Lifestyle การเงินคนไทยจะเปลี่ยนไปอย่างไร? ในวันที่ “ทรูมันนี่” ก้าวเข้าสู่ “ซูเปอร์แอปการเงิน“ เต็มรูปแบบ และทำไม “ลิซ่า” ถึงเป็นกุญแจสำคัญของความ #เป็นไปได้ได้ทุกคน

  • 3.1K
  •  
  •  
  •  
  •  

 

ต้องยอมรับว่าตลาด “อีวอลเล็ท” ในประเทศไทยนั้นแข่งขันกันสูงมาก หากใครมี ecosystem ที่ไม่แข็งแรงพอก็อาจต้องโบกมือลาตลาดออกไปก่อนอย่างเช่น “ดอลฟิน วอลเล็ท” ที่ต้องยุติการให้บริการไปเมื่อไม่นานมานี้ นั่นจึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ ผู้เล่นที่มี ecosystem ที่แข็งแกร่งและยืนหยัดในตลาดในฐานะแอปฯ อี-วอลเล็ท อันดับ 1 ตลอดระยะเวลา 10 ปี อย่าง “ทรูมันนี่” ต้องออกมาทำแคมเปญทางการตลาดครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาด้วยการดึง “ลิซ่า แบล็กพิงก์” ศิลปิน K-Pop ชาวไทยที่โด่งดังระดับโลก มาเป็น “แบรนด์แอมบาสเดอร์” คนใหม่ พร้อมกับพัฒนาบริการทางการเงินสร้างความแข็งแกร่งให้กับ ecosystem ให้ก้าวสู่การเป็นซูเปอร์แอปทางการเงินที่ “เป็นไปได้ ได้ทุกคน” จนอาจเรียกได้ว่าจะเปลี่ยนแปลง Lifestyle ทางการเงินของคนไทยไปอย่างมากมายนับจากนี้

 

 

แต่คำถามคือแอปฯ ทรูมันนี่ ที่เราคุ้นเคยกันดีจะเปลี่ยนแปลง Lifestyle ทางการเงินของคนไทยไปได้อย่างไร และทำไม “ลิซ่า” จึงเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้บริการทางการเงินนั้น “เป็นไปได้ ได้ทุกคน”

 

จ่าย-ออม-ลงทุน-สินเชื่อ ได้ในแอปทรูมันนี่ 

ก่อนหน้านี้คนไทยจะรู้จัก ทรูมันนี่ ในฐานะ อีวอลเล็ท ที่มีไว้สำหรับเติมเงินเพื่อนำไปใช้จ่ายในช่องทางดิจิทัลรูปแบบต่างๆ แต่จริงๆแล้ว ทรูมันนี่ เป็นมากกว่านั้นเพราะตอนนี้มีบริการทางการเงินที่ครบวงจรทั้งการจ่าย การออม และการลงทุนสามารถทำลายข้อจำกัดในการเข้าถึงบริการทางการเงินของคนไทยทุกวันนี้ลงได้เกือบทั้งหมด เพื่อก้าวสู่การเป็น ซูเปอร์แอปการเงิน ภายใต้แนวคิด Ease-Value-Accessible โดยเสนอบริการใหม่ภายใต้คอนเซปต์ “เป็นไปได้ ได้ทุกคน” กับบริการ 3 กลุ่มคือ

 

 

1. บริการในกลุ่มใช้จ่าย (Pay) – เป็นบริการหลักที่เราคุ้นเคยกันดีที่จะมีบริการครอบคลุ่มทั้งการจ่ายเงินทั้งออนไลน์แพล็ตฟอร์มต่างๆ ร้านออฟไลน์ที่มีจุดให้บริการครอบคลุมทั่วประเทศ และมีบริการครอบคลุมใน 40 ประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะในสิงคโปร์ ญี่ปุ่น และเตรียมจะเปิดบริการรับชำระในประเทศจีนในช่วงสิ้นเดือนมิถุนายนนี้ด้วย นอกจากนี้ยังมีบริการวงเงิน ใช้ก่อน จ่ายทีหลัง อย่าง Pay Next และ Pay Next Extra ที่ผ่อนได้ด้วย โดยใช้ข้อมูลทางเลือกในการพิจารณา นอกจากข้อมูลเครดิตบูโร เพื่อให้ลูกค้าหลากหลายกลุ่มเข้าถึงวงเงินได้มากขึ้น

2.บริการในกลุ่มการเงิน (Finance) – บริการที่ช่วยให้เงินงอกเงยเป็นเรื่องง่าย เช่นบริการเงินฝากดอกเบี้ยสูงที่สามารถดูดอกเบี้ยที่งอกเงยได้ทุก ๆ วันจากแอป ขจัด Pain Point ของการฝากธนาคารทั่วไป นอกจากนี้ยังมีบริการด้านการลงทุนที่สามารถลงทุนได้ด้วยเงินเพียงแค่ 1 บาท หรือซื้อแผนประกันด้วยเงินหลักร้อยต้นๆ เท่านั้น โดยทั้งหมดสามารถทำได้ผ่านแอปพลิเคชั่นที่ลดขั้นตอนยุ่งยากต่างๆ สำหรับการ ออม และการลงทุนลงให้เหลือน้อยที่สุด ทำให้การเงินการลงทุนสามารถเข้าถึงคนไทยได้มากยิ่งขึ้น

3.บริการสนับสนุนธุรกิจ (Business) เพิ่มพลังธุรกิจให้ไปได้ไกลกว่า ด้วยบริการสนับสนุน SME และผู้ประกอบการรายย่อย เช่น ระบบสมาชิก และฟีเจอร์โปรโมทร้านค้า รวมไปถึงการอนุมัติวงเงิน โดยไม่ต้องใช้หลักฐานสลิปเงินเดือนเพื่อนำเงินไปใช้ต่อยอดธุรกิจต่อไปได้ เป็นต้น

นอกจาก 3 บริการหลักเหล่านี้แล้วยังมี ฟีเจอร์ใหม่อย่าง Recurring Manager (ผู้ช่วยจัดการออมและจ่าย) ให้ผู้ใช้สามารถจัดการรายจ่ายประจำต่างๆ ได้อย่างไม่สะดุด ไม่ว่าจะเป็น ค่าสมาชิกรายเดือน บิลมือถือ ดูยอดสรุปค่าบริการ และได้รับแจ้งเตือนเมื่อถึงกำหนดจ่าย รวมถึงสามารถตั้งค่าในการตัดเงินจากบัญชี ทรูมันนี่ ไปฝากเป็นเงินออมได้ทุกเดือน นอกจากนี้ยังมีสิทธิประโยชน์ให้ผู้ใช้งานเพิ่มเติมผ่านฟีเจอร์ “รีวอร์ดส” ที่รวมทุกส่วนลดและสิทธิพิเศษเข้าไว้ด้วยกัน ทั้งการใช้จ่าย ออม ให้การใช้งานคุ้มค่ายิ่งขึ้นในอนาคต

 

 

ไม่ว่าจะเป็นใครก็ใช้ ทรูมันนี่ ได้

แม้ปัจจุบัน ทรูมันนี่ จะเป็นแอปพลิเคชั่นอันดับ 1 ด้วย ecosystem ที่แข็งแกร่ง มีผู้ใช้งานมากถึง 27 ล้านราย มีผู้ใช้งาน Active User ต่อเดือนมากถึง 18 ล้านราย มีจุดให้บริการครอบคลุมทั่วประเทศมากถึง 7 ล้านจุด สามารถใช้จ่ายกับร้านค้าออนไลน์ได้มากกว่า 1.3 ล้านร้านค้าทั่วโลก แต่ ทรูมันนี่ ยังตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มจำนวนผู้ใช้งานเป็น 35 ล้านคนภายในสิ้นปี 2566 และวางเป้าหมายใหญ่ด้วยการมีผู้ใช้งาน 50% ของประชาการทั้งประเทศภายในปี 2568 รวมไปถึงวางแนวทางที่จะไปสู่การเป็น “เวอร์ชวล แบงก์” ในอนาคต ดังนั้นสิ่งที่ ทรูมันนี่ต้องทำก็คือการทำให้ ทรูมันนี่ เป็นบริการทางการเงินที่เข้าถึงคนไทยให้ได้มากที่สุด และการเข้าถึงบริการทางการเงินของไทย ยังมีโอกาสให้กับทรูมันนี่อีกมากมายมหาศาล

จากสถิติธนาคารแห่งประเทศไทยล่าสุดที่พบว่าผู้มีบัญชีเงินฝากที่มีเงินมากกว่า 50,000 บาทมีสัดส่วนเพียง 13.2% ของประชากรทั้งประเทศ อีกมากกว่า 87% เป็นบัญชีที่มีเงินน้อยกว่านั้นซึ่งส่วนใหญ่เป็นบัญชีที่ “ไม่มีเงิน” เลยด้วยซ้ำ ขณะที่สถิติจำนวน “ผู้ลงทุน” ในประเทศไทยเองก็มีจำนวนน้อยกว่า 5% ของจำนวนประชากรทั้งหมด ตัวเลขเหล่านี้เป็นสิ่งที่ ทรูมันนี่ มองเห็นและใช้เทคโนโลยีกำจัดอุปสรรคอุปสรรคต่างๆ ทั้งเรื่องความรู้ เวลา ทุนทรัพย์ อายุ และกระบวนการยุ่งยากต่างๆ ออกไปเพื่อให้บริการทางการเงินเข้าถึงคนไทยทุกคนได้

นั่นจึงเป็นเหตุผลให้ ทรูมันนี่ วางแผนขยายกลุ่มเป้าหมายให้ครอบคลุมกลุ่มประชากรในประเทศไทยมากที่สุดโดยเฉพาะในพื้นที่ “ต่างจังหวัด” ที่ยังเติบโตได้อีก และยังมองไปที่กลุ่มลูกค้าใหม่ 3 กลุ่มคือ

  1. กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีอายุยังไม่ถึงเกณฑ์ในการเปิดบัญชีธนาคารได้ แต่ปัจจุบันคนกลุ่มนี้ก็ต้องการความสะดวกจากการใช้จ่ายแบบไร้เงินสด นอกจากนี้บางคนก็สามารถสร้างรายได้ด้วยตนเองได้แล้ว
  2. กลุ่ม First Jobber – คนรุ่นใหม่ที่เริ่มมีรายได้ ที่จะสามารถเข้าถึงบริการการลงทุนรูปแบบต่างๆ ของทรูมันนี่ได้
  3. กลุ่ม SME – คนทำธุรกิจรายย่อยที่อาจไม่มีเครดิต ที่จะสามารถเข้าถึงบริการสินเชื่อเสริมสภาพคล่องให้กับธุรกิจได้มากขึ้น

 

“ลิซ่า” กุญแจสำคัญสู่ความ “เป็นไปได้ ได้ทุกคน”

นอกจากการปรับ Corporate Identity ขยับดีไซน์โลโก้ ทรูมันนี่ ให้มีความทันสมัยมากขึ้นแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่เป็นการสร้างปรากฏการณ์นำไปสู่การสื่อสารแบรนด์ออกไปให้ Mass และเข้าถึงคนทั่วประเทศตามคอนเซ็ปต์ “เป็นไปได้ ได้ทุกคน” ก็คือการตัดสินใจทุ่มทุนดึงคนไทยที่กลายเป็นศิลปิน K-Pop ระดับโลกอย่าง “ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล” หรือ “ลิซ่า แบล็กพิงก์” มาสื่อสารถึงลูกค้าผ่าน TVC ที่เพิ่งเปิดตัวออกไปเมื่อไม่นานมานี้ด้วย

 

 

การดึง “ลิซ่า” เข้ามาเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ของ ทรูมันนี่ ในครั้งนี้จะช่วยสื่อสารแบรนด์ออกไปได้ชัดเจนและสะท้อนความ “เป็นไปได้ ได้ทุกคน” ในหลายๆ เหตุผลด้วยกัน

 

 

  1. “ลิซ่า” สื่อสารสู่ตลาด Mass – ด้วยเป้าหมายของ ทรูมันนี่ ในการเป็นแอปพลิเคชั่นที่นำเสนอบริการทางการเงินที่เข้าถึงทุกคนผ่านแนวคิด “เป็นไปได้ ได้ทุกคน” การดึงลิซ่า เข้ามาเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์สื่อสารถึงคนกลุ่มใหญ่ในประเทศจึงตอบโจทย์ได้ดีที่สุด เพราะแน่นอนว่าคงมีคนไทยน้อยคนที่จะไม่รู้จัก ลิซ่า แบล็กพิงก์ ในเวลานี้ นอกจากนี้ “ลิซ่า” ยังเป็นตัวแทนของ “ความเป็นไปได้” ในฐานะเด็กชาวบุรีรัมย์คนหนึ่งที่มีพลังและขับเคลื่อนไปสู่ความฝันในการเป็นศิลปิน K-Pop ระดับโลกหมายความว่า ทรูมันนี่ ก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้ฝันของคนไทย ทั้งในแง่การเงิน การลงทุน ไปจนถึงการทำธุรกิจที่ “เป็นไปได้” เช่นกัน
  2. เจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ – ทรูมันนี่ ต้องการขยายฐานบริการทางการเงินให้กลุ่มคน GenZ รวมถึงเพิ่มฐานลูกค้าเดิมที่ส่วนใหญ่เป็นคน Gen Y ให้เพิ่มขึ้น และกลุ่มคนกลุ่มนี้ก็เป็นกลุ่มคนที่ชื่นชอบศิลปิน K-Pop นอกจากนี้แบรนด์ยังจะได้ประโยชน์จากพลังของแฟนด้อม ที่พร้อมสนับสนุนศิลปินที่ชื่นชอบเสมอที่สามารถดันแฮชแท็กให้ติดเทรนด์ได้ในช่วงข้ามคืน กลยุทธ์นี้จะช่วยสร้างการรับรู้ และจะช่วยดึงผู้ใช้งานในกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ให้เข้าถึงบริการทางการเงินมากยิ่งขึ้น
  3. สะท้อนความเป็นผู้นำของแบรนด์ – ทรูมันนี่ ถือว่าเป็นผู้นำในฐานะแอปพลิเคชั่นบริการทางการเงินดิจิทัลที่เป็นที่รู้จักเป็นอันดับหนึ่งในตลาด และการดึง ลิซ่า เข้ามาเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ก็จะช่วย “ตอกย้ำ” ภาพลักษณ์การเป็นผู้นำของแบรนด์ออกมาให้เด่นชัดมากยิ่งขึ้น เรื่องนี้พิสูจน์ได้จากตัวตนของ ลิซ่า ที่เป็นผู้นำทั้งในเรื่องความสามารถ มีความมั่นใจ รวมไปถึงเป็นผู้นำแฟชั่น จนสามารถก้าวไปสู่การเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ให้กับแบรนด์ดังที่ประสบความสำเร็จระดับโลกมาก่อนหน้านี้แล้วหลายแบรนด์ไม่ว่าจะเป็น Celine, Bulgari, MAC Cosmetic รวมถึงแบรนด์ดังอย่าง Pepsi, Samsung และ Adidas เป็นต้น และสิ่งนี้จะสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคที่จะกล้าตัดสินใจเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของความ “เป็นไปได้ ได้ทุกคน” จากทรูมันนี่ ในครั้งนี้

 

 

ทั้งหมดนี้คือแคมเปญใหญ่ของทรูมันนี่ ที่จะเปลี่ยนแปลง Lifestyle ทางการเงินของคนไทยไปตลอดกาล ทำลายอุปสรรคการเข้าถึงบริการทางการเงินของคนไทยลง ก้าวสู่การเป็นซูเปอร์แอปฯการเงิน ที่มีบริการครบทั้งจ่าย-ออม-ลงทุน รวมถึงการขอสินเชื่ออยู่ในแอปฯเพียงแอปเดียว และความพยายามนี้จะไม่สำเร็จหากไม่มี ” “ลิซ่า” แบล็กพิงก์ ที่จะเป็นกุญแจสำคัญที่จะมาช่วยสื่อสารเพื่อให้ ทรูมันนี่ ที่จะเป็นบริการทางการเงินที่ “เป็นไปได้ ได้ทุกคน” อย่างแท้จริงต่อไป


  • 3.1K
  •  
  •  
  •  
  •