รู้ลึก รู้จริง… ธุรกรรมนำเข้า-ส่งออก ความท้าทายใหม่ของ SMEs ไทย

  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

[บทความนี้เป็น Advertorial]

ปัจจุบัน มี SMEs ที่ทำธุรกิจนำเข้า – ส่งออกอยู่เป็นจำนวนมาก โดยในปี 2558 มูลค่าการค้ารวมของ SMEs อยู่ที่ประมาณ 4.16 ล้านล้านบาท แยกเป็นการส่งออก 1.95 ล้านล้านบาท และการนำเข้า 2.21 ล้านล้านบาท ซึ่ง SMEs จำนวนมากมีความต้องการที่จะขยายตลาดจากในประเทศไปสู่ต่างประเทศให้มากยิ่งขึ้น โดยมองไปที่การเติบโตของการค้าชายแดน โอกาสทางธุรกิจต่างๆ จากการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) รวมทั้งตลาดใหม่ CLMV – กัมพูชา ลาว เมียนม่าร์ และเวียดนาม แต่การก้าวสู่ธุรกิจนำเข้า-ส่งออก โดยปราศจาก “ความรู้” แทนที่จะ “ดัง” รับทรัพย์กันเต็มที่ อาจกลายเป็น “พัง” ต้องม้วนเสื่อกลับบ้านก็ได้

TMB-1

ดังนั้น ทีเอ็มบี ในฐานะ “ธนาคารเพื่อธุรกรรมระหว่างประเทศ” เพื่อลูกค้า SMEs จึงได้จัด “โครงการอบรมความรู้ด้านธุรกรรมนำเข้า-ส่งออก สำหรับเอสเอ็มอี” (SME Trade Expert Program by TMB) โครงการที่สอนตั้งแต่พื้นฐานจนเชี่ยวชาญ เน้นปฏิบัติจริงทุกขั้นตอน เพื่อให้เอสเอ็มอีนำไปใช้ได้จริง อบรมฟรี รับจำนวนจำกัด โดยเริ่มอบรมตั้งแต่เดือนมิถุนายน – ตุลาคม 2559 แบ่งเป็น 5 คอร์ส ที่ตอบโจทย์ครบด้านการค้าระหว่างประเทศให้ผู้อบรมเลือกเรียนตามระดับความเชี่ยวชาญ คือ (1) พื้นฐานด้านธุรกรรมระหว่างประเทศ (2) เจาะลึกด้านธุรกรรมระหว่างประเทศ (3) ธุรกรรมระหว่างประเทศ สำหรับผู้ปฎิบัติการ (4) ธุรกรรมระหว่างประเทศ สำหรับผู้บริหาร และ (5) สัมมนา “ลดความเสี่ยง เลี่ยงขาดทุน ธุรกรรมนำเข้า-ส่งออก”

ทั้งนี้ ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี (TMB Analytics) ได้วิเคราะห์ว่าลักษณะของ SMEs ที่เริ่มทำการส่งออก มักจะเริ่มต้นมาจากการเป็นผู้ประกอบการที่ขยายกิจการจากตลาดในประเทศ เพื่อหาตลาดสินค้าที่ใหญ่ขึ้น ซึ่งในปี 2559 คาดว่าแนวโน้มส่งออกจะปรับตัวดีขึ้น จากการเติบโตของการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ เวียดนาม (CLMV) โดยเฉพาะในรูปแบบที่เป็นการค้าชายแดน ซึ่งการส่งออกในกลุ่มนี้มีอัตราการเติบโตสูงกว่าการส่งออกไปประเทศอื่นๆ โดยธุรกิจ SMEs ที่มีแนวโน้มการส่งออกสูงขึ้น คือ สินค้ารถจักรยานยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ สินค้าอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล เคมีภัณฑ์ โลหะ และ ผลิตภัณฑ์อาหาร ในขณะเดียวกัน ธุรกิจที่มีแนวโน้มส่งออกลดลง คือ สินค้าประเภทเครื่องจักรการเกษตร คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน อาหารสัตว์ เฟอร์นิเจอร์ เสื้อผ้าแฟชั่น

ในทางตรงกันข้าม แนวโน้มการนำเข้าของธุรกิจ SMEs กลับมีแนวโน้มชะลอตัวลง เนื่องจากการบริโภคในประเทศและการใช้วัตถุดิบเพื่อส่งออกยังไม่ฟื้น และถูกกระทบจากระดับราคาสินค้าวัตถุดิบที่ผันผวนที่มีทิศทางลดลง และบางสินค้าได้รับผลกระทบจากมาตรการรัฐบาลที่ปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศ เช่น โลหะ เป็นต้น เช่นเดียวกับสินค้าทุนเครื่องจักรอุปกรณ์ที่ขาดแรงขับเคลื่อนจากการลงทุนภาคเอกชน

โดยธุรกิจ SMEs ที่ยังมีการนำเข้าเติบโตได้ต่อเนื่อง เป็นธุรกิจผลิตและค้าเวชภัณฑ์ยา ธุรกิจผลิตบรรจุภัณฑ์ ผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ ผู้ค้าเครื่องดื่ม ผู้นำเข้าอาหาร ผู้จัดหา media content ส่วนธุรกิจที่มีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่อง ได้แก่ ผู้ผลิตผู้ค้าเครื่องจักร อุปกรณ์อุตสาหกรรม เครื่องจักรการเกษตร ผู้ผลิตและค้าเหล็ก ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า และผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์

จากแนวโน้มการค้าของ SMEs ในปีนี้ ถือว่าเป็นปีแห่งความท้าท้ายของผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs ที่มีความต้องการขยายตลาดของตนเองอย่างแท้จริง แต่ก่อนที่จะก้าวไปขยายตลาดต่างประเทศ SMEs ต้องกลับมามองตนเอง และเพิ่มศักยภาพ เสริมความรู้พื้นฐานด้านการทำธุรกรรมต่างประเทศให้แข็งแกร่งเสียก่อน

โดยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่สนใจเข้าร่วมอบรมในโครงการ “SME Trade Expert Program by TMB” สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและสำรองที่นั่งได้ตั้งแต่วันนี้ ที่ www.tmbbank.com/sme/Trade-Program และศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์ ทีเอ็มบี เอสเอ็มอี โทร. 02-828-2828 ทุกวันจันทร์-เสาร์ เวลา 8.00-20.00 น. ยกเว้นวันหยุดธนาคาร

[บทความนี้เป็น Advertorial]


  •  
  •  
  •  
  •  
  •