สงครามรัสเซีย – ยูเครนไม่จบ กดดันทั่วโลก เศรษฐกิจไทยเสี่ยงสู่ภาวะถดถอย

  • 518
  •  
  •  
  •  
  •  

Thai economy

แม้ว่าในบ้านเราสถานการณ์โควิด- 19 จะเริ่มคลี่คลายลงไป และคาดว่าเศรษฐกิจกำลังจะกลับมาฟื้นได้ดั่งเดิม แต่มิได้เป็นเช่นนั้น เมื่ออยู่ ๆ เช่น เดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา รัสเซียเข้าบุกถล่มยูเครนจนเป็นสงครามที่ไม่รู้จะยุติที่ ณ จุดใด บวกกับปัญหาเงินเฟ้อที่ทั่วโลกกำลังได้รับผลกระทบอยู่นั้น ส่งผลให้ของกิน ของใช้ในบ้านเราปรับตัวสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะน้ำมันที่ประเทศไทยเองต้องนำจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก

จากงานสัมมนา “เศรษฐกิจชะลอตัวท่ามกลางเงินเฟ้อสูง (Stagflation) ในภาวะสงคราม” วิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย ระบุว่า จากสถานการณ์ความขัดแย้งรุนแรงระหว่างรัสเซียนกับยูเครน ยังมีความไม่แน่นอนจากการคว่ำบาตรที่อาจจะเกิดความรุนแรงขึ้นได้ หากสถานการณ์มีความยืดเยื้อ หรือบานปลายจนหาจุดสิ้นสุดไม่ได้ ก็จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกที่อาจจะเกิดความเสี่ยงขึ้นมาได้ ทำให้สินค้าขาดแคลนจากตลาดโลกไปอีก จึงก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโลก รวมถึงเศรษฐกิจไทยด้วย ที่ขณะนี้จะเห็นได้ว่าราคาพลังงานที่สูงขึ้น ทำให้ของกินของใช้ก็ปรับราคาสูงขึ้นตามไปด้วย บวกกับปัญหาเงินเฟ้อโลกที่ปรับสูงขึ้น ทำให้จีดีพีปรับตัวลดลง และการระบาดของโควิด 19 ที่แม้ว่าจะดูคลี่คลายลงไปบ้าง แต่ก็ยังคงต้องเฝ้าระวังอยู่จากความไม่แน่นอน

ส่วนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ เฟด ในการประชุมเมื่อกลางเดือนที่ผ่านมา เป็นไปตามที่คาดการณ์ของตลาด ว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกประมาณ 7-8 ครั้ง เนื่องจากเฟดมองว่าเงินเฟ้อที่สูงขึ้นในขณะนี้ไม่ใช่ปัญหาชั่วคราว ที่เกิดขึ้นมาจากฝั่งอุปทานมากกว่า จึงส่งผลกระทบต่ออุปสงค์ไปด้วย ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย หรือ Stagflation มากขึ้น จึงจำเป็นต้องมีปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นไปด้วย

ส่วนเศรษฐกิจไทย แม้สถานการณ์โควิด 19 ทื่คลี่คลายลงบ้าง ส่งผลให้เริ่มกลับมาฟื้นตัวดีขึ้นได้ แต่กลับต้องมาเจอกับภาวะสงครามรัสเซียกับยูเครนที่เข้ามาซ้ำเติม ซึ่งส่งผลกระทบในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะปัญหาเงินเฟ้อที่สูงขึ้น เนื่องจากประเทสไทยนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง จะทำให้ราคาพลังงาน รวมถึงต้นทุนสินค้าแพงขึ้น จึงเป็นอีกหนึ่งแรงที่เข้ามากระทบต่อกำลังซื้อของประชาชน แม้จะมีมาตรการของรัฐออกมาช่วยแต่ก็บรรเทาได้เป็นบางกลุ่มเท่านั้น

ระดับคาดการณ์จีดีพีเติบโตจากเดิมที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองไว้อยู่ที่ 3.7% ถือว่าค่อนข้างสูง ขณะที่ระดับอัตราเงินเฟ้อที่ 2.2% ถือว่าสมเหตุสมผล เพราะอัตราเงินเฟ้อนั้นไม่น่าจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ หากราคาเมื่อสูงถึงระดับหนึ่งประชาชนจะสู้ไม่ไหวและจะหยุดซื้อสินค้าและหันมาประหยัดแทน จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยนั่นเอง

นอกจากนี้ไทยเอง อาจเสี่ยงที่จะมีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดติดต่อกันเป็นปีที่ 2 หลังจากต้องเจอกับแรงกดดันมากขึ้น เนื่องจากต้องนำเงินดอลลาร์แลกกับน้ำมัน เพราะประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการนำเข้านำมันค่อนข้างสูง หากย้อนไปดูช่วงเมื่อปี 2564 มีการนำเข้าน้ำมันถึง 2.24 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือคิดเป็น 316 ล้านบาร์เรลต่อปี หรือมีการใช้ 8-9 แสนบาร์เรลต่อวัน ส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง โดยให้กรอบเงินบาทช่วง 1 เดือนข้างหน้าที่ 32.90 – 34.20 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ

เศรษฐกิจไทย

และอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อค่าเงินบาทให้อ่อนค่าลง มาจากบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เริ่มมีการทยอยจ่ายเงินปันผล โดยคาดว่าเงินปันผลจะอยู่ที่ประมาณ 7.5 หมื่นล้านบาท และบริษัทต่างชาติที่ปิดงบประมาณ และเริ่มโอนเงินปันผลจากบริษัทลูกไปบริษัทแม่ อย่างบริษัทญี่ปุ่นแล้วช่วงเดือนมีนาคม 2565 รวมถึงในตลาดหลักทรัพย์ที่มีผู้ถือหุ้นต่างด้าวด้วย

หากย้อนไปเมื่อ 1 – 2 เดือนที่แล้ว เรายังมีการคุยเรื่องเงินเฟ้อกันอยู่เลย หลังจากที่เราตกอยู่ในสภาวะโควิด-19 ร่วมกว่า 2 ปี เราเริ่มเห็นโอกาส เราเริ่มเปิดประเทศ วิกฤติหลาย ๆ ประเทศเริ่มคลายตัว การจ้างงานเริ่มมีมากขึ้น การใช้จ่ายก็เริ่มมีมากขึ้นเช่นกัน พลังงานต่อ ๆ ก็มีอัตราสูงขึ้นไปโดยปริยาย แต่นั่นเป็นในรูปของเงินเฟ้อที่ดี

แต่ว่าปัจจุบันมีเหตุการณ์ที่ผิดปกติ Stagflation เกิดขึ้นมา เรื่องของยูเครน รัสเซีย เกิดขึ้นราคาต้นทุนต่าง ๆ สูงขึ้น ราคาน้ำมันพุ่งที่ 130 เหรียญต่อบาร์เรล ซึ่งถือว่าเป็นเงินเฟ้อที่ไม่ปกติ การที่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยก็ไม่ได้ทำให้ราคาพลังงานนั้นปรับลดลงมาด้วย เพราะฉะนั้นจึงตัดเรื่องของการปรับขึ้นดอกเบี้ยไปได้เลย

สิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปนี้คือ ความแตกต่างของนบายของธนาคารกลางต่าง ๆ ทั่วโลก ตรงนี้จะทำให้เกิดเงินทุนเคลื่อนย้ายจากที่เสี่ยงสูงไปสู่ในส่วนของสิ่งที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่นหน้านี้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ก่อนที่รัสเซียจะบุกยูเครน ตัวดอลลาร์อินเด็กซ์ยังนิ่ง ๆ อยู่ แต่พอรัสเซียบุกยูเครนค่าเงินแข็งค่าขึ้นมาทันที มีการปรับตัวสูงขึ้นเพราะว่าทุกคนก็เกิดความกลัว ขณะที่ค่าเงิน Ruble ของรัสเซีย หลังเกิดมาตรการคว่ำบาตร หรือแซงก์ชั่น Ruble ของรัสเซีย อ่อนค่าขึ้นไปถึง 80% แต่พอรัสเซียเริ่มตั้งตัวได้ค่าเงินก็เริ่มปรับลดลงมา แต่ยังต้องตามดูสถานการณ์ต่อไป

สำหรับเงินทุนเคลื่อนย้ายจากที่เสี่ยงสูงไปสู่ Asset ที่ปลอดภัย จากดัชนีชี้วัดความกลัวต่อหุ้นสหรัฐค่อนข้างเห็นชัดเจนว่ามีความสอดคล้องไปกับดอลลาร์สหรัฐ คือความกลัวสูงขึ้น ดอลลาร์ก็แข็งค่าขึ้น ฉะนั้นคนก็วิ่งกลับไปหาค่าเงินดอลลาร์นั่นเอง และ Asset อีกตัวหนึ่งที่บ่งบอกถึงสภาวะสงครามนั่นคือ ทองคำ ก็ปรับตัวสูงขึ้นด้วย เป็นการเกิดการเคลื่อนย้ายเงินทุนหมด

ส่วนในบ้านเรากับการเคลื่อนย้ายเงินทุน เห็นชัดเจนจากต้นปีที่แล้วถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ตลาดหุ้น และตราสารหนี้บวกหมด ตอนนั้นเรามาแรงมากในมุมของการท่องเที่ยวที่เราพร้อมจะเปิดเมืองได้ นักลงทุนต่างชาติก็ทยอยเข้ามา โดยเฉพาะในส่วนของพันธบัตรส่วนตัวมองว่า จริง ๆ นักลงทุนต่างชาติไม่ได้คาดหวังเรื่องบอนด์ยิลด์ แต่หวังในเรื่องของส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยมากกว่า เพราะฉะนั้นพอมีเรื่องของนักท่องเที่ยวเข้ามาบาทก็น่าจะแข็งค่าขึ้น ก็จะเห็นฟันด์โฟล์เข้ามาบอนด์เยอะ แต่หลังจากรัสเซียเริ่มบุกยูเครน หุ้นโดนขายออก คนก็เริ่มหา Asset ที่ปลอดภัยมากขึ้น

ปัจจุบันเงินเฟ้อของไทยมาจากพลังงานที่สูงขึ้นเป็นหลัก เนื่องจากค่าขนส่งที่แพงขึ้น รวมถึงค่าไฟที่ในปีนี้รัฐบาลไม่ได้ให้การสนับสนุนช่วยเหลือประชาชนเหมือนปีที่ผ่านมา ส่งผลให้เงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่เราเองที่เป็นผู้บริโภคจะได้รับความช่วยเหลือในส่วนของน้ำมันดีเซล ขณะที่ปัญหารัสเซียกับยูเครนกระทบทางอ้อมกับฝั่งยูโรโซน ซึ่งก่อนหน้านี้มีความเชื่อมโยงกันค่อนข้างมาก แต่ตอนนี้มีการตัดความสัมพันธ์กันก็จะทำให้เกิดผลกระทบได้

อย่างไรก็ตาม คุณกอบสิทธิ์ ศิลปชัย ผู้บริหารงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน คุณสิทธิธัช พุคยาภรณ์ ผู้ช่วยผู้บริหารงานขายผลิตภัณฑ์ทางการเงิน และคุณกฤติกา บุญสร้าง ผู้ชำนาญการงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย ได้ให้ข้อมูลไว้อย่างน่าสนใจ เพราะเมื่อภาวะเศรษฐกิจยังคงได้รับผลกระทบจากปัญหาเงินเฟ้อทั่วโลก สงครามรัสเซียกับยูเครนที่ราวไปทั่วทุกประเทศที่เรายังคงต้องจับตาดดูว่า หลังจากนี้ไปแล้วจะไปสู่ในภาวะปกติได้เมื่อไร เพราะสิ่งที่ประชาชนนั่นยังคงต้องแบกรับกับค่าครองชีพที่แพงขึ้นนั่นเอง


  • 518
  •  
  •  
  •  
  •  
sabuysuk
การเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นทุกวัน ล้วนแล้วแต่ได้กำไร
CLOSE
CLOSE