“ทำราเมง” ยุคดิจิทัลก็ต้อง Transform! เมื่อผู้ผลิตเครื่องจักรรายใหญ่ “OHTAKE” ลุกขึ้นมาใช้ IoT เสริมธุรกิจ

  • 270
  •  
  •  
  •  
  •  

Engineer hand using tablet, heavy automation robot arm machine in smart factory industrial with tablet real time monitoring system application. Industry 4th iot concept.

เราต่างรู้ดีว่า ยุคดิจิทัลที่นวัตกรรมเข้ามาพลิกโฉมพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภค ทำให้ทุกธุรกิจต้องลุกขึ้นมาปรับเปลี่ยนไม่ว่าจะรับกระแสเทคโนโลยีหรือรับเทรนด์ แม้แต่ธุรกิจเกี่ยวกับอาหารก็ต้องขยับตัว รวมถึงในฐานะผู้ผลิตเครื่องจักรทำเส้นราเมงในประเทศไทยญี่ปุ่นอย่างแบรนด์ “โอตาเคะ” (OHTAKE) ที่ประกาศปรับธุรกิจเพื่อเข้าถึงความต้องการของผู้บริโภคยิ่งขึ้น โดยความน่าสนใจของ โอตาเคะ อยู่ที่การนำนวัตกรรม Data Driven Manufacturing และ เทคโนโลยี Internet of Things เข้ามาเป็นตัวช่วย เพื่อพัฒนาเครื่องจักรให้โฟกัสตรงตามความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น

ประเด็นนี้ เอบีม คอนซัลติ้ง” ในฐานะบริษัทที่ปรึกษาในการให้บริการปรับเปลี่ยนองค์กรธุรกิจ เปิดเผยว่า การที่ โอตาเคะ นำโซลูชั่น Data Driven Manufacturing มาดำเนินธุรกิจ ทำให้ประสบความสำเร็จจากการควบคุมและคาดการณ์การซ่อมบำรุงของเครื่องจักรในสายการผลิตได้ รวมถึงใช้ IoT ในสายการผลิตเพื่อปรับปรุงเครื่องและเพิ่มคุณภาพเส้นราเมง แทนที่การขายเครื่องจักรแบบดั้งเดิม ซึ่งตอบโจทย์การเข้าสู่ยุค Digital Transformation อย่างแท้จริง ทั้งยังช่วยให้ทำงานร่วมกับลูกค้าได้อย่างใกล้ชิดเพื่อปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์

Injection moulding machine in plastic factory

โดย คุณสุปรีดา จิรวงศ์ศรี ผู้บริหารระดับสูง บริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด ระบุว่า ปัจจุบันบริษัทมีนวัตกรรมด้าน Digital Transformation 3 รูปแบบ ได้แก่ Data Driven Manufacturing, Data Driven Engineering และ Connected Home Appliances

ส่วนความร่วมมือของโอตาเคะ กับเอบีม คอนซัลติ้ง นั้นดำเนินไปภายใต้ 2 วัตถุประสงค์ คือ 1.เพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องจักรด้วยการเพิ่มเวลาการทำงานของเครื่องจักร และลดเวลาที่เครื่องจักรเสียเนื่องจากทุกวินาทีที่เครื่องจักรเสียหมายถึงรายได้ที่สูญหายไปของลูกค้า เพื่อช่วยให้ลูกค้าที่ใช้เครื่องจักรของโอตาเคะทำงานได้อย่างราบรื่น โอตาเคะจึงจำเป็นต้องทราบถึงปัญหาที่เป็นไปได้ทั้งหมด เพื่อเตรียมวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันหรือแก้ไขปัญหาให้ทันท่วงที 2.เพิ่มคุณภาพให้กับเส้นราเมง ซึ่งมีทั้งเรื่องน้ำหนักคงที่ของเส้น ซึ่งในอดีตความท้าทายหนึ่งคือ ปัญหาน้ำหนักเส้นราเมงไม่คงที่เมื่อถูกตัด แต่เมื่อนำเทคโนโลยี IoT เข้ามาใช้งานก็ทำให้เครื่องจักรสามารถเก็บข้อมูลและทำให้สัมพันธ์กับอุณหภูมิและความชื้น

Robotic artificial automated manufacturing smart robot touch screen tablet wireless.

นอกจากนี้ ในกระบวนการผลิตเส้นราเมงยังมีการติดตั้งเทคโนโลยี RFID ที่ใบมีด เพื่อระบุใบมีดที่มีการใช้งานสูงสุด และประเมินความต้องการบำรุงรักษาของใบมีด รวมถึงการสั่นสะเทือนของมอเตอร์ หรือแม้แต่น้ำหนักของเส้นที่ผลิตได้ ทั้งหมดมีการวัดและจัดเก็บข้อมูลเอาไว้ ส่วนของการทอดก็มีการติดตั้งเซ็นเซอร์ไว้ที่เครื่องฉายลำแสงและหม้อทอด เพื่อตรวจจับความชื้นและอุณหภูมิที่สัมพันธ์กับตัวเครื่อง และเมื่อข้อมูลทั้งหมดถูกรวมเข้าด้วยกันแล้ว ก็จะถูกส่งต่อไปยังเครื่องมือ PLC ที่ร่วมมือกับ MITSUBISHI Electric สำหรับจัดเก็บข้อมูลแบบอะนาล็อก ก่อนจะส่งต่อไปยัง SAP Leonardo ผ่านทางไวไฟ ซึ่งโซลูชั่นดังกล่าวจะรวบรวมข้อมูลเข้าระบบและวิเคราะห์ออกมาในรูปแบบการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคาดการณ์ (Predictive Analytics) ก่อนจะเสนอผลลัพธ์แก่ลูกค้า


  • 270
  •  
  •  
  •  
  •  
Ms.นกยูง
เมื่อโลกไม่เคยหยุดหมุน เราก็ไม่ควรหยุดเรียนรู้... ชวนคุณมาทำความรู้จักหลากหลายเรื่องราว ทั้งสาระและสีสันบนโลกดิจิทัลไปพร้อมกัน