Marketing Oops! The Untold Insights EP.3 : Insight พ่อแม่ยุคใหม่

  • 20
  •  
  •  
  •  
  •  

 

Marketing Oops! The Untold Insights EP.3 ชวนฟังเรื่องราวสนุกๆ ข้อมูลชิงลึก ที่คุณไม่เคยรู้มาก่อน โดย ณีว มาวิจักขณ์ Managing Partner – Marketing & Development, GroupM Thailand และ แพน จรุงธนาภิบาล Director – Marketing & Development, GroupM Thailand ซึ่ง Episode นี้เป็นจะมาชวนพูดคุยเพื่อทำความเข้าใจถึงเบื้องลึกทัศนคติ และพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของคุณพ่อคุณแม่ในยุคใหม่ ซึ่งแตกต่างจากในอดีตอย่างมาก โดยที่แบรนด์และนักการตลาดไม่ควรที่จะใช้เมสเสจแบบเดิมๆ ในการสื่อสารได้แล้ว หากต้องการคว้าความสนใจของพ่อแม่ยุคใหม่ในปัจจุบัน แต่จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง และแบรนด์จะใช้โอกาสนี้ได้อย่างไรเรามีบทสรุปให้ฟัง

 

 

พ่อแม่ยุคใหม่กับทัศนคติที่เปลี่ยนไป

การเปลี่ยนแปลงของคุณพ่อคุณแม่ยุคใหม่เกิดขึ้น โดยที่ความคิดความคาดหวังของพ่อแม่ยุคใหม่ ไม่เหมือนเดิม ไม่เหมือนกับในอดีตยุคก่อนหน้านี้คาดหวังเอาไว้

เป็นสาเหตุให้เรานำเอาเรื่องราวการเปลี่ยนแปลงนี้ ที่เป็น Insight ของคุณพ่อคุณแม่ในปัจจุบันมาเล่าให้ฟัง ซึ่งเปลี่ยนในส่วนของพฤติกรรมการเป็นคุณพ่อคุณแม่รุ่นเก่ากับคุณพ่อคุณแม่รุ่นใหม่ ซึ่งพบว่าเป็นโอกาสสำคัญของแบรนด์ที่จะเจาะเข้าหากลุ่มพ่อแม่รุ่นใหม่ได้ ซึ่งอนาคตก็จะเข้ามาแทนที่พ่อแม่ในยุคเก่า หากเราสามารถจับความสนใจของพวกเขาได้

สินค้าหลายตัวที่เราส่งต่อให้พ่อแม่ และพ่อแม่ส่งต่อให้กับลูก เป็นโอกาสที่จะทำให้แบรนด์เติบโตได้ในอนาคต มันคือการสืบทอดกันต่อๆ จากคุณปู่คุณย่า คุณพ่อคุณแม่ และมาที่รุ่นลูก อย่างที่เมื่อก่อนเราเห็นว่ามีโฆษณาที่ขายผู้ปกครองแล้วก็ให้ลูกใช้ตามด้วย เช่น อุปกรณ์ทำความสะอาดบ้าน คือถ้าเห็นพ่อแม่ซื้ออะไรเราก็จะซื้อตาม จึงเป็นโอกาสที่แบรนด์จะเข้าหากลุ่มพ่อแม่รุ่นใหม่ด้วย นี่คือกลุ่มพ่อแม่ยุคใหม่ในปัจจุบัน

 

ความแตกต่างระหว่าง พ่อแม่ รุ่นเก่าและใหม่

 

ขอนิยามกันก่อนเพื่อทำความเข้าใจตรงกัน คือ พ่อแม่รุ่นเก่า เราจะหมายถึงคนที่ปัจจุบันนี้คือรุ่นปู่รุ่นย่าแล้ว และโตมากับคำสอนของคนรุ่นก่อนอีกที โดยคนรุ่นนี้โตมากับสื่อ (Media) ที่ไม่มีมากนัก ในขณะที่รุ่นถัดมา เราอาจจะเรียกได้ว่าเป็นกลุ่ม Gen X ที่มีสื่อเยอะมากขึ้น ซึ่งมีความสามารถที่จะหาข้อมูลผ่านสื่อต่างๆ ได้เยอะมากขึ้น เก่าขึ้นมาหน่อยก็คือพันทิป แต่ปัจจุบันมีเยอะขึ้นก็คือตามโซเชียลเน็ตเวิร์ค ก็มีข้อมูลมากมายให้ได้ค้นหา แค่เรื่องของสื่อทั้งสองกลุ่มก็แตกต่างกันมากแล้ว

 

 

หรือองค์ความรู้ต่างๆ ก็มักจะถ่ายทอดกันมาในแบบส่งต่อกันจากรุ่นสู่รุ่น แต่ปัจจุบันข้อมูลองค์ความรู้ต่างๆ มาจากหลายแหล่ง เช่น หลักวิทยาศาสตร์ หรือมาจากผู้เชี่ยวชาญ กูรู ผู้มีประสบการณ์ ซึ่งในมุมของความรู้ที่มาจากประสบการณ์ก็ยังมาจากทั่วโลกได้ด้วย ดังนั้น พ่อแม่ยุคใหม่จึงมีทัศนคติที่มองโลกเปลี่ยนไป พร้อมกับความคาดหวังต่อลูกเปลี่ยนไปด้วย ในขณะที่รุ่นเด็กถึงวัยรุ่นที่โตมาจากกลุ่มพ่อแม่ยุคใหม่ ก็โตมากับข้อมูลข่าวสารที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งทำให้เราเห็นความแตกต่างในจุดนี้ด้วย

ทั้งหมดนี้สิ่งที่จะย้ำก็คือ พ่อแม่ยุคใหม่ไม่ได้คาดหวังกับลูกเหมือนยุคก่อนแล้ว ที่จะต้องมาคอยช่วยเหลือหรือเลี้ยงดูในบั้นปลาย พ่อแม่ยุคใหม่คาดหวังว่า ให้ลูกๆ ได้เติบโตในสไตล์ของตัวเอง โดยเน้นที่ให้เขามีความสุขในแบบตัวเอง

ต้องทำความเข้าใจด้วยว่า 2 เจเนเรชั่นนี้ถูกขัดเกลามาที่ไม่เหมือนกัน คนรุ่นก่อน จะโตมากับความรู้สึกของความไม่แน่นอนในชีวิต เมื่อความรู้สึกนี้ถูกฝังอยู่ในจิตใจ เขารู้สึกกลัวว่า ถ้าเขาแก่ตัวลงก็จะต้องมีคนที่มาคอยดูแลเขา ในขณะที่คนในยุคปัจจุบัน โตมากับความรู้สึกสนุกสามารถหาข้อมูลต่างๆ ได้ด้วยตัวเอง ดังนั้น ความคาดหวังที่มีต่อลูกจึงเปลี่ยนไป ไม่ได้ต้องการความรู้สึกว่าต้องดูแลหรือต้องการความมั่นคงในช่วงบั้นปลายขนาดนั้น ดังนั้น อาจจะบอกได้ว่า พ่อแม่รุ่นใหม่มีอิสระทางความคิดมากขึ้น

อีกสิ่งน่าสนใจมากเลยคือ จุดที่บอกเรื่องของความมั่นคงทางจิตใจ มันมีผลอีกทางหนึ่งด้วยว่า กลุ่มคนรุ่นก่อนก็จะมีความรู้สึกว่าอยากให้ลูกดำเนินชีวิตตามแพทเทิร์น ตามรูปแบบ คือต้องเรียนจบ สอบเข้ามหาวิทยาลัย แล้วก็หางานทำในบริษัท เป็นสิ่งที่ปลูกฝังกันมาให้ดำเนินชีวิตแบบนั้น เป็นสิ่งที่ถูกคาดหวังเอาไว้แบบนั้น

ปัจจุบันพ่อแม่เริ่มผ่อนคลายมากขึ้น อดีตอาจจะคาดหวังถ้าเข้ามหาวิทยาลัยก็ต้อง 2 สถาบันหลักถึงจะดี แต่ก็ค่อยๆ คลายความคาดหวังตรงนี้มากขึ้น โดยที่ไม่จำเป็นต้องเป็น 2 สถาบันนี้ก็ได้ อาจจะเป็นมหาวิทยาลัยต่างจังหวัด หรือมหาวิทยาลัยเอกชนก็ได้เช่นกัน และมากไปกว่านั้นเริ่มมีรูปแบบที่ว่า หลังเรียนจบมัธยมแล้วก็อาจจะหยุดพักเรื่องการเรียนต่อไว้ก่อนแต่ขอมี Gap Year คือการขอหยุดพักไว้ก่อนเพื่อที่จะได้ค้นหาตัวเองก่อนที่จะเข้ามหาวิทยาลัย ตรงจุดนี้เองที่บอกได้ว่าเราเห็นความแตกต่างที่ชัดเจนมากขึ้นเลย

 

ความสำเร็จไม่ได้ถูกตีค่าในแพทเทิร์นเดิมๆ อีกต่อไป คุณภาพชีวิตที่ดีของลูก คือการที่ลูกได้เลือกบนเส้นทางเดินของตัวเอง

 

เกิดคำพูดที่ว่า ลูกอยากโตมาเป็นอะไรก็ตามที่เลือกได้เลย ไม่มีการตีกรอบให้เขา แค่ให้เขามีความสุขก็พอ

กลับมาที่ตัวคุณพ่อคุณแม่ด้วยว่า เมื่อไม่ได้คาดหวังว่าลูกๆ จะต้องมาดูแลในบั้นปลาย คุณพ่อคุณแม่ก็มีความคิดว่าเราจะต้องเตรียมตัวเองให้ดี ในช่วงการเกษียณ จะต้องดูแลและเลี้ยงตัวเองได้ หลังจากที่ลูกโบยบินไปดูแลตัวเองแล้ว

อีกจุดที่แตกต่างอย่างน่าสนใจคือ พ่อแม่ในยุคปัจจุบันมีความแข็งแรงมากกว่าในยุคก่อน อดีตพออายุ 40-50 ปี จะมีความรู้สึกว่าเริ่มชราแล้วต้องเตรียมตัวเกษียณเลย แต่ปัจจุบันไม่ใช่ คนอายุ 50-60 ปีก็ยังดูไม่แก่ เพราะมันมีการเมิร์จไปกับเทคโนโลยีใหม่ๆ เทรนด์ใหม่ๆ รุ่นผู้ใหญ่หลายคนสามารถพูดคุยกับเด็กๆ ได้แล้ว เพราะไม่ได้ถูกปิดกั้นด้วยความห่างของอายุ มีการเบลนอินเข้าหากันมากขึ้น

อย่างในโซเชียลมีเดีย เราก็จะเห็นความแตกต่างอีกจุดที่น่าสนใจ อย่างใน TikTok เราก็จะเห็นแล้วว่า มีที่ว่าลูกมาเล่นกับแม่หรือพ่อ บางคนดูไม่ออกเลยด้วยซ้ำว่า พ่อแม่หรือพี่น้องกันแน่

เพราะปัจจุบันคนเริ่มมีการดูแลตัวเองมากขึ้น หลายคนมีมุมมองที่ว่าอยากจะแก่ไปแบบที่แข็งแรงดูแลตัวเองได้ โดยที่การดูแลตัวเองของพ่อแม่รุ่นใหม่มีตั้งแต่การดูแลสุขภาพ และมีความมั่นคงทางการเงินด้วย จุดนี้เองที่แบรนด์สามารถเข้าหาผู้บริโภคกลุ่มพ่อแม่รุ่นใหม่ได้ มีความรู้สึกรักที่จะดูแลตัวเอง

ความตระหนักและการให้ความสำคัญของชีวิตของพ่อแม่ยุคใหม่เปลี่ยนไป จากเดิมว่าใครจะมาดูแลเรา แต่เปลี่ยนไปว่าเราจะดูแลตัวเองอย่างไร เพราะว่าถ้าเขาสามารถดูแลตัวเองได้ ลูกก็จะมีความสุขโดยที่ไม่ต้องมากังวลว่าจะต้องมาดูแลพวกเขาในอนาคต เป็นการลดภาระของลูก โดยที่ลูกไม่ต้องไปยึดติดกับพ่อแม่แล้ว

 

Brand Takeaway

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและความเชื่อตรงนี้ แบรนด์จะเข้าไปเก็บเกี่ยวได้อย่างไรบ้าง

ในเวลาที่แบรนด์คุยกับพ่อแม่ยุคใหม่ เราคงพูดแบบเดิมไม่ได้แล้วว่า พ่อแม่ที่ดีคือพ่อแม่ที่ผลักดันลูกจนประสบความสำเร็จ ลูกจะต้องเดินตามเส้นทางแบบนี้นะ ถึงจะประสบความสำเร็จ ปัจจุบันไม่ใช่แบบนั้นแล้ว

การสื่อสารที่ออกไป ควรจะต้องเปลี่ยนใหม่ว่า พ่อแม่ที่ดีคือการที่ปล่อยให้ลูกเติบโตให้ลูกมีความสุขในแบบที่เป็นตัวของตัวอง พ่อแม่ที่ปล่อยให้ลูกเติบโตโดยที่เราคอยซัพพอร์ตอยู่เบื้องหลัง และยอมรับในสิ่งที่ลูกเป็น ไม่ใช่เรื่องของการวางกรอบวางเส้นทางให้ลูกเดินอีกต่อไปแล้ว เหล่านี้ไม่ใช่ภาพของพ่อแม่รุ่นใหม่แล้ว ดังนั้น แบรนด์เวลาที่ทำโฆษณาหรือแคมเปญการตลาดก็ดี ต้องมองตรงนี้ให้ขาด

อีกจุดที่อยากแนะนำให้แบรนด์และนักการตลาดลองไปใช้คือ การเบลนอินความเป็นพ่อแม่ลูกเข้าด้วยกัน ในอดีตเราอาจจะเห็นภาพโฆษณาที่ห่างเหินระหว่างพ่อแม่กับลูก แต่สมัยนี้ต้องเบลนสองรุ่นให้เข้าหากัน

นอกจากนี้ อีกสิ่งที่แบรนด์และนักการตลาดสามารถนำไปใช้ได้อีกก็คือ การที่พ่อแม่จะดูแลตัวเองอย่าง พวกเขาจะวางอนาคตตัวเองได้อย่างไร โดยที่ไม่ทำให้ลูกกังวลใจไม่ต้องเป็นภาระให้เขากลับมาดูแล

ส่วน Episode จะมีการนำเสนอ Insight เรื่องอะไรที่น่าสนใจอีก โปรดติดตาม.

 

สามารถติดตามรับฟัง Marketing Oops! Podcast
ผ่านทางช่องทางต่างๆ ได้ที่

 

Google Podcasts


  • 20
  •  
  •  
  •  
  •  
CLOSE
CLOSE