เทรนด์ 3e ที่ผู้ประกอบการต้องรู้เพื่อรับมือการค้ายุคดิจิทัลปี 2018

  • 665
  •  
  •  
  •  
  •  

3e-01

ช่วงปลายปีนี้อาจเรียกได้ว่ากระแส QR Code มาแรงจนถึงขนาดที่เรียกว่าหลายธนาคารต่างงัดกลยุทธ์เพื่อดึงดูดให้หันมาใช้ QR Code ของแต่ละธนาคาร ว่าจะเป็นการการยกเลิกค่าธรรมเนียมต่างๆ โปรโมชั่นเสริม เป็นต้น และแน่นอนว่ามันคือสิ่งใหม่ที่หลายคนยังไม่เคยลองใช้และหลายคนเริ่มมองว่านี่คือปฐมบทแห่งยุคใหม่สังคมไร้เงินสด (Cashless Society)

แต่ในความเป็นจริงแล้วยุคไร้เงินสดเริ่มต้นขึ้นพร้อมๆ กับการเข้ามาของ e-Commerce ซึ่งเป็นการทำธุรกิจขายสินค้าบนระบบออนไลน์โดยไม่มีการใช้เงินสด แต่เป็นรูปแบบของการจ่ายผ่านบัตรเครดิตและต่อมามีการพัฒนาด้วยการชำระผ่านบัตรเดบิต นั่นทำให้ธุรกิจ e-Commerce สามารถทำการค้าโดยไม่ต้องใช้เงินสด ทว่ารูปแบบดังกล่าวไม่ได้รับความนิยมมากในประเทศไทย เนื่องจากความกลัวในเรื่องของความปลอดภัยด้านการใช้บัตรเครดิต

Cambodia-02

แต่จากข้อมูลที่พบว่า ผู้เล่นตลาด e-Commerce ระดับโลก 3 รายเตรียมแผนการเข้ามาสู่ประเทศไทยในช่วงปี 2018 ทั้ง JD.com เบอร์ 2 ของตลาด e-Commerce จากจีนบุกประเทศไทยด้วยการร่วมทุนกับกลุ่มเซ็นทรัลในการขยายธุรกิจออนไลน์ ขณะที่ Alibaba ผู้นำตลาด e-Commerce ในประเทศจีนเริ่มขยับเข้าใกล้ประเทศไทยมากขึ้นทั้งการร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ในการให้ความรู้กับผู้ประกอบการ e-Commerce ในโครงการ Alibaba Global Course

Alibaba Global Course - Opening

นอกจากนี้Alibaba ยังได้ซื้อ Lazada ไว้อยู่ในมือส่งผลให้ฐานะผู้นำตลาด e-Commerce ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตกอยู่ในมือของ Alibaba ด้วย ไม่เพียงเท่านี้ Amazon ผู้เล่นรายใหญ่ในตลาด e-Commerce ระดับโลกจากซีกโลกตะวันออก ยังบุกมายังตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยการเข้ามาเปิดตลาดในประเทศสิงคโปร์ และอย่างที่ทราบประเทศสิงคโปร์มักจะเป็นHeadquarter สำหรับการกระจายไปสู่ประเทศอื่นๆ ในภูมิเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นั่นทำให้มองเห็นจุดเริ่มต้นของแผนการขยายเข้าสู่ภูมิภาคนี้

นั่นทำให้เห็นชัดเจนแล้วว่ายักษ์ใหญ่ 3 รายระดับโลกมีแผนรุกเข้าตลาดประเทศไทยอย่างแน่นอน เพราะศักยภาพหลายๆ ด้านของประเทศไทยเป็นรองเพียงสิงคโปร์เท่านั้น บวกกับการเป็นศูนย์กลางของกลุ่มประเทศ CLMV ในทางภูมิศาสตร์ ยิ่งทำให้ประเทศไทยกลายเป็นตลาดที่หอมหวลชวนให้ 3 รายใหญ๋วิ่งเข้ามาลงทุน ซึ่งปัญหาจะตกอยู่กับผู้ประกอบการของไทยที่ต้องเตรียมตัวรับมือกับเกมการแข่งขันในธุรกิจด้าน e-Commerce ที่ตอนนี้มันถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนแปลงแล้ว

 

ศักยภาพของไทยต่อการลงทุน

เมื่อ e-Commerce เติบโต

จากข้อมูลของ Priceza พบว่าประเทศไทยมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นประจำอยู่ราว 38 ล้านคน โดยในจำนวนนี้นิยมช้อปปิ้งผ่านระบบออนไลน์ราว 12.1 ล้านคน และกว่า 70% จะใช้งานผ่านสมาร์ทโฟน ซึ่งยอดซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านสมาร์ทโฟนเฉลี่ยราว 1,177 บาทต่อการซื้อ 1 ครั้ง ขณะที่การใช้งานผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์มียอดสั่งซื้อสินค้าออนไลน์เฉลี่ยราว 2,008 บาทต่อการซื้อ 1 ครั้ง

Screenshot (4)

 

นอกจากนี้ข้อมูลจากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือสพธอ. (ETDA) ยังพบว่าในปี 2559 ไทยมีมูลค่าอีคอมเมิร์ซทั้งสิ้นราว 2.5 ล้านล้านบาทหรือโตขึ้นจากปี 2558 ถึง 14.03% ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมูลค่า e-Commerce ประเภท B2B ประมาณ 1.5 ล้านล้านบาทหรือคิดเป็น 60.24% รองลงมาเป็นมูลค่าของประเภท B2C จำนวนมากกว่า 7 แสนล้านบาทหรือคิดเป็น 27.47% และมูลค่าของประเภท B2G ราว 3.1 แสนล้านบาทหรือคิดเป็น 12.29%

จากข้อมูลดังกล่าวยังพบว่าประเทศไทยอยู่ในอันดับ 3 ของภูมิภาคที่มีการเติบโตของ e-Commerce รองจากสิงคโปร์และมาเลเซีย โดย 3 กลุ่มหลักที่มีความนิยมในการซื้อขายผ่านรูปแบบ e-Commerce คือ กลุ่มห้างสรรพสินค้า, กลุ่มอาหารทั้งอาหารแปรรูปและเครื่องดื่ม และกลุ่มความงามทั้งเครื่องสำอาง อาหารเสริม น้ำหอมและอุปกรณ์เสริมความงาม

 

เทรนด์ 3e ที่ผู้ประกอบการต้องรู้

e-Commerce ทำไงให้โดนใจ

จากงานสัมมนาเรื่องทิศทางของ e-Commerce ในอนาคต พบว่า e-Commerce จะเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อธุรกิจไทย โดยใน 4-5 ปีข้างหน้านี้ e-Commerce จะกลายเป็นช่องทางที่สำคัญของของผู้ประกอบการ ซึ่งการทำ e-Commerce จะต้องสามารถตอบโจทย์ 3 ข้อนี้ให้ได้ประกอบไปด้วย เรื่องของสินค้าที่หลากหลายมีคุณภาพ, เรื่องของราคาที่เหมาะสม และเรื่องของประสบการณ์ของผู้บริโภค ทั้งเรื่องของการหาสินค้า ระบบการชำระเงินและการรับสินค้า

shutterstock_169474442

แน่นอนว่าธุรกิจขนาดเล็กและขนาดย่อมอาจยังไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เนื่องจากกำลังอยู่ในช่วงการพัฒนาระบบการชำระเงินผ่าน QR Code แต่สำหรับธุรกิจขนาดกลางและแบรนด์ต่างๆ จะต้องปรับตัวให้เข้ากับ e-Commerce ซึ่งปัญหาที่แบรนด์และธุรกิจขนาดกลางต้องประสบแน่นอนคือเรื่องของการทำบัญชี โดยเฉพาะการขายผ่าน e-Commerce แบบจำนวนมาก ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับเรื่องของกฎระเบียบ, ระบบไอทีที่ต้องพัฒนาทั้งตัวอุปกรณ์ ระบบและบุคลากรให้พร้อม และเรื่องของWarehouse ที่จะต้องมีการเตรียมสินค้าไว้ให้พร้อมการส่งมอบ

อย่างที่ทราบว่า เมื่อรายใหญ่ระดับโลกจะลงมาเล่นในตลาดประเทศไทย ด้วยศักยภาพของแต่ละเจ้าที่สามารถใช้เรื่องของ Pricing ลงมาเล่นในตลาด นั่นจะกลายเป็นหลุมพลางสำหรับผู้ประกอบการ e-Commerce ทันที นั่นจึงทำให้ธุรกิจขนาดเล็กไม่ควรอาจหาญขึ้นไปท้ารบกับคู่แข่งรายใหญ่ เพราะรายใหญ่มีทุนที่มหาศาลจากต่างประเทศพร้อมทุ่มสรรพกำลังเพื่อเข้ายึดพื้นที่ในประเทศไทย รายเล็กจึงควรเข้าหาตลาดเฉพาะทาง (Niche Market) ซึ่งรูปแบบของรายใหญ่จะเป็นการหว่านครอบคลุมทั้งตลาดมากกว่าเจาะเฉพาะตลาด ทำให้เป็นช่องว่างที่รายเล็กสามารถเข้าไปได้

นอกจากนี้ธุรกิจขนาดกลางก็จะโดนผลกระทบด้วยเช่นกัน ซึ่งทางออกของกลุ่มนี้อยู่ที่การใช้ช่องทางแบบ Omni Channel ที่ต้องเข้าถึงผู้บริโภคอย่างครอบคลุมและครบวงจรทั้งทางออนไลน์และออฟไลน์ โดยพฤติกรรมลูกค้าปัจจุบันจะใช้การค้นหาสินค้าจากอินเตอร์เน็ต นั่นหมายความว่าธุรกิจขนาดกลางต้องเข้าไปสื่อสารให้ผู้บริโภคเห้นตั้งแต่ขั้นตอนการค้นหา

20171122_151656

ความสำคัญของ e-Commerce คือเรื่องของข้อมูล (Data) ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเปิดเผยพฤติกรรม ความต้องการและตัวตนของผู้บริโภค การใช้ข้อมูลให้เป็นประโยชน์จะช่วยให้ใหเสามารถเข้าถึงผ็บริโภคได้โดนใจและตรงใจมากที่สุด นอกจากนี้การหาพันธมิตรก็เป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะหากทำงานทุกด้านหมายถึงการลงทุนที่มากขึ้น พันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญจะสามารถเข้ามาช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ให้ได้

นอกจากนี้ในการสัมมนายังชี้ให้เห็นถึง 3 ปัจจัยที่สำคัญในการทำ e-Commerce ที่เรียกว่า PPC ประกอบไปด้วย Platform นั่นหมายถึงความเชี่ยวชาญหรือความถนัดที่มี เมื่อรู้ว่าถนัดด้านได้ก็ต้องหา Partner เพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้ และ Consumer ที่ต้องรู้จักทุกรายละเอียดให้ได้ผ่านข้อมูล ยกตัวอย่างเช่น ร้านข้าวไข่เจียวที่รู้ว่าตัวเองถนัดทำเมนูข้าวไข่เจียวอร่อย ซึ่งสามารถสร้างชื่อเสียงให้เป็นที่รู้จักในพื้นที่ จากนั้นก็เปิดขายข้าวไข่เจียวผ่าน e-Commerce โดยเก็บข้อมูลจากการสั่งซื้อ และร่วมมือกับพันธมิตรในการจัดส่งข้าวไปตามที่ลูกค้าอยู่เป็นต้น

 

e-Logistic บทบาทสำคัญ

สู่การพัฒนา e-Commerce

ระบบขนส่งถือว่าเป็นสิ่งสำคัญมากในกระบวนการซื้อขายผ่าน e-Commerce เนื่องจากขั้นตอนการซื้อขายทั้งหมด ผู้บริโภคสามารถดำเนินการได้ผ่านระบบออนไลน์ ยกเว้นการส่งของที่ยังไม่มีอุปกรณ์ใดสามารถส่งสินค้าผ่านออนไลน์ได้ ที่สำคัญกระบวนซื้อขาย e-Commerce ทั้งหมดผู้บริโภคจะพบและสื่อสารกับคนด้วยกันผ่านระบบ Logistic เท่านั้น ซึ่งปัจจุบันธุรกิจ Logistic แทบทุกแห่งทำงานผ่านระบบออนไลน์แทบทั้งสิ้นหรือ e-Logistic

shutterstock_758929567

แน่นอนว่าระบบ Logistic ถึงเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการการซื้อขาย e-Commerce เพราะนั่นคือประสบการณ์ของผู้บริโภคที่มีความคาดหวังเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย โดยผุ้บริโภคส่วนใหญ่ที่สั่งซื้อสินค้าในระบบ e-Commerce ความหวังแรกคือต้องการความเร็วในการได้สินค้าและความสะดวกสบายในการซื้อสินค้า เท่ากับว่าผู้ให้บริการ Logistic ต้องรับความกดดันทั้ง 2 ด้าน ทั้งฝั่งผู้บริโภคที่ต้องการได้รับสินค้าอย่างรวดเร็ว ขณะที่ผู้ประกอบการต้องการให้ลูกค้าได้รับสินค้าที่รวดเร็วเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้บริโภค นั่นทำให้ผู้ประกอบการ Logistic ต่างก็มีบริการ Same Day Delivery หรือส่งสินค้าภายใน 1 วัน

แน่นอนว่าผู้ประกอบการ Logistic ในไทยต้องเตรียมรับมือกับการมาของ 3 ธุรกิจ e-Commerce รายใหญ่ที่ให้ความสำคัญในเรื่องของ Logistic ชนิดที่มีการการันตีได้รับสินค้าหลังการซื้อหลักชั่วโมงเลยทีเดียว โดยผู้ประกอบการ Logistic ของไทยมองว่า ในประเทศไทยมีหลายบริษัท Logistic ที่มีจุดเด่นต่างกัน ผู้ประกอบควรเลือกใช้บริการLogistic ให้เหมาะสมกับรูปแบบความต้องการของทั้งผู้ซื้อและตัวสินค้า นั่นจะช่วยให้ผู้ประกอบการลดต้นทุนด้านการขนส่งได้

20171122_161843

หากการแข่งขันด้าน Logistic ในอนาคตมีการแข่งขันที่สูงขึ้น แน่นอนว่าผู้ประกอบการ Logistic ก็ต้องเปลี่ยนแปลง โดยส่วนใหญ่มองว่าระบบ Automation จะเข้ามาตอบโจทย์ปัญหาเรื่องการขนส่งได้ ซึ่งจะสามารถช่วยเรื่องความเร็วการจัดส่ง ความถูกต้องแม่นยำในการจัดส่ง เป็นต้น ขณะที่ผู้ประกอบการ e-Commerce ที่ต้องการสร้างระบบ Logistic ของตัวเองก็สามารถทำได้ แต่ก็หมายถึงการลงทุนที่เพิ่มขึ้น และต้องแบ่งความสามารถในการจัดการสินค้ามาดูในส่วนของการขนส่งเพิ่มขึ้น

 

e-Payment รูปแบบการชำระเงิน

ที่ e-Commerce ไม่ควรมองข้าม

นอกจากเรื่องของสินค้าและการขนส่งแล้ว สิ่งสำคัญอีกสิ่งที่ทำให้เป็นระบบ e-Commerce ได้คือเรื่องของการชำระเงินหรือ e-Payment แม้ว่าปัจจุบันหลายคนให้ความสำคัญและจับประเด็นไปที่ QR Code แต่สำหรับผู้ให้บริการชำระเงินในระบบออนไลน์มองว่า QR Code เป็นเทคโนโลยีหนึ่งในการชำระเงินระหว่างผู้บริโภคด้วยกันเอง (C2C – Consumer to Consumer) เพราะอีกมุมหนึ่งของผู้ขายก็เป้นผ็ซื้อ และอีกบทบาทของผู้ซื้อก็สามารถเป็นผู้ขายได้

^BC41F078504F2FEAAF1042C4C95683D25C891779974FA7DCDB^pimgpsh_fullsize_distr

ซึ่ง QRCode จะเป็นการสร้างประสบการณ์การซื้อขายสินค้าโดยไม่ต้องใช้เงินสด เพื่อให้ผู้ใช้เข้าใจระบบการชำระเงินผ่านระบบออนไลน์ และจะเป็นการส่งเสริมให้ธุรกิจ e-Commerce เติบโตขึ้นไปด้วยในตัว อย่างที่กล่าวไว้แล้วว่าข้อมูล (Data) ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากในธุรกิจ e-Commerce และยังเป็นสิ่งสำคัญในธุรกิจ e-Payment ด้วยเช่นกัน

 

รูปแบบของ e-Commerce ไม่จำเป็นต้องใช้บัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตในการซื้อเท่านั้น แต่ยังสามารถใช้ e-Wallet ในการชำระเงินได้อีกด้วย ซึ่งจะช่วยให้ e-Commerce สามารถเข้าถึงได้ทุกกลุ่มทั้งกลุ่มคนที่มีบัตรเครดิตไปจนถึงกลุ่มคนที่ไม่มีบัญชีธนาคารแต่มีบัญชี e-Wallet

 

บทสรุป e-Commerce

Big Change ที่รออยู่

บอกได้เลยว่าปี 2018 คือปีแห่งการท้าทายและปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจ จากเดิมที่ห้างร้านค้าต่างๆ เป็นจุดหรือแหล่งรวมสินค้ามากมาย อนาคตสินค้าเหล่านั้นจะเข้าไปอยู่ในสมาร์ทโฟนและคอมพิวเตอร์ผ่านโลกออนไลน์ และสามารถซื้อสินค้าพร้อมทั้งรับสินค้าแทบจะในไม่กี่นาที ด้วยการจ่ายเงินผ่านระบบออนไลน์แบบไม่ต้องใช้เงินสด

e-Commerce

แล้วห้างยังจำเป็นอยู่อีกหรอ??? หากย้อนดูในช่วงที่ผ่านมา ผู้ให้บริการ e-Commerce รายใหญ่เริ่มผลักสินค้าออกมาสู่โลกออฟไลน์มากขึ้น นั่นเป็นเพราะผู้บริโภคยังต้องการประสบการณ์การซื้อสินค้าแบบได้จับ ได้ทดลองใช้ เช่น น้ำหอมที่ไม่สามารถดมกลิ่นได้ทาง e-Commerce เป็นต้น นั่นจึงทำให้ห้างยังคงอยู่ โดยห้างเองก็อาจปรับเปลี่ยนไปสู่การสร้างประสบการณ์อื่นๆ นอกเหนือจากการซื้อสินค้าได้

และแน่นอนผู้ประกอบการไทยที่ตระหนักถึงการมาเยือนของ 3 มหาอำนาจโลก e-Commerce ย่อมต้องรู้ว่าถึงเวลาที่ต้องปรับเปลี่ยนแต่เตรียมรับมือ ใครที่สามารถทำได้ไว ยึดหัวหาดได้ก่อนก็ย่อมได้รับสิทธิ์ให้สามารถยืนหยัดอยู่ในตลาดนี้

 

Copyright © MarketingOops.com


  • 665
  •  
  •  
  •  
  •  
Gigolo
เมื่อเทคโนโลยีอยู่ใกล้กับชีวิตทุกคน มารู้เท่าทันเทคโนโลยีเพื่อใช้มัน แต่อย่าให้เทคโนโลยีมันใช้เรา