“Taylor Swift” ทุกเวทีมีตำนาน ทำความรู้จัก Swiftonomics และ Swift Quake ปรากฏการณ์ที่ ‘ตัวแม่’ เท่านั้นที่ทำได้

  • 1
  •  
  •  
  •  
  •  

 

ยังคงสร้างตำนานอย่างต่อเนื่องสำหรับเวิลด์ทัวร์สุดยิ่งใหญ่ “The Eras World Tour” ของศิลปินเพลงป๊อปแห่งยุค “Taylor Swift” ถึงแม้ประเทศไทยไม่ใช่จุดหมายในการจัดแสดงในทวีปเอเชียครั้งนี้ แต่มีประเทศสิงคโปร์และญี่ปุ่นที่เหล่า Swifty (ชื่อเรียกกลุ่มแฟนคลับ) สามารถบินลัดฟ้าไปเจอกับศิลปินคนโปรดได้

 

แน่นอนว่าระดับศิลปินตัวแม่กับตำนานบทใหม่ทุบสถิติยอดจำหน่ายตั๋ว โดยมีการประเมินว่า ความสำเร็จของป๊อปสตาร์สาวแห่งยุคครั้งนี้ดันยอดขายตั๋วรับชมคอนเสิร์ตสูงทะลุพันล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 45,723 ล้านบาท

 

ซึ่งตารางทัวร์ยาวนานตั้งแต่เดือนมีนาคม 2023 ประกอบด้วยทัวร์คอนเสิร์ต 131 ครั้ง ใน 17 รัฐของสหรัฐอเมริกาและ 5 ทวีปทั่วโลก ซึ่งในทวีปเอเชียทำให้ประเทศเอเชียทั้งหลายที่ไม่อยู่ในลิสต์เริ่มวางแผนบินลัดฟ้าไปดูโชว์ที่ประเทศต่าง ๆ เหล่านักวิชาการได้เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า “Swiftonomics” ที่ทำให้ศิลปินสาวกลายเป็นผู้ทรงอิทธิพลอย่างประเมินค่าไม่ได้ นอกจากนี้ยังมีเหตุการณ์สำคัญอย่าง “TAYLOR SWIFT”

 

ทำความรู้จัก “Swiftonomics” เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนโดย “เทย์เลอร์ สวิฟต์”

ปรากฏการณ์ในสหรัฐอเมริกาที่ถูกเรียกว่า Swiftonomics การซื้อตั๋วชมคอนเสิร์ตของนักร้องสาว ที่สามารถฉายสภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในเรื่องของกำลังซื้อ และเศรษฐกิจของผู้บริโภค

 

เรื่องราวเกิดขึ้นในปี 2023 ตอนที่นักร้องสาวชื่อดัง ‘เทย์เลอร์ สวิฟต์’ ประกาศทัวร์คอนเสิร์ต “The Eras Tour” ที่จะแสดงมากถึง 52 รอบ ใน 20 เมืองทั่วสหรัฐบัตรคอนเสิร์ตถูกขายไปกว่า 2.4 ล้านใบ แน่นอนว่าการกดบัตรนั้นเหมือนเกิดสงคราม ราคาบัตรพุ่งสูงขึ้น เมื่อมีดีมานด์มากขึ้นหลายคนนำบัตรไปขายต่อในราคาที่แพงว่าบัตรจริงหลายเท่า

 

สำนักข่าวต่างประเทศต่างรายงานว่าจะซื้อตั๋วคอนเสิร์ต เทย์เลอร์ สวิฟต์ แบบซื้อตรง ๆ ปกติไม่ได้แล้ว ราคาตั๋วที่ถูกนำมาขายต่อตามตลาดรองหรือตลาดใต้ดิน ราคาพุ่งไปถึง 338-28,000 ดอลลาร์ต่อใบ สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า มีถึงขนาดตั้งราคาปล่อยตั๋วถึง 40,000 ดอลลาร์!! คิดเป็นเงินไทยก็คือตั๋วคอนเสิร์ตแตะหลักล้านบาทต้นๆ

 

ไฟลามทุ่งไปถึงการผูกขาดการขายตั๋วจากกรณีที่ Ticketmaster สงวนสิทธิ์ซื้อตั๋วรอบพรีเซลให้ผู้ถือบัตรพิเศษบางประเภท เรื่องใหญ่โตถึงขนาดหน่วยงานต่อต้านการผูกขาดของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ เข้ามาสืบสวนสอบสวนบริษัท Live Nation Entertainment ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ Ticketmaster ที่เป็นบริษัทจัดจำหน่ายตั๋ว ถูกสอบสวนว่าแพลตฟอร์มขายตั๋วนี้ใช้อำนาจในทางมิชอบหรือไม่

 

นักการเงิน นักเศรษฐศาสตร์ และสื่อบางสำนักออกมาเรียก Swiftonomics เพราะปรากฏการณ์แย่งชิงตั๋วคอนเสิร์ตนับล้านใบในวันเดียว สะท้อนให้เห็นถึง ‘ความต้องการของผู้บริโภค’ สหรัฐฯได้ดีในช่วงเวลานี้ แม้จะมีความเสี่ยงและความวิตกกังวลถึงภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่อาจจะเกิดขึ้นในสหรัฐก็ตามที

 

นอกจากเป็นการพูดถึงในเชิงของเศรษฐศาสตร์แล้วนักวิชาการหลายคนยังยกให้เป็นปรากฏการณ์ที่สามารถกระจายรายได้สู่ประเทศที่เป็นจุดหมายของการจัดคอนเสิร์ตนั้นหมายความว่า Swiftonomics นำไปสู่ “Taylor Swift Economy” ยกตัวอย่างประเทศที่เป็นจุดหมายสำคัญในเอเชียคือ ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ที่ยอดจองโรงแรม เที่ยวบิน เพิ่มสูงขึ้น

 

ข้อมูลการจองโรงแรมในประเทศสิงคโปร์เพิ่มขึ้น 2 ในช่วงสัปดาห์ขายตั๋วคอนเสิร์ตและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องลูกค้าส่วนใหญ่มาจากออสเตรเลีย อินโดนีเซีย ไต้หวัน และเกาหลีใต้ นอกจากนี้ข้อมูลจากอโกด้า (Agoda) แพลตฟอร์มจองที่พักพบว่ามีการสืบค้นที่พักในสิงคโปร์มากกว่าปกติถึง 160 เท่า ส่วนใหญ่เป็นการสืบค้นจากประเทศเพื่อนบ้าน

 

“Swift Quake” ผู้ชมคอนเสิร์ตกระโดดพร้อมกันจนสร้างแผ่นดินไหวขนาด 2.3

ฉุดไม่อยู่ทั้งศิลปินและแฟนคลับ แฟนเพลงของ เทย์เลอร์ สวิฟต์ ราว 72,000 คน ในเมืองซีแอตเทิล ประเทศสหรัฐอเมริกา กระโดดร้องเต้นสนั่นสนามลูเมน ฟิลด์ (Lumen Field) จนทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนที่เทียบเท่าแผ่นดินไหวขนาด 2.3 ขึ้นมา ผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหววิทยา พบว่ามีจังหวะการสั่นสะเทือนในบริเวณดังกล่าว ซึ่งสัมพันธ์กับวันจัดคอนเสิร์ต และรายการแสดงเพลงของศิลปินจากทั้ง 2 คืน ทำให้เชื่อแรงสั่นสะเทือนนี้ได้รับอิทธิพลมาจากคอนเสิร์ตของเทย์เลอร์ สวิฟต์

 

ซึ่งเหตุการณ์การสั่นสะเทือนนี้ ได้ชื่อเล่นจากนักแผ่นดินไหววิทยาว่า สวิฟต์ เควก (Swift Quake) ซึ่งเอง ก็รับรู้ได้ถึงการมีส่วนร่วมของแฟน ๆ ที่สนุกสุดเหวี่ยงนี้เช่นกัน โดยทางเทย์เลอร์ สวิฟต์เธอได้โพสต์ข้อความผ่านอินสตาแกรมว่า ขอบคุณแฟน ๆ ที่ร่วมเชียร์ กรี๊ด กระโดด เต้น และร้องเพลงไปกับเธออย่างเต็มที่อีกด้วย

 


  • 1
  •  
  •  
  •  
  •  
CLOSE
CLOSE