SCG Chemicals Eco Factory โรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศแห่งแรกของไทย

  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

SCG-1

ภาพของคนในชุมชนที่เต็มไปด้วยรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ ความสนุกสนาน เป็นสิ่งที่บอกถึงคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการโรงงาน ที่นอกจากพัฒนาในด้านเศรษฐกิจแล้ว ยังต้องใส่ใจและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนในชุมชน รวมถึงดูแลสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กัน

SCG Chemicals ผู้นำนวัตกรรมด้านพลาสติกและเคมีภัณฑ์ เป็นตัวอย่างของผู้ประกอบการที่มีความตั้งใจและทุ่มเทในการพัฒนาเพื่อให้เกิดความยั่งยืนอย่างต่อเนื่องและจริงจัง จนทำให้ SCG Chemicals ได้รับการรับรองโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ หรือ Eco Factory จากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ครบทุกโรงงาน 100% เป็นแห่งแรกในประเทศไทย

โรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ หรือ Eco Factory ถือเป็นหนึ่งในการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ หรือ Eco Industrial Town โดยเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรมของพื้นที่ให้เจริญเติบโตไปพร้อมกับความเจริญของชุมชน รวมถึงการรักษาสภาพแวดล้อมที่ดี เพื่อสร้างความสมดุลในการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน

SCG_EDIT_011115

นอกจากนี้ ด้วยความมุ่งมั่นของ SCG Chemicals ในการผลักดันและพัฒนาเครือข่ายสีเขียวตลอดทั้ง Supply Chain ของธุรกิจ รวมถึงส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน และพนักงาน ทำให้บริษัท มาบตาพุดโอเลฟินส์ จำกัด ในธุรกิจ SCG Chemicals เป็นโรงงานปิโตรเคมีแห่งแรกของไทยที่ได้การรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 5 ซึ่งถือเป็นระดับสูงสุด จากกระทรวงอุตสาหกรรม

อีกทั้งยังขยายความยั่งยืนสู่อาเซียน โดยได้รับรางวัลชนะเลิศระดับอาเซียน ASEAN Best Practices Energy Management for Buildings and Industries Awards ด้านการจัดการพลังงานโรงงานขนาดใหญ่ เป็นสิ่งที่ตอกย้ำถึงความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมสิ่งแวดล้อมของ SCG Chemicals

SCG-2

SCG Chemicals มีนโยบายการดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมีการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมมาปรับใช้ในกระบวนการจัดการ เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชนและสิ่งแวดล้อมยั่งยืน อาทิ

• โครงการลดการใช้พลังงานในกระบวนการผลิต โดยลดได้ถึงปีละ 3.1 ล้านจิกะจูล เทียบได้กับการใช้ไฟฟ้าในชุมชนมาบตาพุดประมาณ 7 ปี
• โครงการจัดการน้ำโดยนำกลับมาใช้ใหม่ ลดการใช้ได้มากกว่า 3.8 ล้านลูกบาศก์เมตร เทียบเท่าการบริโภคน้ำของประชากรในมาบตาพุดประมาณ 20 วัน
• โครงการนำของเสียในกระบวนการผลิตมาสร้างมูลค่าเพิ่ม และต่อยอดไปสู่การสร้างอาชีพให้กับชุมชน เช่น โครงการกากตะกอนจุลินทรีย์มาเป็นปุ๋ยไส้เดือนดิน โครงการบ้านปลา ที่นำท่อ PE100 เหลือใช้มาเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ
• โครงการสนับสนุนอาชีพโดยส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เช่น โครงการ “กล้วยหอมแผ่น” ชุมชนมาบชลูด ให้ความรู้เรื่องการปลูก การแปรรูปผลิตภัณฑ์ ไปจนถึงการพัฒนาและออกแบบบรรจุภัณฑ์ สร้างอาชีพ สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนอยู่ได้ด้วยตัวเองอย่างยั่งยืน

ทั้งหมดนี้ สะท้อนให้เห็นถึงการอยู่ร่วมกันของโรงงานอุตสาหกรรมและชุมชนอย่างยั่งยืน ซึ่งการได้เห็นรอยยิ้มของเด็ก ความสุขของลุงป้าน้าอา เสียงหัวเราะของคนในพื้นที่ คือสิ่งที่เป็นเครื่องพิสูจน์ได้ชัดเจนที่สุด

SCG-3


  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
CLOSE
CLOSE