เจาะเทรนด์ Moving Beyond เทคโนโลยีระบบคมนาคม ตามเป้าหมายของ ‘ซีเมนส์ โมบิลิตี้’

  • 23
  •  
  •  
  •  
  •  

Siemens Mobility

เทคโนโลยีถูกนำเข้ามาใช้ในทุกส่วน ไม่ใช่แค่การทำธุรกิจ แต่ในเชิงโครงสร้าง พื้นฐานเรื่องต่าง ๆ รวมถึงการคมนาคม ก็ถูกพัฒนาและนำมาใช้อย่างต่อเนื่อง ยกตัวอย่าง เทรนด์ Moving Beyond ที่ ซีเมนส์ โมบิลิตี้ ประกาศว่ามีการอัพเดทเทคโนโลยี นวัตกรรม เพื่อตอบโจทย์การเดินทางของคนไทยด้วยโซลูชันคมนาคมขนส่งที่เน้นความยั่งยืนไร้รอยต่พ รับนโยบายภาครัฐในการพัฒนาโครงการพื้นฐานระบบขนส่งมวลขนอัจฉริยะ ภายใต้เป้าหมายการเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจชั้นนำเอเชีย

เบื้องหลังระบบขนส่งมวลชน จะมีชื่อ ซีเมนส์ โมบิลิตี้ อยู่ในระดับโครงสร้างโดยเฉพาะขนส่งระบบรางและระบบควบคุมระดับสูง ทั้งในไทยและหลาย ๆ ประเทศ ซึ่งตามนโยบาย Smart Mobility ของรัฐบาลไทย ที่ต้องการมีระบบขนส่งที่มีความยืดหยุ่น เข้าถึงง่าย และสะดวกสบาย สอดคล้องกับเป้าหมายของซีเมนส์ โมบิลิตี้ ที่ปักธงเรื่อง Moving Beyond การสร้างระบบคมนาคมขนส่งที่สามารถเชื่อมโยงและไร้รอยต่อ ซึ่งตลอด 20 ปี ซีเมนส์ โมบิลิตี้ มีประสบการณ์บริหารจัดการโครงการระบบรางในไทยหลายโครงการ เช่น

 

ระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (Automated People Mover : APM)

เป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่จะมีระบบ APM ซึ่งเป็นรถไฟฟ้ารางเบาล้อยางไร้คนขับ ผลิตโดย ซีเมนส์ โมบิลิตี้ สำหรับใช้วิ่งใต้อุโมงค์เชื่อมระหว่างอาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเดิม กับอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 หรืออาคารแซทเทิลไลท์ 1 (SAT-1) เพื่อลดความหนาแน่นของผู้ใช้บริการภายในสนามบิน ซึ่งมีเป้าหมายเปิดใช้บริการในปี 2565 คาดว่าจะรองรับผู้โดยสารได้ 210 คนต่อขบวน (แบ่งเป็น 16 คนนั่ง 194 คนยืน) ซึ่งอาจขนส่งผู้โดยสารได้ประมาณ 3,590 คนต่อชั่วโมง

นอกจากความพิเศษของรถ APM ที่เป็นไฟฟ้าทั้งหมด และ Automation แล้ว ยังสามารถปรับการใช้งานได้ เช่น เพิ่มหรือลดขบวนรถตามความหนาแน่นของการใช้งาน มีความเงียบ และประหยัด ซึ่งตามข้อมูลระบุว่าได้มีการส่งมอบรถ APM แล้วทั้งสิ้น 6 ขบวน ๆ ละ 2 ตู้

Automated People Mover
APM ระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ

 

รถไฟฟ้า BTS สายสีเขียว

การขนส่งแบบครบวงจรแห่งแรกในประเทศไทย ที่ใช้เทคโนโลยีควบคุมระบบรางอัตโนมัติ ประกอบด้วย 59 สถานี ใน 2 เส้นทาง คือ สายสุขุมวิท (ให้บริการจากเคหะสมุทรปราการถึงคูคต) และสายสีลม

 

MRT สายสีน้ำเงิน (สายเฉลิมรัชมงคล)

เชื่อมต่อการคมนาคม ซึ่งเป็นโครงสร้างทางวิ่งผสมทั้งใต้ดินและยกระดับสายสีน้ำเงิน ทั้งหมด 38 สถานี คือ ช่วงหัวลำโพง – บางซื่อ, ช่วงหัวลำโพง – บางแค, ช่วงบางซื่อ – ท่าพระ

 

ทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีขนส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง (Suvarnabhumi Airport Rail Link and City Air Terminal)

 

โครงการรถไฟทางคู่ “จิระขอนแก่น”

ซึ่งซีเมนส์ โมบิลิตี้ ดูแลงานออกแบบและติดตั้ง ระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม ระยะทาง 187 กิโลเมตร 26 สถานี เป็นรากฐานในการขยายโครงข่ายสายทางคู่ให้ครอบคลุมทั่วภาคอีสาน

Siemens Mobility-2

นอกจากนื้ ตามเป้าหมาย Moving Beyond ซีเมนส์ โมบิลิตี้ ยังต้องการดำเนินการในฐานะโซลูชันคมนาคมขนส่งที่ Sustainable และ Seamless ภายในปี 2568 รวมถึง สามารถลดปริมาณคาร์บอนให้เป็นศูนย์ภายในปี 2573 อีกด้วย ทั้งยังให้ความสำคัญกับการสนับสนุนการศึกษา โดย ซีเมนส์ โมบิลิตี้ ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา ตั้งแต่ปี 2556 จัดทำโครงการแลกเปลี่ยนความรู้ (Dual Education Program) ในการยกระดับและพัฒนาทักษะวิชาชีพของนักศึกษาอาชีวศึกษาในหลากหลายวิทยาลัย และสร้างบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเพื่อรองรับตำแหน่งงานในอนาคต รวมถึงร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในการจัดทำหลักสูตรเกี่ยวกับรถไฟและระบบขนส่งทางราง โดยส่งผู้เชี่ยวชาญเข้าร่วมบรรยายให้ความรู้แก่นักศึกษาในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วประเทศ พร้อมกับจัดทำโครงการพัฒนาความร่วมมือในการพัฒนาระบบขนส่งทางราง ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับเยอรมนี เพื่อยกระดับการขนส่งทางรางของประเทศไทยด้วย


  • 23
  •  
  •  
  •  
  •  
Ms.นกยูง
เมื่อโลกไม่เคยหยุดหมุน เราก็ไม่ควรหยุดเรียนรู้... ชวนคุณมาทำความรู้จักหลากหลายเรื่องราว ทั้งสาระและสีสันบนโลกดิจิทัลไปพร้อมกัน