‘กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน Thailand Future Fund’ โอกาสลงทุนพัฒนาประเทศ เชื่อมโยงเศรษฐกิจ ดันไทยสู่ศูนย์กลางแห่งอาเซียน

  • 594
  •  
  •  
  •  
  •  

[บทความนี้เป็น Advertorial]

TFFIF-Marketing oops_thumbnail

จากการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของแต่ละประเทศโดยสภาเศรษฐกิจโลก (The World Economic Forum: WEF) ที่พิจารณาทั้งในภาพรวมและตามเกณฑ์ชี้วัดแต่ละด้าน โดยกิจการโครงสร้างพื้นฐานเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่ใช้เปรียบเทียบ ซึ่งเมื่อพิจารณาคุณภาพของโครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทยจะอยู่ในอันดับที่ 43 จาก 137 ประเทศ ต่ำกว่าหลายประเทศในภูมิภาคเอเชีย เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานในไทยยังมีจุดอ่อนในเชิงปริมาณ คุณภาพ และระดับการให้บริการที่ต่ำกว่ามาตรฐานสากล

การพัฒนากิจการโครงสร้างพื้นฐานจึงเป็นพันธกิจเร่งด่วนที่ภาครัฐต้องดำเนินการ เพื่อเพิ่มศักยภาพให้แก่ประเทศ และสนับสนุนการก้าวสู่ Thailand 4.0 ตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยการระดมทุนผ่านรูปแบบ “กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน” ถือเป็นทางเลือกใหม่ที่ตอบโจทย์และปลดล็อกข้อจำกัดของภาครัฐ จากการควบคุมเพดานหนี้สาธารณะและงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด ทำให้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเกิดขึ้นได้ภายในระยะเวลาที่รวดเร็วมากขึ้น

เป็นที่มาของ “กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย หรือ Thailand Future Fund (TFFIF)” ซึ่งจะเข้าลงทุนครั้งแรกในสิทธิในการรับรายได้ร้อยละ 45 ของรายได้ค่าผ่านทางรวมสุทธิที่จัดเก็บได้จากทางพิเศษ 2 สายทางของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ได้แก่ ทางพิเศษฉลองรัชและทางพิเศษบูรพาวิถี เป็นระยะเวลา 30 ปี โดยเงินที่ได้จากการโอนสิทธิในการรับรายได้ครั้งนี้ กทพ. จะนำไปก่อสร้างทางพิเศษสายทางใหม่ เพื่อขยายโครงข่ายโครงสร้างพื้นฐานประเภททางพิเศษให้มีโครงข่ายที่ครอบคลุมมากขึ้น

TFFIF-Marketing oops_1

ในส่วนทรัพย์สินที่เข้าลงทุน ทาง กทพ. ยังคงทำหน้าที่บริหารจัดการและเป็นเจ้าของทางพิเศษดังกล่าวอยู่ จึงมั่นใจได้ว่าทรัพย์สินอยู่ภายใต้การดูแลของบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ ส่วนในด้านการบริหาร กองทุนมีบริษัทจัดการคือ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด  (มหาชน) และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) และที่ปรึกษาทางการเงิน ประกอบด้วย ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันซ่า จำกัด และบริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน) โดยในอนาคตกองทุน TFFIF ยังมีโอกาสลงทุนเพิ่มเติมในทรัพย์สินที่เป็นกิจการโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ของภาครัฐ เช่น ระบบขนส่งทางรางหรือทางท่อ ท่าเรือน้ำลึก สนามบิน และโทรคมนาคม ฯลฯ จากนโยบายการลงทุนที่หลากหลาย

นอกจากเป็นผลดีต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศและคุณภาพชีวิตของประชากรแล้ว การเชื่อมโยงโครงข่ายทางพิเศษเหล่านี้ยังเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยผลักดันโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกหรือ Eastern Economic Corridor (EEC) หนึ่งในยุทธศาสตร์หลักภายใต้แผน Thailand 4.0 ที่นำร่องในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคตะวันออกคือ ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา

TFFIF-Marketing oops_2

โครงการ EEC ยังมีแผนการลงทุนอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้น เช่น โครงการขยายทางหลวงพิเศษจากกรุงเทพฯ ถึงระยอง โครงการรถไฟทางคู่  โครงการท่าเรือเฟอร์รี่ ฯลฯ การขยายตัวของเศรษฐกิจในภาคตะวันออก ทั้งจากการเป็นเมืองท่องเที่ยวและเป็นหนึ่งในพื้นที่อุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุด นำมาซึ่งการขยายโครงข่ายคมนาคม เพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของความต้องการในพื้นที่ ซึ่งมีแนวโน้นที่จะทำให้ปริมาณรถที่ใช้บริการทางพิเศษเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางพิเศษบูรพาวิถีที่เชื่อมต่อพื้นที่ทางภาคตะวันออกเข้ากับกรุงเทพฯ โดยตรง

การที่ภาครัฐมีแหล่งเงินทุนที่ทำให้สามารถลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานได้ทันที จากการระดมทุนผ่านกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งมี “TFFIF” เป็นกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโดยภาครัฐกองล่าสุด ถือเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยสำคัญที่จะทำให้การพัฒนาประเทศเดินหน้าได้อย่างรวดเร็ว ผ่านการมีส่วนร่วมของประชาชนในประเทศ …

สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือชี้ชวนได้ที่เว็บไซต์ https://market.sec.or.th/public/mrap/MRAPView.aspx?FTYPE=I&PID=0659&PYR=2559

หมายเหตุ: บทความนี้ห้ามเผยแพร่ในประเทศสหรัฐอเมริกา, แคนาดา, และญี่ปุ่น

[บทความนี้เป็น Advertorial]


  • 594
  •  
  •  
  •  
  •