ผ่าแผน “เจริญกรุง-คลองสาน” TCDC x UddC-ศ.ออกแบบพัฒนาเมือง ปั้นย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ด้วย Co-Create Model

  • 1.2K
  •  
  •  
  •  
  •  

5_บรรยากาศริมน้ำย่านคลองสาน

กระแสการประสานพลังเพื่อสร้าง “ย่าน” สร้างสรรค์ ชูอัตลักษณ์ชุมชนเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว ด้วยการใช้การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน เข้ามาพัฒนาเพื่อดึงเศรษฐกิจต่างๆ เข้าสู่พื้นที่ เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน นำร่องผลักดันพื้นที่เจริญกรุง-คลองสาน ให้เป็นย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์

จากการที่พื้นที่ดังกล่าวมีการขยายตัวของเมือง มีการเติบโตอย่างชัดเจนในช่วงที่ผ่านมา ทั้งสำนักงาน TCDC หรือศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ไอคอนสยาม การพัฒนาพื้นที่คลองสานและกะดีจีน โดยศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง

ทำให้เจริญกรุง-คลองสาน กลายเป็นย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และโมเดลของ “ย่าน” นี้ ก็จะถูกใช้เป็นต้นแบบ เป็นแผนที่ยั่งยืน ขยายไปในพื้นที่อื่นๆ ของกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดได้

1_คุณกิตติรัตน์ ปิติพานิช รองผอ.ศูนย์สร้างสรรค์งานออแบบ

คุณกิตติรัตน์ ปิติพานิช รองผู้อำนวยการ TCDC มองว่า TCDC ได้เข้าสู่เจริญกรุงเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ศักยภาพของย่านเจริญกรุง-คลองสาน จะทำให้เกิดเป็นย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ได้ เพราะอยู่ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา มีสถาปัตยกรรมเก่าแก่ มีระบบขนส่งสาธารณะ มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม และเป็นย่านธุรกิจศิลปะ และการออกแบบที่มีชื่อเสียง

“สินทรัพย์ที่มากคุณค่าเหล่านี้ สมควรได้รับการต่อยอด เป็นต้นแบบให้พื้นที่อื่น นำโมเดลกระบวนการออกแบบพื้นที่สร้างสรรค์อย่างมีส่วนร่วม (Co-Create Model) ไปใช้เป็นจุดเริ่มต้น ในการพัฒนาพื้นที่สร้างสรรค์ของตนเองได้ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ใดก็สามารถนำไปใช้งานได้”

Image_6200e02

ย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ คือ พื้นที่ๆ ใช้ประโยชน์จากความคิดสร้างสรรค์ และระบบนิเวศสร้างสรรค์ เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ยกระดับคุณภาพชีวิต และเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของพื้นที่

การที่จะเป็นย่านสร้างสรรค์ได้ ต้องมีการสร้างฝันร่วมกับคนในพื้นที่ หน่วยงานรัฐ นักธุรกิจในชุมชน นักเรียน ผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน และชาวชุมชนในย่านนี้ มีมุมมองต่ออนาคตของชุมชนอย่างไร

Image_6da741c

ขอบเขตย่านสร้างสรรค์เจริญกรุง-คลองสานนี้ จะครอบคลุมตั้งแต่วงเวียน 22 ไปถึงสะพานตากสิน ด้านบนจรดถึงคลองสาน ด้านล่างคือ ย่านเจริญกรุง ซึ่งจะมีการผลักดันให้เป็นย่านเศรษฐกิจพิเศษในอนาคต

“มีความร่วมมือจากหลายทีจะช่วยพัฒนาเจริญกรุง-คลองสาน ให้เกิดเป็นย่านสร้างสรรค์ ที่ทำอยู่ก็เป็นการพัฒนาย่านตลาดน้อย ให้ผู้ประกอบการในย่านนี้มีความแข็งแรง สร้างพื้นที่ทำงาน ให้กลุ่มคนรายได้ D E มีโอกาสเช่าที่ทำงานในราคาไม่แพง การปรับปรุงอาคารเก่าแก่ให้สวยงาม ปรับปรุงป้ายสัญลักษณ์ เพิ่มพื้นที่สีเขียว รวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกให้ย่านนี้ มีระบบนิเวศน์สมบูรณ์มากขึ้น”

Image_942ed54

“อยากผลักดันย่านสร้างสรรค์ ให้เป็นเหมือน ‘เขตเศรษฐกิจพิเศษ’ เสนอให้รัฐบาลสนับสนุนด้านมาตราการทางภาษี หรือจาก BOI ให้ผู้สนใจที่จะลงทุน ติดตั้งอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงทั้งพื้นที่ เมื่อมีสภาพแวดล้อมที่ดี สะอาด ร่วมรื่น สวยงาม พื้นที่ทำงานราคาถูก มีอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง จะช่วยดึงคนให้อยากเข้ามาพื้นที่มากขึ้น ลดการกระจุกตัวของเมือง ช่วยให้เศรษฐกิจชุมชุมดีขึ้นด้วย เพื่อการเติบโตของเมืองที่ยั่งยืน” คุณกิตติรัตน์ กล่าว

Image_c1007aa

ผศ. ดร. นิรมล กุลศรีสมบัติ ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) ให้ความเห็นว่า กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่หนาแน่น สิ่งอำนวยความสะดวกจึงไม่เพียงพอสำหรับทุกคน แม้ว่าการเติบโตของเมืองเป็นเรื่องปกติ เป็นพลวัตที่จะต้องเกิดขึ้นกับทุกเมืองทั่วโลก

แต่สิ่งสำคัญอยู่ที่ทำอย่างไรให้สิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ สอดคล้องกับสิ่งที่มีอยู่แต่เดิม และเอื้อประโยชน์ให้กับคนในชุมชน ปัจจัยขับเคลื่อนที่สำคัญคือ ผู้คนในชุมชนนั้นๆ ควรมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองด้วย มีภาครัฐเป็นผู้นำ มีการวางแผนงานพฒมนาอย่างเป็นรูปธรรม ออกแบบกลไกเชิญชวนให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วน ช่วยดูแลและพัฒนาเมืองให้มากขึ้น เป็นวิธีปฏิบัติที่ได้ผล

2_ผศ.ดร.นิรมล กุลศรีสมบัติ ผอ.ศูนย์การออกแบบและพัฒนาเมือง

ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (Urban Design & Development Center หรือ UddC) ภายใต้ความร่วมมือของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสสส. มีเป้าหมายเพื่อเป็นแกนกลางเชื่อมต่อ และบูรณาการความรู้แขนงต่างๆ ผ่านการมองแบบองค์รวม ประสานภาคีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมือง ผลักดันให้เกิดโครงการฟื้นฟูเมืองอย่างเป็นรูปธรรม

โครงการฟื้นฟูพัฒนาเมืองที่ UddC ร่วมกับภาคีเครือข่ายดำเนินการไปแล้ว เช่น โครงการเมืองเดินได้-เมืองเดินดี ส่งเสริมการเดินในชีวิตประจำวัน ให้กรุงเทพเป็นเมืองเดินได้ คือเมืองที่คนส่วนใหญ่ใช้การเดิน จักรยาน และระบบขนส่งมวลชน เป็นวิธีการหลักในการเดินทาง มีทางเดินเท้าที่มีคุณภาพ สร้างสะดวกในการเดินให้กับผู้คน

Image_7e3a040

“ย่านคลองสาน และย่านกะดีจีน ถือเป็นย่านเก่าแก่และเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง มีการรวมตัวของผู้นำชุมชนทำกิจกรรมเพื่อสาธารณะอยู่อย่างต่อเนื่อง UddC ได้เข้าไปช่วยสนับสนุนด้านวิชาการ นำเสนอ solution และสร้างกระบวนการพัฒนาเมืองแบบมีส่วนร่วม โดยมีภาคเอกชนอย่างสำนักงานทรัพย์สินฯ และไอคอนสยาม เข้ามาช่วยสนับสนุน ทั้งการสร้างศูนย์ข้อมูล การพัฒนาถนน ท่าเรือ ปรับภูมิทัศน์โดยรอบ ยกระดับการเข้าถึงพื้นที่สาธารณะให้กับทุกคน ทั้งคนในชุมชนและคนนอกพื้นที่”

Image_cb1931a

ไอคอนสยาม ได้เข้ามาเป็นหนึ่งในการพัฒนาเมืองแบบมีส่วนร่วมของย่านคลองสาน ซึ่งไม่เป็นเพียงโครงการเมืองขนาดใหญ่ แต่ยังร่วมสนับสนุนให้คนในชุมชน มีบทบาทกำหนดอนาคตของตนเอง และร่วมพัฒนาพื้นที่ชุมชนให้สะอาดน่าอยู่ ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวชมภายในชุมชนอีกด้วย

3_พลเรือเอกประพฤติพร อักษรมัต

พล.ร.อ. ประพฤติพร อักษรมัต กรรมการมูลนิธิสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช กล่าวว่า ย่านคลองสานเป็นย่านประวัติศาสตร์ริมน้ำที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ ปรากฏการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนจากสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นที่ตั้งของพระราชวังเดิม สถานที่ประสูติ และที่ประทับของพระมหากษัตริย์หลายพระองค์ และเป็นย่านพักอาศัยของขุนนางผู้ใหญ่ คหบดีมากมาย เป็นที่ตั้งของกรม กองต่างๆ ทำให้พื้นที่ริมแม่น้ำแถบนี้ มีความคึกคักด้วยจากเหล่าพ่อค้าและนานาชาติ

Image_a6d6092

“คลองสานมีชุมชนเก่าแก่เป็นจุดเด่น มีวัด วัง สวยงามและทรงคุณค่ามากมาย เช่น ชุมชนบ้านช่างหล่อ ชุมชนบ้านข้าวเม่า พระราชวังเดิม วัดอรุณ วัดระฆัง และพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วงเวียนใหญ่ การเข้ามาของรถไฟฟ้า รถไฟใต้ดิน หรือไอคอนสยาม ถือว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง เพราะคลองสานถูกทอดทิ้งมานาน ความเจริญควรต้องเดินหน้าต่อไป”

4_คุณสุพจน์ ชัยวัฒน์ศิริกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอคอนสยาม จำกัด

คุณสุพจน์ ชัยวัฒน์ศิริกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอคอนสยาม จำกัด มองว่า คลองสานเป็นพื้นที่หนึ่ง ที่มีความสำคัญในเชิงประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนาน เสมือนเป็นจุดเริ่มต้นของความเจริญในอดีต ตลอดริมสองฝั่งเจ้าพระยา ก็เป็นแหล่งรวมประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณี เป็นชุมชนเก่าแก่ที่สวยงามมากมาย

Image_387d1ce

นี่คือแรงบันดาลใจสำคัญ ทำให้ไอคอนสยามมุ่งมั่นที่จะมีส่วนร่วมช่วยอนุรักษ์ เชิดชู ให้ประวัติศาสตร์ ประเพณี วัฒนธรรม ของพื้นที่นี้ให้ยังคงอยู่ต่อไป จุดประกายสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยามากกว่า 10 กิโลเมตรให้คึกคักอีกครั้ง นำเสนอในไอคอนสยาม ที่เป็นแพลตฟอร์มนำสิ่งดีงามออกสู่สายตาชาวโลก

“ไอคอนสยามมีความเชื่อว่า กุญแจสำคัญคือการร่วมกับชุมชนที่เป็นเจ้าของพื้น กับทุกภาคส่วน เพราะวิธีคิดของไอคอนสยามคือ ไม่ได้มองที่ตัวเองแต่ความเจริญของเมืองจะยั่งยืนได้ ทุกคนต้องเติบโตไปด้วยกัน”

Image_0e03f54

Image_b514afb

 

Image_4fd1600

Image_4c774fd


  • 1.2K
  •  
  •  
  •  
  •