อาวุธครบมือ! เปิดคลังแสงนวัตกรรมของเอไอเอส ที่ไม่หยุดพัฒนา เพื่อให้คนไทยได้ใช้เครือข่ายคุณภาพมาตรฐานโลก!

  • 3.2K
  •  
  •  
  •  
  •  

batch_0Pic AIS Network Innovator Marketing Oops

อุตสาหกรรมโทรคมนาคมบ้านเรา กำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ หลังจากเอไอเอสเปิดใช้คลื่น 1800 MHz ใหม่พร้อมกันทั่วประเทศ

การมีคลื่นความถี่ เปรียบเสมือนวัตถุดิบหลักตั้งต้นในการให้บริการเครือข่าย แน่นอนว่ายิ่งมีมาก ก็ยิ่งสามารถใช้ประโยชน์ได้มาก แต่อีกส่วนสำคัญที่ทำให้ 4G/3G ของแต่ละค่ายต่างกัน ทั้งในแง่ความเร็ว แรง เสถียร และความสามารถในการรองรับการใช้งาน (Capacity) คือการพัฒนา และต่อยอด คลื่นที่มีอยู่ในมือนี้ในมิติต่างๆ ซึ่งเรียกว่าวัดสกิลกันตรงนี้เลยว่าใครจะสามารถทำให้เครือข่ายมีศักยภาพสูงสุด

วันนี้เราจะมาย้อนดูภารกิจแบบผู้นำของเอไอเอส กับการลงทุน ลงแรง ในสนามของนวัตกรรมเครือข่ายแบบเต็มกำลัง ด้วยยุทธศาสตร์สำคัญคือการมองไกลกว่าแค่การแข่งขันเพื่อเป็นที่ 1 แต่มีเป้าหมายคือนำชื่อประเทศไทยไปปักหมุดบนแผนที่โลก ในฐานะเจ้าแห่งนวัตกรรมด้านสื่อสารที่องค์กรด้านเทเลคอมชั้นนำทั่วโลกหันมอง และให้การยอมรับ!

batch_0Pic_AIS K Wasist

“ เราทำงานอย่างหนักเพื่อจะพิสูจน์ตัวเองในสนามระดับโลกนี้ ด้วยแนวคิด Network Innovator ที่ไม่ใช่เพียงการนำเทคโนโลยีจากบริษัทผู้ผลิตของต่างประเทศ มาติดตั้งบนสถานีฐาน และใช้งานเลยแบบรายอื่นๆ แต่เรามองจากพฤติกรรมของลูกค้าคนไทย พื้นที่การอยู่อาศัย เรียกได้ว่าทั้ง Demographic และ Geographic ที่ย่อมไม่เหมือนกับประเทศอื่นๆ เราจึงพิถีพิถันในการปรับประยุกต์ใช้ รวมถึงคิดค้นต่อยอดนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อ Adapt ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้งานอย่างที่เราเรียกว่า Tailor Made Network

เพราะโจทย์ของเราคือ เมื่อมีการประชุมกับ Vendor หรือ Telecom Partner ในภูมิภาค จะทำอย่างไรให้ชื่อของเอไอเอส กลายเป็นผู้คิดค้นเทคโนโลยีเครือข่ายเป็นรายแรก ที่พาร์ทเนอร์รายอื่นยกให้เป็นต้นแบบ และอีกหนึ่งเป้าหมายที่สำคัญที่สุด คือมอบประสบการณ์ให้คนไทยได้ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุด โดยเฉพาะลูกค้าเอไอเอส ที่จะได้สัมผัสคุณภาพการใช้งานเครือข่ายที่แตกต่างจากคู่แข่งอยู่เสมอ”

คุณวสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าฝ่ายงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศ เอไอเอสกล่าว

จากจุดเริ่มต้นจนถึงวันนี้ กว่า 20 ปี ที่การันตีผลงานนวัตกรรมเครือข่ายของเอไอเอส ด้วยการก้าวขึ้นเป็น The First Innovation Network ที่สามารถพัฒนา และให้บริการเป็นรายแรกของโลกอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหลายนวัตกรรมได้กลายเป็นมาตรฐานใหม่ของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมที่โอเปอเรเตอร์ทั่วโลกให้การยอมรับ เสมือนคลังแสงของเอไอเอสที่สะสมอย่างต่อเนื่อง

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2014…

batch_0Slide2

•เอไอเอสได้ออกไอเดีย พัฒนาร่วมกับหัวเว่ย เพื่อดีไซน์เสาส่งสัญญาณเครือข่ายใหม่จากเดิมเป็นเสาที่กระจายสัญญาณผ่าน 3 Sectors เพิ่มอีกเท่าตัวเป็น 6 Sectors ซึ่งเป็นรายแรกของโลกที่ให้บริการจริง ซึ่งทำให้สามารถรักษามาตรฐานประสิทธิภาพการให้บริการกับลูกค้าทั้ง 40 กว่าล้านรายได้ แม้จะอยู่ในช่วงที่เอไอเอสกำลังขยายเครือข่าย 3G บนคลื่น 2100 MHz ซึ่งอาจมีข้อจำกัดเรื่องคลื่นความถี่อยู่บ้าง จึงเป็นแรงผลักดันให้เดินหน้าคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาให้ดีที่สุดอย่างต่อเนื่อง

ในปี 2015…

•ริเริ่มนำ Dual Band Network มาใช้กับเครือข่ายเอไอเอสเป็นรายแรกของโลก โดยเป็นการรวมอุปกรณ์ที่รับ-ส่งสัญญาณ ของคลื่น 1800MHz และ 2100MHz ไว้ในตัวเดียวกัน เพื่อประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง จากเดิมที่อุปกรณ์รับ-ส่งสัญญาณจะต้องติดตั้งแยกคลื่นละตัว และนวัตกรรมในรูปแบบนี้ในปัจจุบันได้ถูกโอเปอเรเตอร์นำไปใช้ทั่วโลก

ในปี 2016….

batch_0AIS 4.5 G

•การเป็นรายแรกของโลกไม่ได้หยุดเพียงแค่นี้ โดยเอไอเอสได้นำเทคโนโลยี MIMO 4X4 มาใช้ เพื่อเพิ่มความสามารถในการรับส่งข้อมูลเร็วกว่าเครือข่าย 4G ถึง 2 เท่า และทำให้เอไอเอสได้กลายเป็นโอเปอเรเตอร์ที่ประกาศการให้บริการเครือข่าย 4.5G เป็นทางการรายแรกของโลก ที่ให้ความเร็วในการรับส่งข้อมูลถึง 1 Gbps

ในปี 2017…

batch_0AIS Massive Mimo

•เอไอเอสยังต่อยอดความสำเร็จด้วยการพัฒนาเทคโนโลยี 4G Massive MIMO 32T32R ในระบบ FDD ที่สามารถให้บริการบนความเร็วที่เพิ่มขึ้นจาก 4G เดิม 5-8 เท่า (ขึ้นอยู่กับมือถือที่ใช้งาน) เพื่อเตรียมความพร้อมไปสู่ยุค 5G ในอนาคตได้เป็นรายแรกของโลกเช่นกัน

batch_0AIS THE NEXT GENERATION NETWORK-7

•ในปีเดียวกันกันนี้ ยังมีอีกความสำเร็จครั้งใหญ่ที่ปฏิวัติวงการเครือข่ายมือถือในประเทศไทยไปอีกขั้น เมื่อเอไอเอสประกาศเปิดตัว เครือข่าย AIS NEXT G นวัตกรรมเครือข่ายที่นำความเร็วของ AIS 4G ADVANCE และ AIS SUPER WiFi มารวมกัน ทำให้คนไทยได้ใช้เครือข่ายที่เร็ว แรง ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งสามารถให้บริการทั่วประเทศไทยได้ทันที ในพื้นซึ่งมีสัญญาณ 4G ซึ่งครอบคลุมแล้วกว่า 98% และพื้นที่ที่มี AIS SUPER WiFi ซึ่งมีให้บริการทั่วประเทศมากกว่า 10,000 จุด อย่างไรก็ตามอาจจะยังมีข้อจำกัดเรื่องรุ่นมือถือที่รองรับการใช้งานอยู่บ้าง

ไฮไลต์สำคัญของปี 2018…

•ดังนั้นเอไอเอสจึงก้าวข้ามขีดจำกัดเรื่องดีไวซ์ ด้วยการเปิดตัวแอป “AIS NEXT G” พร้อมร่วมมือกับพันธมิตรผู้ผลิตสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ทุกแบรนด์ ให้คนไทยทุกคนที่ใช้แอนดรอยด์สามารถใช้งาน NEXT G ได้ทันที แค่โหลดแอปฯ

“จุดเริ่มต้นของ NEXT G มาจากแนวคิดของเราที่ว่าในเมื่อในพื้นที่เดียวกัน มีสัญญาณเน็ตให้ใช้ถึง 2 เครือข่าย คือ 4G และ WiFi ทำไมเราถึงไม่เอาความเร็วทั้งสองอย่างมารวมกัน เพื่อให้ลูกค้าได้สปีดเร็วขึ้นไปอีก นี่ก็เป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมที่เราภาคภูมิใจอย่างมาก โดยนับเป็นรายแรกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และของไทย” คุณวสิษฐ์กล่าว

ไฮไลต์สำคัญของ ปี 2018….

batch_0AIS eMTC Infographic2

•ในวันที่ IoT ได้เริ่มเข้ามามีบทบาทกับชีวิตประจำวันคนทั่วโลกมากขึ้น เอไอเอส ได้ประกาศความพร้อมให้บริการ AIS IoT เชิงพาณิชย์รายแรกและรายเดียวในประเทศไทยผ่านโครงการร่วมมือ AIS IoT Alliance Program ซึ่งมีสมาชิกเข้าร่วมกว่า 700 องค์กร ซึ่งทาง GSMA ได้ออกมารับรองว่าเอไอเอส เป็นผู้ให้บริการเครือข่ายรายแรก และรายเดียวในไทย ที่มีทั้งเครือข่าย NB-IoT และ eMTC ครอบคลุมทั่วประเทศ พร้อมให้บริการเชิงพาณิชย์แล้ว

•เมื่อเร็วๆ นี้ หลังเอไอเอสประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz ซึ่งเป็นคลื่นความถี่หลักในการให้บริการ 4G ด้วยสนนราคารวม 12,511 ล้านบาท เอไอเอสขึ้นแท่นเป็นค่ายมือถือที่มีคลื่น 1800 MHz จำนวน 40 MHz (20 MHz x 2) มากที่สุดในอุตสาหกรรมทันที และการันตีได้ว่าสามารถให้บริการ 4G ที่ดีที่สุด ด้วยแบนด์วิธที่กว้างที่สุด สามารถรองรับ และมอบคุณภาพให้กับลูกค้าได้มากที่สุดนั่นเอง

สรุป

การรักษาตำแหน่งผู้นำในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของไทย ไม่ใช่งานง่ายๆ เอไอเอสแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่น และทำงานอย่างหนัก จนวันนี้ รั้งอันดับ 1 หัวหอกในธุรกิจสื่อสาร ที่มีอาวุธด้านนวัตกรรมครบมือ ไม่ใช่แค่เพื่อแข่งขันในประเทศ แต่เป็นความพยายามที่จะผลักดันให้ชื่อของประเทศไทยไปอยู่บนแผนที่โลกในฐานะหนึ่งในเจ้านวัตกรรมสื่อสาร ในยุคที่โลกทั้งหมดถูกขับเคลื่อนด้วยดิจิทัล เพื่อให้มั่นใจว่า ประเทศไทยจะมี Digital Infrastructure ที่แข็งแกร่งและพร้อมเดินหน้าทัดเทียมนานาประเทศ

Timeline Infographics layout with eight (8) steps.

 


  • 3.2K
  •  
  •  
  •  
  •