สัญญาณบอก “โฆษณาบนมือถือ” กำลังโตอย่างแรง

  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

หลากข้อเท็จจริงเหล่าทั้งนักการตลาดและผู้บริโภคทราบตรงกันว่ามันคือความจริง!

  • คนใช้สมาร์ทโฟนมากขึ้นทุกวัน
  • การซื้อสินค้า-คอนเท้นต์ผ่านมือถือตัดเงินได้จากมือถือโดยตรง
  • มีคนหันมาพัฒนาแอปฯ แปลกๆ ให้เลือกเล่นมากมาย
  • คนใช้เวลาอยู่กับมือถือ แท็ปเบล็ต พีซีทั้งวัน
  • ฯลฯ

แต่อย่างไรก็ดี สื่อหลักที่ผู้บริโภคยังเสพมากที่สุดเป็น “ทีวี” และสื่อที่คนกำลังจะเลิกเสพคือ “สิ่งพิมพ์ แต่ทำไมแบรนด์ยังทุ่มงบโฆษณาในสื่อที่กำลังจะตายอยู่อีก..?

อันที่จริงคำถามนี้เป็นคำใหญ่ของคนที่ผลิตสื่อดิจิตอล ไม่ว่าจะเป็น เว็บหรือแอปฯ อ่านข่าว นิตยสาร ฯลฯ เพราะหลายสำนักวิจัยก็เผยชัดเจนแล้วว่า ผู้คนส่วนใหญ่ในปัจจุบันเป็นพวกไฮเทค เน้นการเสพสื่อจากอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือมากยิ่งขึ้น แต่งบโฆษณาแทบจะเป็นศูนย์

แต่เมื่อเทียบกับกราฟสีแดง จะพบว่า “เม็ดเงิน” ที่เอเจนซี่ต่างๆ ทุ่มลงไปกับสื่อนั้น เรียกได้ว่า “สวนทาง” กันเต็มๆ

จากภาพเห็นได้จัดว่ารายได้ในอุตสาหกรรมแอปฯ บนมือถือ-และโฆษณาบนมือถือเติบโตอย่างก้าวกระโดด

เหตุผลดังกล่าวอาจนำมาสู่คำตอบจริงๆที่ว่า

* โลกเปลี่ยนเร็ว แต่เอเจนซี่เปลี่ยนเร็วไม่เท่า จึงเป็นเหตุให้หลายบริษัทโฆษณาแยกแผนกดูแลสื่อดิจิตอลออกมาโดยเฉพาะ

* เหตุที่ยังแนะนำให้ลูกค้าใช้สื่อเก่าๆ เพราะมีแบบแผนการวัดผลที่ชัดเจนแน่นอน ส่วนสื่อใหม่ รูปแบบสถิติต่างๆ ถึงแม้จะชัดเจนแต่อาจจะไม่เป็นมาตรฐานที่ยอมรับทั่วไปนัก

* เอเจนซี่ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าสื่อโทรศัพท์มือถือมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับสื่อโฆษณาบนจอคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็น
– การใช้ 1 คน/ 1 เครื่อง ฉะนั้นเนื้อหาที่อยู่ในโทรศัพท์จะเป็นส่วนตัวมากๆ – การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายรายบุคคล ได้ตามสถานที่ที่ต้องการ
– การเป็นสื่ออินเตอร์แอคทีฟ

แต่สิ่งสำคัญเหนือสิ่งอื่นใดก็คือ การส่งสารโฆษณาอย่างไรมิให้ผู้บริโภครู้สึกว่าถูกรบกวน และได้รางวัลบางอย่างจากการมีปฏิสัมพันธ์กับโฆษณานั้นๆ

ผู้เขียนเชื่ออย่างยิ่งว่า รูปแบบการตลาด-โฆษณาใหม่ๆ บนโทรศัพท์มือถือ จะเปลี่ยนรูปแบบการส่งสารโฆษณาไปอย่างสิ้นเชิง ซึ่งที่ Marketingoops แห่งนี้เราก็จะเตรียมอัปเกรดกิมมิกใหม่ๆ ของโฆษณาบนโทรศัพท์มือถือมาฝากให้คุณ Catch Up Trends กันอย่างต่อเนื่อง

ดูข้อมูลวิเคราะห์เรื่องเทรนด์ของอินเทอร์เน็ตบนพีซีและมือถือต่อได้ที่นี่

 


  •  
  •  
  •  
  •  
  •