ส่องเศรษฐกิจโลก ผ่าน ดร. ศุภชัย พานิชภักดิ์

  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

[ข่าวประชาสัมพันธ์]

ดร. ศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตเลขาธิการการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา หรือ อังค์ถัด (UNCTAD) ให้เกียรติในปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “ส่องเศรษฐกิจโลก เจาะธุรกิจไทย” จัดโดย ธนาคารทหารไทย หรือ ทีเอ็มบี เพื่อผลักดันธุรกิจเอสเอ็มอีให้เติบโตได้เต็มศักยภาพ ด้วยการเปิดมุมมอง พร้อมนำเสนอข้อมูลทางเศรษฐกิจระดับโลกที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ได้เตรียมความพร้อมได้ตั้งแต่ต้นปี มองเห็นโอกาส ลู่ทาง มีความมั่นใจในการดำเนินธุรกิจ และเติบโตได้อย่างต่อเนื่องในปีนี้

TMB-Economic-1

โดย ดร. ศุภชัย ได้เปิดเผยประเด็นสำคัญทางเศรษฐกิจ ดังนี้

  • เศรษฐกิจโลกยังอยู่ในภาวะซึมลึก แม้ไม่มีวิกฤติเศรษฐกิจแรงๆ แต่เป็น “การถดถอยบางส่วน” (Partial Recession) เกิดจากสภาพการค้าโลกที่ตกต่ำ มีอัตราการขยายตัวเพียง 1-2% โดยอยู่ในจุดที่ใกล้เคียงจุดต่ำสุดแล้ว แต่ยังฟื้นตัวได้ช้าในระยะนี้ เพราะทุกประเทศมีหนี้สูง
  • เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกายังไม่ฟื้นตัว เกิด Manufacturing Recession เป็นภาวะซบเซาของภาวะอุตสาหกรรม ที่แม้รัฐบาลจะอัดเงินเข้าไปในระบบกว่า 6-7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่เศรษฐกิจขยายตัวได้เพียง 2% โดยการขยายตัวเกิดจากภาคบริการ แต่ภาคอุตสาหกรรมยังไม่ฟื้นตัว
  • เศรษฐกิจยุโรปยังไม่ฟื้นตัว หากเข้าไปดูลึกๆ จะเห็นว่าระบบธนาคารพาณิชย์มีปัญหา สินทรัพย์ที่ถือไว้มีราคาด้อยค่า พันธบัตรรัฐบาลแต่ละประเทศในยุโรปที่ธนาคารถือไว้ มีการเข้ามาพยุงราคาด้วยธนาคารกลางยุโรป หากวันใดเลิกอุ้ม ตราสารหนี้จะมีปัญหาทันที
  • เศรษฐกิจจีนมีการเติบโตชะลอลง โดยเฉพาะการส่งออก อาจทำให้จีนปรับลดค่าเงินหยวนให้อ่อนลง ไทยจะต้องเตรียมรับมือ เพราะจะส่งผลต่อค่าเงินบาทและเสถียรภาพของเงินไทย
  • ในขณะที่เศรษฐกิจโลกผันผวน ไทยไม่สามารถพึ่งพาการส่งออกได้ ไทยควรพัฒนาระบบเศรษฐกิจของตนเอง เช่น การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้เอกชนเข้ามาลงทุน จะทำให้เกิดการจ้างงานและเติบโตในระยะยาว
  • รัฐบาลไม่ควรกระตุ้นการบริโภคภาคประชาชน เพื่อขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ เนื่องจากปัจจุบันหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีสูงมาก ประชาชนไม่ควรก่อหนี้เพิ่มเติมอีกแล้ว เพราะรายได้ของประชาชนไม่เพิ่ม สินค้าเกษตรซึ่งเป็นรายได้หลักยังประสบปัญหาตกต่ำ การบริโภคจึงต้องระมัดระวังมาก ไม่ควรให้เกิดกำลังซื้อเทียมขึ้นมา
  • จีดีพีของไทยที่สภาพัฒน์ประเมินไว้ที่ 3.3% ในปีนี้ ยังคงมีความเป็นไปได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการขยายตัวของการส่งออก ซึ่งต้องโฟกัสที่การค้าชายแดน คือ ลาว เมียนม่า กัมพูชา ที่ยังขยายตัวได้ดี และมูลค่าการค้ากับไทยมีแนวโน้มสูงขึ้น

TMB-Economic-2

พร้อมกันนี้ ภายในงานยังมีเวทีอภิปรายทางเศรษฐกิจโดย ดร. กิริฎา เภาพิจิตร ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) และ ดร. เบญจรงค์ สุวรรณคีรี หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารกลยุทธ์องค์กรและศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี เพื่อเจาะลึกข้อมูลเศรษฐกิจของไทย ธุรกิจดาวรุ่ง และธุรกิจที่ควรเฝ้าระวัง ให้เอสเอ็มอีได้เห็นลู่ทางและโอกาสทางธุรกิจอีกด้วย

TMB-Economic-3

TMB-Economic-4

TMB-Economic-5

[ข่าวประชาสัมพันธ์]


  •  
  •  
  •  
  •  
  •