จริงหรือเปล่า? ไทยมีตัวเลือกโลจิสติกส์เยอะ แต่กลายเป็นอุปสรรคชวนปวดหัวสำหรับ SME

  • 183
  •  
  •  
  •  
  •  

700

พูดถึงการค้าปัจจุบัน สิ่งที่ผุดขึ้นในหัวคงหนีไม่พ้น อี-คอมเมิร์ซ การซื้อขายผ่านออนไลน์ หากเราจะบอกว่ายอดการจัดส่งสินค้าผ่านโลจิสติกส์ในปัจจุบันมีตัวเลขสูงถึง 3 ล้านชิ้นต่อวัน ก็คงไม่ได้สร้างความแปลกใจมากเท่าใดนัก เรื่องนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่าง วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) มองลึกกว่าความสำเร็จที่เกิดขึ้นในภาคการซื้อ-ขาย แต่ต้องเร่งแก้ปัญหาสำคัญให้ผู้ประกอบการ SME ในไทยอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะความรู้ ความเข้าใจ และความร่วมมือในภาคส่วนสำคัญอย่างผู้ให้บริการโลจิสติกส์

เรื่องนี้ เราได้อัพเดทภาพรวมและรายละเอียดธุรกิจโลจิสติกส์ในประเทศไทย จากผู้ให้บริการอย่าง SHIPPOP และ LALAMOVE ผ่านงาน “โครงการส่งเสริมพัฒนาตลาดอิเล็กทรอนิกส์สำหรับ SME ปี 2561”

1

โลจิสติกส์สำคัญที่คุณภาพ! การจัดส่งเป็นอุปสรรค SME ไทย

คุณชานนท์ กล้าหาญ กรรมการผู้จัดการ LALAMOVE ประเทศไทย อธิบายว่า ในยุคออนไลน์ทำให้จำนวนผู้ประกอบการมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ทำให้เกิดภาวะการแข่งขันสูงตามไปด้วย แต่สามารถช่วยขับเคลื่อนประเทศให้ก้าวหน้าและแข่งขันกับนานาประเทศได้ ในมุมผู้ให้บริการโลจิสติกส์ เราพยายามปรับตัวอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาสิ่งใหม่พร้อมตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการภายใต้เป้าหมายช่วยผลักดันให้ SME ไทยเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง

“ตลาดโลจิสติกส์กว้างมากและยังมีการขนส่งทั้งในประเทศ ต่างประเทศ แต่ภาพรวมการให้บริการยังคงมีไปรษณีย์ไทยเป็นผู้นำในตลาด ส่วน LALAMOVE เป็นผู้ให้บริการแบบ On Demand เรามั่นใจว่าเป็นเบอร์หนึ่งในด้านดังกล่าวด้วยจำนวนการจัดส่งเกือบ 1 ล้านเที่ยวต่อเดือน โดย 30% เป็นลูกค้าธุรกิจซึ่งสัดส่วนหลักคือกลุ่ม SME อีก 70% เป็นคอนซูเมอร์”

ส่วนการแข่งขันธุรกิจโลจิสติกส์ในประเทศไทย ปัจจุบันมีผู้ให้บริการเป็นจำนวนมาก เน้นกลยุทธ์การแข่งขันด้านราคาและโปรโมชั่นเป็นหลัก ซึ่งหลายรายมีปัญหาด้านคุณภาพการให้บริการไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่แจ้งกับลูกค้า แตกต่างกับ LALAMOVE ที่ค่าบริการอยู่ในกลุ่มต่ำ-กลางเมื่อเทียบกับผู้ให้บริการรายอื่นในตลาด แต่เราให้ความสำคัญกับการรักษามาตรฐาน เพื่อทำให้ผู้ประกอบการรู้สึกว่าบริการจัดส่งสินค้าของเราไม่แตกต่างจากลูกค้านำส่งเอง

“ปัญหาโลจิสติกส์ที่ SME กำลังเผชิญ คือ แม้จะมีผู้ให้บริการจำนวนมากแต่ยังไม่สามารถตอบโจทย์ได้ครบ เช่น ช่องทางจองใช้งาน ราคาและคุณภาพที่แตกต่างกัน รวมถึงค่าจัดส่งที่ทำให้เกิดต้นทุนแฝง ปัจจัยเหล่านี้ถือเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการ SME ต้องพิจารณา เนื่องจากโลจิสติกส์เปรียบเสมือนตัวแทนของแบรนด์ในการนำสินค้าส่งให้ถึงมือลูกค้า”

2

รู้จัก SHIPPOP ชิปปิ้ง

คุณสุทธิเกียรติ จันทรชัยโรจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ชิปป๊อป จำกัด เล่าว่า SHIPPOP ให้บริการด้วยรูปแบบผู้รวบรวมระบบการจัดส่ง ซึ่งดำเนินธุรกิจในประเทศไทยราว 2 ปี มีผลประกอบการ 60 ล้านบาทในปีที่ผ่านมา ลูกค้าส่วนใหญ่คือกลุ่มผู้ค้าอีคอมเมิร์ซ ทั้งนี้ บริษัทมีจำนวนจัดส่งสินค้าประมาณ 3 ล้านชิ้นต่อวัน และตั้งเป้าเป็นเบอร์หนึ่งในธุรกิจดังกล่าวของอาเซียนภายใน 5 ปีนับจากนี้


  • 183
  •  
  •  
  •  
  •  
Ms.นกยูง
เมื่อโลกไม่เคยหยุดหมุน เราก็ไม่ควรหยุดเรียนรู้... ชวนคุณมาทำความรู้จักหลากหลายเรื่องราว ทั้งสาระและสีสันบนโลกดิจิทัลไปพร้อมกัน