AIS ส่งเทคโนโลยีช่วยสู้ COVID ภายใต้แนวคิด “เชื่อมต่อ ช่วยเหลือ เพื่อคนไทย” ชี้ปลาใหญ่ต้องช่วยปลาเล็ก

  • 15
  •  
  •  
  •  
  •  

การระบาด COVID ระลอกที่ 3 ถือเป็นสิ่งที่เกินความคาดหมายของหลายๆ คน ที่สำคัญการระบาดระลอกนี้มีการกระจายวงกว้างมากขึ้น เนื่องจากเป็นสายพันธุ์อังกฤษที่แพร่ได้อย่างรวดเร็ว และมีความรุนแรงของอาการเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสิ่งที่ควรปฏิบัติตนคือการรักษาระยะห่าง และต้องสวมหน้ากากอนามัย รวมทั้งการล้างมือบ่อยๆ จะช่วยลดการแพร่กระจายเชื้อได้

การแพร่กระจายโรคระบาดระลอกนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่ภาคเอกชนต้องร่วมช่วยเหลือ ซึ่ง บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS เมื่อปีที่แล้วมีการเตรียมแผนการรับมือสถานการณ์ COVID โดยเฉพาะในเรื่องของการทดถอย การฟื้นฟูและการเติบโต ไม่ว่าอะไรจะเกิดก็ต้องเกิด สิ่งที่ทำได้คือการร่วมมือฝ่าฟันวิกฤติครั้งนี้ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาการใช้งาน Data มีการเติบโตเพิ่มขึ้นถึง 30% ทั้งบนอุปกรณ์เคลื่อนที่และ PC ขณะที่รายได้กลับไม่ได้เติบโตเพิ่มขึ้น 30% เหมือนปริมาณการใช้งาน Data ซึ่งการเติบโตของธุรกิจการสื่อสารขึ้นอยู่กับกำลังซื้อ ซึ่งผูกพันธ์กับสภาพเศรษฐกิจ

โดย คุณสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS คาดว่าปีนี้ GDP จะโตเพียง 2%-3% ขณะที่กลุ่มธุรกิจสื่อสารน่าจะโตได้ไม่เกิน 3%-4% อย่างไรก็ตามธุรกิจด้ายการสื่อสารแม้จะได้รับผลกระทบแต่ก็ยังดีกว่าอุตสาหกรรมอื่น อาทิ อุตสาหกรรมโรงแรม อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อุตสาหกรรมสายการบิน ซึ่ง AIS มองว่าถึงเวลาแล้วที่ทุกภาคส่วนต้องจับมือร่วมกันพาประเทศไทยผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไปด้วยกัน แม้ว่า AIS จะเพิ่งได้รับใบอนุญาต 5G ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ปีที่ผ่านมา เมื่อเกิดสถานการณ์โรคระบาด AIS ก็ยังคงพัฒนาเทคโนโลยี 5G อย่างต่อเนื่องผ่านโครงการช่วยเหลือ

ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งเครือข่าย 5G ในโรงพยาบาลรวมถึงการนำหุ่นยนต์ 5G เพื่อช่วยในการตรวจสอบการติดเชื้อ COVID  หรือการที่ AIS นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเหลือนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าสู่ State Quarantine ภายใต้โครงการ Digital Yacht Quarantine ผ่านอุปกรณ์รองรับเทคโนโลยี NB-IoT ซึ่งในช่วงการระบาดระลอก 2 นอกจาก AIS จะนำเทคโนโลยีไปช่วยตรวจสอบการเชื้อแล้ว เทคโนโลยียังช่วยเหลืออุตสาหกรรมท่องเที่ยวให้กลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง

สำหรับการระบาดระลอก 3 ครั้งนี้ AIS เน้นการความช่วยเหลือภายใต้แนวคิด “เชื่อมต่อ ช่วยเหลือ เพื่อคนไทย” โดยจะจัดทำภายใต้ 4 แกนหลักที่ต่อยอดจากโครงการความช่วยเหลือในระลอกแรกและระลอกที่ 2 โดยแกนแรกจะเป็นการเข้าไปสนับสนุนโรงพยาบาลสนาม จำนวน 31 โรงพยาบาลรวมกว่า 10,000 เตียง โดยจะเป็นการนำโครงข่ายเข้าไปช่วยเหลือเพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อในการสื่อสาร และส่งผ่านข้อมูล ซึ่งการมี Network ที่ดีจะช่วยให้สามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แกนที่ 2 เป็นการสนับสนุน โครงการ Telemedicine ซึ่งเป็นการนำ Partner อย่างแอปฯ “มีหมอ” มาผสมผสานร่วมเครือข่าย 5G ในการลดการทำงานของแพทย์ รวมถึงลดความเสี่ยงในการพบปะกับผู้ป่วย ขณะที่แกนที่ 3 จะเป็นการนำระบบ AI เข้ามาช่วยตรวจสอบผลการติดเชื้อ ซึ่งจะช่วยให้สามารถทราบผลการติดเชื้อได้อย่างรวดเร็ว โดยเป็นความร่วมมือร่วมกับสถาบันจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย และแกนที่ 4 การร่วมมือกับ อสม.ในการจัดตั้งทีมงาน อสม.ออนไลน์ ปัจจุบันมีอาสาสมัครเข้าร่วมโครงการมากกว่า 520,000 คน โดยมีการสนับสนุนระบบการติดตามผู้ป่วย พร้อมด้วยฟีเจอร์ในการดูแลสุขภาพจิตจากผลกระทบของ COVID แม้ทั้ง 4 แกนหลักจะไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ก็เป็นการพัฒนาเพื่อต่อยอดให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีมากยิ่งขึ้น ภายใต้แนวคิด AIS 5G สู้ภัย COVID

ด้าน คุณวสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าฝ่ายงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AID ชี้ว่า ทีมงาน AIS ทุกคนมีความตั้งใจอย่างมากที่จะนำเทคโนโลยีสื่อสารเข้ามาสนับสนุนภารกิจการรับมือภาวะการระบาดให้ได้อย่างดีที่สุด ทั้งการสนับสนุนซิมการ์ดและ SMS ให้แก่โรงพยาบาลต่างๆ เพื่อให้บริการ Telemedicine ทั้งการนำหุ่นยนต์ไปให้บริการเพื่อลดความเสี่ยงบุคลากรทางการแพทย์ รวมไปถึงการติดตั้งเครือข่ายสื่อสารในพื้นที่โรงพยาบาลสนามในพื้นที่เสี่ยงซึ่งปัจจุบันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เสริมขีดความสามารถในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ และให้กลุ่มผู้ป่วยได้มีโอกาสสื่อสารกับครอบครัวให้คลายความกังวล

คุณสมชัยยังเพิ่มเติมอีกว่า มิติการระบาดระลอก 3 ถือเป็นเรื่องใหญ่ ซึ่งแตกต่างจากปีที่แล้วอย่างมากทั้งการระบาดและความรุนแรงของโรค AIS เพียงรายเดียวไม่สามารถก้าวผ่านไปได้ จึงจำเป็นที่จะต้องร่วมมือกับทุกหน่วยงานทุกภาคส่วนในประเทศ โดยเฉพาะ 3 ส่วนหลักต้องร่วมมือกัน ทั้งในส่วนของภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน ตั้งแต่การเตรียมพร้อมรับมือ การร่วมมือกันต่อสู้ และปรับตัวรับสิ่งที่เกิดขึ้นและสอ่งที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งหน่วยงานเดียวหรือภาคส่วนเดียวคงไม่สามารถทำได้

สิ่งที่ต้องเตรียมตัวคือ ภาครัฐต้องเตรียมความพร้อมในเรื่องของวัคซีน ซึ่งประเทศจะเดินหน้าต่อไปได้ต้องสร้างภูมิคุ้มกันไม่ให้เกิดรอบใหม่ อย่างน้อยต้องฉีดวัคซีนให้ได้ 70% ของประชากรขึ้นไปและภาครัฐต้องเตรียมมาตรการเยียวยาหลังการออกมาตรการต่างๆ จากภาครัฐ และมาตรการเหล่านั้นต้องเป็นมาตรการที่จะช่วยฟื้นฟูได้ระยะยาวอย่างยั่งยืน สำหรับภาคเอกชนต้องหันมาร่วมมือกันเพื่อช่วยเหลือประชาชนมากกว่าหันมาแข่งขันกัน ยังมีโรงพยาบาลสนามอีกมากที่ต้องการความช่วยเหลือ ปัจจุบันปลาใหญ่ต้องช่วยปลาเล็ก ซึ่งเอกชนรายใหญ่ต้องยอมให้เอกชนรายเล็กได้เติบโตบ้าง

AIS พร้อมช่วยเหลือในด้านโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อช่วยเหลือธุรกิจรายเล็กๆ ขณะที่ธุรกิจรายเล็กๆ เองก็ต้องประหยัดเพื่อนำเงินที่ได้ไปช่วยพัฒนาธุรกิจอย่างแท้จริง และธุรกิจรายเล็กๆ ควรใช้ Digitalization ในการพัฒนาธุรกิจ เพื่อให้สามารถเติบโตได้ในอนาคต AIS หวังว่าในช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้สถานการณ์ COVID ควรจะต้องจบลงได้แล้ว เพื่อให้ช่วงครึ่งปีหลัง จะได้มีโอกาสฟื้นฟูและเติบโตต่อไป


  • 15
  •  
  •  
  •  
  •  
Gigolo
เมื่อเทคโนโลยีอยู่ใกล้กับชีวิตทุกคน มารู้เท่าทันเทคโนโลยีเพื่อใช้มัน แต่อย่าให้เทคโนโลยีมันใช้เรา
CLOSE
CLOSE