ปี 2017 นับเป็นอีกปีที่มือถือเป็นส่วนหนึ่งของการช็อปปิ้งไปแล้วโดยเฉพาะในช่วงเทศกาลวันหยุด ธุรกรรมออนไลน์เพิ่มขึ้นร้อยละ 55 ทุกๆปี และร้อยละ 51 เกินขึ้นบนมือถือ
และจากการสำรวจของ Facebook บอกเราว่าคนซื้อของผ่านมือถือมากขึ้นโดยเฉพาะช่วง 2-3 ทุ่ม บางทีเป็นช่วงที่ดูโทรทัศน์อยู่ก็ได้ ซื้อของผ่านโน้ตบุ๊คคอมพิวเตอร์น้อยลง แต่จะเยอะในช่วง 4-5 ทุ่มซึ่งน่าจะเป็นช่วงที่คนเปิดคอมพิวเตอร์ก่อนนอน
การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้มีความหมายอย่างไรกับนักการตลาด เราต้องรับมืออย่างไรถึงจะหยุดนิ้วโป้งของขาช็อปออนไลน์ได้?
เพราะมือถือติดตัวเราตลอดเวลา
แม้แต่เราอยู่ตรงหน้าชั้นวางของในห้างสรรพสินค้าหรือร้านค้า เราใช้มันหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการที่เรากำลังจะใช้ เทียบราคา ดูว่ามีของเหลือในร้านหรือไม่
นักช็อปปิ้งใช้มือถือกันทุกวันอยู่แล้ว มือถือจึงเป็นเครื่องมือไว้ใช้หาข้อมูล อ่านรีวิวสินค้าและบริการก่อนซื้อ เทียบราคาของแต่ละสินค้า แต่ละแบรนด์ และซื้อของได้ทุกที่ทุกเวลารวมถึงไปซื้อที่ร้านด้วย ปัจจุบันการช็อปปิ้งกว่าร้อยละ 45 เกินขึ้นบนมือถือ ยิ่งถ้าเป็นพวกมิลเลนเนี่ยมก็จะช็อปปิ้งบนมือถือร้อยละ 57 และครึ่งหนึ่งก็ซื้อของบนมือถือจริงๆ
มือถือทำให้พฤติกรรมของคนสามารถช็อปได้ตลอดเวลา กว่าร้อยละ 38 ของขาช็อป จากการสำรวจของ Facebook บอกว่าสามารถซื้อของผ่านมือถือได้มากกว่าไปช็อปที่ห้างร้านเสียอีก
เวลาเล่นมือถือเร็วกว่าเวลาเล่นคอมพิวเตอร์
Facebook ได้ทดลองเอาวีดีโอที่มีทั้งความยาวและประเภทเนื้อหาเหมือนกันให้ผู้เข้าร่วมทดลองให้ดูบนมือถือ อีกกลุ่มดูบนคอมพิวเตอร์ ผลที่ได้กลับพบว่าคนที่ดูคลิปบนมือถือรู้สึกว่าคลิปมีความยาวสั้นกว่าประมาณร้อยละ 30 ของความยาวคลิปจริง
ไม่ว่าประเภทคอนเทนต์ของคลิปจะเป็นอย่างไร คนก็จะรู้สึกว่าคลิปบนมือถือจะมีความยาวสั้นกว่า และก็เป็นเรื่องจริงด้วย เพราะคนมักจะช็อปผ่านมือถือเร็วกว่าช็อปในห้างด้วย เวลาคนเล่นมือถือ เห็นโฆษณา Facebook แล้วซื้อของจะเร็วกว่าประมาณวันหนึ่งเทียบกับเวลาคนเล่นคอมพิวเตอร์ เห็นโฆษณา Facebook แล้วซื้อของ คนซื้อของผ่านมือถือเร็วกว่าร้อยละ 13 เที่ยบกับเวลาซื้อของผ่านจอคอมพิวเตอร์ด้วย
ซึ่งก็สมเหตุสมผล หากดูอีกการศึกษาอีกชิ้นที่พบว่าคนซื้อของบนมือถือน้อยกว่าบนคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะซื้อให้ตัวเองหรือให้เพื่อนก็ตาม
เพราะ “ประสิทธิภาพ” จะทำให้ธุรกิจของคุณได้เปรียบอย่างเห็นได้ชัด
เดี๋ยวนี้เราจะสังเกตว่าเวลาเราต้องรออะไรนานๆ เราก็มักจะหยิบมือถือขึ้นมาเล่น ทำให้เราอดทนรออะไรได้มากขึ้น แต่นั้นไม่ได้หมายความว่าเราเป็นคนอดทน ไม่ใช่เลย เพราะในขณะเดียวกันถ้าเราเล่นมือถือแล้วได้รับประสบการณ์ที่ไม่สมหวัง เราก็จะปิดหน้าจอนั้นทิ้งทันที เช่นเวลาซื้อของบนมือถือ ถ้าโหลดช้าเกิน 3 วินาที คนก็พร้อมที่จะปิดเพจนั้นทิ้งแล้ว
ฉะนั้นในยุคที่ความอดทนอาจไม่ใช่เรื่องจำเป็น คนเรามักจะหาทางลัดให้กับชีวิตเสมอ เราต้องรู้ว่าอะไรที่เป็นเสมือน “แรงเสียดทาน” เวลาคนช็อปปิ้งบนมือถือ ระหว่างเราเลือกซื้อสินค้าจนถึงจ่ายเงินซื้อของเป็นไปอย่างราบรื่นไม่มีปัญหาติดขัดลดขั้นตอนการสั่งซื้อของได้ ร้านค้าออนไลน์นั้นจะได้เปรียบขึ้นมาทันที
นักการตลาดต้องรับมืออย่างไร
1. พัฒนาเว็บไซต์ให้มีประสิทธิภาพ
ประสบการณ์การช็อปปิ้งบนมือถือจะต้องราบรื่นในทุกๆช่องทาง คนต้องเปิดเพจร้านค้าของเราแล้ว เปิดดูได้เร็ว สะดวกไม่ติดขัด ข้อมูลครบ รองรับทุกปัญหาการใช้งานไม่ว่าจะเปิดบนมือถือหรือบนคอมพิวเตอร์ จะสั่งซื้อของ จ่ายเงินก็ง่าย ไม่มีขั้นตอนยุ่งยาก มีตัวเลือกให้ส่งของหลายช่องทาง ไม่ต้องโหลดแอปพลิเคชั่น
2. ปรับเนื้อหาคอนเทนต์ให้เข้ากับว่าที่ลูกค้าแต่ละคน
ไม่ว่าจะเป็นสินค้าแนะนำ คอนเทนต์ หรือการออกแบบจัดเรียงหน้าเว็บไซต์ ต้องตอบโจทย์รสนิยมและพฤติกรรมของคนที่เข้ามาดูแต่ละคน เราจะคิดเอาเองว่าทุกคนชอบคอนเทนต์เหมือนกันหมด มีพฤติกรรมการเข้าเว็บไซต์ของเราเหมือนกันหมดไม่ได้
3. เน้นสื่อสารด้วยภาพ
เพราะการสื่อสารบนหน้าจอ คงไม่พ้นรูปภาพ อิโมจิ สติกเกอร์ คลิปวีดีโอแน่นอน ฉะนั้นต้องคิดว่าภาพพวกนี้จะสื่อถึงแบรนด์และสินค้าบริการของเราอย่างไรได้บ้างผ่านหน้าจอแต่ละขนาด ที่สำคัญต้องคอนเทนต์ต้องหลากหลายและดึงความสนใจจนอยากกดไลค์ คอมเมนต์ แชร์ให้ได้ ไม่งั้นโดนนิ้วโป้งปัดเลื่อนทิ้งแน่
ทั้งนี้อย่าลืมว่าบางคนก็ชอบซื้อของบนคอมพิวเตอร์มากกว่าบนมือถือ บางคนก็ชอบเข้าห้างร้านแล้วซื้อของเพราะต้องการเห็นของ จับของที่ขายได้จริงๆก่อนตัดสินใจซื้อ และอยากได้ของทันที ไม่ต้องเสียเงินเสียเวลาแพ็คของส่งที่บ้านด้วย ฉะนั้นประสบการณ์การซื้อของต้องประหยัดเวลาให้ลูกค้าทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ไม่ติดขัดไม่ว่าจะใช้ช่องทางไหนในการช็อปปิ้ง
แหล่งที่มา
https://insights.fb.com/2017/01/19/moving-at-a-mobile-minute/
https://insights.fb.com/2016/02/04/the-m-factor-for-todays-omni-channel-shoppers/