณเอง

 

 

 


  • 1.9K
  •  
  •  
  •  
  •