ได้ลูกค้าที่ใช่ ทำกำไรไม่ยาก! รู้ได้อย่างไรว่า “ใคร” ซื้อสินค้าที่คุณแนะนำ?

  • 361
  •  
  •  
  •  
  •  

เคยสงสัยหรือไม่ว่าทำไมเวลาซื้อของออนไลน์แล้ว ต่อมาอีกไม่กี่อาทิตย์เราก็จะเป็นโฆษณาหรือโปรโมชั่นของสินค้าที่เราเพิ่งซื้อหรือเพิ่งไปเจอไป หรือเห็นของที่เพื่อนๆของเราใน Facebook ซื้อไป เพื่อนของเพื่อนซื้อไป หรือคนที่เหมือนเราซื้อไป

เราเพิ่งซื้อของไป แต่ทำไมเรายังโดนโฆษณายิงเป็นชุด?

phone-app-ad

เพราะทุกวันนี้เรากำหนดลูกค้าเป้าหมายในการยิงโฆษณา ใช้เทคโนโลยีติดตามและโต้ตอบพฤติกรรมรายบุคคล เว็บไซต์จะเก็บข้อมูลว่าเราเคยเปิดดูเพจไหนบ้างและเลือกโฆษณาให้ตรงกับสิ่งที่เราสนใจและใช้เวลามากเป็นพิเศษ

 

ข้อมูลที่ว่าก็จะมีอยู่ 4 แบบหลักๆคือ

1. พฤติกรรมผู้ใช้งาน: ว่าเคยคลิกดู ค้นหาอะไร เพจไหน ของชิ้นไหนบ้าง

2. การกระทำต่างๆบนโลกโซเชียล: ว่าเคยกดไลค์ กดแชร์ คอมเมนท์ หรือเคยแนะนำอะไรบ้างบนสื่อสังคมออนไลน์

3. รายละเอียดสินค้า: ชื่อ ประเภท ราคา คำบรรยายของสินค้าที่ขายอยู่

4. บริบท: เช่นวันเวลา สภาพภูมิอากาศ ดีไวซ์ ตำแหน่งสถานที่ URL

 

ระบบหรืออัลกอรึธึ่มจะกรองประวัติการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นสินค้าที่เราเคยซื้อ เคยดู หรือเคยกดไลค์ แล้วจากนั้นก็จะสร้างลิสต์รายการของสินค้าแนะนำที่เราอาจจะชอบ

E

แต่การกำหนดเป้าหมายตามพฤติกรรมของผู้บริโภคแบบอาจนำปัญหาตามมาก็ได้

เพราะวิธีนี้ยึดสมมติฐานที่ว่า “สิ่งที่เคยทำในอดีตกำหนดสิ่งที่อาจจะทำในอนาคต” แต่การคิดแบบนี้ทำให้เกิดปัญหาขึ้นมาได้ เช่นการซื้อรองเท้าเพียงครั้งเดียวก็เป็นแค่หนึ่งในตัวอย่างที่การกระทำในอดีตไม่ได้ทำนายการกระทำในอนาคตได้เป๊ะ และก็ไม่ได้สะท้อนว่ามันเข้ากับเหมาะสมกับแต่ละคนหรือไม่

และคำถามอีกสารพัดต่อวิธีนี้ว่าจะวัดความเหมือนคล้ายคลึงของผู้ใช้งานได้อย่างไร? แล้วเมื่อไหร่ที่ผู้ใช้งานสองคนจะมีความคล้ายคลึงกัน เมื่อไหร่ที่คนพวกนี้จะชอบรสชาติเดียวกัน?

ซึ่งผู้ใช้งานอาจไม่จำเป็นต้องชอบสินค้าบริการที่ระบบมันแนะนำก็ได้ เพราะมันก็แนะนำจากข้อมูลที่รวมจากพฤติกรรมของเรา ทำให้ผู้ใช้งานอาจคิดว่าตัวเองไม่ได้มีรสนิยมเหมือนคนอื่นหรืออย่างไรกัน?

และถ้าเกิดว่าผู้ใช้งานเกิดลบหรือบล็อก Cookies จากคอมพิวเตอร์ของตัวเองล่ะ ความแม่นยำของข้อมูลที่เก็บได้จากพฤติกรรมของผุ้ใช้งานก็จะน้อยลง และจะตอบโจทย์ตลาดและรสนิยมของแต่ละคนได้ยากขึ้น

แล้วถ้าคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งมีคนใช้หลายคนล่ะ?

 

ข้อสงสัยที่ว่าในระบบยิงโฆษณาตามพฤติกรรมไม่ได้หมายความว่าจะทำการตลาดขายของตอบโจทย์รายบุคคลไม่ได้ เรายังใช้เทคโนโลยีตอบโจทย์คนที่มาเยี่ยมชมเพจของเราได้อยู่ ฉะนั้นเราควรจะปรับแต่งให้เข้ากับแต่ละคนโดยยึดทัศนคติความคิดของผู้ใช้งาน ผลกระทบและความเป็นไปได้ที่กลุ่มลูกค้าจะซื้อสินค้าบริการที่เราแนะนำ ถึงจะทำให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์และสื่อสังคมออนไลน์ประทับใจ รู้จักแบรนด์ของเรามากขึ้น และรายได้ก็จะตามมาในที่สุด

A

 

การปรับแต่งเว็บไซต์และคอนเทนต์ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับข้อมูลพฤติกรรมก่อนๆของผู้ใช้งานอย่างเดียว

ปรกติแล้วคนเข้ามาดูเว็บไซต์จะมาเบราวซ์ดูเฉยๆหรือไม่ก็มาดูเพื่อจุดประสงค์บางอย่าง ซึ่งจะใช้ระยะเวลาดูที่ไม่เหมือนกันตามพฤติกรรมการดู คอนเทนต์และโปรโมชั่นก็จะปรับเปลี่ยนไปตามนิสัยคนดูด้วยในแต่ละเพจ

แต่ความจริงคือเราสามารถเจาะเข้าถึงบุคลิคนิสัยของคนที่เข้ามาดูเว็บไซต์ได้ เพื่อทำคอนเทนต์ที่ตอบโจทย์ หรืออย่างน้อยเราก็จะไม่ทำคอนเทนต์ผิดๆและรู้จักคนเข้ามาดูเว็บไซต์ได้มากขึ้น

คนดูเว็บไซต์อาจจะยอมรับและทำตามคำแนะนำของเราหรือไม่ (เช่นคลิกเข้าไปดูสินค้าที่เราแนะนำให้ลูกค้า) อยู่ที่พฤติกรรมของคนดูเว็บไซต์ในหน้าหลักหรือ Landing Page ถ้าเรารู้จักและวัดบุคลิคนิสัยของคนดูเว็บไซต์ เราก็จะทำคอนเทนต์บน Landing Page ให้ตอบโจทย์แต่ละคนโดยเฉพาะได้ไม่ยาก

 

แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าใครที่อาจจะยอมรับและทำตามคำแนะนำของเรา?

1. ดูภาพรวมของเพจหลักว่ามีอะไรมาเสนอบ้าง

2. ลองสำรวจเข้าไปดูเว็บไซต์ กดดูรายละเอียดให้ทั่ว

3. เลื่อนเมาส์ไปที่ข้อเสนอ และคอนเทนต์เด่นๆถูกโปรโมท ดูสินค้าที่กำลังฮิตเป็นเทรนด์

4. กดเล่นวีดีโอบนเพจที่ถูกโปรโมทและหาคอนเทนต์หรือรายละเอียดสินค้ามาดูเสริม

ถ้าเป็นบริการท่องเที่ยว คนเยี่ยมเว็บไซต์ที่มาดูรีวิวทริปท่องเที่ยววันหยุดหรือไฟล์ตบินไปสักที่ก็เป็นคนที่ยินดีรับไอเดียใหม่ๆ ข้อเสนอดีๆทำให้เราพอจะแนะนำโปรโมชั่นบริการดีๆได้

พอเรารู้ว่าใครที่เราพอแนะนำสินค้าและบริการได้หรือไม่ได้บ้าง เราก็จัดการปรับแต่งเว็บไซต์ให้เหมาะกับแต่ละคน ไม่ใช่แค่คอนเทนต์ที่ต่างกัน แต่เป็นการนำผู้ชมเข้าสู่สิ่งที่เขาต้องการ ซึ่งการปรับแต่งที่ว่าอาจไม่เกี่ยวข้องอะไรกับพฤติกรรมในอดีดของผู้ชมเว็บไซต์เลยก็ได้

ecommerce

ถ้าเราเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานเว็บไซต์ เราก็จะทำคอนเทนต์ให้ถูกใจแต่ละคนโดยเฉพาะได้ จนถึงแนะนำสินค้าให้กับคนที่น่าจะสนใจ ฉะนั้นเราต้องดูให้มากกว่าพฤติกรรมให้อดีตของผู้ใช้งานด้วย ถึงจะเพิ่มยอดขายและรายได้ในที่สุด

 

แหล่งที่มา

Past Behavior Does Not Determine Future Purchases


  • 361
  •  
  •  
  •  
  •  
Sarunjade
แชร์มุมมองเกี่ยวกับ Digital Marketing, Digital Business และ Technology เท่าที่รู้ สามารถติชมหรืออยากให้เจาะลึกเรื่องไหนเป็นพิเศษ ส่งเมลมาเลยที่ contact@oopsnetwork.co.th
CLOSE
CLOSE