ติดอาวุธองค์กรฝ่ากระแส Disruption ผ่าน ‘ภาษาใหม่’ ที่จะพาสู่ความเป็นผู้นำทางธุรกิจและพร้อมเผชิญทุกความท้าทาย

  • 5.3K
  •  
  •  
  •  
  •  

ปฏิเสธไม่ได้ว่า โลกธุรกิจในปัจจุบัน ต้องเผชิญกับความท้าทายที่ถาโถมเข้ามามากมาย โดยเฉพาะเรื่องของ Disruption ซึ่งทำให้ทุกอย่าง ‘หมุน’ และ ‘เปลี่ยน’ อย่างรวดเร็ว จนเกิดคำถามว่า องค์กรที่จะอยู่รอดและเดินต่อไปได้แบบยั่งยืน ต้องมียุทธ์ศาสตร์หรือกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนองค์กรอย่างไร

SEAC_1

แน่นอนคำตอบคือ องค์กรต้องพร้อมและปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก รวมถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่เข้ามา Disrupt ซึ่ง คุณอริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ SEAC (South East Asia Center) ศูนย์พัฒนาภาวะผู้นำและผู้บริหารระดับสูง ที่มีประสบการณ์ด้านนี้มานานกว่า 25 ปี บอกว่า หลายองค์กรยังไม่รู้จะเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงให้ทันกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างไร

และเมื่อเจาะลึกลงไปถึงเหตุผลที่หลายองค์กรเริ่มต้นไม่ได้ หรือเดินผิดทาง ก็เพราะ “ติดกับดักตัวเอง” คือ ยังยึดติดความสำเร็จหรือแนวทางเดิมๆ จนไม่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้ทันท่วงทีนั่นเอง

จับตา 3 ความเสี่ยงกระทบโลกธุรกิจ

สำหรับความเสี่ยงที่จะส่งผลให้โลกธุรกิจตกอยู่ในภาวะวิกฤติได้ มีด้วยกัน 3 เรื่องหลัก ๆ  ได้แก่

  • โลกที่หมุนอย่างรวดเร็วและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา(Fast-Moving World) ทำให้ทุกคนในองค์กรต้องพร้อมและตื่นตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ด้วยการเร่งแก้ไข และ Reskill ให้สามารถพลิกเกมธุรกิจได้ทันท่วงที
  • “การย่ำอยู่กับที่ มีแต่จะพาล่มจม” สิ่งที่องค์กรต้องตระหนักถึง คือ ตอนนี้โลกธุรกิจอยู่ในยุค Disruption ที่มีความท้าทายหรือหนทางใหม่ ๆ เกิดขึ้นอยู่เสมอ การติดกับความคิดหรือความสำเร็จเดิม ๆ จึงไม่ใช่เรื่องที่ดีในการสร้างความยั่งยืนทางธุรกิจ ดังนั้นผู้นำองค์กรต้องมีความสามารถหาทางออกเมื่อเจอกับความท้าทายใหม่ๆ กระทั่งตอบคำถามหรือแก้ปัญหาเดิมด้วยวิธีใหม่ ๆ ได้
  • หยุดหลอกตัวเองว่า เปลี่ยนทันยุค Disruption หากการเปลี่ยนนั้นทำแค่ฉาบฉวย” ความจริงแล้วการเปลี่ยนให้ทันยุค Disruption องค์กรจำเป็นต้องเปลี่ยนแบบ 360 องศา หรือปรับกระบวนทัพใหม่หมดตั้งแต่องค์กร บุคลากร และวิธีคิด โดยต้องเร่งสร้างแบบ Stay ahead of the game เพราะต้องไม่ลืมว่า แม้องค์กรเราจะวิ่งได้เร็วหรือปรับตัวทันแล้ว ก็จะมีองค์กรอื่นวิ่งตามทันเสมอ

THE NEW LANGUAGE OF LEADERSHIP ฝ่ากระแส Disruption

ดังนั้น การจะอยู่รอดหรือเป็นผู้นำทางธุรกิจได้ในยุคนี้ที่มีหลายปัจจัยเข้ามาท้าทาย ประเด็นสำคัญ คือ ต้องไม่ย่ำอยู่กับที่ และต้องพยายามหาแนวทางใหม่ ๆ ที่ต่างจากเดิม เพื่อให้องค์กรสามารถรับมือและปรับตัวให้ทันกับโลกยุคปัจจุบันที่พร้อมจะเกิดสิ่งใหม่ได้ตลอดเวลา

SEAC_2

ทางออกในเรื่องนี้ สามารถค้นพบได้จาก “THE NEW LANGUAGE OF LEADERSHIP” หรือ “ภาษาใหม่ของการเป็นผู้นำ” ผลงานของ ไมเคิล เวนทูร่า ผู้ก่อตั้งและซีอีโอ บริษัท ซับ โรซ่า (Sub Rosa) ที่ปรึกษาด้านการสร้างและบริหารแบรนด์ให้กับธุรกิจและองค์กรชั้นนำของโลก ซึ่งมีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับในการวางแผนกลยุทธ์และแผนการปฏิบัติงานในการช่วยให้ผู้นำและองค์กรมีวิวัฒนาการเชิงกลยุทธ์และการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการวางแผนพัฒนาเชิงลึกถึงการเปลี่ยนแปลงขององค์กร และสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับลูกค้าผ่านประสบการณ์ร่วมกันในรูปแบบต่างๆ

หนังสือเล่มนี้ ไมเคิลได้นำเสนอจากการรวบรวมประสบการณ์ในการสร้างและบริหารแบรนด์ให้กับองค์กรระดับโลกที่ใช้ “ภาษาใหม่” เป็นอาวุธสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน โดยสาระสำคัญจะสร้างความเข้าใจถึง “ภาษาใหม่” ว่า ไม่ใช่เรื่องของเครื่องมือทางการตลาดหรือการขาย แต่เป็นแนวทางความคิดหรือทัศนคติของผู้นำองค์กรในรูปแบบของ How-to ที่ทำให้สามารถอ่านเกมธุรกิจได้เด็ดขาดและเหนือชั้น

SEAC_3

นอกจากนี้ยังเป็นคัมภีร์สำหรับผู้นำที่จะเป็นอาวุธขององค์กรในการแข่งขันและอยู่รอดในโลกธุรกิจที่มีปัญหาซับซ้อนให้กลายเป็นเรื่องเข้าใจง่าย ภายใต้ 2 Key word นั่นคือ “Ability to understand” การที่ผู้นำต้องมีทักษะที่จะทำความเข้าใจแบบหยั่งรู้ถึงความรู้สึกที่ถ่องแท้ และ “Ability to speak” ความสามารถในการนำข้อมูลที่ได้จากการทำความเข้าใจสื่อสารออกไป หรือนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างตอบโจทย์ เพื่อเปลี่ยนองค์กรที่กำลังเผชิญปัญหาให้เติบโตอย่างก้าวกระโดดแบบ Stay ahead of the game และประสบความสำเร็จได้อย่างยั่งยืน

ปรากฏการณ์องค์กรระดับโลก ขับเคลื่อนด้วย “ภาษาใหม่”

ตัวอย่างองค์กรชั้นนำระดับโลกที่ใช้ THE NEW LANGUAGE OF LEADERSHIP ของ ไมเคิล เวนทูร่า มาขับเคลื่อนองค์กรสู่ความสำเร็จ มีด้วยกันหลายองค์กร อาทิ

ไนกี้ กับการนำเสนอรองเท้าวิ่งในตระกูล “Hyperfeel” ที่กลุ่มเป้าหมายไม่ใช่แค่เพียงกลุ่มนักวิ่งอาชีพเท่านั้น แต่รวมถึงผู้ที่ชอบออกกำลังกายด้วย โดยไมเคิลแนะนำให้ไนกี้จัดกิจกรรมพิเศษบนพื้นที่ที่ออกแบบเป็นเขาวงกต ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคนวิ่งด้วยการถอดรองเท้าและสวมชุดหูฟัง เพื่อให้ระบบตรวจสอบคลื่นสมองที่มีความสัมพันธ์กับพื้นที่ที่มีความแตกต่างกันไปในภาวะที่มืดสนิท และเก็บข้อมูลแบบเรียลไทม์

ผลที่ได้นอกจากจะสร้างประสบการณ์ตรงกับกลุ่มเป้าหมายแล้ว ยังแสดงให้เห็นถึงคุณลักษณะของรองเท้ารุ่นนี้ที่ทำให้มีประสิทธิภาพในการใช้งานได้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการอัดแน่นด้วยเทคโนโลยี และความโดดเด่นในการออกแบบให้มีลักษณะสวมใส่กระชับเหมือนใส่ถุงเท้า

เดลต้า แอร์ไลน์ ที่ปรับภาพการเป็นสปอนเซอร์ขององค์กรด้วยการสะท้อนเสียงจากพนักงานภายในสู่คนภายนอก โดยเดลต้า แอร์ไลน์ ต้องการเป็นผู้ช่วยให้ผู้โดยสารสามารถเดินทางไปยังจุดหมายปลายทางได้อย่างปลอดภัยและสะดวกสบายทุกการเดินทาง จึงได้จัดทำรายการพิเศษในรูปแบบวิดีโอคอนเทนต์ร่วมกับ TED.com ที่สอดคล้องกับความมุ่งมั่นขององค์กรไว้ฉายบนเครื่องบิน พร้อมกับจัดเสวนาพิเศษ สะท้อนถึงภาพลักษณ์การเป็นแบรนด์ของคนรุ่นใหม่

รองเท้านิวบาลานซ์ ที่โจทย์แรกต้องการเพียงสร้างแบรนด์และดีไซน์ชอปที่ Jacob Javits Center ในนิวยอร์ก แต่ไมเคิล มองเห็นความต้องการของแบรนด์ในมุมที่ลุ่มลึกยิ่งขึ้น ด้วยการสร้างแคมเปญระยะยาว เพื่อโปรโมทนิว บาลานซ์ ให้เป็น top of mind ของนิวยอร์กเกอร์เรื่องการวิ่ง ที่เน้นสร้าง Running Community ให้กับนักวิ่งและสร้างความเคลื่อนไหวของแบรนด์ผ่านช่องทางดิจิทัล

เจเนอรัล อิเล็กทริก (GE) การเพิ่มบทบาทจากบริษัทยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมการผลิตระดับโลก สู่ผู้พัฒนานวัตกรรมและสร้างสรรค์กลุ่มคนที่มีศักยภาพใหม่ๆ โดย GE มองเห็นพลวัตของกลุ่มเมกเกอร์ (Maker) จึงจัดกิจกรรมที่เจาะกลุ่มนี้ อาทิ กิจกรรมเยี่ยมชมโรงงาน กิจกรรมชุมนุมทางความคิด การทำ Collaboration ต่างๆ ซึ่งนอกจากจะเป็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ มุมมอง และไอเดียระหว่างกันแล้ว ยังเพิ่มช่องทางให้ GE รู้จักและใกล้ชิดกับคนกลุ่มนี้มากขึ้น

หรือกรณีของ เดอะ ไวท์ เฮาส์ ทำเนียบขาวของสหรัฐอเมริกาฯ กับการสร้างแคมเปญ “Every Kid in a Park” โดยอดีตประธานาธิบดี “บารัค โอบาม่า” เป็นผู้ริเริ่ม มีกลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มเด็ก ด้วยการเปิดโอกาสให้เด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เข้าชมและเรียนรู้เกี่ยวกับพื้นที่ป่าและแหล่งน้ำของรัฐบาล เพื่อจุดประกายความหลงใหลในประวัติศาสตร์ , วัฒนธรรม และความต้องการรักษาสถานที่สำคัญนี้ให้อยู่ยาวนาน ซึ่งการสร้างอิมแพ็คได้มากขึ้น ไมเคิล มองว่า ต้องขยายการรับรู้และสร้างการมีส่วนร่วมไปยังกลุ่มบุคลากรด้านการศึกษา และครอบครัวของเด็ก ๆ เหล่านั้น จึงจัดทำระบบข้อมูล กลยุทธ์การรณรงค์ การทำเว็บไซต์ใหม่ และวิดีโอในรูปแบบ VR ดำเนินเรื่องโดย “มิเชล โอบาม่า”  อดีตสตรีหมายเลขหนึ่ง

นี่เป็นเพียงตัวอย่างความสำเร็จขององค์กรชั้นนำระดับโลกที่นำ “ภาษาใหม่” มาใช้ ซึ่งสำหรับองค์กรในประเทศไทย หากต้องการทำความรู้จักและเข้าใจถึง ‘ภาษาใหม่’ ของ ไมเคิล เวนทูร่า เพื่อติดอาวุธก้าวสู่ความสำเร็จและขึ้นเป็นผู้นำธุรกิจเช่นเดียวกับองค์กรชั้นนำระดับโลกแล้ว สามารถมาพบกับการเปิดตัวอย่างเป็นทางการของเขาได้ในงาน “The New Language of Leadership” ที่จัดโดย SEAC ในวันจันทร์ที่ 24 กันยายนนี้ ณ ศูนย์พัฒนาภาวะผู้นำและผู้บริหารระดับสูง (SEAC) อาคารเอฟวายไอ เซ็นเตอร์ (FYI Center) หรือติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.seasiacenter.com/thenewlanguageofleadership/


  • 5.3K
  •  
  •  
  •  
  •