ทำไมสตาร์ทอัพตัวจริงไม่กลัวความล้มเหลวและไม่แคร์ความสำเร็จ?

  • 97
  •  
  •  
  •  
  •  

สตาร์ทอัพสามารถเป็นกลไกสร้างประเทศในอนาคตได้ มูลค่ารวมสตาร์ทอัพ 1-2 เจ้าอย่าง Google และ Facebook มากกว่า GDP ของบางประเทศเสียอีก ดังนั้นการที่สตาร์ทอัพจะทำให้เศรษฐกิจของชาติเข้มแข็งขึ้นนั้นก็เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ หากคนในชาติมีทัศนคติที่ไม่ยอมแพ้ รักการเรียนรู้ เป้าหมายชัดเจน และรู้ขั้นตอนการลงมือทำที่ถูกต้อง

แต่ทำไมสตาร์ทอัพตัวจริงไม่กลัวความล้มเหลวและไม่แคร์ความสำเร็จ? นี่คือคำตอบ

 

1. เพราะสตาร์ทอัพเริ่มจากการถามตัวเองว่า “ทำไม”: เริ่มจากการตั้งคำถามว่าทำไมโลกเราถึงเป็นแบบนี้ ทำไมโลกในอนาคตมันถึงไม่ดีขึ้น การตั้งคำถามกับปัญหาที่คนส่วนใหญ่เผชิญจึงเป็นแรงผลักดันให้สตาร์ทอัพลุกขึ้นมาแก้ไขปัญหาได้สำเร็จ ไม่ใช่เริ่มจากตัวเงินที่ทำกำไรหรือเทคโนโลยี แต่เป็นสตาร์ทอัพที่ยืนหยัดแก้ไขปัญหาให้ผู้คนและสร้างความแตกต่างได้ สตาร์ทอัพตัวจริงจึงไม่กลัวแพ้หรือไม่แคร์ความสำเร็จเลย

what

 

2. มีแนวโน้มที่จะมีปัญหากันเรื่องหุ้นส่วนและผลประโยชน์น้อยลง: ก็ในเมื่อสตาร์ทอัพไม่ได้ให้ความสำคัญกับเม็ดเงินเป็นอันดับแรก คนที่มาร่วมทีมด้วยจึงไม่ได้มาเพื่อ เงิน เขามได้มาเพราะคุณด้วยซ้ำ แต่เขามาเพราะคำถามของคุณ วิสัยทัศน์ของคุณ ภาระกิจที่คุณต้องการแก้ไขปัญหาให้คนส่วนใหญ่ ทำให้ทำงานร่วมกันได้เหนียวแน่นขึ้น นิยามของสตาร์ทอัพจึงกลายเป็นกลุ่มคนบ้ากลุ่มเล็กๆที่เห็นโลกต่างจากคนอื่น ที่มีพลังมุ่งมั่นแก้ไขปัญหาให้คนอื่นนับล้าน

listen

 

3. เพราะขั้นแรกของการการทำสตาร์ทอัพ คือการเข้าใจคนที่กำลังเผชิญปัญหา: เป็นไปไม่ได้ที่เราจะออกผลิตภัณฑ์ครั้งเดียวปัง แล้วโดนใจคนใช้เลย เราไม่สามารถ “มโน” เอาเองได้ว่าคนใช้ชอบอะไรไม่ชอบอะไร ฉะนั้นก่อนที่สตาร์ทอัพจะออกผลิตภัณฑ์ จะต้องไปทดสอบสิ่งที่เรามโนหรือตั้งสมมติฐานก่อนแล้วค่อยไปถามคนที่มีแนวโน้มที่จะใช้ผลิตภัณฑ์ของเรา (Early Adopter) เมื่อเข้าใจพวกเขามากขึ้น วิสัยทัศน์จะลึกซึ้งขึ้น มีผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์คนใช้ที่สุด

Manager and a candidate in a job interview

 

4. เพราะความล้มเหลวถูกแทนที่ด้วยการเรียนรู้เสมอ: เพียงแต่เราต้องรู้จักการตั้งคำถามที่ถูกต้องด้วย การตั้งคำถามในที่นี้ไม่ใช่แค่เขียนคำถามในการะดาษแล้วออกไปถามคนที่มีแนวโน้มจะให้ผลิตภัณฑ์ของเรา ในตอนเริ่มต้นเราต้องสร้างต้นแบบ (Prototype) ที่ทำได้ง่ายๆ ไม่ต้องสมบูรณ์แบบ แล้วให้พวกเขาได้สัมผัสได้ใช้ หากเขาไม่พอใจ หรือด่ากลับมา ขอแสดงความยินดีด้วย คุณได้เรียนรู้ที่จะพัฒนาตัวต้นแบบในครั้งต่อไป คิดเสียว่ามันคือการทดลองละกัน

 ฉะนั้นยิ่งพลาดเร็ว พลาดมาก พลาดบ่อย ยิ่งต้องลุกขึ้นมาเร็วและแรงขึ้น เรียนรู้ ปรับตัวให้ไว และสำเร็จเร็วขึ้น

Hiker on the rock

5. เพราะสตาร์ทอัพตัวจริงเป็นพวกดื้อด้าน:ในการเรียนรู้พัฒนาผลิตภัณฑ์ออกมาสักชิ้นจะต้องใช้เวลา เข้าใจ เรียนรู้ ระดมสมอง ทำต้นแบบ ทดสอบ ได้ความเห็น (หลายๆครั้งได้คำด่า) เรียนรู้ ทำต้นแบบใหม่ให้ได้ดีขึ้น 10% ทุกอาทิตย์ วนๆไปเรื่อยๆ ซึ่งกว่าผลิตภัณฑ์จะเริ่มเป็นรูปเป็นร่างและสมบูรณ์จะต้องใช้เวลา 31 อาทิตย์หรือประมาณ เกือบๆ 8 เดือน ฉะนั้นใครที่ “Why?” ไม่แกร่งจริงๆ ใจเสาะเลิกไปก่อน ก็ล้มเหลวไป ฉะนั้นคนที่รอดคือคนที่แพ้ไม่เป็นเท่านั้น

 Close up of men's rowing team

 

แต่ก่อนที่จะลุกขึ้นไปทำสตาร์ทอัพเปลี่ยนโลกน่ะ นั่งลงก่อน เพราะก่อนที่จะไปเปลี่ยนโลกน่ะ เปลี่ยนตัวเองก่อนดีกว่า ฉะนั้นถามตัวเองให้ชัดก่อน ว่าตัวเองต้องการอะไร ภาพที่เรามองเห็นในอนาคตที่เราต้องการ มีความหมาย และบันดาจใจสุดๆน่ะคืออะไร และวันพรุ่งนี้เราจะทำอะไรได้บ้าง ไม่ต้องจัดเต็ม แค่ 1 % ก็พอ เรียนรู้จาก 1% ที่ทำ เรียนรู้และพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ

พร้อมเปลี่ยนจากวัฒนธรรมที่เห็นความล้มเหลวเป็นเรื่องไม่น่าให้อภัย เป็นวัฒนธรรมที่ความล้มเหลวเป็นเรื่องธรรมดาและเรียนรู้จากมัน

 

แหล่งที่มา


  • 97
  •  
  •  
  •  
  •  
Sarunjade
แชร์มุมมองเกี่ยวกับ Digital Marketing, Digital Business และ Technology เท่าที่รู้ สามารถติชมหรืออยากให้เจาะลึกเรื่องไหนเป็นพิเศษ ส่งเมลมาเลยที่ contact@oopsnetwork.co.th