กรุงเทพฯ คว้าแชมป์เมืองจุดหมายปลายทางของโลก ปี’59 โดย มาสเตอร์การ์ด

  • 628
  •  
  •  
  •  
  •  

Thailand detailed skyline. Vector illustration

จากการสำรวจล่าสุดของ มาสเตอร์การ์ด ที่เผยข้อมูลเกี่ยวกับการสำรวจสุดยอดจุดหมายปลายปลายทางโลกของมาสเตอร์การ์ดปีที่ 6 (Mastercard Globla Destinations Cities Index) ในปีนี้ “กรุงเทพมหานคร” คว้าแชมป์อันดับหนึ่งเมืองที่มีผู้เดินทางมาเยือนมากที่สุดในโลก หลังจากอยู่ในอันดับ 2 มา 2 ปีติดต่อกัน ทั้งนี้ 5 เมืองในเอเชียที่ติดอันดับเมืองสุดยอดของโลก ได้แก่ กรุงเทพฯ สิงคโปร์ กัวลาลัมเปอร์ โตเกียว และโซล

ส่วนอีก 7 เมืองที่ติดอันดับเมืองจุดหมายปลายทางที่มีการเติบโตสูงสุดคือ โอซาก้า เฉิงตู โคลอมโบ โตเกียว ไทเป ซีอาน และเซียะเหมิน

การสำรวจดังกล่าวไม่เพียงจัดอันดับ 132 เมืองทั่วโลกที่มีผู้มาเยือนมากที่สุดเท่านั้น แต่ยังเป็นการคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวและการใช้จ่ายในปีปฏิทิน 2559 พร้อมกับนำเสนอข้อมูลที่ทำให้เข้าใจรูปแบบการเดินทางและการจับจ่ายใช้สอยของนักท่องเที่ยวทั่วโลกในเชิงลึกอีกด้วย

ผลการสำรวจยังระบุด้วยว่าการเดินทางระหว่างประเทศและการใช้จ่ายยังเติบโตอย่างต่อเนื่องในอัตราที่รวดเร็วกว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมทั่วโลก ชี้ให้เห็นว่าเมืองต่างๆ ยังคงเป็นพลังขับเคลื่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยรวม

slide2

ในปี 2559 กรุงเทพฯ คว้าตำแหน่งจุดหมายปลายทางอันดับหนึ่งของโลก จะต้องต้อนรับนักท่องเที่ยวจากทุกมุมโลกมากถึง 21.47 ล้านคนซึ่งมากกว่าลอนดอนที่เป็นจุดหมายปลายทางอันดับสอง ทั้งนี้ จุดหมายปลายทาง 10 อันดับแรกที่จะต้อนรับนักท่องเที่ยวประเภทที่มีการค้างคืนมากที่สุด ได้แก่

slide3

1. กรุงเทพมหานคร – 21.47 ล้านคน
2. ลอนดอน – 19.88 ล้านคน
3. ปารีส – 18.03 ล้านคน
4. ดูไบ – 15.27 ล้านคน
5. นิวยอร์ก – 12.75 ล้านคน
6. สิงคโปร์ – 12.11 ล้านคน
7. กัวลาลัมเปอร์ – 12.02 ล้านคน
8. อิสตันบูล – 11.95 ล้านคน
9. โตเกียว – 11.70 ล้านคน
10. โซล – 10.20 ล้านคน

slide5
ตารางการเปรียบเทียบจำนวนนักท่องเที่ยวแบบค้างคืน ตั้งแต่ปี 2012 – 2016

เมืองในเอเชียครองตำแหน่งเมืองจุดหมายปลายทางที่มีการเติบโตสูงสุด

ในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา โอซากาเป็นเมืองที่มีการเติบโตด้านนักเดินทางจากต่างประเทศมากที่สุด ตามด้วย เฉินตู ซึ่งเป็นเมืองหลวงของมณฑลเสฉวนของจีน ทั้งนี้ 10 เมืองปลายทางที่มีการเติบโตสูงสุดตาม CAGR (2009-2016) คือ

slide12

1. โอซากา – 24.15%
2. เฉิงตู – 20.14%
3. อาบู ดาบี – 19.81%
4. โคลัมโบ – 19.57%
5. โตเกียว – 18.48%
6. ริยาดห์ – 16.45%
7. ไทเป – 14.53%
8. ซีอาน – 14.20%
9. เตหะราน – 12.98%
10. เซียะเหมิน – 12.93%

slide13

การเติบโตของโอซากาในด้านจำนวนนักท่องเที่ยวเป็นผลจากความสำเร็จในการดึงดูดนักท่องเที่ยวจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักท่องเที่ยวจากจีนและเกาหลีใต้ สำหรับเมืองในประเทศจีนทั้ง 3 เมืองคือ เฉิงตู ซีอาน และเซียะเหมิน การเติบโตของทั้งสามเมืองแสดงให้เห็นว่าจีนเป็นประเทศที่ดึงดูดนักเดินทางจากต่างประเทศได้มากขึ้น ส่วนโคลัมโบซึ่งอยู่ในอันดับที่สี่ ก็แสดงให้เห็นการฟื้นตัวของอุตสากรรมการท่องเที่ยวหลังจากสงครามกลางเมืองจบลง

นักท่องเที่ยวที่มากรุงเทพฯ ส่วนใหญ่เน้น “เที่ยว”

ผลการสำรวจประจำปี 2559 ชี้ให้เห็นว่า นักเดินทางส่วนใหญ่มาเยือนจุดหมายปลายทางระดับโลก 20 อันดับแรกเพื่อท่องเที่ยวพักผ่อนมากกว่าจุดประสงค์อื่น (กรุงเทพฯ 85.6%) ยกเว้นเซี่ยงไฮ้ ซึ่งกว่าครึ่งหนึ่งของนักเดินทางไปเพื่อจุดประสงค์ทางธุรกิจ (54.6%)

slide6

ในส่วนที่เกี่ยวกับการใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้น นักท่องเที่ยวที่เดินทางไปยังเมืองจุดหมายปลายทางส่วนใหญ่ใช้เงินไปกับค่าใช้จ่ายด้านที่พัก ยกเว้นอิสตันบูล การใช้จ่ายด้านที่พักชี้ให้เห็นความหลากหลายของค่าครองชีพในเมืองต่างๆ เพราะการใช้เงินไปกับที่พักในเมืองอย่างปารีส มิลาน โรม อัมสเตอร์ดัม และเวียนนาอาจสูงถึง 40% ในขณะที่ค่าที่พักในกรุงเทพฯ โซล โอซากา เซี่ยงไฮ้และอิสตันบูลคิดเป็นน้อยกว่า 1 ใน 3 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด โซลติดอันดับเมืองที่นักท่องเที่ยวใช้เงินไปกับการช้อปปิ้งมากกว่าส่วนอื่นๆถึงร้อยละ 58.7 ตามมาด้วยลอนดอน (46.7%) โอซากา (43.4%) และโตเกียว (43.1%)

mastercard-global-destination-cities-index-2016-700
ในภาพ (จากซ้ายไปขวา): 1. นางจอร์เจ็ท แทน รองประธานอาวุสโสฝ่ายสื่อสาร ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มาสเตอร์การ์ด 2. ดร.ยูวา เฮดริก-หว่อง หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์และสมาชิกสำนักงานคณะกรรมการที่ปรึกษาทางวิชาการจากมาสเตอร์การ์ด 3. นายฉัททันต์ กุญชร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการฝ่าย ฝ่ายโฆษณาและประชาสัมพันธ์ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 4. รศ.ดร.ชวนี ทองโรจน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา 5. ดร.ผุสดี ตามไท รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 6. นายแอนโทนิโอ คอร์โร ผู้จัดการประจําประเทศไทยและพม่า มาสเตอร์การ์ด 7. นายอิศเรศ จิราธิวัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์การค้า เซ็นทรัลเวิล์ด

แนวโน้มการท่องเที่ยวของแต่ละภูมิภาคทั่วโลกมี ดังนี้

นอกจากนี้ภายในงาน มาสเตอร์การ์ดยังได้เผยแนวโน้มการท่องเที่ยวของแต่ละภูมิภาคทั่วโลก เริ่มจาก ยุโรป – ลอนดอน ซึ่งอยู่ในอันดับสองในการสำรวจเมืองจุดหมายปลายทางของโลกและอยู่ในอันดับหนึ่งของทวีปยุโรป ถือเป็นเมืองที่ป้อนนักเดินทางและปริมาณการจับจ่ายใช้สอยสู่เมืองอื่นๆ ซึ่งล้วนเป็นเมืองปลายทางชั้นนำของยุโรปทั้งสิ่น ไม่ว่าจะเป็นปารีส อิสตันบูล บาร์เซโลน่า และอัมสเตอร์ดัม

ลาติน อเมริกา – ลิมาเป็นทั้งจุดหมายปลายทางที่มีผู้มาเยือนมากที่สุดและมีการเติบโตรวดเร็วที่สุดในภูมิภาคนี้ด้วยจำนวนผู้มาเยือน 4.03 ล้านคน (อันดับ 32 ของโลก) และมีอัตราเติบโต 9.9% (อันดับ 15 ของโลก) ตาม CAGR อย่างไรก็ตาม การจัดอันดับการใช้จ่ายของผู้มาเยือนแบบค้างคืนกลับแตกต่างอย่างมาก โดยปันตา คานาเป็นเมืองที่มีการใช้จ่ายสูงสุดในภูมิภาคนี้ที่ 2.95 พันล้านเหรียญสหรัฐ ตามมาด้วยเม็กซิโก ซิตี้ (2.27 พันล้านเหรียญสหรัฐ)

ตะวันออกกลาง และแอฟริกา – ดูไบเป็นเมืองที่มีผู้มาเยือนมากที่สุดในภูมิภาคนี้ (อันดับ 4 ของโลก) ขณะที่อาบู ดาบีเป็นเมืองที่มีการเติบโตรวดเร็วที่สุดในภูมิภาคตั้งแต่ปี 2009 โดยมีอัตราการเติบโตตาม CAGR ที่ 19.81% ซึ่งทำให้สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เป็นทั้งเมืองที่มีผู้มาเยือนมากที่สุดและเมืองที่เติบโตเร็วที่สุดในภูมิภาคเป็นปีที่สองติดต่อกัน

อเมริกาเหนือ – นิวยอร์ก ซึ่งอยู่อันดับ 5 ของจุดหมายปลายทางของโลก คือเมืองที่มีผู้มาเยือนมากที่สุดในภูมิภาคอเมริกาเหนือ พร้อมกับมีการใช้จ่ายของผู้มาเยือนแบบค้างคืนสูงสุดแบบทิ้งห่างเมืองอื่นที่ 18.25 พันล้านเหรียญสหรัฐ เกือบ 90%ของผู้ที่เดินทางมานิวยอร์กมาจากนอกภูมิภาคอเมริกาเหนือ นำโดยลอนดอน ปารีส เซาเปาโล และปักกิ่ง


  • 628
  •  
  •  
  •  
  •