Uber อัปเดทภาพรวม Ridesharing หลังเข้ามาเปิดบริการในไทยครบ 3 ปี

  • 54
  •  
  •  
  •  
  •  

shutterstock_484375105-700

Uber ประเทศไทย เผยผลสำรวจที่น่าสนใจของกรุงเทพฯ ที่มีต่อบริการร่วมเดินทางรูปแบบ Ridesharing พบว่า 93.85% ของคนกรุงเทพฯ เห็นด้วยกับการมีรถโดยสารในรูปแบบร่วมเดินทาง และ 6.42% ไม่เห็นด้วย ทั้งนี้ ปัจจุบันในกรุงเทพฯ มีรถส่วนตัวกว่า 5.5 ล้านคัน และรถสาธารณะ 100,000 คัน แต่ถนนในกรุงเทพฯ สามารถรองรับการเดินทางได้เพียง 1.6 ล้านคันเท่านั้น นี่จึงทำให้ Ridesharing เข้ามามีบทบาทต่อการใช้ชีวิต

Poll infographics-#12

จากการสำรวจของ AU Poll เกี่ยวกับการใช้บริการรถโดยสารสาธารณะของคนกรุงเทพฯ พบว่า 82.05% ของต้องการให้รัฐสนับสนุนเทคโนโลยีเพื่อช่วยให้การเดินทางสะดวกขึ้น และเปิดเสรีในการให้บริการอย่างแท้จริง 70.31% เห็นด้วยที่สามารถนำรถโดยสารส่วนตัวมาเป็นรถสาธารณะเพื่อลดจำนวนรถบนท้องถนน โดย 79.59% สนับสนุนให้มีกฏหมายรองรับบริการร่วมเดินทาง

ความพึงพอใจในการใช้บริการ Ridesharing

• 89.09% ชื่นชอบในเรื่องความสะดวกสบาย
• 85.4% การปฏิบัติตนของพนักงานขับรถ
• 83.2% มารยาทและความปลอดภัยในการเดินทาง
• 75.9% ความรู้เรื่องเส้นทางของคนขัย
• 75% สภาพรถ

Poll infographics-#11
ทัศนคติต่อการนำรถส่วนตัวมาเป็นรถสาธารณะ

• 70.3% เห็นด้วย
• 29.3% ไม่เห็นด้วย

Poll infographics-#6

IMG_6375-700

สำหรับภาพรวมการใช้ Uber ในอาเซียน คุณเอมี่ กุลโรจน์ปัญญา ผู้อำนวยการสื่อสารองค์กรเเละนโยบาย, เอเชียแปซิฟิก Uber เผยว่า ปัจจุบัน Uber ให้บริการใน 7 ประเทศอาเซียน ได้แก่ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม อินโดนีเซีย พม่า กัมพูชา และไทย ในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ เชียงราย พัทยา-ชลบุรี และขอนแก่น โดยในแต่ละประเทศที่ Uber เข้าไปนั้น ได้ทำงานร่วมกับภาครัฐของประเทศนั้นๆ

Infographics-for-ThaipublicaTh

แม้คนส่วนใหญ่ในกรุงเทพฯ จะเห็นด้วยกับการมีรถโดยสารในรูปแบบร่วมเดินทาง ทว่า ในประเทศไทย Uber ยังต้องการกฎหมายรองรับ โดยตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ Uber เข้ามาดำเนินธุรกิจในไทย ได้มีความพยายามในการร่วมมือและได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับกฎระเบียบการบริการร่วมเดินทางของประเทศต่างๆ กับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องตลอดมา เช่น ทำงานร่วมกับคณะทำงานเพื่อศึกษาเกี่ยวกับบริการร่วมเดินทางตั้งแต่ปี 2559 และเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา กระทรวงคมนาคมและกรมขนส่งได้กำหนดกรอบเวลาการศึกษาการให้บริการร่วมเดินให้แล้วเสร็จใน 6 เดือน นอกจากนี้ Uber ได้ยื่นหนังสือต่อประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติเมื่อเดือนกรกฎาคม เพื่อขอให้สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติร่วมสนับสนุนการแก้ไขพระราชบัญญัติรถยนต์ฉบับปัจจุบันรองรับบริการร่วมเดินทาง ซึ่งในขณะนี้กำลังรอเข้าร่วมการประชุมของคณะกรรมการคมนาคมของสมาชิกสภานิติบัญญัติ

การแก้ไขกฎหมายดังกล่าวจะทำให้รัฐบาลสามารถเพิ่มประเภทรถอีกหนึ่งประเภทที่มีการให้บริการผ่านแอพพลิเคชั่นทางสมาร์ทโฟน และรัฐสามารถออกกฎระเบียบต่างๆ เพื่อส่งเสริมความปลอดภัยและดูแลผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการได้อย่างเหมาะสม ดังนั้น Uber จึงขอเสนอเชิญชวนให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ตามที่กล่าวมาในข้างต้นโดยอาศัยช่องทางการเสนอกฎหมายโดยประชาชนตามสิทธิภายใต้รัฐธรรมนูญปี 2560 ฉบับปัจจุบันในการเข้าร่วมลงชื่อสนับสนุนครบ 10,000 ชื่อ

สำหรับผู้ที่สนใจร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการบริการร่วมเดินทางผ่านการเสนอชื่อกฎหมายโดยประชาชน สามารถดาวน์โหลดเอกสารเพื่อให้การสนับสนุนได้ t.uber.com/regTH และส่งเอกสารมาที่ ตู้ปณ. 79 ปณฝ.สามเสนใน กรุงเทพฯ 10310 หรือยื่นเอกสารด้วยตนเองที่ศูนย์บริการพาร์ทเนอร์ หรือบูทลงทะเบียนรับสมัครพาร์ทเนอร์ทั่วประเทศ


  • 54
  •  
  •  
  •  
  •