มาดู 7 ธุรกิจที่เกิด Digital Disrupted ในยุคปัจจุบัน และวิธีรับมือ

  • 85
  •  
  •  
  •  
  •  

522293125

คำว่า Disrupt เป็นหนึ่งในคำที่ได้ยินบ่อยที่สุดในยุคดิจิทัลครองเมือง เพราะความพิเศษของดิจิทัลเทคโนโลยี ที่สามารถเปลี่ยนสิ่งแบบเดิมๆ ให้ทันสมัยและทรงพลังมากกว่าเดิม คราวนี้ลองมาดูกันว่า ในโลกยุคดิจิทัลนี้มีธุรกิจอะไรบ้างที่ Disrupted หรือถูกเทคโนโลยีเข้ามาสร้างความเปลี่ยนแปลง ทำให้รูปแบบเดิมๆ โดนแย่งชิงบทบาทจนแทบจะหายไป (และอาจจะหายไปในที่สุด) และต่อไปนี้คือ 7 ธุรกิจที่เกิดการ Disrupt มากที่สุดคัดเฉพาะที่ใกล้ชิดกับประเทศไทย โดย Jo Caudron และ Dado Van Peteghem และเมื่อถูกโจมตีแล้ว ก็ต้องมีกลยุทธ์ในการรับมือ โดย Professor Michael Wade  co-director of the IMD Leading Digital Business Transformation

1) Subscription Model – เดิมมีหลายสินค้าและบริการที่มีลักษณะขายขาด เช่น หนัง, เพลง หรือแม้แต่ซอฟต์แวร์ แต่ปัจจุบันการขายขาดไม่ใช่วิธีการที่ได้รับความนิยมอีกต่อไป จึงเกิดโมเดลแบบบอกรับสมาชิกขึ้น โดยมีลักษณะเก็บเงินรายเดือนใช้บริการได้ไม่อั้น้ หรือจะจ่ายจริงเท่าที่มีการใช้ก็ได้ เช่น Netflix, Primetime, iFlix และ Apple Music

2) Freemium Model – เป็นการให้บริการฟรีแบบจำกัด และเริ่มเก็บเงินเมื่อมีการใช้งานที่มากขึ้นตามเงื่อนไขที่กำหนด ซึ่งการใช้บริการฟรีแบบจำกัด ข้อดีคือได้เรียนรู้ประสิทธิภาพ ได้ใช้งานจริง แต่อาจต้องแลกมาด้วยโฆษณา หรือแลกเปลี่ยนกับข้อมูลส่วนบุคคลบางอย่าง ถ้าอยากใช้งานให้มากขึ้นหรือไม่มีโฆษณามากวนใจ ก็ต้องจ่ายเงิน เช่น Spotify, Dropbox

3) Free Model – ของฟรีมีที่ไหน บางคนอาจจะบอกว่า Google และ Facebook ให้ใช้บริการฟรีไม่มีนโยบายเก็บเงินด้วย แต่ความเป็นจริง เราได้เสียค่าใช้งานทางอ้อม ด้วยข้อมูลส่วนบุคคล และโฆษณาที่แบรนด์สินค้าต่างๆ จ่ายก่อนจะมาเก็บเราย้อนหลังผ่านสินค้าและบริการต่างๆ อีกที

4) Marketplace Model – จะขายสินค้าและบริการนั้นไม่ยาก แค่ตั้งตลาดออนไลน์ขึ้นมา ให้คนซื้อและคนขายมาเจอกัน ง่ายต่อการเข้าถึง ไม่ต้องเดินหาให้เมื่อย เช่น eBay, iTunes, Appstore, Uber, AirBnB

5) The Access-over-Ownership Model – แปลง่ายๆ ว่า ธุรกิจที่เป็นตัวกลางนำพาผู้บริโภคเข้าถึง สินค้าและบริการจากเจ้าของ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน เช่น AirBnB, FavStay ที่จัดหาที่พักจากเจ้าของส่งถึงมือผู้ใช้บริการโดยตรง และเก็บรายได้จากค่าบริหารจัดการ

6) Hypermarket Model – ไม่ได้หมายถึงห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ เช่น Lotus, BigC แต่มีลักษณะคล้ายกัน โดยใช้อำนาจทางการตลาดขนาดใหญ่ และมีสินค้าที่น่าสนใจทำให้สามารถขายต่ำกว่าทุนได้ หลายครั้งซื้อของใน Amazon จึงมีราคาถูกกว่า

7) Ecosystem Model – ที่เห็นได้ชัดคือ Google และ Apple ที่ขายสินค้าและบริการที่เชื่อมโยงถึงกันทั้งระบบ และต้องซื้อต่อเนื่องกันไป เช่น สมาร์ทโฟน, ระบบปฏิบัติการ, แอพพลิเคชั่น จะใช้เกิดประโยชน์สูงสุดต้องซื้อเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สร้างระบบการพึ่งพาที่ปฏิเสธไม่ได้

GettyImages_513071583

สำหรับรูปแบบการรับมือกับการ Disrupt มีหลายวิธีการ เช่น

1) Block Strategy – ใช้พลังทางกฎหมาย ลิขสิทธิ์ และสิทธิบัตร เป็นกำแพงในการป้องกันธุรกิจเกิดใหม่ที่ใช้เทคโนโลยี

2) Invest in Disruption Model – ถ้ามีเงินทุนมากพอ เห็นแล้วว่านี่คือธุรกิจใหม่ที่จะมา Disrupt ก็ลงทุนไปด้วยซะเลย

3) Disrupt the Current Business Strategy – เปิดสินค้าและบริการใหม่เข้าแข่งขันเลย ใช้ประโยชน์จากความรู้ ความชำนาญในตลาดที่มีมาก่อน เอาชนะในทางการตลาดให้ได้

4) Retreat into a Strategic Niche Strategy – ถ้าเห็นว่าสู้ได้ยาก ก็สั่งถอยทัพกลับมาดูแนวทางการทำตลาด และเลือกเจาะกลุ่มเฉพาะทางเพื่อรักษาฐานที่มั่น ซึ่งคู่แข่งยากจะเข้าถึง

5) Exit Strategy – หนึ่งในสุดยอดกลยุทธ์คือหนี เมื่อเห็นแล้วว่าไม่มีทางแข่งขันได้ ชิงขายธุรกิจดึงเงินทุนกลับมาในขณะที่ธุรกิจยังมีมูลค่าอยู่

6) Redefine the Core Strategy – การเปลี่ยนไปทำธุรกิจอื่นที่ใกล้เคียงกัน ก็มีส่วนช่วยให้ธุรกิจอยู่รอด หนึ่งในกรณีศึกษาระดับโลกที่น่าสนใจ เช่น IBM ที่ขายธุรกิจคอมพิวเตอร์ และมุ่งพัฒนาธุรกิจซอฟต์แวร์และ Consulting สร้างการเติบโตได้อย่างมหาศาล

Source: digitalintelligencetoday.com


  • 85
  •  
  •  
  •  
  •  
CLOSE
CLOSE