เปิดไอเดียโครงการ TARO ECO BRICKS จากพลาสติกสู่พลาสอิฐ ของทาโรกับ Passion “ลดขยะสร้างประโยชน์”

  • 12.8K
  •  
  •  
  •  
  •  

 

รู้หรือไม่ ว่าในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 นี้ เราสร้างขยะกันมากขึ้นถึง 60% โดยเฉพาะในช่วง COVID-19 ที่ปริมาณขยะในประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้น มากถึง 27.35 ล้านตันในปี 2563 และเมื่อมอง in detail ลงไป จะเห็นได้ชัดเจนเลยว่า พลาสติกเป็นหนึ่งในขยะ ที่มีปริมาณมากและยังเป็นขยะที่ย่อยสลายยากมากที่สุดชนิดหนึ่งด้วย

โดยข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษ เปิดเผยว่า ถุงพลาสติก ต้องใช้เวลาในการย่อยสลายโดยเฉลี่ยนานถึง 450 ปี
ซึ่งระยะเวลากว่าที่ขยะพลาสติกจะย่อยสลายได้ไม่ใช่เรื่องง่าย และยิ่งนานขึ้นถ้าเป็นพลาสติกที่มีขนาดใหญ่ หรือใช้เทคโนโลยี ที่ทำให้ทำลายยาก ดังนั้น ขยะเหล่านี้ล้วนมีผลต่อระบบนิเวศทั้งหมด ไม่ว่าจะบนดินหรือในน้ำ/มหาสมุทร

 

 

ความน่ากังวลตรงนี้ทำให้มูฟเมนต์ของภาคธุรกิจในช่วงหลัง ๆ หันมาใส่ใจเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับระบบนิเวศ เช่นเดียวกับ ‘ทาโร’ ที่เป็นอีกหนึ่งแบรนด์ที่ตระหนักถึงปัญหานี้ และเกิดเป็นไอเดียโครงการ TARO ECO BRICKS อร่อยปันกัน ลดขยะสร้างประโยชน์ ขึ้นมา ซึ่งเป็นการเปลี่ยนถุงพลาสติกให้เป็น ‘พลาสอิฐ’ (Eco bricks) โดยมีเป้าหมายหลักก็คือ ต้องการลดขยะพลาสติกและสร้างประโยชน์จากขยะเหล่านั้นในสังคม ซึ่งแนวคิดการเปลี่ยนขยะพลาสติกไม่ใช่แค่ทำลายให้จบๆ ไป ถือว่าเป็นอีก mission ของทาโรที่น่าสนใจ เพราะเห็นทิศทางการดำเนินธุรกิจชัดเจนเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

 

 

โครงการเปลี่ยนพลาสติก ให้เป็น ‘พลาสอิฐ’ คืออะไร?

ทาโร ต้องการกระตุ้นให้คนตระหนักที่จะเปลี่ยนแปลงไปด้วยกัน โดยโครงการอร่อยปันกัน เปลี่ยนซองเปล่าทาโร หรือถุงพลาสติกอื่น ให้ไม่เปล่าประโยชน์อย่างที่เคย เป็นการร่วมมือกันของ ทาโร กับ partner หลายส่วนทั้ง ร้านปันกัน, องค์กรผึ้งน้อยนักสู้, มูลนิธิเอ็นไลฟ และพันธมิตรที่ตั้งจุดรับซองเปล่า ทั้งหน้าร้านปันกัน ในโรงเรียน หรือ สถานประกอบการอื่นกว่า 100 จุดทั่วประเทศ เพื่อรับบริจาคซองเปล่าผลิตภัณฑ์ของทาโร และซองพลาสติกอื่นๆ เพื่อนำไปเปลี่ยนให้เป็นพลาสอิฐ (TARO ECO BRICKS) หรืออีกหนึ่งช่องทางสำหรับคนที่สนใจ แต่อาจไม่สะดวกหยอดซองพลาสติกเปล่าตามจุดที่แจ้งข้างบน สามารถส่งผ่านช่องทางไปรษณีย์ได้เช่นกัน ที่โครงการร้านปันกัน โดย มูลนิธิยุวพัฒน์ เลขที่ 7 ซ.อ่อนนุช 90 แขวง/เขต ประเวศ กทม 10250 (โทร 081-9036639)

หลักการง่าย ๆ ก็คือ นำซองพลาสติกเปล่าอัดจนแน่นในขวดพลาสติก จะสามารถใช้แทนอิฐในการก่อสร้างได้ โดยจะมีน้ำหนัก 500 กรัมต่อหนึ่งขวดพลาสติก 1.5 ลิตร ซึ่งเราต้องใช้ซองพลาสติกประมาณ 100 ซอง/ขวด หรือปริมาณขวดพลาสติก 600 มิลลิลิตร จะใช้ซองพลาสติกเปล่าประมาณ 42 ซอง ซึ่งเอามาใช้แทนอิฐก่อสร้างได้เหมือนกัน

 

 

ทั้งนี้ สิ่งที่ ทาโร จะทำต่อไปก็คือ นำพลาสอิฐเหล่านั้นไปสร้างพื้นที่การเรียนรู้การทำบ้านดิน ที่สวนศึกษาผึ้งน้อยนักสู้ ณ พึ่งสุขฟาร์มอินทรีย์ เพื่อเป็นสถานที่ในการสอนการทำพลาสอิฐให้กับคนที่สนใจสามารถเข้าไปเรียนรู้ได้ ดังนั้น นอกจากที่เราจะสร้างวัสดุ Eco ที่ช่วยให้ขยะพลาสติกลดลงได้แล้ว เรายังมีส่วนช่วยทำให้โครงการนี้ดำเนินต่อไปสำหรับคนที่สนใจ และสร้างประโยชน์ให้กับสังคมได้อีกด้วย

 

 

อีกมุมหนึ่งที่น่าสนใจของ ทาโร คือรายละเอียดโครงการ TARO ECO BRICKS อร่อยปันกัน ลดขยะสร้างประโยชน์ ที่เราสามารถดูข้อมูลได้ทั้งหมดง่ายๆ ด้วยการสแกน QR Code หน้าซองทาโร เพื่อลิงก์เข้าสู่หน้าเว็บไซต์ได้ทันที ถือว่าไอเดียตรงนี้เป็น Omni-channel ที่ผสมผสานระหว่างออฟไลน์และออนไลน์เข้าด้วยกัน หรือจะคลิกเข้าไปดูที่เว็บไซต์ https://www.taroecobricks.com/ ก็ได้เหมือนกัน

โดยในเว็บไซต์ดังกล่าว นอกจากจะรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับโครงการนี้ไว้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการลดขยะ – สร้างประโยชน์ – ส่งต่อความรู้ ยังมีข้อมูลอื่นอีกเพียบ เช่น การเช็คจุดรับของ แค่เราคลิกดูก็จะเห็นจุดติดตั้งกล่องรับชิ้นส่วนใกล้บ้าน หรือสำหรับคนที่ไม่คุ้นเคยกับเส้นทางก็สามารถคลิกดูผ่าน Google Map ได้เลยในเว็บไซต์นี้

ทั้งนี้ ทาโร ยังมีโปรโมชั่นสนับสนุนเพื่อกระตุ้นให้ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมได้ง่ายขึ้น โดยสามารถนำซองเปล่าของผลิตภัณฑ์ทาโรจำนวน 5 ซอง (ราคา 20 บาทขึ้นไป) เพื่อแลกฟรี ทาโรอบกรอบ 1 ซอง (มูลค่า 20 บาท) ได้เลยที่หน้าร้านปันกันทุกสาขา หรือร่วมโครงการกับเราได้ง่ายๆ เพียงส่งซองเปล่าผลิตภัณฑ์ทาโรผ่านช่องทางไปรษณีย์ ครบ 5 ซองขึ้นไป ทางโครงการก็จะส่งทาโรอบกรอบ 1 ซอง ให้คุณผ่านช่องทางไปรษณีย์เช่นกัน ตั้งแต่วันนี้ – 31 ธ.ค. 64

 

 

 

 

อ่านรายละเอียดมาถึงตรงนี้ มองว่า case study นี้จากทาโรเป็นกลยุทธ์ที่น่าสนใจมากอีกหนึ่งเคส ถือว่าเป็นการส่งต่อสิ่งดีๆ สู่สังคมร่วมกัน และเชื่อว่า circle ทางธุรกิจจะคึกคักขึ้นกว่าเดิมแน่ๆ ตั้งแต่ ดีมานด์ความต้องการซื้อสินค้าที่มากขึ้น การเชิญชวนให้ทุกคนมีจิตสำนึกต่อสิ่งแวดล้อมด้วยกัน ซึ่งเป็นกระแสนิยมหลักในยุคนี้ และการส่งต่อความรู้ที่ได้จากวัสดุที่เป็น Eco จริงๆ ดังนั้นหากมองในแง่ของธุรกิจก็ถือเป็นการสร้างข้อได้เปรียบได้ดี และยังทำให้แบรนด์อยู่ในความสนใจ ที่สำคัญคือ การเคลื่อนไหวของเราจะช่วยเป็นส่วนหนึ่งในการลดขยะพลาสติกในสังคมอีกด้วย

 

 


  • 12.8K
  •  
  •  
  •  
  •