รวมสิ่งที่ควรรู้ก่อนเปิดร้านค้าบน Lazada และ Shopee อยากเป็นพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ต้องทำอย่างไร

  • 1.5K
  •  
  •  
  •  
  •  

Lazada shopee

เดี๋ยวนี้ การขายของออนไลน์ไม่ยากเหมือนในอดีตแล้ว ปัจจุบันมีเว็บไซต์และแพลตฟอร์มจำนวนมากคอยรองรับการเติบโตของพ่อค้าแม่ค้า โดยแต่ละแพลตฟอร์มก็จะมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน บางที่ก็เสียเงินสำหรับการวางขายสินค้า บางที่แทบไม่เสียค่าบริการอะไรเลยแต่อาจมีกิจกรรมการสนับสนุนการขายไม่มากนัก ซึ่งก็ต้องลองศึกษาหาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนอีกที แต่ถ้าหากให้พูดถึงแพลตฟอร์มยอดฮิตในเวลานี้แล้วล่ะก็ Lazada กับ Shopee คือแพลตฟอร์ม E-Commerce ที่อยู่ในดวงใจของใครหลายๆ คน เพราะมีการจัดกิจกรรมให้ผู้ขายอย่างต่อเนื่อง มีรูปแบบการใช้งานไม่ยุ่งยาก และมีผู้ซื้อแวะเวียนเข้าใช้งานจำนวนมหาศาลต่อวัน

แม้ Lazada กับ Shopee จะดังในกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าเป็นจำนวนมาก แต่สำหรับพ่อค้าแม่ค้ามือใหม่อาจจะยังงงๆ อย่างบ้าง ว่าวิธีการสมัครจะต้องทำอย่างไร ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง ต้องเสียเงินค่าลงขายของหรือเปล่า ซึ่งบทความนี้เสมือนเป็นไกด์ให้พ่อค้าแม่ค้ามือใหม่ได้เตรียมความพร้อม และสามารถเปิดร้านได้จริงแบบฉบับง่ายๆ ส่วนสิ่งที่ควรรู้มีอะไรบ้างนั้น ไปติดตามกันเลย

อยากขายของบน Lazada ต้องทำอย่างไร

ขั้นตอนการ Lazada*

1.โหลดแอปฯ Lazada Seller Center ได้ทั้ง IOS และ Android

2.เข้าแอปฯ Lazada Seller Center เลือกคำสั่งสมัคร

สมัคร Lazada

3.กรอกชื่อ อีเมล เบอร์โทรศัพท์ ตั้งชื่อร้านค้า และที่ตั้งร้านค้า แล้วกดยืนยัน

สมัคร Lazada

4.หลังจากผ่านการสมัครขั้นแรก สามารถเพิ่มสินค้าได้ที่ คำสั่ง “ลงรายการสินค้าของท่าน” และเพื่อให้ทาง Lazada โดนเงินถึงผู้ขายได้ ต้องกรอกของมูลบัญชีธนาคาร ที่คำสั่ง “กรอกข้อมูลธนาคาร”

* ขั้นตอนการสมัครสามารถใช้ได้ทั้งผู้ขายทั่วไป รวมถึงผู้ประกอบการ เจ้าของแบรนด์ ก็ใช้วิธีเดียวกัน

เอกสารที่ต้องใช้สมัคร Lazada

สำหรับผู้ขายทั่วไป

  • สำเนาบัตรประชาชน
  • สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • ที่อยู่จัดส่งเอกสารเรียกเก็บเงิน
  • อีเมล
  • หมายเลขติดต่อ

สำหรับผู้ประกอบการเจ้าของแบรนด์

  • สำเนาบัตรประชาชน
  • สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร
  • หนังสือรับรองบริษัท
  • ที่อยู่จัดส่งเอกสารเรียกเก็บเงิน
  • อีเมล
  • หมายเลขติดต่อ
  • สำเนาใบอนุญาตการค้า
  • สำเนาจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

ขายสินค้าบน Lazada ต้องเสียค่าธรรมเนียมการขายอย่างไรบ้าง

ทาง Lazada จะไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการวางขายสินค้าแรกเข้าต่างๆ แต่จะเก็บเป็นค่าบริการคอมมิชชันแทน

  • ค่าคอมมิชชันขึ้นอยู่กับสินค้าแต่ละหมวดหมู่ ในอัตราตั้งแต่ 1-10% ใน LazMall

การเก็บค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมที่จัดเก็บจากผู้ขายทุกราย มี 3 ประเภท

  • ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมที่เรียกเก็บจากผู้ขาย กรณีผู้ซื้อชำระค่าสินค้าโดยการใช้บัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต คิดเป็น 2% จากราคารวมทั้งหมด(หลังหักส่วนลดและบวกค่าจัดส่ง)
  • ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมที่เรียกเก็บจากผู้ขาย กรณีผู้ซื้อชำระค่าสินค้าแบบจัดเก็บเงินปลายทาง คิดเป็น 2% จากราคารวมทั้งหมด(หลังหักส่วนลดและบวกค่าจัดส่ง)
ค่าธรรมเนียม Lazada
วิธีการคำนวนราคาค่าธรรมเนียมที่ผู้ขายต้องจ่ายให้ Lazada

ผู้ขายส่งสินค้าให้ผู้ซื้อแบบไหนได้บ้าง

ผู้ขายต้องจัดส่งสินค้าให้ผู้ซื้อเอง โดยวิธีการส่งจะมีอยู่ 2 แบบ คือ นัดรับสินค้าจากผู้ขาย(Pick Up) และ รับส่งสินค้าที่สาขา(Drop Off) โดยมีพาร์ทเนอร์ 3 ราย ได้แก่ ไปรษณีย์ไทย, Kerry Express และ Lex ส่วนราคาจะคิดตามน้ำหนักจริงของสินค้าที่ผู้ขายระบุไว้ตั้งแต่แรก เทียบกับอัตราค่าจัดส่งของบริษัทขนส่ง

การจัดส่งสินค้า Lazada
ส่งสินค้าแบบ Pick up
การจัดส่งสินค้า Lazada
ส่งสินค้าแบบ Drop-Off
Lazada
ค่าขนส่งและจำนวนพาร์ทเนอร์อาจมีการเปลี่ยนแปลง

อยากขายแล้ว แต่ขายที่ไหนดีระหว่าง Lazada กับ LazMall

  • Lazada จะเป็นพื้นที่สำหรับร้านค้าทั่วไป ที่สามารถขายสินค้าได้
  • LazMall จะเป็นพื้นที่พิเศษสำหรับร้านค้าที่ผ่านเงื่อนไข โดยร้านค้าจะได้รับตัวช่วยและกิจกรรมส่งเสริมการขายผ่านแคมเปญต่างๆ อาทิ LazMall Badge, Flagship Store และ Seller Picks เพิ่มการเข้าถึงของลูกค้ามากยิ่งขึ้น

อยากขายของบน Shopee ต้องทำอย่างไร

ขั้นตอนการ Shopee *

1.โหลดแอปฯ Shopee ได้ทั้ง IOS และ Android

2.กดเลือกเมนู “เริ่มขาย” ในหน้าโปรไฟล์

Shopee การขาย

3.เลือกคำสั่ง “เพิ่มสินค้า”

4.ใส่รูปสินค้าที่ต้องการขาย และใส่รายละเอียดอื่นๆ เช่น ราคา, คำอธิบายสินค้า, จำนวนสินค้าที่มีอยู่ในสต๊อกของเรา และหมวดหมู่สินค้า เป็นต้น โดยสินค้า 1 ชิ้น สามารถใส่รูปได้สูงสุด 9 รูป จากนั้นกดคำสั่ง “ส่ง” มุมขวาบน เพื่อยืนยัน

Shopee การขาย

5.คำสั่งสุดท้าย กดเลือก “ป้อน” เพื่อเพิ่มบัญชีธนาคาร ให้ Shopee สามารถโอนเงินมายังผู้ขายได้

* ขั้นตอนการสมัครสามารถใช้ได้ทั้งผู้ขายทั่วไป รวมถึงผู้ประกอบการ เจ้าของแบรนด์ ก็ใช้วิธีเดียวกัน

เอกสารที่ต้องใช้สมัคร Shopee

สำหรับผู้ขายทั่วไป

สำหรับการลงทะเบียนครั้งแรก ข้อมูลส่วนบุคคลที่ต้องใช้ ประกอบด้วย ชื่อ นามสกุล, อีเมล และเบอร์โทรศัพท์ กรอกลงในแอปฯ ได้เลย

เพื่อให้ธุรกรรมที่เกี่ยวกับการชำระเงินเป็นไปได้โดยง่าย และตรงตามมาตรฐานของอุตสาหกรรม ผู้ขายจำเป็นต้องส่งเอกสารอื่นๆ ดังนี้ สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาหน้าบัญชีธนาคาร

สำหรับผู้ประกอบการเจ้าของแบรนด์

ข้อมูลเบื้องต้นจะมีความคล้ายกับผู้ขายทั่วไป คือ ชื่อ นามสกุล, อีเมลเบอร์โทรศัพท์, สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาหน้าบัญชีธนาคาร แต่เอกสารที่เพิ่มขึ้นมาคือ

  • หนังสือรับรองบริษัท
  • สำเนา ปพ. 20
  • สำเนาใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) ของผู้มีอำนาจในการลงนาม ใช้สำเนาบัตรประชาชนแทนได้
  • เครื่องหมายการค้า หรือ โลโก้ร้าน

ขายสินค้าบน Shopee ต้องเสียค่าธรรมเนียมการขายอย่างไรบ้าง

ค่าธรรมเนียมที่หักจากราคาสินค้าตั้งต้นของผู้ขาย แบ่งเป็น 2 ประเภท (เก็บเฉพาะ ShopeeMall)

  • ผู้ขายต้องเสียค่าเนียมการขาย 1% สำหรับสินค้าของราคาตั้งต้น ในหมวดหมู่อิเล็กทรอนิกส์ (Electronics) อาทิ มือถือและอุปกรณ์เสริม (Mobile & Gadgets) กล้องและอุปกรณ์ถ่ายภาพ (Cameras), คอมพิวเตอร์และแล็ปท็อป (Computers & Laptops), สื่อบันเทิงภายในบ้าน (Home Entertainment) และเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน (Home Appliances)
  • ผู้ขายต้องเสียค่าเนียมการขาย 3% สำหรับสินค้าของราคาตั้งต้น ในหมวดหมู่ที่ไม่ใช่อิเล็กทรอนิกส์ (Non-Electronics) อาทิ เครื่องสำอาง, เครื่องแต่งกาย, เครื่องประดับแฟชั่น และอาหารเครื่องดื่ม เป็นต้น

การเก็บค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมที่จัดเก็บจากผู้ขายทุกราย มี 3 ประเภท

  • ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมที่เรียกเก็บจากผู้ขาย กรณีผู้ซื้อชำระค่าสินค้าโดยการใช้บัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต คิดเป็น 2% จากราคารวมทั้งหมด(หลังหักส่วนลดและบวกค่าจัดส่ง)
  • ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมที่เรียกเก็บจากผู้ขาย กรณีผู้ซื้อผ่อนชำระค่าสินค้าโดยการใช้บัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต คิดเป็น 5% (2% จากค่าธุรกรรมบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต และ 3% จากค่าธุรกรรมการผ่อนชำระ) จากราคารวมทั้งหมด(หลังหักส่วนลดและบวกค่าจัดส่ง)
  • ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมที่เรียกเก็บจากผู้ขาย กรณีผู้ซื้อชำระค่าสินค้าแบบจัดเก็บเงินปลายทาง คิดเป็น 2% จากราคารวมทั้งหมด(หลังหักส่วนลดและบวกค่าจัดส่ง)

ยกตัวอย่าง ลูกค้าซื้อสินค้าเครื่องสำอาง 1,000 บาท สมมุติมีค่าส่ง 50 บาท(ลูกค้าจ่ายเพิ่ม)

  • ลูกค้าซื้อสินค้าเครื่องสำอาง 1,000 บาท วิธีคิด 1,000-3%(สินค้าหมวดหมู่ที่ไม่ใช่อิเล็กทรอนิกส์) เท่ากับว่าต้องเสียค่าธรรมเนียมการขายให้ Shopee 30 บาท
  • ลูกค้าจ่ายผ่านบัตรเครดิต 1,000 บาท บวกค่าจัดส่ง 50 บาท วิธีคิด 1,000+50-2%(ผู้ซื้อชำระค่าสินค้าโดยการใช้บัตรเครดิต) เท่ากับว่าต้องเสียค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมด้วยบัตรเครดิตให้ Shopee 21 บาท

สรุปผู้ขายต้องจ่ายค่าธรรมเนียมทั้งหมดจากราคาตั้งต้น 1,000+50-30-21 = 999 หรือต้องจ่ายให้ Shopee เป็นจำนวน 1 บาท นั่นเอง

ผู้ขายส่งสินค้าให้ผู้ซื้อแบบไหนได้บ้าง

ผู้ขายต้องจัดส่งสินค้าให้ผู้ซื้อเอง โดยวิธีการส่งจะมีอยู่ 2 แบบ คือ นัดรับสินค้าจากผู้ขาย(Pick Up) และ รับส่งสินค้าที่สาขา(Drop Off) โดยมีพาร์ทเนอร์ 4 ราย ได้แก่ ไปรษณีย์ไทย, DHL, Kerry Express และ Ninja Van ส่วนราคาจะคิดตามน้ำหนักจริงของสินค้าที่ผู้ขายระบุไว้ตั้งแต่แรก เทียบกับอัตราค่าจัดส่งของบริษัทขนส่ง

ค่าขนส่ง Lazada
ค่าขนส่งและจำนวนพาร์ทเนอร์อาจมีการเปลี่ยนแปลง ส่วนค่าบริการไปรษณีย์ไทยอิงราคาล่าสุด

อยากขายแล้ว แต่ขายที่ไหนดีระหว่าง Shopee Marketplace กับ Shopee Mall

สำหรับคนที่เพิ่งจะเริ่มขายของใน Shopee ก็อาจจะงงๆ หน่อยเพราะในแอปฯ จะแบ่งพื้นที่สำหรับขายของเป็น 2 ส่วน ได้แก่ Shopee Marketplace กับ Shopee Mall

  • Shopee Marketplace จะเป็นพื้นที่สำหรับร้านค้าทั่วไป ที่สามารถขายสินค้าได้
  • Shopee Mall จะเป็นพื้นที่พิเศษสำหรับร้านค้าที่ผ่านเงื่อนไข โดยร้านค้าจะได้รับสิทธิ์บริการฟรีค่าจัดส่งตามแคมเปญที่กำหนด ได้รับการส่งเสริมการขายผ่านแคมเปญต่างๆ รวมถึงข้อมูลเชิงลึกจาก Shopee ให้ผู้ขายนำไปวิเคราะห์ปรับปรุงสินค้าและบริการ โดยวิธีการเป็นส่วนหนึ่งของ Shopee Mall คือ ต้องผ่านเกณฑ์ในการให้สิทธิ์ผู้ซื้อคืนสินค้าได้ภายในระยะเวลา 15 วัน และฟรีค่าจัดส่งอย่างน้อยหนึ่งช่องทางการขนส่ง

  • 1.5K
  •  
  •  
  •  
  •  
Roboots
Tech Savvy Lv.14